พร้อมคว้าทุกโอกาส!! 4 ปัจจัยช่วยให้ ร้านอาหารฟื้นตัว เร็วหลังวิกฤต

พร้อมคว้าทุกโอกาส!! 4 ปัจจัยช่วยให้ ร้านอาหารฟื้นตัว เร็วหลังวิกฤต

        ร้านอาหารฟื้นตัว จากวิกฤตได้หรือไม่? เนื่องจาก “อาหาร” เป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ที่ขาดไม่ได้ ธุรกิจอาหารจึงเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ไม่มีวันตาย เพียงแต่ว่าธุรกิจนี้มีการแข่งขันที่รุนแรงจากผู้ประกอบการจำนวนมากในตลาด ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจขาลง ทำให้ผู้ประกอบการต้องรู้จักปรับตัวพัฒนาอยู่เสมอ ในช่วงวิกฤตโควิด-19 นี้ ก็ทำให้ร้านอาหารหลายๆร้านสามารถคิดหาหนทางใหม่ในการดำเนินธุรกิจ แบบที่ไม่เคยคิดว่าจะทำได้ หรือไม่เคยลองทำมาก่อนในภาวะปกติ เรียกได้ว่าเป็นความท้าทายที่ผลักดันให้หลายคนได้ลองเปิดประตูบานใหม่

        ในด่านต่อไปที่ผู้ประกอบการร้านอาหารต้องคิดวางแผนคือ หากสถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้น และการแพร่ระบาดของไวรัสอยู่ในการควบคุมแล้ว ธุรกิจร้านอาหารจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้ไปต่อได้เร็ว และสามารถคว้าโอกาสได้ก่อน ลองมาดูปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ ร้านอาหารฟื้นตัว ได้เร็วหลังผ่านวิกฤตกันครับ  

ปัจจัยสำคัญช่วยให้ “ร้านอาหารฟื้นตัว” เร็วหลังวิกฤต

ร้านอาหารฟื้นตัว

 

1. สร้างฐานลูกค้าประจำให้กลับมาซื้อซ้ำ

        การขายแบบเดลิเวอรีหรือทางออนไลน์มากขึ้น ย่อมทำให้ทางร้านเก็บข้อมูลของลูกค้า และข้อมูลการขายเมนูอาหารต่างๆ ได้ง่ายขึ้นมาก กลุ่มเป้าหมายของร้านก็จะชัดเจนมากขึ้น ทางร้านก็ต้องสร้างช่องทางการติดต่อ และช่องทางการสั่งอาหารให้ครบถ้วน มีแผนการตลาดที่ช่วยรักษาลูกค้ากลุ่มนี้ให้กลับมาซื้ออาหารซ้ำอีก อำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าที่ใช้บริการ หากได้รับคำติชมก็สามารถแสดงความรับผิดชอบ และปรับปรุงแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว
        นอกจากนี้ การตลาดออนไลน์ของร้านอาหารก็เป็นเรื่องสำคัญมากเช่นกัน ควรมีการอัพเดตข้อมูลเมนูอาหาร โปรโมชันต่างๆ มาตรฐานความสะอาดในร้าน เพื่อสร้าง Brand awareness และเรียกความมั่นใจของลูกค้า รวมถึงพร้อมประชาสัมพันธ์ร้านอาหารในกรณีที่สถานการณ์ดีขึ้นแล้ว 

2. รักษาพนักงานที่ดีไว้กับร้าน

        ในช่วงวิกฤตที่ผ่านมานี้ รายได้ที่ลดลงทำให้ผู้ประกอบการต้องจัดการกับต้นทุนที่ยังคงต้องจ่ายเท่าเดิม ตัวอย่างเช่น ค่าแรงพนักงาน ซึ่งร้านอาหารแต่ละที่ก็มีการจัดการแตกต่างกันไป บางแห่งใช้วิธีพูดคุยถึงปัญหาและหาทางออกร่วมกัน ทั้งการลดเงินเดือนพนักงานบางส่วน การเปลี่ยนช่วงเวลาทำงาน คิดหาผลิตภัณฑ์ใหม่มาจำหน่าย รวมถึงหารายได้เสริมทางอื่นๆ เพื่อให้ทั้งร้านและทีมงานสามารถไปต่อด้วยกันได้ 

