นวัตกรรมกับ ธุรกิจผลิตอาหาร ในวันที่ผู้บริโภคต้องการความแตกต่าง - Amarin Academy

นวัตกรรมกับ ธุรกิจผลิตอาหาร ในวันที่ผู้บริโภคต้องการความแตกต่าง

นวัตกรรมกับ ธุรกิจผลิตอาหาร ในวันที่ผู้บริโภคต้องการความแตกต่าง

หลายคนอาจเคยสังเกตว่า เวลาไปเดินซูเปอร์มาร์เก็ตเดี๋ยวนี้ บนชั้นวางสินค้าต่างมีสินค้าให้เลือกมากมาย ทั้งๆ ที่เป็นสินค้าชนิดเดียวกัน แต่ก็มีหลากหลายยี่ห้อเสียจนเลือกหยิบไม่ถูกกันเลยทีเดียว โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพที่มีให้เลือกมากขึ้น จากกระแสรักสุขภาพในช่วงที่ผ่านมา

ไม่เพียงแต่การบริโภคภายในประเทศที่กำลังเติบโตขึ้น แต่ธุรกิจการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารและการเกษตรของไทย ก็เติบโตขึ้นถึงปีละ 4.5 – 6.5% ต่อปี มีมูลค่าการตลาดกว่า 620,000 ล้านบาท ส่งออกมากเป็นอันดับที่ 13 ของโลก และเป็นที่ 3 ของเอเชีย รองจากจีนและอินเดียเท่านั้น โดยเทรนด์การบริโภคอาหารให้เป็นยา อาหารที่ผ่านการปรุงแต่งน้อย จนถึงขั้นเกิดกระแสลดการบริโภคเนื้อสัตว์กำลังเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจผลิตอาหารต้องใส่ใจการบอกข้อมูลทางโภชนาการและส่วนประกอบทุกอย่างของผลิตภัณฑ์บนฉลากสินค้า เพื่อตอบสนองต่อความต้องการเลือกที่มากขึ้นของผู้บริโภค

สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจผลิตอาหารต้องมีการปรับตัว และพยายามสร้างสินค้าของตนเองให้มีเอกลักษณ์แตกต่างจากสินค้าของเจ้าอื่น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการสินค้าใหม่ๆ ของผู้บริโภค โดยปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้สินค้าของคุณมีความโดดเด่นและแตกต่างจากคู่แข่งคือ การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในธุรกิจ ซึ่งเป็นประเด็นเดียวกันกับที่ได้รับการพูดถึงใน “เปิดมุมมองใหม่ ไขความสำเร็จธุรกิจผลิตอาหาร” งานสัมมนาที่ธนาคารกสิกรไทยได้ร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และท็อปส์ มาร์เก็ต ได้จัดขึ้นเพื่อให้ความรู้และพัฒนาผู้ประกอบการ โดยเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้งานวิจัยและนวัตกรรมในการเพิ่มศักยภาพธุรกิจ

นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างคุณโจ – ณัฐวุฒิ เผ่าปรีชา ผู้นำนวัตกรรมของทานเล่นเพื่อสุขภาพ แบรนด์
“Wel-B” ที่มียอดขาย 100 ล้านบาทต่อปี และคุณปิ่น – รัชยา จันจิตร ผู้ประกอบการแปรรูปมะขาม แบรนด์
“ปิ่นเพชร” ที่พลิกเอาของเหลือทิ้งอย่างเมล็ดมะขามมาเพิ่มมูลค่า เป็นตัวอย่างของธุรกิจผลิตอาหารที่นำเอางานวิจัยและนวัตกรรมมาเป็นตัวช่วยต่อยอดธุรกิจของตน

เริ่มต้นจากความสงสัยและสังเกตสิ่งรอบตัว

คุณปิ่นบอกว่า เดิมทีทำมะขามแปรรูป มะขามสดขายอยู่แล้ว แต่มีช่วงหนึ่งมีบริษัทจากญี่ปุ่นและอินเดียมารับซื้อเมล็ดมะขามจึงเกิดความสงสัยว่าเขานำไปทำอะไร เลยไปหาข้อมูลจนพบว่าในเมล็ดมะขามมีสารต้านอนุมูลอิสระ มีฤทธิ์ช่วยสมานแผล ช่วยให้ผิวเรียบเนียน จึงติดต่อขอความช่วยเหลือจากสกว.ในการทำวิจัยร่วมกัน จนได้สารสกัดเจลโลสจากแป้งเมล็ดมะขาม ที่สามารถนำไปต่อยอดทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นเยลลี่ ไอศกรีม ซอสผัดไทย เซรั่มบำรุงผิว ฯลฯ

