ถอดความสำเร็จ บ้านเบญจรงค์ ปาย จากร้านชาบู กลับสู่ร้านอาหารไทยแท้ดั้งเดิม

ถอดความสำเร็จ บ้านเบญจรงค์ ปาย จากร้านชาบู กลับสู่ร้านอาหารไทยแท้ดั้งเดิม

ในบรรดาร้านอาหารไทยที่ได้เคยไปลิ้มลองมา บ้านเบญจรงค์ ปาย เป็นอีกหนึ่งร้านในใจที่ชื่นชอบมากๆค่ะ เพราะมีเมนูอาหารไทย ที่อร่อยมากๆ หลายเมนู แต่มากกว่าความอร่อยนั้น เมื่อรู้ที่มาและความตั้งใจของร้านนี้ ก็ยิ่งรู้สึกชื่นชมมากยิ่งขึ้น

 

ถอดความสำเร็จร้านอาหารไทยแท้

บ้านเบญจรงค์ ปาย

อย่างที่บอกไปว่า เรื่องของรสชาติอาหารไทยที่ร้าน บ้านเบญจรงค์ ปาย แทบไม่มีข้อสงสัยในรสชาติความอร่อย แต่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือการที่เราได้มีโอกาสรู้ถึงที่มาที่ไปของร้านนี้ และได้รู้ว่า ทำไมร้านนี้จากสาขาแรกที่ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ถึงกล้าที่จะมาเปิดสาขาในกรุงเทพมหานครได้ถึง 2 สาขา คือ สาขาที่เดอะคริสตัล ราชพฤกษ์ และสาขาล่าสุด ที่ Living House ชั้น 7 Central สาขา Central World ซึ่งคุณแชมป์ วรัษยา วงษ์สวรรค์ ทายาทรุ่นที่ 2 ร้านบ้านเบญจรงค์ ปาย จะมาแชร์เรื่องราวให้ฟังกันค่ะ

 

จุดเริ่มต้น จากอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ร้านบ้านเบญรงค์ปาย เป็นร้านอาหารไทยออริจินัล ไทยแท้ ไม่มีฟิวชั่น เริ่มจากคุณลุง คุณป้าของแชมป์ ที่ริเริ่มเปิดร้านนี้มาได้ 20 ปีแล้ว เริ่มเปิดที่อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอนก่อน คือคุณลุงกับคุณป้า ย้ายไปอยู่ที่ปาย แล้วก็เปิดร้าน ก็มีความตั้งใจที่จะเปิดร้านอาหารไทยเพื่อสืบสานวัฒนธรรมไทย ซึ่งคุณป้าจะเป็นคนปรุงอาหารเอง บรรยากาศก็เป็นบ้านไม่สักแบบธรรมชาติๆ อากาศสบายๆ

เมนูแนะนำของร้าน คือ ปลากระพงผัดชะอม, ต้มส้มปลาช่อนทอด และ ซี่โครงหมูอบปลาเค็ม ที่ได้รางวัลมิชลินไกด์ด้วย เมนูส่วนใหญ่จะเป็นคุณป้าคิดค้นขึ้นมา ให้เป็นรสชาติแบบไทยจริงๆ

บ้านเบญจงรงค์ ปาย
ปลากระพงผัดชะอม
บ้านเบญจงรงค์ ปาย
ต้มส้มปลาช่อนทอด
บ้านเบญจงรงค์ ปาย
ซี่โครงหมูอบปลาเค็ม

 

