วิกฤตปัญหาขยะพลาสติกล้นโลก กำลังส่งผลร้ายอย่างมากมายกับโลกของเรา เห็นได้จากข่าวต่างๆที่ผ่านมา เปิดปัญหากับสัตว์ต่างๆ และธรรมชาติอย่างร้ายแรง ทำให้ที่ผ่านมาหลายหน่วยงาน หลายองค์กรทั่วโลก เริ่มหันมาให้ความสำคัญ และตื่นตัวกับปัญหานี้มากขึ้น รวมถึงแบรนด์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหารทั่วโลก ซึ่งเป็นธุรกิจที่นับว่ามีปริมาณการใช้ ขยะพลาสติก แบบใช้แล้วทิ้ง (Single-use plastics) เป็นจำนวนมาก ก็เริ่มรณรงค์และหาทางออกในเรื่องนี้ เรามาดูกันว่ามีแบรนด์ใดบ้าง
แบรนด์ใหญ่ เดินหน้าลด ขยะพลาสติก แบบใช้แล้วทิ้ง
Starbucks
แบรนด์ยักษ์ใหญ่อย่าง Starbucks ก็เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่ประกาศเลิกใช้หลอดพลาสติกใช้แล้วแบบ Single Use ในทุกสาขาทั่วโลกภายในปี 2563 ในทุกสาขาทั่วโลกภายในปี 2563 ของ Starbucks เพื่อให้แบรนด์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นอกจากใช้หลอดที่ทำจากวัสดุดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างกระดาษ หรือพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทดแทนแล้ว ในปัจจุบัน Starbucks ยังออกแบบฝาปิดแก้วสำหรับเครื่องดื่มเย็นบางชนิดให้สามารถยกดื่มได้ง่ายแบบไม่ต้องใช้หลอด โดยเริ่มใช้ในหลายๆ สาขาทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วย ซึ่งหากสามารถทำตามแผนที่วางไว้ได้สำเร็จ Starbucks จะสามารถกำจัดหลอดพลาสติกไปได้กว่า 1,000 ล้านชิ้น/ปี เลยทีเดียว
*ข้อมูลจาก Ocean Conservancy องค์กรไม่แสวงหากำไรที่ดูแลปกป้องมหาสมุทรพบว่า ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา เศษขยะตามแหล่งน้ำทั่วโลกที่อาสาสมัครเก็บได้มีราว 150 ล้านตัน ในจำนวนนี้มากกว่า 10 ล้านชิ้น คือ “หลอด” และ “ที่คนกาแฟพลาสติก”
Ikea
พลาสติกในครัวเรือนที่ใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน มีทั้งแบบใช้ซ้ำและใช้แล้วทิ้ง แน่นอนว่าปัญหาขยะล้นเมืองที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากพลาสติกประเภทใช้แล้วทิ้ง ไม่ว่าจะเป็นหลอด จาน ถ้วย ถุงแช่แข็ง ถุงขยะ รวมถึงจานและถ้วยกระดาษเคลือบพลาสติก โดยผลิตภัณฑ์เหล่านี้กำลังจะถูกนำออกจากระบบการขายถาวรในสโตร์เฟอร์นิเจอร์และของใช้ภายในบ้าน แบรนด์สัญชาติสวีเดีนอย่าง Ikea ภายในวันที่ 1 มกราคม 2563
นอกจากนี้ Ikea ยังวางเป้าหมายระยะยาวเพื่อสิ่งแวดล้อม ด้วยนโยบายการออกแบบสินค้าและบรรจุภัณฑ์แบบหมุนเวียนคือใช้เฉพาะวัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้หรือวัสดุรีไซเคิลเท่านั้น ยุติการจำหน่ายสินค้าที่ผลิตจากพลาสติกซึ่งสังเคราะห์จากสารตั้งต้นจำพวกเชื้อเพลิงฟอสซิล รวมถึงกำหนดกลยุทธ์ People and Planet Positive ที่ครอบคลุมมิติการใช้ชีวิตอย่างสุขภาพดีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
Café Amazon
มีการบริหารจัดการขยะภายในร้าน และลดปริมาณการใช้พลาสติก เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด ด้วยการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ของใช้ (Supplies Use) ภายในร้าน Café Amazon ให้เป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้โดยธรรมชาติมาตั้งแต่ปี 2554 เริ่มจากการใช้แก้วร้อน Bio Cup เป็นแก้วกระดาษเคลือบ BIO PBS ทำจากเม็ดพลาสติกชีวภาพ ซึ่งผลิตจากพืช เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสลายตัวได้ทางชีวภาพ (Compostable)
Café Amazon พัฒนาไปอีกขั้นด้วยการนำ Circular Living Concept มาใช้กับร้าน Café Amazon สาขา PTT Station สามย่าน เป็นแห่งแรก เพื่อเป็นสาขาต้นแบบที่สะท้อนเจตนารมณ์การดำเนินธุรกิจของ OR ที่ควบคู่การดูแลสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ตามแนวคิด “Taste of Nature” โดยเป็นการนำทรัพยากรมาใช้อย่างรู้คุณค่ามากที่สุดตามหลัก 5Rs ได้แก่ Reduce ลดการใช้ทรัพยากรอันที่จะเกิดเป็นการลดขยะที่จะทิ้งให้เหลือน้อยลง, Reuse ใช้ซ้ำผ่านการนำสิ่งของเครื่องใช้ที่ยังใช้ได้อยู่มาดัดแปลงเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่, Recycle นำเอาวัสดุที่ใช้แล้ว ได้แก่ พลาสติก กระดาษ แก้วกลับไปเข้ากระบวนการผลิตใหม่ให้เป็นของใหม่, Repair ซ่อมหรือแก้ไข โดยนำสิ่งของเครื่องใช้ที่แตกหักเสียหาย มาซ่อมหรือแก้ไขให้อยู่ในสภาพที่ใช้ต่อได้ และ Reject หลีกเลี่ยงขยะพิษ และหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตราย
