นายจ้างที่ได้รับความช่วยเหลือมีแค่ 11% ส่องสถิติการเข้าถึง มาตรการเยียวยา จากภาครัฐ

นายจ้างที่ได้รับความช่วยเหลือมีแค่ 11% ส่องสถิติการเข้าถึง มาตรการเยียวยา จากภาครัฐ

        แม้ว่าวิกฤต COVID-19 จะกระทบต่อประชาชนคนไทยทุกคน แต่ มาตรการเยียวยา ของภาครัฐนั้นเข้าถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบทั่วถึงหรือไม่? เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากประชาชน สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จึงได้ทำการสำรวจ ผลกระทบเบื้องต้นจากการใช้มาตรการบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจาก COVID-19 ผ่านระบบ online ในช่วงวันที่ 9-13 เม.ย. 63 โดยมีผู้เข้าร่วมตอบแบบสอบถาม 8,929 คน จากทั้ง 77 จังหวัดในประเทศไทย 

สถิติประชาชน 4 กลุ่มอาชีพ
ที่เข้าถึง มาตรการเยียวยา จากภาครัฐ

        โดยผู้ตอบแบบสอบถามจะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มอาชีพ ได้แก่ นายจ้าง พนักงาน ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และผู้ว่างงาน ในภาพรวมแล้ว มีคนไทยมากถึง 88% ที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากมาตรการของรัฐ เพราะส่วนใหญ่ “ติดเงื่อนไข” ซึ่งมีทั้งผู้ที่ไม่เข้าข่าย และผู้ที่ควรได้รับสิทธิ์แต่ถูกปฏิเสธ โดยมาตรการที่คนได้รับมากที่สุดเป็นมาตรการของนโยบายการคลัง แต่มาตรการเหล่านี้ก็ไม่เพียงพอที่จะช่วยเหลือประชาชน ในกรณีที่สถานการณ์ยาวนานมากกว่า 3 เดือน   

มาตรการเยียวยากลุ่มนายจ้าง  

        เนื่องจากธุรกิจส่วนใหญ่มีรายได้ลดลงหรือถูกสั่งปิด นายจ้างโดยเฉพาะกลุ่ม SMEs จึงต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือในด้านเงินทุนสำหรับฟื้นฟูธุรกิจ ลดภาระค่าจ้างแรงงาน ค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อเสริมสภาพคล่อง แต่มีกลุ่มนายจ้างแค่เพียง 11% จากทั้งหมดที่ได้รับความช่วยเหลือ ในด้านการพักเงินต้นและดอกเบี้ย การผ่อนผันภาษี และสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ดอกเบี้ย 2% ต่อปี)

        นอกจากนี้ มาตรการด้านการเงินที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอต่อการพยุงธุรกิจ หรือแก้ปัญหาสภาพคล่องทางการเงินในช่วงวิกฤติ 3-6 เดือน ประชาชนกลุ่มนี้ต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติมในด้านการลดภาระค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจ การเตรียมเงินทุนสำหรับการฟื้นฟูกิจการ รวมถึงหาช่องทางในการระบายสินค้า 

 

มาตรการเยียวยากลุ่มพนักงาน ลูกจ้าง แรงงาน 

        ผลกระทบต่อประชาชนในกลุ่มนี้มีทั้งการถูกลดค่าจ้าง รายได้ลดลง หรือธุรกิจที่ทำงานถูกสั่งปิด โดยมีผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือ 12% และความช่วยเหลือส่วนใหญ่ที่ได้รับเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายและมาตรการด้านการคลัง เช่น การลดหย่อนเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ลดหรือเลื่อนจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและการจ่ายค่าน้ำค่าไฟ พักเงินต้นและดอกเบี้ย เงินเยียวยา 5,000 บาทจากโครงการ “เราไม่ทิ้งกัน” ปรับเกณฑ์การปรับโครงสร้างหนี้ สินเชื่อพิเศษ ฯลฯ 