จากร้านชาบู กลับมาสู่ ร้านอาหารไทยดั้งเดิม

ต้องบอกก่อนว่า ก่อนหน้านี้เคยเปิดร้านอาหารค่ะ แต่ไม่ใช่อาหารไทยนะคะ เป็นร้านชาบู แล้วหลังจากเปิดร้านแล้วก็มีโอกาสได้พบปะสังสรรค์กับญาติ แล้วก็เจอคุณลุง คุณป้าเนี่ยแหละค่ะ คุณลุงก็ทักว่า “ทำไมไม่เปิดร้านอาหารไทย มาเปิดร้านอาหารไทยสิ จะได้ช่วยกันสืบทอดวัฒนธรรมอาหารไทย เดี๋ยวเด็กรุ่นใหม่ก็กินอาหารไทยไม่เป็น” อะไรแบบนี้ ก็เลยบอกคุณลุงว่า ถ้าสอนก็สนใจเปิด คุณลุงก็เลยบอกให้มาเรียนเลยที่ปาย หลังจากนั้นไม่นานก็กลับมาเขียน Business Model ก่อนเปิดร้าน แล้วก็ไปอยู่บ้านคุณลุงที่ปายเลย ไปเรียนทำอาหารที่นู่นเลย ก็สนุกดี แล้วก็มีทีมเชฟที่ไปเรียนด้วย ประมาณ 1 เดิอน

ซึ่งก่อนหน้านี้เราไม่เคยพูดคุยกับคุณลุงแบบจริงจังเรื่องการทำร้านอาหารเลย พอได้คุยก็รู้สึกว่าน่าสนใจ อยากเปิดร้านมากขึ้นตัวเราเองก็ไปทานที่ร้านตั้งแต่เด็กๆ ก็ชอบรสชาติ เลยมีความมั่นใจว่าน่าจะมาเปิดที่กรุงเทพได้ ลูกค้าต้องชอบแน่นอน

 

ทำร้านอาหารไทย ใครว่าง่าย

พอได้ไปเรียนแล้วรู้สึกเลยว่า อาหารไทยต้องละเอียดขนาดนี้เลยหรอ เราเปิดร้านชาบูมาก่อน แต่ก็ไม่เหมือนอาหารไทยที่ต้องมีความเฉพาะในการปรุง ต้องใส่อะไรก่อนหลัง หรือเรื่องการตำน้ำพริก ซอยหอม มันละเอียดทุกอย่างเลย ซึ่งร้านเราโชคดีที่มีทีมเชฟ ที่มีความหลงใหลในอาหารไทยอยู่แล้ว เพราะเชฟจะต้องเข้าใจว่าพื้นฐานอาหารไทย ต้องมีความละเอียดละออ ถ้าเอาเชฟคนอื่นที่เขาไม่ได้ชอบมาทำ เขาอาจจะไม่เข้าใจว่าอาหารไทยเป็นอย่างไร และที่สำคัญเราทำใหม่ทุกจาน ลูกค้าก็อาจจะต้องรอ แต่เราปรุงแบบคุณภาพจริงๆ

บ้านเบญจงรงค์ ปาย

ปรับกลยุทธ์เรียกลูกค้ากลุ่มใหม่

ร้านสาขาที่กรุงเทพ ช่วงแรกที่เปิดร้านก็ค่อนข้างเงียบ ลูกค้าจะยังไม่ค่อยกล้าเข้ามา เพราะว่าเราเป็นแบรนด์ใหม่ในตอนนั้น ลูกค้าอาจจะยังไม่ค่อยมั่นใจ

เราก็ปรับกลยุทธ์เข้าหาลูกค้ามากขึ้น พูดคุยกับลูกค้าว่าอาหารเป็นอย่างไรบ้าง บางคนก็ชมว่าอร่อย แต่บางเมนูลูกค้าอาจจะทานไม่เป็น เช่น ยำหัวปลี ที่มีความต้นตำรับมากๆ ไม่เคยทาน เราก็ลองปรับเพิ่มให้มีเมนูสำหรับคนรุ่นใหม่ด้วย ทานง่ายๆ เมนูปลา เมนูปู และที่สำคัญคือ เรารับฟังลูกค้าด้วยการเก็บรวบรวมสิ่งที่ลูกค้าถามมา หรือแนะนำมาเรื่องของเมนู เราก็นำมาพิจารณาเพิ่มเข้าไปในเมนูของร้านด้วย แล้วก็ช่วงแรกที่ลูกค้ายังไม่รู้จักร้านเรามาก ก็มีทำการตลาดเสริมเข้าไปด้วย เพราะถ้าเป็นรุ่นคุณลุง เมื่อ 20 ปีก่อน เขาก็ไม่ได้มีทำการตลาดแบบปัจจุบัน เขาก็จะสอนว่าให้เน้นคุณภาพเข้าไว้ ยังไงลูกค้าก็กลับมาแน่นอน