ด้านคุณโจ เล่าว่า “ผมอยากจะทำสินค้าที่ไม่มีใครเลียนแบบได้ นั่นคือสินค้าเกษตรแปรรูป เพราะประเทศไทยมีวัตถุดิบที่เป็นสินค้าเกษตรมาก เลยนั่งหาข้อมูลว่าสินค้าการเกษตรสามารถนำเอาเทคโนโลยีไหนมาใช้แปรรูปได้บ้าง จึงพบข้อมูลว่าการ Freeze – Dried หรือเทคโนโลยีการทำแห้งเยือกแข็งแบบสุญญากาศ ช่วยรักษาคุณค่าทางอาหารที่มีอยู่เดิมได้มากที่สุด ตอบโจทย์คนรักสุขภาพได้อย่างดี” ตามหลักการที่ว่าหาสินค้าอะไรที่ขายให้คนกินแล้วถูกใจให้ได้ จนได้รับเสียงตอบรับดีสามารถวางขายได้ทั้งในและต่างประเทศ

งานวิจัยสร้างความแตกต่าง

ทั้งที่นวัตกรรมมีส่วนช่วยผลักดันให้ธุรกิจก้าวหน้าต่อไปได้ แต่ผู้ประกอบการธุรกิจผลิตอาหารก็ยังไม่ค่อยให้ความสำคัญกับงานวิจัยและนวัตกรรม คุณพีชยา จิระธรรมกิจกุล ผู้จัดการงานอุตสาหกรรมอาหาร เกษตร และสุขภาพ โปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ITAP (สวทช.) เปิดเผยว่าสาเหตุหนึ่งน่าจะมาจาก การนำนวัตกรรมมาใช้กับธุรกิจเป็นสิ่งที่ต้องเกิดการลงทุน ในมุมของผู้ประกอบการอาจมองว่าสินค้ายังขายได้ จึงไม่จำเป็นต้องใช้นวัตกรรมเข้ามาช่วย แต่ผู้ประกอบการควรตระหนักว่าในการแข่งขันทางการตลาดทุกวันนี้ แบรนด์ต้องสร้างความแตกต่างให้ผลิตภัณฑ์ของตน เพื่อให้สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน ซึ่งนวัตกรรมเข้ามาช่วยสร้างความแตกต่างได้

สร้างงานวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่า

รศ.ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ ผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
เพิ่มเติมว่า เมื่อมีไอเดียแล้วกระบวนการต่อไป คือการนำงานวิจัยมาต่อยอดผลิตภัณฑ์ ยกตัวอย่างแบรนด์ Dairy Home ที่ขายนมอินทรีย์ มาขอความช่วยเหลือเรื่องงานวิจัย จนเกิดเป็น “Bedtime Milk” นมสำหรับดื่มก่อนนอน เพราะในนมมีสารเมลาโทนินที่ช่วยให้นอนหลับสบายขึ้น โดยหน่วยงานอย่างสกว.และสวทช.มีส่วนช่วยให้ทุนสนับสนุน ช่วยต่อยอด และช่วยลดความเสี่ยงในการทำการวิจัยและพัฒนา (R&D) ให้สั้นลง

การเริ่มต้นบางคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องยาก แต่คุณปิ่นบอกว่าเพียงคุณมีไอเดียแล้วลองเข้าไปคุยกับหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนงานวิจัย จะมีทีมที่คอยให้คำปรึกษา “โจทย์ของปิ่นเพชรในการขอทุนสนับสนุนการวิจัยตั้งต้นเลยก็คือ คุณสมบัติของเมล็ดมะขามสามารถใช้ทำอะไรได้บ้าง” นั่นก็เพราะเธออยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จากเมล็ดมะขาม เปลี่ยนขยะเหลือทิ้งปีละกว่า 500 ตันมาเพิ่มมูลค่าให้มันได้

เคล็ดลับสู่ความสำเร็จในธุรกิจด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม

เจ้าของแบรนด์ “ปิ่นเพชร” ยังบอกแนวคิดที่ช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จอย่างทุกวันนี้เพิ่มเติมอีกว่า เธอคิดว่านวัตกรรมอยู่รอบๆ ตัว วัตถุดิบแต่ละอย่างมีประโยชน์และคุณค่าในตัวอยู่แล้ว อยู่ที่ว่าคุณจะนำเอาเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มมูลค่าอย่างไรได้บ้าง เมื่อได้คุณสมบัติที่ต้องการ ก็ลองมาสำรวจว่าตอนนี้ลูกค้าสนใจผลิตภัณฑ์ประมาณไหน ก่อนจะปรับให้เข้ากับกระแสเพื่อทำการตลาดได้ถูกจุด