        อย่าลืมว่าการบริหารจัดการพนักงานเป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ของร้านอาหาร กว่าที่ร้านจะรับสมัครพนักงานในทีมที่เหมาะสมมาได้ไม่ใช่เรื่องง่าย การรักษาพนักงานที่ดีไว้กับร้าน จะช่วยลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการหาพนักงานใหม่ ประหยัดเวลาที่ใช้เทรนงาน และการดำเนินงานในร้านไหลลื่นขึ้น เพราะร้านอาหารไม่สามารถทำคนเดียวได้ และทีมงานที่ดีจะช่วยให้ธุรกิจฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วขึ้นแน่นอน 

ร้านอาหารฟื้นตัว

3. วางแผนธุรกิจล่วงหน้า

        การวิเคราะห์และวางแผนล่วงหน้าจะช่วยให้ธุรกิจไปต่อได้เร็วขึ้น เพราะทุกอย่างได้ผ่านการคิดหาลู่ทางไว้แล้ว ไม่ใช่แค่ Plan A แต่จะต้องมี Plan B, C, D และอื่นๆ เท่าที่จะคิดได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อรองรับในแต่ละสถานการณ์ ซึ่งอาจจะวางแผนในด้านต่างๆ ตามหลัก 7Ps ซึ่งเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับธุรกิจบริการ

  • People (พนักงาน)
    เช่น จำนวนพนักงานที่พร้อมทำงานเมื่อสามารถเปิดหน้าร้านได้ เงินเดือนที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานต่างๆ การฝึกอบรมพนักงานใหม่ให้ได้ตามมาตรฐานของร้าน
  • Process (ขั้นตอนการทำงาน)
    การแบ่งหน้าที่ภายในร้านที่จะเปลี่ยนไปหลังจากให้คนนั่งทานในร้านได้ การปรับเปลี่ยนเวลาทำการของร้านหลังจบเคอร์ฟิว จะมีการจัดการต้นทุนอย่างไรให้ร้านมีกำไรเท่าที่ตั้งเป้าหมายไว้
  • Physical Evidence (สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ)
    การรักษามาตรฐานความสะอาดของอาหาร และภายในร้านเพื่อความมั่นใจของลูกค้า
  • Price (ราคา)
    การตั้งราคาเมนูอาหารที่ขายหน้าร้าน และราคาอาหารเมนูทางเดลิเวอรีที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่า และร้านยังสามารถบริหารจัดการต้นทุนให้ได้กำไร
  • Product (ผลิตภัณฑ์)
    ต้องปรับเมนูอาหารในร้านอย่างไรเมื่อสามารถให้ลูกค้านั่งทานในร้านได้แล้ว จะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่คิดไว้ในช่วงปิดร้านมาต่อยอดอย่างไร ให้ร้านมีช่องทางหารายได้มากขึ้น
  • Place (ช่องทางการจัดจำหน่าย)
    ทั้งการขายผ่านสื่อออนไลน์ แอปพลิเคชันเดลิเวอรี และการขายหน้าร้าน ร้านอาหารจะสามารถรองรับลูกค้าได้แค่ไหน หรือวางผังที่นั่งในร้านอย่างไรจึงจะมี social distance ที่เหมาะสม? ทำเลของร้านอาหารเหมาะสมหรือไม่?
  • Promotion (การส่งเสริมการขาย) ร้านจะมีแผนการตลาดที่จะดึงดูดลูกค้าอย่างไร

        หรือแม้แต่คิดว่าถ้าเกิดการระบาดอีกครั้งจะมีแผนรองรับอย่างไร? คำถามเหล่านี้ก็เป็นโจทย์ที่ท้าทายสำหรับผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร เพราะต้องคำนึงถึงรายละเอียดมากมาย แต่การวางแผนเหล่านี้จะช่วยให้คว้าโอกาสในช่วงเวลาที่เหมาะสมได้ง่ายขึ้น และลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดปัญหาต่างๆ  

