"น้ำแข็ง" วัตถุดิบเล็กๆ ที่ร้านอาหารหลายร้านมักมองข้าม - Amarin Academy

“น้ำแข็ง” วัตถุดิบเล็กๆ ที่ร้านอาหารหลายร้านมักมองข้าม

        เครื่องดื่มอร่อยๆ ก็ต้องคู่กับ น้ำแข็ง เย็นๆ ชื่นใจ แต่ใครจะไปคิดว่าน้ำแข็งแต่ละรูปทรงก็ส่งผลต่อรสชาติของเครื่องดื่มได้อย่างไม่น่าเชื่อ น้ำแข็งทุกก้อนมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน อย่าปล่อยให้รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ นี้ทำให้ร้านอาหารของคุณต้องมีเครื่องดื่มที่ไม่ได้คุณภาพ!

        แต่ก่อนอื่นต้องบอกก่อนเลยว่า น้ำแข็ง เป็นน้ำที่นำมาผ่านกรรมวิธีทำให้เยือกแข็ง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามกรรมวิธีการผลิตดังนี้

  1.  น้ำแข็งชนิดซอง เป็นน้ำแข็งที่ผลิตโดยวิธีการแช่แข็งในบ่อน้ำเกลือ มี 2 ชนิด คือ

  น้ำแข็งที่รับประทานได้ จะต้องใช้น้ำที่ผ่านขั้นตอนการปรับคุณภาพ แล้วนำไปผลิตเป็นน้ำแข็งก้อนใหญ่ จะมีขั้นตอนการเป่าลมเพื่อให้น้ำแข็งทั้งก้อนใส

  น้ำแข็งที่รับประทานไม่ได้ นิยมใช้ในทางการประมงเพื่อแช่อาหารทะเล แต่กรรมวิธีจะไม่มีขั้นตอนการเป่าลม ทำให้ก้อนน้ำแข็งมีสีขาวขุ่น

  1.  น้ำแข็งชนิดก้อนเล็ก เป็นน้ำแข็งที่ทำด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ มีลักษณะเป็นก้อน, หลอด หรือเกล็ด โดยทั่วไปมักจะเรียกว่า น้ำแข็งหลอด ซึ่งจะนำน้ำที่ผ่านขั้นตอนการปรับคุณภาพแล้ว เข้าเครื่องทำน้ำแข็งอัตโนมัติ

น้ำแข็ง


น้ำแข็ง ประเภทไหน เหมาะกับเครื่องดื่มอะไรบ้าง?

        อย่างที่บอกไปว่าน้ำแข็งทุกก้อนมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ถ้าอยากให้เครื่องดื่มรสชาติดีก็ต้องเลือกน้ำแข็งให้ถูกประเภท ฉะนั้นมาดูกันว่าน้ำแข็งแต่ละประเภทเป็นแบบไหนกันบ้าง?

  • น้ำแข็งสี่เหลี่ยม (Cube)
  • น้ำแข็งเกล็ดกรอบ (Nugget)
  • น้ำแข็งถ้วย (Gourmet )
  • น้ำแข็งแผ่น (Flake)

น้ำแข็ง

น้ำแข็งสี่เหลี่ยม (Cube)

        น้ำแข็งยอดนิยม มีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีให้เลือก 2 รูปแบบ คือ Full Cubes และ Half Cubes มีคุณสมบัติการละลายช้ากว่าน้ำแข็งประเภทอื่นๆ เนื่องจากมีความหนาแน่นสูง สามารถรักษาอุณหภูมิความเย็นไว้ได้นาน แม้จะอยู่ในภาชนะขนาดใหญ่ก็เอาอยู่ มีความเย็นต่อเนื่องหลายชั่วโมง อีกทั้งตัวน้ำแข็งมีความสวยงาม ทำให้เครื่องดื่มดูน่ารับประทานมากขึ้น