ส่วนคุณโจจาก “Wel-B” บอกว่ากว่าจะผลิตสินค้าออกมาชิ้นหนึ่งได้ ต้องผ่านการลองผิดลองถูกมาแล้วมากมาย การคิดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เป็นเรื่องง่ายกว่าการทำยังไงให้ขายได้ เพราะสินค้าที่ใหม่เกินไป ราคาสูงเกินไป ผู้บริโภคอาจยังไม่พร้อมรับ จึงทำให้ขายยาก หากคิดของใหม่ขึ้นมา 10 อย่าง แล้วทำสำเร็จได้เพียง 1 อย่าง เพียงเท่านี้เขาก็พอใจแล้ว

“ผมยึดคติที่ว่าดีแล้วต้องดีอีก เพื่อพัฒนาตัวเองต่อไป ไม่ให้หยุดนิ่งอยู่กับที่ เพราะงานวิจัยและพัฒนา
ไม่มีวันจบ ถ้าหากคุณมัวแต่กลัวก็จะไม่ได้ทำอะไรสักที ผมจะคิดถึง 2 สิ่งเสมอเมื่อออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ คือ เงินที่ผู้บริโภคจะต้องจ่ายและคุณค่าที่ผู้บริโภคจะได้รับ หน้าที่ของผมคือทำให้คุณค่าที่เขาได้รับมากกว่าราคาที่จ่ายไป” คุณโจกล่าว

สุดท้ายแล้วทุกอย่างขึ้นอยู่กับประสบการณ์ อย่าเพิ่งล้มเลิกแม้จะผิดหวัง แม้ว่าสินค้าจะออกมาดี รสชาติอร่อย ก็ยังไม่จบ เพราะยังมีเรื่องของการตลาดและองค์ประกอบต่างๆ หลายอย่าง ดังนั้นธุรกิจผลิตอาหารต้องหาจุดแข็งของตัวเองให้เจอ โดยนวัตกรรมถือเป็นตัวติดอาวุธให้ธุรกิจของคุณ ในการสู้กับคู่แข่งในทุกวันนี้

เรื่องแนะนำ

ARROW : THE ULTIMATE MEN’S DRESS WEAR “ที่สุด” ของเครื่องแต่งกายชาย ARROW

  ARROW : THE ULTIMATE MEN’S DRESS WEAR “ที่สุด” ของเครื่องแต่งกายชาย ARROW ARROW เปิดมิติเครื่องแต่งกายอย่างมีระดับของสุภาพบุรุษ ด้วย “ชุดสูท” กับคอลเลคชั่น ARROW : THE ULTIMATE MEN’S DRESS WEAR “ที่สุด” ของเครื่องแต่งกายชาย ARROW เสริมภาพลักษณ์ของผู้สวมใส่ให้ดู สุภาพเรียบหรู ภูมิฐานอย่างสง่างาม ผสาน ความชัดเจนของ วัฒนธรรมสากล กับช่วงเวลา “พิเศษ” ของคุณ   พร้อมเปิดตัว เจมส์ อัศรัสกร หรือ เจมส์ มาร์ นักแสดงหนุ่มรูปหล่อ ลูกครึ่งไทย-ฮ่องกง แบรนด์แอมบาสเดอร์ ของ ARROW ARROW : THE ULTIMATE MEN’S DRESS WEAR “ที่สุด” […]

ระบบเรียกคิวไร้สาย

ก้าวข้ามข้อจำกัดเดิมๆ เสริมภาพลักษณ์ของร้านให้ดูทันสมัยด้วย ระบบเรียกคิวไร้สาย

หากคุณอยากจะเริ่มวางแผนบริหารจัดการร้านและลดต้นทุนในการทำธุรกิจ เทคโนโลยีระบบเรียกคิวไร้สายคือ ตัวช่วยสำคัญที่จะเข้ามาช่วยจัดการระบบเรียกคิวในร้านให้ดีขึ้นกว่าเดิม

อาหารเหนือแมสน้อยกว่าภาคอื่น? ปัจจัยต่อ “ความนิยมและรสชาติของอาหารเหนือ”

