วิเคราะห์ จุดคุ้มทุนร้านอาหาร ขายเท่าไหร่ถึงได้กำไร! - Amarin Academy

วิเคราะห์ จุดคุ้มทุนร้านอาหาร ขายเท่าไหร่ถึงได้กำไร!

        ผู้ที่สนใจจะเปิดร้านอาหารมักจะมีคำถามว่า ต้องขายจนถึงเมื่อไหร่ถึงจะคืนทุน? การลงทุนเปิดร้านอาหารจะคุ้มค่าไหม? แล้วต้องขายเยอะแค่ไหนถึงจะได้กำไร? ร้านอาหารจึงต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เช่น การพยากรณ์ยอดขายของร้าน และขั้นตอนต่อไปคือ การวิเคราะห์ จุดคุ้มทุนร้านอาหาร ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำก่อนเปิดร้านอาหารใหม่ เพื่อวางแผนในการบริหารจัดการร้านให้ได้กำไร

วิเคราะห์ จุดคุ้มทุนร้านอาหาร

ขายเท่าไหร่ถึงได้กำไร!

จุดคุ้มทุนร้านอาหาร คืออะไร ?

        จุดคุ้มทุน (Break-Even Point) คือ จุดที่รายได้เท่ากับต้นทุนพอดี หรือมีรายรับ = รายจ่ายนั่นเอง เป็นจุดที่ร้านอาหารขายแล้วไม่ขาดทุนแต่ก็ไม่มีกำไร ซึ่งการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน จะทำให้ทราบว่าร้านอาหารจะต้องมียอดขายเท่าไหร่ถึงจะทำกำไรได้ ควรลดต้นทุนลงหรือไม่อย่างไร นอกจากนี้ ยังใช้เป็นแนวทางการวางแผนธุรกิจให้มีกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
จุดคุ้มทุนร้านอาหาร

        การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน (Break-even point) ต้องเริ่มจากพิจารณาค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นของร้าน โดยแบ่งค่าใช้จ่ายออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

  • ต้นทุนคงที่ (Fixed cost) คือ ค่าใช้จ่ายคงที่ ไม่แปรผันตามยอดขาย ต่อให้ขายได้มากหรือน้อยก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายส่วนนี้ในจำนวนเท่าเดิม เช่น ค่าเช่าร้าน ค่าแรงพนักงานประจำ ค่าเช่าระบบ ค่าเสื่อม และค่าสาธารณูปโภคต่างๆ 
  • ต้นทุนผันแปร (Variable cost) คือ ค่าใช้จ่ายที่ไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับยอดขายของร้าน เช่น ต้นทุนวัตถุดิบ เครื่องปรุง และบรรจุภัณฑ์ ค่าแรงพนักงานพาร์ทไทม์ ต้นทุนการตลาด ค่าอุปกรณ์สิ้นเปลืองต่างๆ การหาต้นทุนผันแปรเฉลี่ยต่อหน่วย คิดได้จากอัตราส่วนต้นทุนต่อราคาขาย เช่น อาหารในร้านมีราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 50 บาท ต้นทุนผันแปรเฉลี่ย (ทั้งต้นทุนวัตถุดิบและค่าใช้จ่ายอื่นๆ) อยู่ที่ 20 บาทหรือคิดเป็น 40% หรือ 0.4 ของราคาขาย ซึ่งตัวเลข 0.4 นี้จะถูกนำไปคิดหาจุดคุ้มทุนต่อไป

        นอกจากนี้ เจ้าของร้านอาจจะใช้ข้อมูลของต้นทุน หรือราคาขายโดยเฉลี่ยที่ลูกค้ามักจะซื้ออาหารในร้าน สำหรับร้านขนาดเล็ก เช่น ร้านอาหารจานเดียว ลูกค้าหนึ่งคนมักซื้ออาหาร 1 รายการ และเครื่องดื่ม 1 แก้ว ก็สามารถคำนวณโดยดูจากราคาต่อหน่วยได้เลย แต่ถ้าเป็นร้านอาหารขนาดใหญ่ขึ้น ลูกค้ามักจะสั่งอาหารมาทานร่วมกันเป็นกลุ่ม อาจจะต้องคำนวณจากข้อมูลหรือสถิติ ว่าลูกค้ามีค่าใช้จ่ายกี่บาทโดยเฉลี่ยต่อคน