ร้านอาหารฟื้นตัว


4. สร้างคุณค่าด้วยจุดเด่นของร้าน

        ในสถานการณ์ที่เพิ่งฟื้นตัว เกือบทุกร้านต้องแข่งกันเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค เพื่อชดเชยรายได้ที่หายไปจากการปิดหน้าร้าน และแน่นอนว่าร้านอาหารขนาดกลางไปจนถึงขนาดเล็ก ย่อมไม่สามารถจัดโปรโมชันสู้ “สงครามราคา” กับเครือข่ายธุรกิจอาหารขนาดใหญ่แบบ Food Chain Restaurant ได้
        การแข่งขันลดราคาอย่างเดียวจึงไม่ใช่ทางออกที่ดี จะต้องใช้การตลาดแบบไหนที่จะช่วยดึงดูดลูกค้าได้มากขึ้น? ร้านควรหาสิ่งที่เป็นจุดเด่นของร้านมาชูเป็นจุดขาย สร้างความแตกต่างด้วยความคิดสร้างสรรค์ ทำเมนูใหม่ๆ ที่น่าประทับใจ และทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ด้วยต้นทุนที่มีอยู่

 

        หากช่วงเวลาที่แย่ที่สุดผ่านพ้นไป สถานการณ์ของร้านอาหารก็จะดีขึ้น เพราะมีผู้บริโภคที่ออกมาใช้จ่ายกันมากในช่วงแรกๆ แต่อย่างไรก็ตาม ยอดขายของร้านในระยะยาวอาจจะไม่สามารถกลับมาเท่ากับช่วงปกติ ด้วยสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวที่ต้องใช้เวลาในการพักฟื้น ทำให้ผู้บริโภคใช้จ่ายอย่างประหยัด รวมถึงบางส่วนก็มาทำอาหารเองมากขึ้น

ทำให้ความท้าทายของผู้ประกอบการร้านอาหารก็ยังมีอยู่เสมอ เราก็คงต้องติดตามข่าวสารต่างๆ ปรับแผนการไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และไม่หยุดที่จะพัฒนาต่อไปครับ 

เรื่องแนะนำ

ประหยัดค่าใช้จ่าย

8 วิธี ประหยัดค่าใช้จ่าย ภายในร้าน

เป็นที่ทราบดีว่า ค่าใช้จ่ายของธุรกิจร้านอาหารค่อนข้างสูง เราจึงมี 10 วิธี ประหยัดค่าใช้จ่าย ภายในร้าน ที่หลายคนอาจมองข้าม แต่ช่วยลดรายจ่ายได้จริง คอนเฟิร์ม!

คุมต้นทุนอาหาร

คุมต้นทุนอาหาร ด้วยเทคนิค 4 ข้อ

        หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ร้านอาหารต้องปิดตัวลง คือ “การคุมต้นทุนไม่อยู่” บางร้านอาจจะขายดีมากแต่ไม่ได้กำไรเพราะมีต้นทุนสูงเกินไป โดยเฉพาะต้นทุนด้านวัตถุดิบ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายหลักของร้านอาหาร ร้านทั่วไปจะมีต้นทุนส่วนนี้ 30-40% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด หรืออาจสูงกว่านี้ในร้านอาหารประเภทบุฟเฟ่ต์ ผู้ประกอบการจึงควรให้ความสำคัญกับการบริหารต้นทุนในส่วนนี้ให้มาก ลองมาดูสิ่งที่จะช่วย คุมต้นทุนอาหาร และเพิ่มกำไรให้ร้านอาหารของเรากันครับ คุมต้นทุนอาหาร ด้วยเทคนิค 4 ข้อ 1. ใส่ใจและติดตามราคาวัตถุดิบ         วิธีที่ดีในการคุมต้นทุน คือการติดตามราคาของวัตถุดิบที่ใช้ภายในร้าน บางท่านอาจจะรู้สึกยุ่งยากเพราะที่ร้านใช้วัตถุดิบหลายชนิด แต่วิธีง่ายๆ คือเลือกแค่วัตถุดิบที่เป็นต้นทุนหลักของร้านมาบันทึกราคา ปริมาณที่ใช้ และต้นทุนทั้งหมดของวัตถุดิบแต่ละชนิด เพื่อนำมาเปรียบเทียบราคาในแต่ละเดือน          สมมติว่าราคากุ้งเดิมกิโลกรัมละ 180 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 220 บาทจากภาวะน้ำท่วมในบางพื้นที่ ส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นมา 40 บาทนี้อาจจะดูไม่มาก แต่มันคือต้นทุนที่เพิ่มขึ้น 22% จากราคาเดิม ยิ่งร้านที่ขายดีเท่าไหร่ กำไรที่หายไปก็จะเพิ่มมากขึ้น ในช่วงภาวะต้นทุนวัตถุดิบปรับขึ้นราคา […]