ทำไม อาหารเหนือ แมสน้อยกว่าอาหารภาคอื่น? ผู้ใช้ทวิตเตอร์แชร์ความเห็นเพราะ รสชาติจืด ไม่ถูกปาก ปัจจัยที่มีผลต่อ “ความนิยมและรสชาติของ อาหารเหนือ” อาหารเหนือ แมสน้อยกว่าอาหารภาคอื่น? ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งได้แชร์ความคิดเห็นเชิงตั้งคำถามจากประสบการณ์ส่วนตัว ประมาณว่าเขารู้สึกว่า อาหารเหนือ ได้รับความนิยมน้อยกว่าอาหารภาคอื่นๆ โดยเขายังได้แสดงความเห็นเพิ่มเติมอีกว่า ตนเองก็รู้สึกว่ารสชาติ อาหารเหนือ ถูกปากน้อยกว่าอาหารภาคอื่น . 1- ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายนี้แชร์ว่า “ทำไมอาหารเหนือถึงไม่แมสเท่าอาหารอีสาน หรืออาหารใต้นะ แต่ส่วนตัวก็รู้สึกว่าอาหารเหนือรสชาติถูกปากน้อยกว่าอาหารใต้จริงๆ” . 2- ซึ่งเมื่อทวีตนี้ออกไปก็ได้มีผู้ใช้ทวิตเตอร์ต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างล้นหลาม โดยหลายคนที่เห็นด้วยกับเจ้าของโพสต์นี้ ล้วนให้เหตุผลว่าอาหารเหนือรสชาติจืดและไม่ค่อยถูกปากเท่าไหร่ เช่น “ถ้าเป็นอาหารเหนือแบบรสชาติเหนือแท้ๆ ส่วนตัวรู้สึกว่าจืดมากกกก จืดๆ เผ็ดๆ ไม่อร่อยเลย ส่วนมากที่เขาว่าอร่อยๆ จะเป็นอาหารเหนือที่เขาเอามาดัดแปลงรสชาติให้ออกมากลางๆ เช่น ร้านหนึ่งที่คนเจียงใหม่แต๊ๆ ไปกินจะไม่ถูกปากเลย” “รสชาติมันต๊ะต่อนยอน ไม่จัดจ้านเหมือนอาหารใต้ จริงๆ ส่วนผสมอาหารเหนือแต๊ๆ มันเป็นอะไรที่ exotic มากๆ คนกินได้ก็กินได้ ไม่ได้ก็คืออ้วกเลย รสมันแปร่งๆ ไม่คุ้นปาก” 3- ในขณะที่คนอื่น ๆ […]

In Home Delivery

Walmart เปิดตัวบริการ In Home Delivery ให้พนักงานนำสินค้าเติมให้ถึงตู้เย็น

วงการเดลิเวอรี่ เริ่มจะมีสีสันขึ้นเรื่อยๆ แล้วค่ะ เมื่อ Walmart ซูเปอร์มาร์เก็ตชื่อดังในสหรัฐอเมริกามีการปรับตัวให้เข้ากับพฤติกรรมลูกค้าในยุคนี้มากขึ้นด้วยการเปิดตัวบริการ In Home Delivery  บริการจัดส่งสินค้าที่ลูกค้าสามารถสั่งให้พนักงานนำสินค้ามาเติมให้ที่ตู้เย็นโดยตรงแม้คุณจะไม่ได้อยู่บ้าน เรียกว่าเอาใจลูกค้าที่รักความสะดวกสบายอย่างเต็มที่ แล้วมีขั้นตอนการจัดส่งอย่างไรบ้าง?   ขั้นตอนการให้บริการ In Home Delivery บริการ In Home Delivery เริ่มแรกผู้ที่จะใช้บริการจะต้องสมัครสมาชิกบริการจัดส่ง In Home เริ่มต้นที่ 19.95 เหรียญสหรัฐต่อเดือน (ราว 600 บาท) และผู้ซื้อจะต้องซื้อสินค้ามูลค่าอย่างน้อย 30 เหรียญต่อครั้ง สามารถสั่งซื้อการจัดส่งได้บ่อยเท่าที่ต้องการแบบไม่จำกัดความถี่ ขณะที่ระบบล็อกบ้านอัจฉริยะหรือ smart-lock ราคา 49.95 เหรียญสหรัฐ (ราว 1,500 บาท) ติดตั้งให้ฟรี เมื่อเป็นสมาชิกแล้ว มีการสั่งซื้อสินค้า จากนั้นพนักงานจะส่งสินค้าไปให้ถึงในห้องครัวหรือส่วนอื่นๆ ของบ้านลูกค้า   ความปลอดภัยในการให้บริการ หลายคนอาจจะเกิดคำถามว่า แล้วเรื่องของความปลอดภัย จะปลอดภัยหรือไม่ หากต้องให้คนแปลกหน้าเข้ามาส่งของถึงภายในบ้าน หรือความปลอดภัยของสินค้าในขั้นตอนการจัดส่งจะเป็นอย่างไร ซึ่งผู้ใช้บริการนี้ไม่ต้องกังวลเรื่องความปลอดภัยค่ะ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.