จุดคุ้มทุนร้านอาหาร

ในการคำนวณหา จุดคุ้มทุนร้านอาหาร เราสามารถหาได้โดยใช้สูตรต่อไปนี้

  1. จำนวนลูกค้าที่ต้องขายจึงจะคุ้มทุน = ต้นทุนคงที่ ÷ (ราคาขายต่อหน่วย – ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย)
  2. ยอดขายที่คุ้มทุน = จำนวนลูกค้าที่ต้องขายจึงจะคุ้มทุน x ราคาขาย หรือ
    ยอดขายที่คุ้มทุน = ต้นทุนคงที่ ÷ (1 – ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย)
  3. ระยะเวลาคืนทุน (เดือน) = เงินลงทุนทั้งหมด / กำไรในแต่ละเดือน


ลองมาดูตัวอย่างแบบง่าย ๆ กันครับ ถ้าร้านก๋วยเตี๋ยวเปิดใหม่ มีข้อมูลตัวเลขค่าใช้จ่ายต่างๆ ดังนี้

  • ขายก๋วยเตี๋ยวชามละ 50 บาท
  • ต้นทุนในการทำก๋วยเตี๋ยว เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ชามละ 20 บาท
  • ค่าแรงพนักงาน 2 คน คนละ 9,000 บาท และค่าแรงเจ้าของร้านอีก 1 คน รวมเป็น 33,000 บาท
  • ค่าน้ำ, ค่าไฟฟ้า และค่าแก๊ส เฉลี่ยต่อเดือนที่ 5,000 บาท
  • ค่าเช่าที่เดือนละ 7,000 บาท

        หากลองคำนวณหาจุดคุ้มทุนของร้าน จะได้ว่า

ต้นทุนคงที่  33,000 (ค่าแรง) + 5,000 (ค่าน้ำค่าไฟค่าแก๊ส ) + 7,000 (ค่าเช่าที่) = 45,000 บาทต่อเดือน   

ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย  ต้นทุน ÷ ราคาขาย  

= 20 ÷ 50 = 0.4  

จำนวนลูกค้าที่ต้องขายจึงจะคุ้มทุน  ต้นทุนคงที่ ÷ (ราคาขายต่อหน่วย – ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย) 

=  45,000 ÷ (50 – 20) 

= 1,500 คน  

ยอดขายที่คุ้มทุน จำนวนลูกค้าที่ต้องขายจึงจะคุ้มทุน x ราคาขาย 

= 1,500 x 50 

= 75,000 บาท

หรือใช้สูตร ยอดขายที่คุ้มทุน =  ต้นทุนคงที่ ÷ (1 – ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย)

 = 45,000 ÷ (1 – 0.4) 

 = 75,000 บาท 

        ดังนั้น เจ้าของร้านจะต้องขายก๋วยเตี๋ยวอย่างน้อย 1,500 ชามต่อเดือน หรือตกวันละ 50 ชาม และต้องทำยอดขายให้ได้อย่างน้อย 75,000 บาทต่อเดือน จึงจะไม่ขาดทุน 

        หากคำนวณ จุดคุ้มทุนร้านอาหาร แล้ว เป้าหมายยอดขายในแต่ละเดือน ควรบวกเพิ่มจากจุดคุ้มทุนไปอีก 10-20% เพื่อเป็นกำไรของร้าน และควรจะคำนวณเป้าหมายยอดขายรายวันด้วย โดยคำนึงถึงความแตกต่างของยอดขายในแต่ละวัน ว่าทำเลของร้านจะขายได้ดีในช่วงวันจันทร์-ศุกร์ หรือช่วงวันหยุดวันเสาร์-อาทิตย์ เพื่อตั้งเป้ายอดขายรายวันตามความเป็นไปได้ หรือหากลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อส่งเสริมการขายต่อไป

 

เรื่องแนะนำ

จัดสต๊อกวัตถุดิบ

มือใหม่ต้องรู้! จัดสต๊อกวัตถุดิบ ฉบับเข้าใจง่าย

วัตถุดิบเป็นต้นทุนที่สูงเป็นอันดับต้นๆ ของร้านอาหาร ซึ่งทุกวัตถุดิบที่สูญเสียไป ถือเป็นต้นทุนที่คุณต้องจ่าย คุณจึงจำเป็นต้องใส่ใจ จัดสต๊อกวัตถุดิบ ห้ามละเลย