อีกหนึ่งจุดเปลี่ยนของร้าน ก็คือ เริ่มมีรายการมาถ่ายที่ร้าน พอรายการออนแอร์ออกไปก็มีลูกค้าตามาทานเยอะมาก เราก็เริ่มเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น จุดเปลี่ยนที่สอง ก็คือ ร้านเราได้รับรางวัลจากมิชลินไกด์ด้วย ก็มีรีวิวตามมาอีกมากมาย ก็ยิ่งทำให้ขยายวงกว้างขึ้น ลูกค้ารู้จักเรามากขึ้นไปอีก ได้กลุ่มลูกค้าใหม่ๆ กลุ่มลูกค้าของเราก็เป็นคนเจนวายเยอะ มากับครอบครัว เด็กเล็ก พามาทานแล้วก็ที่เราดีใจมากๆ คือ มีลูกค้าจากที่แม่ฮ่องสอนตามมาทานด้วย ตอนแรกไม่คิดว่าจะมี แต่มีมาเยอะเกินคาดเลย เรียกว่าเป็นความตั้งใจนี้ถูกส่งต่อมาตั้งแต่คุณลุงเลย เขาจะพูดเสมอว่าให้รักษาคุณภาพให้ดี แล้วจะมีคนชอบร้านเราเอง

 บ้านเบญจงรงค์ ปาย

เดินหน้าทำสิ่งที่รักอย่างเต็มที่ คือ Key success ของร้านบ้านเบญจรงค์ปาย  

สิ่งที่เราอยากทำ ขอให้เราทำสิ่งนั้นอย่างเต็มที่ ทำเลย ต้องกล้าที่จะทำ ต้องกล้าที่จะแตกต่าง แตกต่างในทางที่ดีและมีคุณภาพ และต้องเป็นในแบบของเราเอง อย่าไปทำตามกระแส เห็นใครทำอะไรก็อยากทำตาม บ้านเบญจรงค์ ปาย ไม่ได้อยู่ในกระแส แต่เรามีทางของเรา ทางที่เราชอบ แล้วเราจะมีความสุขกับสิ่งที่ทำ

 

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

ถอดเคล็ดลับ “เสวย” จากรุ่นสู่รุ่น รีแบรนด์ใหม่อย่างไร ให้ปัง!

กรณีศึกษา Copper Buffet รับมือกับปัญหาที่ไม่คาดคิดอย่างไร ให้ชนะใจลูกค้า

โอยั๊วะ การเดินทางกว่า 20 ปี กับ บทเรียนที่หาซื้อไม่ได้

หมัดเด็ด Hai di lao หม้อไฟสัญชาติจีน สู่การเป็นร้านอาหารระดับโลก

ถอดบทเรียน “ หม้อเบ้อเร่อ “ พลิกวิกฤติร้านเกือบเจ๊ง ให้กลับมาอยู่รอดอีกครั้ง

Creamery boutique ice creams ทำอย่างไร ในวันที่กลุ่มลูกค้าเดิมเปลี่ยนไป?