        มาตรการที่กลุ่มลูกจ้างต้องการเพิ่มเติม คือการลดค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำรงชีพเพิ่มเติม อาทิเช่น ค่าไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ อาหารและสินค้าที่จำเป็น รวมถึงลดค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าเทอม กำหนดมาตรฐานการพักหนี้ให้ทุกสถาบันการเงินไปในลักษณะเดียวกัน เพื่อลดเงื่อนไขที่ยุ่งยากลง สนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ให้ความช่วยเหลือประชาชนทุกกลุ่มอาชีพที่ได้รับผลกระทบ และชดเชยผลประโยชน์แก่ผู้ที่อยู่ในประกันสังคม 

 

มาตรการเยียวยากลุ่มอาชีพอิสระ

        ฟรีแลนซ์เป็นกลุ่มอาชีพที่มีรายได้ไม่แน่นอน จึงไม่ผ่านเงื่อนไขต่างๆ ที่ภาครัฐตั้งไว้ ทำให้ส่วนใหญ่ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ และมีกลุ่มที่ได้รับความช่วยเหลือแค่ 11% ที่ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท การพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย ลดหรือเลื่อนการจ่ายค่าน้ำค่าไฟ ดังนั้น กลุ่มนี้จึงต้องการให้ภาครัฐปรับเงื่อนไขให้เหมาะสม ครอบคลุมทุกกลุ่มที่เดือดร้อน ประชาสัมพันธ์ให้ชัดเจนทั่วถึง ลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค ยกเว้นการชำระภาษีทุกชนิด โดยเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) รวมถึง เพิ่มการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ หรือต้องการให้รัฐมีงานทางเลือกให้ 

 

มาตรการเยียวยากลุ่มผู้ว่างงาน

        ผู้ว่างงานเป็นกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด แต่กลับเข้าถึงความช่วยเหลือได้แค่ 9% ที่ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท การพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย ลดหรือเลื่อนการจ่ายค่าน้ำค่าไฟ ซึ่งหากภาครัฐไม่เร่งเข้าช่วยเหลือ กลุ่มนี้ก็อาจจะอยู่ได้ไม่เกิน 3 เดือน โดยผู้ว่างงานต้องการมาตรการที่ลดภาระหนี้สินและค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ช่วยจัดหางาน หรือส่งเสริมการพัฒนาทักษะ และการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ให้มากขึ้น 

        ข้อเสนอแนะในภาพรวมของผู้ตอบแบบสอบถามทุกกลุ่ม คือต้องการให้รัฐบาลขยาย มาตรการเยียวยา ให้เข้าถึงประชาชนทุกกลุ่ม ลดเงื่อนไขการเข้าถึงมาตรการช่วยเหลือ จัดหางานให้ประชาชนที่ถูกเลิกจ้าง ลดค่าใช้จ่ายภาครัฐที่ไม่จำเป็น เพื่อนำงบประมาณกลับมาช่วยเหลือประชาชน ลดความซับซ้อนในการเข้าถึงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ คืนภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือลดหย่อนภาษี รวมถึง ผ่อนปรนให้บางธุรกิจกลับมาเปิดทำการได้โดยมีเงื่อนไขที่เหมาะสมและปลอดภัย 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สามารถดูรายละเอียดของการสำรวจต่อได้ที่นี่ 

เรื่องแนะนำ

AA SHARING ครั้งที่ 3

ทำอย่างไร เมื่อลูกจ้างเรียกร้องค่าตอบแทนสูง สรุปประเด็นเด็ด จาก AA SHARING ครั้งที่ 3

จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 แล้วสำหรับ AA Sharing โดย Amarin Academy กิจกรรมสังสรรค์แบบเป็นกันเอง ของผู้ประกอบการร้านอาหาร และเหล่าผู้เชี่ยวชาญในแวดวงธุรกิจอาหาร รวมถึงตัวแทนจากทีมงาน Amarin Academy ที่มาพบปะ พูดคุยกัน และรับประทานอาหารร่วมกันในบรรยากาศแบบเป็นกันเอง ซึ่งจะเป็นลักษณะกลุ่มเล็กๆ เพื่อให้เจ้าของร้านอาหารได้มีโอกาสแบ่งปันเรื่องราว ปรึกษาปัญหาที่ร้านกำลังประสบอยู่ รวมถึงขอคำแนะนำจากเหล่ากูรูแบบใกล้ชิด และเจาะลึกมากขึ้น แบบ Case by Case ซึ่ง AA SHARING สองครั้งที่ผ่านมา ทางทีมงานมีความยินดีมากๆ ที่เหล่าผู้ประกอบการได้นำความรู้ที่ได้จากงานนี้ไปปรับใช้จริงและเกิดประโยชน์กับร้านของตัวเอง AA SHARING ครั้งที่ 3 ปัญหาคน ปัญหาลูกจ้าง แก้ยังไงให้หมด   AA Sharing ครั้งที่ 3 นี้ เรากลับมาพูดคุยกันอีกครั้งในหัวข้อ ปัญหาคน ปัญหาลูกจ้าง แก้ยังไงให้หมด เพราะที่ผ่านมาเราจะเห็นว่า ปัญหาหนักอก หนักใจเจ้าของร้านอันดับต้นๆ หนีไม่พ้นปัญหาเรื่องคน หรือพนักงานในร้านนั่นเอง ซึ่งเป็นปัญหาที่แทบทุกร้านต้องเจอ แต่อาจจะต่างรูปแบบกันไป ในครั้งนี้เราจึงหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาพูดคุย และให้เจ้าของร้านที่กำลังมีปัญหาเรื่องคนในแง่มุมต่างๆ ได้มาแชร์กัน รวมถึงรับคำแนะนำจากกูรูผู้มากประสบการณ์ สำหรับ […]

ธุรกิจอาหาร

20 เทรนด์ ธุรกิจอาหาร ปี 2020 ที่ผู้ประกอบการควรรู้!

20 เทรนด์ ธุรกิจอาหาร ปี 2020 ที่ผู้ประกอบการควรรู้!   1.ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีมากขึ้น เมื่อโลกก้าวไกลเรื่องเทคโนโลยีขึ้นเรื่อยๆ เจ้าของร้านแบรนด์ใหม่ๆ จะเริ่มลงทุนกับการใช้ระบบเทคโนโลยีมากขึ้น และอาจลดแรงงานคนลง ร้านจะให้ลูกค้าบริการตัวเองมากขึ้น เพื่อลดค่าใช้จ่าย ส่วนร้านดั้งเดิมเก่าแก่ ก็จะหันมาใช้ระบบการจัดการใหม่ๆมากขึ้น โดยทายาทรุ่นใหม่ที่เข้ามาบริหารร้านเพื่อควบคุมต้นทุนให้มากที่สุด   2. Social Marketing สำคัญมาก ปฏิเสธไม่ได้ว่ายุคนี้ ถ้าอยากให้ร้านเป็นที่รู้จักมากขึ้น การทำการตลาดบนโลกออนไลน์สำคัญมาก อะไรที่เป็นกระแสใน Social จะส่งผลกระทบรวดเร็ว ทำให้คนอยากลองและตามไปรีวิวมากมาย แต่ที่สำคัญร้านของคุณก็ต้องมีคุณภาพด้วย เพราะอย่าลืมว่าถ้าร้านไม่ดีจริง กระแสมาไวก็ไปไวได้เช่นกัน   3. เดลิเวอรี่ แข่งขันสูง ผู้บริโภคยุคใหม่ต้องการความสะดวกสบายมากขึ้น ทำให้เดลิเวอรี่จึงมาแรงตั้งแต่ปีที่ผ่านมา จนมาถึงปีนี้ และเกิดการแข่งขันกันที่สูงขึ้น ธุรกิจร้านอาหารที่ไม่มีหน้าร้านก็จะเพิ่มขึ้นด้วย ทั้งนี้ก็อยู่ที่ว่าผู้ประกอบการแต่ละรายจะงัดกลยุทธ์ไหนออกมาเพื่อดึงดูดลูกค้าได้มากกว่ากัน   4. มากกว่าการกิน คือการสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้า แม้ว่าเรื่องรสชาติจะสำคัญที่สุดในการทำธุรกิจอาหาร แต่ปัจจุบันการสร้างประสบการณ์ใหม่ๆในการทานให้กับลูกค้า เป็นสิ่งที่ทำให้ลูกค้าเกิดความตื่นตาตื่นใจปละประทับใจไม่น้อย เช่น การให้ลูกค้ามีส่วนร่วม หรือแม้แต่การกินอาหารพร้อมโชว์เทคโนโลยี AR   5. […]

