วิกฤตระยะยาว ร้านอาหาร SME ต้องปรับตัวอย่างไร? - Amarin Academy

วิกฤตระยะยาว ร้านอาหาร SME ต้องปรับตัวอย่างไร? 

         การแพร่ระบาดของไวรัส เป็นสาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจและการลงทุนทั่วโลกกระทบหนักอยู่ในขณะนี้ แน่นอนว่าร้านอาหารต้องเผชิญกับสภาพการแข่งขันในรูปแบบใหม่ และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป หากสถานการณ์นี้ยืดเยื้อต่อไป ผู้ประกอบการ ร้านอาหาร SME จำเป็นต้องหาแนวทางในการรับมือระยะยาวที่จะช่วยให้ธุรกิจไปต่อได้ 

วิกฤตร้านอาหาร

ร้านอาหาร SME ปรับตัวอย่างไร? 

         ในทุกปัญหามีทางออก แม้ว่าธุรกิจอาหารในช่วงนี้จะไม่สามารถขายทางหน้าร้านได้มากนัก แต่ความต้องการของผู้บริโภคยังคงมีอยู่ ทางออกของการทำร้านอาหารจึงต้องเน้นการขายทางออนไลน์และส่งอาหารเดลิเวอรี่มากขึ้น รวมถึงการปรับตัวในรูปแบบอื่นๆ ได้แก่ 

ร้านอาหาร SME

         ปัญหาที่ต้องแก้เร่งด่วน

         ปัญหาที่ทุกร้านอาหารต้องเจอคือรายได้ที่ลดลง แต่ต้นทุนต่างๆ ยังคงต้องเสียอยู่เหมือนเดิม การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เจ้าของร้านควรทำ คือการจัดการต้นทุนต่างๆ ลองพิจารณาต้นทุนที่สามารถตัดได้ เช่น ลองเจรจาขอลดค่าเช่าร้าน ค่าเช่าอุปกรณ์ต่างๆ ค่าเช่าระบบ POS ในร้านอาหาร ค่าวัตถุดิบอาหาร ลดปริมาณหรือความถี่ในกิจกรรมต่างๆ ที่เคยจัด เช่น การทำความสะอาดร้าน การนัดกำจัดแมลง 

         ถ้าการขายหน้าร้านแบบ take away หรือขายเดลิเวอรีไม่ดี ลองมองหาทำเลใหม่ที่จะสามารถขายได้มากขึ้น เช่น แหล่งที่ทำงาน หน้าบริษัทต่างๆ เพื่อเพิ่มโอกาสให้กับธุรกิจ แต่ต้องอยู่ภายใต้การบริหารต้นทุนที่ดี ไม่ใช่ขายได้มากขึ้น แต่หักลบต้นทุนแล้วเหลือกำไรไม่เท่าไหร่   

        สำหรับพนักงานที่อยู่กับร้านมานาน ถ้าร้านต้องการรักษาพนักงานเอาไว้ ก็ควรจะมีการพูดคุยกับพนักงานให้เข้าใจสถานการณ์การเงินของร้าน และหาทางออกร่วมกัน เช่น การปรับเวลาเปิดปิดร้านอาหารให้อยู่ในช่วงเวลาที่เหมาะสม จากเดิมที่มีเวลาเปิดร้านยาว และมีพนักงานทำงานเป็นหลายกะ ก็รวบให้เหลือเวลาทำการสำหรับให้พนักงานกะเดียว และให้พนักงานสลับกันทำงาน เพื่อให้พนักงานยังมีงานทำ และร้านสามารถแบกรับต้นทุนไหว เมื่อวิกฤตผ่านไป ร้านจะยังรักษาพนักงานให้อยู่ด้วยกันต่อไปได้

         ปรับเมนูให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน

         ร้านต้องพัฒนาเมนูเพื่อเดลิเวอรี โดยหาเมนูอาหารที่เป็นจุดเด่นของร้านมาให้ได้ ซึ่งอาจจะเป็นเมนูที่ทางร้านชำนาญ ต้องใช้เวลาในการปรุงไม่มากนัก มีช่องทางในการหาวัตถุดิบในราคาไม่แพง เพื่อลดต้นทุนด้านต่างๆ เช่น ต้นทุนวัตถุดิบให้ได้มากที่สุด ปรับเมนูให้เหมาะสมกับการจัดส่ง เพื่อให้อาหารยังมีรสชาติและหน้าตาที่ดีเมื่อส่งถึงมือลูกค้า รวมถึงตั้งราคาอาหารให้เหมาะสม 