เหมาะสำหรับ: เครื่องดื่มที่ไม่ต้องการให้น้ำแข็งทำลายรสชาติของเครื่องดื่ม เช่น ค็อกเทล, กาแฟเย็น,  น้ำหวานชงดื่มชนิดต่างๆ

สถานที่นิยมใช้:  บาร์, ร้านขายเครื่องดื่ม, ร้านขนม, ร้านอาหารทั่วไป และมีขายในร้านสะดวกซื้อ

เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ: Dice Ice หรือ Square Cube

 

น้ำแข็ง

น้ำแข็งเกล็ดกรอบ (Nugget)

        ไม่มีใครไม่เคยทานน้ำแข็งประเภทนี้ น้ำแข็งแบบบดละเอียด ด้วยรูปทรงที่คล้ายกับนักเก็ต เป็นรูปทรงที่เรามักเห็นบ่อยๆ ในเซเว่น อีเลฟเว่น มีขนาดเล็ก ไม่แข็งมาก ถือว่าเป็นน้ำแข็งที่เคี้ยวง่ายที่สุด กรุบกรอบ เคี้ยวเพลิน แต่จะมีการละลายที่ค่อนข้างเร็ว นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้น้ำแข็งประเภทนี้เหมาะกับร้านอาหารที่ต้องการให้เครื่องดื่มมีอุณหภูมิที่เย็นเร็ว

เหมาะสำหรับ: เครื่องดื่มทุกชนิด เช่น น้ำอัดลม, น้ำหวาน, ชา, กาแฟ และเครื่องดื่มปั่น เช่น สมูทตี้, ค็อกเทลปั่น หรือน้ำแข็งใส

สถานที่นิยมใช้:  บาร์, ร้านขายเครื่องดื่ม, ร้านขนม, ร้านอาหารทั่วไป, สถานพยาบาล, โรงเรียน และมีขายในร้านสะดวกซื้อ

เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ: Tubular Nugget Ice, Pebble Ice, Pellet Ice หรือ Sonic Ice

 น้ำแข็ง


น้ำแข็งถ้วย
(Gourmet)

        น้ำแข็ง ทรงสวยดูแปลกตา วิบวับเหมือนคริสตัล ลักษณะเป็นถ้วยรูปทรงกระบอกขนาด 2 ซม. ลักษณะคล้ายๆ หมวก มีรูปทรงและขนาดที่แน่นอน เพราะผลิตจากบล็อคน้ำแข็งที่ได้มาตรฐาน ไม่มีรูตรงกลางเหมือนน้ำแข็งทั่วไป จึงเป็นคุณสมบัติพิเศษทำให้น้ำแข็งละลายช้า ไม่ทำให้รสชาติของเครื่องดื่มเปลี่ยน บวกกับความที่ก้อนน้ำแข็งมีขนาดใหญ่และหนา มีความแวววาว สวยงาม ผู้คนจึงนิยมใส่น้ำแข็งถ้วยในเครื่องดื่มที่ดูดีมีระดับ เลิศหรู ราคาแพง

เหมาะสำหรับ: เครื่องดื่มระดับ High-end เช่น Whisky on the rocks, บรั่นดี หรือ ค็อกเทล Old Fashioned

สถานที่นิยมใช้: ภัตตาคารหรู, โรงแรมหรู, งานอีเว้นท์ หรือบาร์

เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ: Top Hat Ice หรือ Octagon Shaped Ice

 น้ำแข็ง

น้ำแข็งแผ่น (Flake)