Digital Delicious

Digital Delicious เทรนด์ใหม่รูปแบบนำเสนออาหารสุดล้ำ เปิดประสบการณ์ผู้บริโภค

ในยุคนี้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามามีบทบาทกับทุกๆสิ่ง ไม่เว้นแม้แต่แวดวงอาหาร ซึ่งปัจจุบันการเลือกรับประทานอาหารของผู้บริโภคไม่ได้หยุดเพียงแค่ รสชาติอร่อย หน้าตาอาหารสวยงาม หรือแม้แต่การบริการที่ดีเท่านั้น แต่สิ่งที่จะดึงดูดผู้บริโภคในยุคนี้ได้ก็คือ ประสบการณ์อันน่าตื่นเต้นและแปลกใหม่ในการรับประทานอาหารนั่นเอง เพื่อให้เกิดการจดจำ สร้างความประทับใจ และเป็นที่พูดถึง เรากำลังพูดถึง Digital Delicious ที่นำอาหารและดิจิทัลอาร์ต มารวมไว้ด้วยกัน กับรูปแบบการนำเสนอสุดล้ำที่ชวนว๊าว   เปิดประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้บริโภคด้วย Digital Delicious  ปัจจุบันนี้แวดวงอาหารบ้านเรา ก็มีวิวัฒนาการที่น่าสนใจมากขึ้นทุกวัน อย่างเช่นล่าสุดที่บอกไปว่ามีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาในการพรีเซ้นท์อาหาร เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภค นั่นก็คือโปรเจคDigital Delicious ที่ริเริ่มโดยบริษัท Doozy Digilab ผู้นําด้านการสร้างสรรค์ประสบการณ์ดิจิทัลรูปแบบใหม่ ได้นำอาหารและดิจิทัลอาร์ตมารวมไว้ด้วยกัน ในรูปแบบของอาหาร Fine Dining โดยเชฟชื่อดัง เช่น เชฟเอริก ไวด์มันน์ ผู้คว้าตำแหน่งเชฟกระทะเหล็ก Iron Chef Thailand จาก Oriental Residence Bangkok, เชฟแพม-พิชญา อุทารธรรม, เชฟแต-จันทร์ชนก สุนทรญาณกิจ ศิลปินเชฟขนมอบชื่อดัง และเค-อานนท์ ฮุนตระกูล […]

ดังกิ้น

ดังกิ้น โดนัท ทุ่ม 10 ล้าน ลุย Food Truck เข้าหาลูกค้าถึงที่

การรอให้ลูกค้าเข้ามาหาอย่างเดียวนั้น คงจะใช้ไม่ได้แล้วในยุคนี้ ยุคที่มีการแข่งขันกันสูงมาก ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจอาหารในบ้านเรา ที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ มีผู้ประกอบการหน้าใหม่เกิดขึ้นมากมาย เหล่าธุรกิจอาหารแบรนด์ใหญ่ ก็ใช่ว่าจะอยู่นิ่ง  ต้องวิ่งตามผู้บริโภคให้ทันอย่างเช่นแบรนด์โดนัทชื่อดัง ดังกิ้น โดนัท   ดังกิ้น โดนัท ทุ่ม 10 ล้าน ลุย Food Truck เข้าหาลูกค้าถึงที่ ล่าสุดดังกิ้น โดนัท แบรนด์โดนัทชื่อดังที่เราคุ้นเคย ก็ลุกขึ้นมาลุยทำการตลาดที่เข้าหาผู้บริโภคมากขึ้น และดังกิ้น เลือกที่จะทำ Food Truck หรือหน่วยรถขายโดนัท พร้อมเครื่องดื่ม ที่เปิดให้บริการนอกสถานที่ โดยรถคันนี้จะเข้าหาลูกถึงที่แบบใกล้ชิด เน้นเจาะตามชุมชนต่างๆ เช่น สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล และคอมมูนิตี้มอลล์ ปัจจุบันเริ่มเปิดให้บริการแล้ว 2 สาขา คือ สาขาอิมแพค เมืองทองธานี และสาขาเดอะซีน ทาวน์อินทาวน์ การทำ Food Truck ในครั้งนี้ ของดังกิ้น ใช้งบลงทุนโดยเฉลี่ย ประมาณ 1 ล้านบาท […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.