บางทีลูกค้าก็ให้โอกาสเราแค่ครั้งเดียว! ปัจจัยที่ต้องทำ ถ้าอยากมี “ลูกค้าประจำ”

ถอดบทเรียน บางทีลูกค้าก็ให้โอกาสเราแค่ครั้งเดียว ร้านตั้งข้อสังเกต ลูกค้าไม่กลับมาอีก เพราะร้านไม่พร้อม ปัจจัยที่ต้องให้ความสำคัญถ้าอยากมี “ลูกค้าประจำ” บางทีลูกค้าก็ให้โอกาสเราแค่ครั้งเดียว… เจ้าของร้านกาแฟร้านหนึ่งได้มาโพสต์เล่าเรื่องราวในกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ” เมื่อเขาสังเกตเห็นว่าลูกค้าที่เคยมาใช้บริการ ไม่กลับมาใช้บริการอีก โดยเขาได้ตั้งขอสงสัยว่าอาจเป็นเพราะว่าวันที่ลูกค้ากลุ่มนั้นมาใช้บริการ ทางร้านมีโต๊ะไว้บริการไม่เพียงพอ ทำให้ลูกค้าไม่ประทับใจ ไม่ตอบโจทย์จึงไม่กลับมาใช้บริการอีก โดยเขาโพสต์ว่า “บางทีลูกค้าก็ไม่ได้มีให้โอกาสเราแก้ตัวนะครับ มาครั้งแรกวันที่โต๊ะไม่พอกันนั่ง หลังจากวันนั้น ผมซื้อโต๊ะใหม่เลย ลูกค้ากลุ่มนี้ก็ไม่ได้มาอีกเลยครับ แต่ก็ขอบคุณมากๆ ครับ ที่มาในครั้งนั้น ทำให้รู้ว่าเรายังมีส่วนไหนที่ต้องปรับ ถ้าเป็นไปได้ ก็อยากให้มาอีกนะครับ เพราะตอนนี้ร้านเงียบมาก โล่งสุด พ่อค้านั่งตบยุงรอครับ ”   🔸ความเห็นจากชาวเน็ต💬 ซึ่งหลังจากโพสต์นี้ออกไปก็ได้มีเจ้าของร้านกาแฟรวมถึงลูกค้าต่างเข้ามาคอมเมนต์ให้กำลังใจเจ้าของร้านรายนี้กันอย่างล้นหลาม บ้างก็ตั้งข้อสังเกตว่าลูกค้ากลุ่มนั้นอาจจะเป็นลูกค้าขาจร ที่อาจจะผ่านและแวะเข้ามาใช้บริการ เช่น “เขาอาจจะแค่แวะมาแบบขาจรแล้ววันนั้นร้านคุณสวยเลยมาบรรจบที่ร้านคุณ เรื่องที่นั่งไม่แปลกหรอกค่ะ ร้านเปิดแรก ๆ ไม่มีอะไรเพอร์เฟค ใส่ใจเรื่องรสชาติของสินค้าในร้านดีกว่าค่ะ ต่อให้ไม่มีที่นั่ง ถ้าของอร่อยลูกค้าก็มาซื้อค่ะ แต่ก็ดีแล้วที่ใส่ใจปัญหาที่เกิดขึ้นและนำมาแก้ไข สู้ ๆ นะคะ ” “บางทีเป็นขาจรมาแวะค่ะ อย่าหมดหวัง ถ้าเขาผ่านมา เชื่อว่าเขาแวะแน่นอนค่ะ” […]

พนักงานร้านอาหารลาออก

5 เหตุผลที่ทำให้ พนักงานร้านอาหารลาออก

ปัญหาพนักงานลาออก ถือเป็นปัญหาที่เจ้าของร้านอาหารทุกคนต้องเผชิญ หลายคนพยายามแก้ปัญหา แต่ก็ไม่เป็นผล มาดู 5 เหตุผลที่ทำให้ พนักงานร้านอาหารลาออก กันดีกว่า

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.