เรื่องแนะนำ

ลดต้นทุน! ทางรอดร้านอาหาร ฝ่าวิกฤติ COVID-19 by เซฟอู๋

จากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 หนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรง คงหนีไม่พ้นธุรกิจร้านอาหาร ที่ไม่สามารถนั่งกินในร้านได้ หรือต้องสั่งกลับบ้านเท่านั้น ซึ่งการปรับตัวด้วยบริการ Delivery อาจจะยังไม่เพียงพอ ที่จะประคองธุรกิจให้อยู่รอด วันนี้เรามีโอกาสได้พูดคุยกับคุณรสิก ดุษฎีพรรณ์ หรือเซฟอู๋ เจ้าของร้าน Bake Me Tender และร้าน Rock’n Roll Sushi Cafe จะมาแชร์เรื่องของการลดต้นทุนที่เป็น ทางรอดร้านอาหาร และพาธุรกิจให้ผ่านวิกฤติ COVID-19 ในช่วงนี้ ปรับแผนเชิงรับ ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายของร้าน ในสถานการณ์ COVID-19 ร้านเราปรับแผนรับมือกับสถานการณ์ช่วงนี้โดยเฉพาะ โดยเริ่มต้นจากการปรับแผนเชิงรับก่อน เพื่อที่จะลดต้นทุนที่เกิดขึ้นภายในร้าน เพราะตอนนี้ยอดขายของร้านลดลงอย่างเห็นได้ชัด เพราะเราไม่สามารถให้ลูกค้านั่งกินที่ร้านได้ โดยเน้นไปที่การเปลี่ยนแนวทางการบริหารจัดการภายในร้านเอง ซึ่งมี 3 ส่วนที่เรามองว่าสำคัญ ข้อหนึ่งเลยก็คือเรื่องของเมนูอาหาร อย่างร้าน Rock’n Roll Sushi Cafe จากที่เคยมีร้อยกว่าเมนู เราก็ปรับให้เหลือประมาณ 20 เมนู เพื่อลดการสต๊อกวัตถุดิบจากที่ปกติ จากที่สต๊อกเป็นเดือนเหลือแค่สต๊อกเป็นสัปดาห์ก็พอ เพื่อรักษาเงินสดย่อยไว้ใช้จ่ายในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ในทุกๆวัน ข้อสองก็คงหนีไม่พ้นต้นทุนสำคัญที่หลายๆร้านต้องจ่าย คือค่าเช่าร้านที่ถือเป็นรายจ่าย […]

ขายขนมสุขภาพ

Meloliz healthy อยาก ขายขนมสุขภาพ ต้องทำยังไง ?

แทนที่จะขายอาหารสุขภาพ ที่เน้นผักเหมือนร้านทั่วๆ ไป ซึ่งการแข่งขันสูงมาก Meloliz healthy กลับเลือก ขายขนมสุขภาพ เพื่อเลี่ยงการแข่งขันที่รุนแรงแทน

nice two Meat u

ถอดเคล็ดลับ nice two Meat u ทำอย่างไรให้ลูกค้ายอมรอ

ภาพลูกค้านั่งรอบนเก้าอี้ตัวเล็กสีส้มบริเวณหน้าร้าน เป็นภาพชินตาที่เรามักจะเห็นจากร้านปิ้งย่างเกาหลี nice two Meat u แทบทุกสาขา เชื่อว่าหลายคนต้องเกิดความสงสัยว่า อะไรที่ทำให้ร้านเป็นที่นิยมจนลูกค้าต้องรอ เป็นแค่กระแสหรือเปล่า แล้วเจ้าของร้านมีวิธีบริหารจัดการอย่างไร เรามีโอกาสได้ไปลองทานและสัมภาษณ์เจ้าของร้าน ซึ่งเป็น 2 สาว อารมณ์ดี  คุณแนท นันทนัช และ คุณเกศ ชุติมา จะมาแชร์เคล็ดลับให้ฟังกัน   ถอดเคล็ดลับ ร้านปิ้งย่างเกาหลี nice two Meat u   ชูจุดเด่นของแบรนด์ด้วยงานบริการ nice two Meat u เราเปิดให้บริการมาแล้ว 3 ปี กับสาขาทั้งหมดในปัจจุบัน คือ 6 สาขา เราเลือกที่จะเน้นเรื่องบริการที่ดีที่สุด ซึ่งเป็นความตั้งใจของเรา ถ้าเข้ามาร้านจะสังเกตได้ว่า พนักงานเราจะมีบริการประกบตามโต๊ะเลย 1 ต่อ 1 บริการปิ้งให้ลูกค้า เราเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องของงานบริการ ที่จะดึงจุดนี้มาเป็นจุดขายตั้งแต่แรกเลย จะเห็นว่าร้านเราพนักงานจะเยอะมาก เริ่มแรกเรายังไม่ได้คิดไปในเชิงการตลาด เราคิดแค่ว่าเราต้องการให้ลูกค้าได้รับบริการที่ดี […]