         หลายๆ คนอาจสับสนระหว่างน้ำแข็งแผ่น (Flake) กับน้ำแข็งเกล็ดกรอบ (Nugget) ด้วยลักษณะและคุณสมบัติที่คล้ายกัน คือความกรุบกรอบ มีความหนาแน่นของน้ำประมาณ 70% ให้ความเย็นเร็ว แต่มีอณูไม่หนาแน่น จึงละลายได้เร็ว มีความแตกต่างกันตรงที่ลักษณะเป็นแผ่นและบางกว่า เลยอาจทำให้คนไทยเรียกถูกเรียกผิด ใช้น้ำแข็งสลับประเภทกันไปหมด ความจริงแล้วในต่างประเทศ ไม่นิยมนำมาบริโภค แต่จะใช้แช่อาหารสดมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นการจัดโชว์หน้าร้าน หรือแช่อาหารทะเลอยู่ตามไลน์บุฟเฟ่ต์

เหมาะสำหรับ: ใช้แช่ของสด อาหารทะเล เนื้อสัตว์ ผักและผลไม้

สถานที่นิยมใช้: กลุ่มร้านค้า, ร้านอาหารบุฟเฟ่ต์, ร้านอาหารทะเล, ตลาดสด, อุตสาหกรรมผลิตอาหาร หรือห้องเย็นแช่อาหารสด 

 

         เพราะทุกความใส่ใจในรายละเอียดเป็นเรื่องสำคัญ แม้ว่า น้ำแข็ง จะเป็นเพียบวัตถุดิบเล็กๆ แต่ก็อาจส่งผลให้ภาพลักษณ์ธุรกิจร้านอาหารของคุณเปลี่ยนไปได้ ฉะนั้นการมอบสิ่งดีๆ ให้กับลูกค้า สร้างความเชื่อมั่นในเรื่องความสะอาด จะเป็นตัวเพิ่มมูลค่าให้กับร้านนั่นเอง

         ว่าแต่อากาศร้อนๆ แบบนี้จัดเครื่องดื่มเย็นๆ ดับกระหายน้ำสักแก้วหน่อยไหม?

เรื่องแนะนำ

อยากเปิดร้านอาหาร ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

เปิดร้านอาหารสักร้านไม่ว่าจะเปิดในห้าง หรือ นอกห้าง ต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ที่เป็นค่าใช้จ่ายสำคัญ ๆ เพื่อให้ทุกท่านที่กำลังจะเปิดร้านได้เตรียมความพร้อม

  หาพนักงานไม่ได้ พนักงานลาออกกะทันหันทำอย่างไรดี เชื่อว่าปัญหานี้เจ้าของร้านอาหารทุกคนไม่อยากเจอ เพราะนอกจากเสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการหาคนทำงานแทนแล้ว ความไม่พร้อมด้านกำลังคนอาจส่งผลต่อการบริหารจัดการและเสียลูกค้าไปในที่สุด มาเรียนรู้ขั้นตอนแก้สถานการณ์ เพื่อให้คุณสามารถรับมือกับเรื่องหัวหมุนนี้ไว้ก่อนจะดีกว่า   ประเมินสถานการณ์ วางแผนการทำงานโดยคาดการณ์จำนวนลูกค้าที่เข้ามารับบริการต่อวัน  โดยร้านส่วนใหญ่จะมีระบบ POS สามารถดูสถิติจำนวนลูกค้าได้  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดจ้างพนักงานร้านอาหารแบบ Part time  การจ้างเฉพาะช่วงเวลาขายดีเพื่อทดแทนกำลังที่ขาด จะทำให้คุณไม่ต้องแบกค่าใช้จ่ายจาการจ้างงานเต็มวัน นอกจากนี้ควรวางแผนกำลังคนที่มีอยู่ให้เหมาะสมกับลักษณะร้าน เช่น ร้านอาหารแบบบุฟเฟต์เน้นการเตรียมของ เติมของ เคลียร์ภาชนะที่รวดเร็ว อาจเพิ่มพนักงานในส่วนนั้น และดึงพนักงานประจำที่เชี่ยวชาญแล้ว มาคอยบริหารจัดการลูกค้าหน้าร้านแทน   มอบหมายหน้าที่ บริหารจัดการคนที่มีอยู่ให้ดีที่สุด การมอบหมายหน้าที่ที่ชัดเจน จะช่วยลดปัญหาที่เกิดจากการสื่อสารผิดพลาด โดยเฉพาะพนักงานบริการที่ต้องรับมือกับลูกค้าโดยตรง  วิธีที่ง่ายวิธีหนึ่ง คือ การกำหนดจำนวนโต๊ะ  และโซนที่รับผิดชอบให้เหมาะสมกับจำนวนพนักงานบริการที่มีอยู่ จากนั้นกำหนดเวลาในการบริการแต่ละขั้นตอน เช่น หลังจากลูกค้านั่งที่โต๊ะ ตั้งไว้เลยว่าอีกกี่นาทีรับออเดอร์ รวมถึงการเสิร์ฟอาหาร การเคลียร์จานเข้าออก พนักงานที่มีอยู่ต้องหมั่นคอยสังเกตความต้องการของลูกค้า เพื่อให้เกิดการบริการที่ลื่นไหล และทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้รับการบริการและความใส่ใจอย่างเต็มที่ ในขณะที่ฝ่ายเตรียมอาหาร ต้องมีการวางแผนอาหารในแต่ละออเดอร์ให้แม่นยำ เพื่อการบริการอย่างดีที่สุด   ครอบคลุมโซนพื้นที่ในการให้บริการ ในกรณีที่ลูกค้าไม่เยอะ การปิดพื้นที่บางส่วน  หรือเชื้อเชิญลูกค้าให้นั่งในพื้นที่ที่กำหนด […]