Food Passion
บริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด เจ้าของเชนร้านอาหาร บาร์บีคิว พลาซ่า, จุ่มแซบฮัท, สเปซ คิว, ฌานา และ เรดซัน ก็เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่ประกาศเปลี่ยนมาใช้กล่องชานอ้อย ในการส่งอาหารเดลิเวอรี่ ของร้านในเครือ เพื่อเป้าหมาย คือ ผลักดันการสร้างมาตรฐานใหม่ของฟู้ดเดลิเวอรี่ที่ไม่สร้างภาระให้กับโลก
Food Passion ต้องการมีส่วนร่วมในการช่วยลดขยะพลาสติกใช้แล้วทิ้ง Single-use plastic ภายใต้นโยบาย Wasteless Delivery ซึ่งมองว่าการเข้ามาในตลาดเดลิเวอรี่ ต้องมีส่วนในการช่วยลดปัญหาเรื่องขยะพลาสติก ที่กำลังเป็นปัญหาวิกฤติในขณะนี้ และกำลังเป็นประเด็นสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อประเทศและโลกในระยะยาว โดยตั้งเป้าหมายในการลดปริมาณขยะพลาสติกคงค้างโดยการเปลี่ยนมาใช้ภาชนะที่ย่อยสลายได้ และหากต้องมีการใช้พลาสติกจะต้องมีการส่งเสริมให้นำกลับมาใช้ซ้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงได้ประกาศเปลี่ยนมาใช้กล่องชานอ้อยในการส่งอาหารเดลิเวอรี่ ของร้านในเครือ
เชสเตอร์
เชสเตอร์เป็นแบรนด์ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดที่ให้บริการเสิร์ฟอาหารประเภทข้าวให้แก่ลูกค้า โดยใช้จานเมลามีน ช้อน-ส้ม-มีดแสตนเลส ตลอดจนแก้วน้ำที่เป็นแก้วจริงๆ มาตลอดระยะเวลาที่เปิดให้บริการ ด้วยความต้องการที่จะสามารถเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะให้ความร่วมมือในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และจะลดการใช้พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งปัจจุบันเชสเตอร์ก็ไม่หยุดนิ่ง และกำลังดำเนินการศึกษาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อนำมาใช้กับช่องทางเดลิเวอรี่ของแบรนด์ด้วย
Texas Chicken
Texas Chicken Thailand ก็เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ในธุรกิจอาหาร ที่สร้างแคมเปญ รวมถึงโปรโมชั่นต่างๆ ในการให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการลดใช้พลาสกติกแบบ Single Use ออกมาเรื่อยๆ อย่างเช่น การจัดกิจกรรม Plastic Free Day โดยการให้ลูกค้า นำภาชนะใส่อาหาร หรือเครื่องดื่มนำมาใส่เอง แล้วจึงจะได้รับเป็นโปรโมชั่น 1 แถม 1 แบบนี้เป็นต้น ถึงแม้ว่าจะเป็นการจัดกิจกรรมแบบเป็นครั้งคราว แต่ก็ถือว่าเป็นไอเดียที่ดี ที่ให้ลูกค้าได้รู้สึกว่ามีส่วนร่วมในการลดใช้ ขยะพลาสติก ด้วยเช่นกัน
แบรนด์เหล่านี้เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น ที่เราหยิบยกมาให้ดูกันว่าหลายองค์กรเริ่มตื่นตัวกับการรักษ์โลก และการลดใช้ ขยะพลาสติก มากขึ้น โดยเฉพาะขยะพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง หรือ Single Use นั่นเอง และเชื่อว่ายังมีอีกหลายองค์กร ที่กำลังเดินหน้าเต็มสูบกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากพลาสติกมากขึ้น ไม่ว่าจะองค์กรเล็กหรือใหญ่ หรือแม้แต่ตัวบุคคลเอง ก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการรับผิดชอบต่อสังคมในเรื่องนี้ได้ เพราะทุกสิ่งต้องเริ่มจากตัวเราเองด้วย
ไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง กับงานใหญ่ส่งท้ายปี Amarin Academy 3rd Anniversary : Food Trend Connect งานครบรอบ 3 ปีของ Amarin Academy กับการรวมตัวของเหล่าผู้ประกอบการร้านอาหารกว่า 150 ร้าน พร้อมโอกาสการสร้าง Connection กับร้านชื่อดังต่างๆมากมาย อีกทั้งยังรวบรวมผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายแขนงที่จะมาอัพเดทเทรนด์ตลอดทั้งปี ไม่ว่าจะเป็น วิเคราะห์พฤติกรรมการบริโภคของลูกค้า / งานดีไซน์ร้านสุดเจ๋ง / กลยุทธ์เรียกลูกค้าเข้าร้านสไตส์ Influencer ชื่อดัง ปิดท้ายด้วยปาร์ตี้สุดเอ็กซ์คลูซีฟ ร่วมพูดคุยกับเหล่ากูรูและเจ้าของร้านผู้มากประสบการณ์ในบรรยากาศเป็นกันเอง ซึ่งงานจะจัดขึ้นในวันอังคารที่ 17 ธันวาคม 2562
สมัครเข้าร่วมงาน Amarin Academy 3rd Anniversary : Food Trend Connect คลิก!!