จริงหรือไม่!? ร้านสวยแม้กาแฟแย่คนก็ซื้อ? ผู้ใช้ทวิตเตอร์แชร์มุมมอง กาแฟแย่และแพง แต่คนเยอะมากเพราะถ่ายรูปสวย หรือคาเฟ่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราไปแล้ว?

จริงหรือไม่!? ร้านสวยแม้กาแฟแย่คนก็ซื้อ? ผู้ใช้ทวิตเตอร์แชร์มุมมอง กาแฟแย่และแพง แต่คนเยอะมากเพราะถ่ายรูปสวย หรือ “คาเฟ่” เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราไปแล้ว? เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในทวิตเตอร์ เมื่อผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่ง ได้มีการแชร์มุมมองเกี่ยวกับรสชาติของเครื่องดื่มและอาหารของร้าน คาเฟ่ ว่ามักจะมีรสชาติแย่ ในขณะที่ราคาแพงมาก แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีผู้ไปใช้บริการเยอะมาก ด้วยเหตุผลว่าเพราะร้านนั้นถ่ายรูปสวย และเธอยังได้ตั้งคำถามต่ออีกว่า ทำไมคาเฟ่ที่มีมุมถ่ายรูปถึงได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญของวิถีชีวิตคนกรุงเทพฯ ได้ขนาดนี้ จนบางทีเธอก็คิดว่าทำไมให้ทำคาเฟ่ให้เป็นสตูดิโอถ่ายรูปไปเลย… โดยผู้ใช้ทวิตเตอร์รายนี้ยังได้เสริมถึงเรื่องนี้อีกว่า ที่เธอได้พูดถึงประเด็นนี้ขึ้นมา เพราะรู้สึกว่าการที่คนซื้อเครื่องดื่มหรืออาหารมาแล้วกินไม่หมด เพราะว่าไม่อร่อย ทำให้เกิด waste จากการบริโภคได้ ความเห็นจากชาวเน็ต ซึ่งหลังจากเรื่องนี้ออกไปก็ได้มีผู้ใช้ทวิตเตอร์ให้ความสนใจเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างล้นหลาม บ้างก็บอกว่า “ไปคาเฟ่ไหนๆ ก็ไม่เจอที่เครื่องดื่มถูกปากเลยค่ะ ราคาก็แรงมากส่วนใหญ่แก้วละ 60-150 เลยนะที่เจอมา” “คาเฟ่แบบนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ได้ไม่นานหรอก ต่อให้ร้านสวยถ้าของกินแพงแต่คุณภาพห่วย คงไม่มีใครไปซ้ำเกิน 2 ครั้งหรอกค่ะ มุมก็มุมเดิม เข้าใจแหละว่าช่วงนี้คนไม่ค่อยได้เที่ยวไหน ร้านกาแฟสวยๆ สักร้านก็ทำให้ผ่อนคลายเหมือนไปเที่ยวพักผ่อนได้ แต่สิ่งที่น่าจะดึงดูดได้จริงคือคุณภาพสินค้า” บ้างก็บอกว่า “บางร้านก็อร่อยนะคะ แต่ชาวเซลฟี่เยอะไปหน่อย เดินวนถ่ายทั่วร้านจนทำให้คนที่อยากไปนั่งกินเฉย ๆ รู้สึกไม่เป็นส่วนตัวเหมือนโดนคุกคามก็มี นั่งกินอยู่ดี ๆ มายืนจ้องแบบฉันจะถ่ายตรงนี้แกลุกไปสิ”  คาเฟ่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต? […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.