         รายได้ไม่ควรมีช่องทางเดียว 

         การมองหาช่องทางทำรายได้อื่นๆ จะช่วยกระจายความเสี่ยงของธุรกิจ โดยผู้ประกอบการควรมองหาสิ่งใหม่ๆ ที่สามารถทำได้จากอาหารที่มีอยู่ บางร้านใช้วิธีสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่เช่น ร้านเครื่องดื่มจากที่ขายเป็นแก้วอย่างเดียว ก็นำมาบรรจุขวดขาย ทำให้ลูกค้าสามารถเก็บไว้ได้นานขึ้น และซื้อเก็บไว้ได้ทีละจำนวนมากๆ หรือร้านก๋วยเตี๋ยวก็มีการทำน้ำก๋วยเตี๋ยวสำเร็จรูปขายเพิ่มเติม ทำให้ร้านมีทางเลือกมากกว่ารายได้จากการขายอาหารพร้อมทานอย่างเดียว

ร้านอาหาร SME
         Ghost Restaurant 

         Ghost Restaurant คือ ร้านอาหารที่ไม่มีหน้าร้านให้ลูกค้านั่งทาน แต่ขายอาหารผ่านทางออนไลน์เท่านั้น ธุรกิจนี้มีการเติบโตสูงขึ้นมากในแถบเอเชีย ซึ่งการแพร่ระบาดของไวรัสนี้ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เร่งให้ผู้ประกอบการเริ่มปรับแนวทางมาทำร้านแบบนี้เพิ่มขึ้น เพราะสามารถลดต้นทุนค่าใช้จ่ายได้บางส่วน เช่น ไม่ต้องเช่าพื้นที่ในทำเลที่ดีมากนัก ลดค่าใช้จ่ายด้านพนักงาน ค่าตกแต่งร้านอาหาร และทำให้การบริหารจัดการง่ายขึ้น 

         โดยเฉพาะเมื่อวิกฤตครั้งนี้ไม่มีทางจบในระยะ 2-3 เดือน หลังจากที่ควบคุมสถานการณ์ได้แล้ว พฤติกรรมของผู้บริโภคก็ยังไม่กลับมาเป็นเหมือนเดิม 100% เพราะยังต้องระวังการใช้จ่ายในภาวะเศรษฐกิจถดถอย การประหยัดต้นทุนเป็นสิ่งที่สำคัญมากในระยะยาว

        วิเคราะห์และประเมินฐานะการเงิน

         การทำร้านอาหารต้องมีการวิเคราะห์บัญชีการเงิน ตัวเลขกำไรขาดทุนของร้าน เพื่อดูว่าสถานการณ์ของร้านเป็นอย่างไร มีสภาพคล่องทางการเงินอย่างไร เพื่อวางแผนงานธุรกิจและโอกาสในการอยู่รอดของร้าน บางร้านที่มีหลายสาขา อาจจะต้องตัดสินใจปิดสาขาที่ได้กำไรน้อยไปก่อน เพื่อตัดไฟตั้งแต่ต้นลม ช่วยให้เราไม่ขาดทุนมากเกินไป ซึ่งจุดที่ต้องตัดสินใจนี้ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการรับความเสี่ยงของแต่ละร้าน
         
         หากเจ้าของร้านพยายามปรับตัวแล้วธุรกิจยังคงขาดทุน พิจารณาว่าแบกรับไม่ไหวจริงๆ ก็ควรจะตัดสินใจปิดร้านไปก่อน เพื่อเก็บเงินทุนไว้รอเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มต้นใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องปกติในธุรกิจร้านอาหารที่มีการแข่งขันสูง ไม่ใช่แค่ ร้านอาหาร SME แต่ในร้านอาหารขนาดใหญ่ก็เช่นกัน ในช่วงที่วิกฤตยังดำเนินต่อไป ร้านอาหารขนาดเล็กต้องปรับตัว ใช้จุดเด่นของตัวเอง และอาศัยความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับผู้บริโภคมากกว่าร้านอาหารขนาดใหญ่ เพื่อช่วยให้ร้านอาหารอยู่ต่อได้