5 บริการสุดห่วย ที่ทำให้ลูกค้าไม่อยากมาร้านของคุณ

1.การบริการที่ทำให้รู้สึกเหมือน ‘ไม่มีตัวตน’ หนึ่งในประสบการณ์ที่ลูกค้าร้านอาหารยอมรับว่าทำให้รู้สึกแย่ ก็คือ การที่พนักงานของร้านไม่ให้ความสนใจในการบริการโดยเฉพาะอย่างยิ่งการกล่าวต้อนรับ ลองจินตนาการระหว่างร้าน A : ซึ่งมีพนักงานต้อนรับกล่าวคำทักทาย และจัดการที่นั่งอย่างรวดเร็ว กับร้าน B: ที่ปล่อยให้ลูกค้ายืนรอ ไม่กล่าวคำทักทาย จนคุณต้องเดินเข้าไปหาที่นั่งเอง ร้านไหนที่คุณอยากเดินเข้าไปกินมากกว่ากัน การทักทายนั้นมีความสำคัญมากและเป็นด่านแรกในการสร้างความประทับใจ ซึ่งถ้าหากลูกค้ารู้สึกไม่ดีตั้งแต่เริ่มต้นก็มีแนวโน้มที่จะไม่พอใจในเรื่องอื่น ๆ ด้วย   2.พนักงานดูแลเหมือนเพื่อนสนิท…… จนเกินไป           บริการดุจญาติมิตรนั้นอาจดีสำหรับธุรกิจบางประเภท แต่การบริการสำหรับธุรกิจร้านอาหารนั้นลูกค้าส่วนใหญ่มักต้องการเวลาส่วนตัว การที่พนักงานคุยเล่นกันข้ามหัวลูกค้า หรือใช้คำพูดในการบริการที่แสดงความเป็นกันเองกับลูกค้ามากจนเกินไป นอกจากจะทำให้ลูกค้ารู้สึกตะขิดตะขวงใจ ยังแสดงถึงความไม่เป็นมืออาชีพในการให้บริการอีกด้วย     3.พนักงานไม่แม่นข้อมูลอาหาร และการบริการ           ร้านอาหารอร่อยขายได้ แต่ร้านอาหารอร่อยที่ขายดีอยู่ที่พนักงานให้บริการและให้คำแนะนำเมนูต่าง ๆ ได้อย่างมืออาชีพ ลองจินตนการว่า การที่ลูกค้ามีคำถามแล้วพนักงานเสิร์ฟต้องวิ่งไปถามพ่อครัว ถามผู้จัดการ นอกจากจะทำให้การบริการสะดุดแล้ว ลูกค้าย่อมรู้สึกถึงความไม่พร้อมในการให้บริการ หากพนักงานบริการได้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน รู้จังหวะในการเข้าถึงลูกค้า การแนะนำเมนูที่เหมาะสมได้อย่างลื่นไหล สิ่งเหล่านี้จะสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้อย่างแน่นอน   4.การบริการที่สร้างความลำบากให้แก่ลูกค้า           ในยุคนี้การอำนวยความสะดวกสำคัญไม่แพ้รสชาติอาหาร เพราะเมื่อไหร่ที่ลูกค้ารู้สึกถึงความยุ่งยากในการบริการจากร้านของคุณ เขาจะตัดสินใจไปร้านอื่นทันที ยกตัวอย่างเช่น […]

5 แนวทางลดต้นทุนวัตถุดิบ ในวันที่อะไรๆ ก็ขึ้นราคา วิกฤตของแพง จะให้ขายแบบเดิมคงไม่ไหว