ต้นทุนอาหารควบคุมได้ กำไรเห็น ๆ

  การกำหนดต้นทุนอาหารส่วนใหญ่จะกำหนดไม่เกิน 35-40 เปอร์เซนต์ของต้นทุนทั้งหมด โดยสูตรการคำนวณที่นิยมใช้กันคือต้นทุน เท่ากับ ยอดขาย (ราคาขาย ) คูณด้วยเปอร์เซนต์ของต้นทุน เพราะฉะนั้นถ้าเรากำหนดต้นทุนและยอดขายโดยประมาณไว้แล้ว เราก็จะได้จำนวนต้นทุนเพื่อควบคุมไว้ให้ไม่เกิน ยกตัวอย่าง ยอดขาย 90,000 คูณด้วย 35 เปอร์เซนต์ เท่ากับต้นทุนต้องไม่เกิน 31,500  บาท เป็นต้น ระบบการควบคุมต้นทุนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  ควรทำควบคู่กับระบบการจัดทำ Recipe  เพื่อกำหนดราคาขาย  และการกำหนด SOP เพื่อจัดการเมนูอาหาร   การจัดทำ  recipe เพื่อลงรายละเอียดของวัตถุดิบ   การจัดทำ recipe นั้นจะช่วยให้เรากำหนดราคาขายที่เหมาะสม ประเมินงบประมาณจัดซื้อวัตถุดิบ และยังช่วยลดการสูญเสียวัตถุดิบ ยกตัวอย่าง ดังนั้น ข้าวไข่ข้นกุ้งเมนูนี้ จึงมีต้นทุนอยู่ที่ 14.4 % หากขายที่ราคา 90  บาท นอกจากนี้ การคำนวณวัตถุดิบควรลงละเอียดในเรื่องของ yield  (การหาค่าเฉลี่ยวัตถุดิบ) ลงไปด้วยเพื่อการกำหนดต้นทุนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในส่วนของการจัดทำ Recipe […]

เพิ่มยอดขาย

เสิร์ฟเร็วขึ้น 10 นาที เพิ่มยอดขาย ได้ปีละ 4 แสน!

ร้านอาหาร ส่วนใหญ่มักเลือกเล่นโปรโมชั่นเพื่อ เพิ่มยอดขาย แต่เรามีวิธีทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น โดยที่กำไรไม่ลดลง แถมยอดขายยังสูงสม่ำเสมอ มาแนะนำ

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.