เรื่องแนะนำ

เปลี่ยนเรื่องยากของธุรกิจร้านอาหารให้เป็นเรื่องง่ายที่ OfficeMate

การทำธุรกิจร้านอาหารมักมีโจทย์มาให้แก้ทุกวัน หนึ่งในโจทย์ที่เจ้าของธุรกิจร้านอาหารต้องเจอก็คือเรื่องของ “เวลา” เพราะธุรกิจร้านอาหารประกอบด้วยฟังก์ชั่นงานต่างๆมากมาย เริ่มตั้งแต่ งานตกแต่งร้าน งานครัว งานทำความสะอาด งานบัญชี งานไอที รวมไปถึงงานบริหาร ยิ่งมีงานเหล่านี้มากขึ้น คำถามคือ จะจัดการงานทั้งหมดอย่างไรในเวลาที่มีอยู่เท่าเดิม? แถมยังต้องมาเสียเวลาไปกับการเดินทางไปที่ต่างๆ เพื่อเลือกซื้ออุปกรณ์และของใช้เข้าร้านอีก จะดีกว่าไหมหากเราสามารถลดต้นทุนแฝงส่วนนี้ลงได้? และมีเวลาเหลือไปทำงานอย่างอื่นให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น ใช้เวลาอย่างคุ้มค่า เลือกซื้อสินค้าสำหรับร้านอาหารที่ OfficeMate OfficeMate เป็นผู้ช่วยชั้นเยี่ยมสำหรับเจ้าของธุรกิจร้านอาหารที่มีสินค้าที่ตอบโจทย์ธุรกิจอย่างครบครัน เรียกได้ว่าครอบคลุมแทบทุกส่วนงาน ตั้งแต่อุปกรณ์สำหรับขั้นตอนการตกแต่งร้าน และอุปกรณ์ที่ใช้ระหว่างดำเนินกิจการ รวมถึงของใช้เบ็ดเตล็ดอื่นๆ ทำให้การเลือกซื้อสินค้าที่ออฟฟิศเมท ช่วยประหยัดเวลาของเหล่าผู้ประกอบการร้านอาหาร และเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จในธุรกิจในเวลาเดียวกัน ลดต้นทุนเวลา มาที่เดียวจบ เพราะทุกสิ่งมีครบที่ OfficeMate             อย่างที่บอกไปว่าการเลือกซื้ออุปกรณ์และของใช้สำหรับธุรกิจร้านอาหารที่ OfficeMate ครอบคลุมงานแทบทุกส่วน มาดูกลุ่มสินค้าหลักๆ ที่สามารถเลือกซื้อได้ที่ OfficeMate กันค่ะ   สร้างมุมสวยด้วยเฟอร์นิเจอร์หลากหลายสไตล์ มุมสวยๆ เฟอร์นิเจอร์เก๋ๆ คือ องค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ของร้านอาหารยุค 4.0 เพราะลูกค้านิยมถ่ายรูปลง Social Media ดังนั้นร้านอาหารที่เลือกเฟอร์นิเจอร์ในการตกแต่งร้านได้สวยและมีเอกลักษณ์ ย่อมสามารถเข้าไปอยู่ในใจลูกค้าทั้งขาประจำและขาจรได้ง่ายขึ้น แถมเป็นการโฆษณาร้านอาหารของเราทางอ้อมอีกด้วย แต่การเดินหาเฟอร์นิเจอร์มาตกแต่งร้านก็ใช้เวลาไม่ใช่น้อยเลย […]

กรณีศึกษา ร้าน The Grouchy Chef ทำไมกฎร้านเยอะ แต่ดันลูกค้าแยะ?