5 แนวทาง “ลดต้นทุนวัตถุดิบ” ในวันที่อะไรๆ ก็ขึ้นราคา วิกฤตของแพง จะให้ขายแบบเดิมคงไม่ไหว เมื่อเกิดวิกฤตของแพง วัตถุดิบขึ้นราคา จนบางทีทำให้ทุกคนรู้สึกว่าจะแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้นไม่ไหวแล้ว แต่จะปรับราคาก็กลัวลูกค้าไม่ซื้ออีก เรียกได้ว่าเป็นสถานการณ์ที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกของคนทำร้านอาหารมาก ๆ แต่ทั้งนี้ก็ใช่ว่าจะไม่มีวิธีรับมือกับวิกฤตนี้เลย เพราะฉะนั้นลองมาดูแนวทางในการบริหารจัดการร้านเพื่อ ลดต้นทุนวัตถุดิบ รับ “วิกฤตของแพง” แล้วนำไปปรับใช้กัน! 1.ลองทานเมนูนี้ไหมคะ ? . หนึ่งในวิธีที่สามารถช่วยลดต้นทุนได้ ในวิกฤติที่ของแพงนั้นก็คือ การเชียร์ขายเมนูอื่นแทนเมนูที่มีส่วนประกอบของวัตถุดิบที่มีราคาแพง อย่างเช่นในกรณีที่หมูแพง เมื่อลูกค้ามาสั่งอาหาร เราอาจใช้วิธีการเสนอขายเมนูอื่น ๆ ให้ลูกค้าเกิดความสนใจ และอยากจะสั่งเมนูอื่นมากกว่าเมนูที่ทำจากหมู โดยอาจทำการเสนอขายในแง่ของเมนูแนะนำ เช่น เมนูแนะนำของร้านเราจะเป็นปลาทอดน้ำปลา แกงส้มแป๊ะซะ ไก่ทอดกระเทียม หรืออาจเป็นการทำโปรโมชั่นกับเมนูนั้น ๆ เช่น การจัดเป็นเซ็ต แถมน้ำ เป็นต้น . 2.ของใหม่จากของเดิม . ลองย้อนกลับมาดูว่าวัตถุดิบที่เรามีอยู่หรือวัตถุดิบที่ลูกค้าไม่ค่อยสั่งอันไหนบ้าง ที่สามารถจับมารังสรรค์เป็นเมนูใหม่ได้บ้าง เช่น ปลาทูน่า แทนที่เราจะเสิร์ฟแค่สลัดทูน่าเพียงอย่างเดียว ก็ลองคิดเมนูใหม่ ๆ เพิ่มเติม เช่น ยำทูน่า […]

ทางออกร้านอาหาร ทำอย่างไรเมื่อ ต้นทุนอาหารแพง

ต้นทุนอาหารที่มีแนวโน้มว่า จะมีราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี นับว่าเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่เจ้าของร้านคิดหนัก ดังนั้น ถ้าไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์ต้องมาขึ้นราคาอาหารจนลูกค้าหนี ก็ต้องมีทางออกที่ดี มาดูกันว่า เจ้าของร้านต้องทำอย่างไรเมื่อ ต้นทุนอาหารแพง ขึ้นเรื่อยๆ   ทางออกร้านอาหาร ทำอย่างไรเมื่อ ต้นทุนอาหารแพง คาดการณ์ราคาวัตถุดิบให้ได้ สิ่งที่เจ้าของร้านอาหารต้องทำก่อนเปิดร้านอาหารก็คือ การกำหนดตัวเลขวัตถุดิบที่จะต้องสูงขึ้นในแต่ละปี เช่น วางแผนต้นทุนที่สูงขึ้นเฉลี่ยปีไว้ปีละ 5 เปอร์เซนต์  การคาดการณ์ล่วงหน้า เช่น มะนาวจะแพงขึ้นในเดือนเมษายนของทุกปีซึ่งเป็นหน้าแล้ง และมักจะฉุดราคาวัตถุดิบอื่น ๆ ให้ขึ้นไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นผัก แก๊สหุงต้ม น้ำมัน  หรือช่วงเทศกาลเจที่ผักจะมีราคาสูงขึ้น การประเมินสถานการณ์ จะช่วยให้สามารถกำหนดงบประมาณในการสั่งซื้อ หรือแผนการตลาดในช่วงนั้นๆ ได้ นอกจากนั้น ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อราคาของวัตถุดิบแบบฉับพลัน เช่น การผันผวนของเศรษฐกิจการเมือง หรือเกิดสถานการณ์บางอย่างที่ทำให้ราคาของวัตถุดิบที่เป็นเมนูขายดีของร้านถีบตัวสูงขึ้น ยกตัวอย่าง ร้านของคุณเพิ่งเปิดใหม่ มีเมนูซิกเนเจอร์เป็นหอยสังข์ที่ได้รับความนิยม เปิดไปได้หนึ่งเดือนหอยสังข์ขาดตลาดราคาสูงลิ่ว การปรับเปลี่ยนราคา ปริมาณในการเสิร์ฟเพื่อลดต้นทุนทันที อาจส่งผลต่อการตอบรับของลูกค้าโดยตรง สิ่งที่จะทำให้การประเมินสถานการณ์เป็นได้อย่างมีประสิทธิภาพก็คือ การมีระบบที่ช่วยบันทึกข้อมูลของวัตถุดิบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นจำนวนที่ใช้ ราคา แหล่งซื้อ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.