กรณีศึกษา กฎร้านเยอะ แต่ดันลูกค้าแยะ ร้าน The Grouchy Chef เชฟขี้หงุดหงิด ร้านอาหารมีกฎการเข้าใช้บริการลูกค้าเยอะมาก แต่ทำไมลูกค้าถึงอยากมาใช้บริการ อาหารอร่อยแต่ร้านมี กฎ เยอะมากคุณจะยังอยากไปใช้บริการไหม ? เชื่อว่าเมื่อหลายคนจะไปใช้บริการร้านอาหารก็คงไม่อยากเจอร้านที่มี กฎ ยิบย่อย จุกจิกหรอกใช่ไหม ? มากินอาหารนอกบ้านทั้งทีก็อยากผ่อนคลาย จะให้มาทำตาม กฎ อะไรเยอะแยะมันเหนื่อยนะ แต่กับร้านนี้ไม่ใช่แบบนั้น!!! เพราะหลายคนที่เคยไปใช้บริการต่างยอมที่จะทำตาม กฎ ถึงแม้มันจะมีอยู่มากมายก็ตาม เพราะอะไรถึงเป็นแบบนั้น เรามาหาคำตอบกัน! 🔸เชฟขี้หงุดหงิด🤯 . ร้านอาหารที่เรากำลังพูดถึงนี้มีชื่อว่า The Grouchy Chef หรือแปลเป็นไทยว่า “เชฟขี้หงุดหงิด” เป็นร้านอาหารฝรั่งเศส ที่บริหารโดย Takayuki Masumoto หัวหน้าเชฟชาวญี่ปุ่น โดยร้านนี้ตั้งอยู่ในเมืองวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา มีจุดเด่นในเรื่องของรสชาติที่หลาย ๆ ต่อหลายคนรีวิวว่าอาหารอร่อยมาก และที่สำคัญราคาถูก โดยราคาอาหารต่อจานของร้านนี้อยู่ที่ราว ๆ 11-30 ดอลลาร์ จึงถือว่าถูกมากถ้าหากเทียบกับราคาอาหารฝรั่งเศสของร้านอื่น ๆ ที่มักขายอยู่ที่ราคา […]

กรณีศึกษาร้านกาแฟ SLOW BAR แม่ค้ารู้สึกกดดันเวลาลูกค้าเยอะ แชร์วิธีแก้จากคนทำร้านกาแฟ + จิตวิทยาการรอคอย

กรณีศึกษาร้านกาแฟ SLOW BAR แม่ค้ารู้สึกกดดันเวลาลูกค้าเยอะ เหตุทำกาแฟอยู่ แต่ก็ออเดอร์อื่นก็รอนาน แชร์วิธีแก้จากคนทำร้านกาแฟ + จิตวิทยาการรอคอย ทุกคนเคยมีความรู้สึกแบบนี้ไหม รู้สึกกดดันจังเลยเวลาลูกค้ามายืนจ้อง… แม่ค้าร้านกาแฟรายหนึ่งได้มาโพสต์แชร์ความรู้สึกพร้อมขอคำแนะนำในการรับมือกับความกดดันเมื่อลูกค้าเยอะ ในกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ” เนื่องจากเธอรู้สึกกดดันมาก เมื่อลูกค้ามาสั่งเครื่องดื่มแล้วต้องรอนาน . 1- เธอได้โพสต์ว่า “ขอ HOW TO ทำยังไงไม่ให้กดดันตามลูกค้า เรารู้ ลูกค้ากาแฟรู้ ว่านี่มันคือ SLOW BAR COFFEE แต่บางครั้งคนที่ไม่ได้สั่งกาแฟไม่เข้าใจ งื้ออออ คือแบบ ทำกาแฟอยู่ แล้วลูกค้ามาสั่งเมนูที่ไม่ใช่กาแฟ แล้วรอนาน เพราะติดออร์เดอร์กาแฟ แล้วเราเลยกดดันตามลูกค้าไปด้วย ” . 2- ซึ่งหลังจากที่โพสต์นี้ออกไปก็ได้มีเหล่าคนทำร้านกาแฟต่างเข้ามาให้คำแนะนำแม่ค้ารายนี้พร้อมแชร์ประสบการณ์ที่ตนเองเจอกันอย่างไม่มีกั๊ก โดยส่วนใหญ่ให้คำแนะนำว่าให้ใช้วิธีติดป้ายแจ้งหรือบอกลูกค้าไว้ก่อนว่าเครื่องดื่มมีคิวก่อนหน้าอยู่กี่คิว ต้องรอประมาณกี่นาที แล้วถามว่าลูกค้าสะดวกรอไหม เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจได้ว่าจะรอหรือจะไม่รอ เช่น “ลองบอกเขาไหมคะ ว่ามีคิวอยู่เยอะ รอได้ไหม รอประมาณกี่นาที บางคนคิดว่าของฉัน 1 แก้วเอง แต่ถ้าร้านแจ้งก่อน ว่ามีคิวอยู่ก่อน ต้องรอนาน […]

ถอดความสำเร็จ “ฌานา” ต้นแบบร้านอาหารออร์แกนิก

อยากทำร้านอาหารออร์แกนิก...แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี? ใครกำลังเจอปัญหานี้ ลองใช้โมเดลของร้าน “ฌานา (Charna)” เป็นต้นแบบดู โอกาสสำเร็จสูงแน่นอน

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.