เจาะ 5 พฤติกรรมผู้บริโภค ในยุคดิจิทัล ที่เจ้าของร้านควรรู้ - Amarin Academy

เจาะ 5 พฤติกรรมผู้บริโภค ในยุคดิจิทัล

ยุคนี้ผู้บริโภคเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในวงกว้างและส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต ที่”ผู้ประกอบการร้านอาหาร” ต้องทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทุกด้านของผู้บริโภค ถ้าไม่อยากปล่อยให้ร้านของคุณเจ๊ง มาเจาะ พฤติกรรมผู้บริโภค ในยุคดิจิทัลกัน

พฤติกรรมผู้บริโภค คืออะไร?

เปลี่ยนแปลงไป..อย่างไร ในยุคดิจิทัล

พฤติกรรมผู้บริโภค คือ พฤติกรรมของคนเราที่อยู่ในสังคมขณะนั้นๆ กระบวนการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่บุคคลเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง ลักษณะนิสัย วิถีชีวิต และการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันของบุคคลทั่วไป หรือกลุ่มคนส่วนใหญ่ในสังคม การเลือก การซื้อ การใช้ การประเมินผล ในแง่มุมของการจับจ่ายใช้สอย ดำเนินชีวิตประจำวัน ผ่านการใช้สินค้าและบริการต่างๆ เพื่อสนองความต้องการและความปรารถนาอยากได้ เพื่อให้ได้รับความพอใจ

     

พฤติกรรมของผู้บริโภค ในปัจจุบันแตกต่างอย่างไรกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในอดีต

นับจากปี 2015 “กรุ๊ปเอ็ม” เริ่มทำวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคที่เรียกว่าเป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ต “หน้าใหม่”  (The New Internet Users) ทั่วประเทศ ที่ใช้อินเทอร์เน็ตครั้งแรกผ่านมือถือ หลังจากปี 2017 ถึงปัจจุบันที่ประชากรไทยเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสัดส่วนกว่า 80% ต้องเรียกว่าวันนี้พฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแต่ละกลุ่มมีความเชี่ยวชาญมากขึ้น การสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตปี 2019  ทั่วประเทศ พบว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตและดิจิทัลแพลตฟอร์ม เรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต อีกทั้ง ดิจิทัลแพลตฟอร์ม ได้กลายเป็นช่องทางปกติของการติดต่อสื่อสารไปแล้ว

เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าใจและปรับตัวในยุคที่มือถือและอินเตอร์เน็ตเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตที่ขาดไม่ได้ เราจึงต้องมาศึกษา และเจาะพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในยุคนี้ ว่ามีอะไรบ้าง

 

5 พฤติกรรมผู้บริโภค ในยุคดิจิทัล

1. พฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ที่สูงขึ้น

ในปัจจุบัน ถ้าลองสังเกตการใช้ชีวิตประจำวันของตัวเอง หรือ คนรอบข้าง จะหันซ้าย หันขวา หรือแม้แต่ตัวเอง การสั่งซื้อสินค้า หรือชำระเงินเพื่อให้ได้สินค้าที่ตัวเองต้องการผ่านช่องทางออนไลน์มีเพิ่มมากขึ้น พฤติกรรมผู้บริโภคนั้นเปลี่ยนไปแล้วอย่างสิ้นเชิง แม้กระทั่งสินค้าอุปโภค บริโภค อาหาร ขนมหวาน เครื่องดื่ม ก็สามารถสั่งมาส่งให้ถึงที่ได้ง่ายๆ ในการดำเนินกิจกรรมแบบนี้บนโลกออนไลน์สามารถบอกได้เลยว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่นั้น เกิดพฤติกรรมการสั่งซื้อและชำระสินค้าออนไลน์เป็นจำนวนที่สูงขึ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น หากคุณเป็นผู้ประกอบการร้านอาหารและยังไม่เริ่มต้นที่จะให้บริการ หรือ มีระบบชำระเงินสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ระวัง!! ร้านของคุณอาจจะไปไม่สวยก็ได้

 

2. พฤติกรรมการชำระสินค้าด้วยเงินดิจิทัล

ลองสังเกตไหมว่า ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยเริ่มทยอยปิดสาขาลง เพราะอะไร? ลองดูในมือถือของเราดูสิ แอปพลิเคชันของธนาคาร สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ง่ายแสนง่าย นั่นหมายความว่า ธุรกรรมการเงินส่วนใหญ่ สามารถทำได้ผ่านมือถือของตัวเอง และสามารถใช้งานได้ทันทีตลอด 24 ชั่วโมง โดยที่ไม่จำเป็นต้องออกไปนอกบ้าน ฝ่าฟันรถติดหรือปัญหาการจราจร หรือ ฝนตกก็ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป

พฤติกรรมนี้ยังส่งผลไปถึงเรื่องของการจับจ่ายใช้สอย หรือสั่งซื้ออาหารในโลกออนไลน์อีกด้วย ร้านอาหารของคุณควรมีเว็บไซต์รองรับระบบ Ecommerce การชำระเงินด้วยบัตรเครดิตผ่านการเลือกสินค้าเข้าตะกร้าในรูปแบบที่เว็บไซต์ใหญ่ๆทำกัน รวมทั้งการชำระเงินผ่านช่องทางออนไลน์ได้ทันที โดยการโอนเงินในรูปแบบออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นธนาคารต่างๆ หรือระบบพร้อมเพย์ แม้กระทั่ง Application และระบบต่างๆที่เอกชนนำเสนอกันอยู่ทุกวันนี้ เช่น True wallet หรือ LINE pay รวมทั้ง Application ที่บุกตลาดเข้ามาในประเทศไทยบ้านเราอย่าง App ของจีน เช่น WeChat pay หรือ Alipay

 

3. พฤติกรรมการให้คำติชมหรือร้องเรียนผ่านสังคมออนไลน์

Pantip , Wongnai หรือ Social Media ทุกวันนี้ลูกค้าหรือผู้บริโภคล้วนแต่เป็นเจ้าของสื่อกันทุกคน มือถือสมาร์ทโฟน+อินเทอร์เน็ต ทำให้กลายเป็นเจ้าของสื่อได้โดยอัตโนมัติ เพราะไม่ว่าเรื่องราวส่วนตัวของชีวิตหรือการเป็นผู้บริโภคในการช้อปปิ้งเลือกซื้อสินค้า ลูกค้าสามารถให้คำติชมหรือร้องเรียนเรื่องราวต่างๆ บนโลกออนไลน์ได้ทันที หากไม่พอใจในสินค้าหรือร้านอาหารร้านใดร้านหนึ่ง หรือประทับใจทั้งอาหารและการบริการ ลูกค้าสามารถใช้สื่อออนไลน์บอกต่อประชาสัมพันธ์ อาจจะเป็น comment ดีๆ การให้คะแนนผ่านโซเชียลมีเดีย ลองสังเกตง่ายๆว่า หากต้องการไปทานอาหารสักร้าน ตัวอย่าง เช่น ร้านอาหารเกาหลี ถ้าเข้าไปใน Google คุณก็จะเจอ “รีวิว” แล้วคุณก็จะได้พบกับ เนื้อหาหรือ Content มากมาย ที่บางส่วนเป็นลูกค้าที่มาใช้บริการเป็นผู้สร้างขึ้นมาเอง (User Generated Content) รีวิวเองโดยตรง หรือเป็นการนำเสนอและโฆษณาประชาสัมพันธ์จากร้านอาหารนั้นโดยตรง (Brand’s content)

ในอีกด้านหนึ่ง สำหรับตัวผู้ประกอบการเอง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินกิจการอย่างบริสุทธิ์จริงใจและเปิดเผยได้อย่างโปร่งใส เพราะเมื่อใดก็ตาม ที่การดำเนินกิจการของคุณมีปัญหา หรือ ไม่จริงใจต่อผู้บริโภค ร้านอาหารของคุณอาจจะถูกบอก ปากต่อปาก ในทางที่ไม่ดี และนั่นจะยิ่งทำให้ร้านอาหารของคุณเจ๊งได้

พฤติกรรมผู้บริโภค

4. พฤติกรรมในการเกาะกระแสสังคม

ร้านอาหารในยุคนี้ บางร้านอาจจะไม่ได้มีอะไรพิเศษมากมายนัก แต่เป็นกระแสทำให้ผู้บริโภคหรือลูกค้าต้องการอยากไปรับประทาน หลายคนที่กำลังคิดว่ามีพฤติกรรมแบบนี้เกิดขึ้นจริงหรือ ในเมื่ออาหารก็ไม่ได้อร่อยเลิศอะไร หาทานที่ไหนก็ได้ แตได้รับความนิยมหรือเป็นกระแสจนถึงขนาดลูกค้าต้องมารอต่อคิวเพื่อให้ได้ทานกันเลยทีเดียว ร้านอาหารที่เป็นกระแสแล้ว ก็จะทำให้มีลูกค้าไปกินหรือได้เข้าไปถ่ายรูปเพื่อบอกกับสังคมออนไลน์ว่าได้มาลองแล้ว แม้ว่าลูกค้าหรือผู้บริโภคเหล่านั้นยังไม่เคยแม้แต่ได้รับรู้รสชาติหรือฟังคำรีวิวต่างๆ แค่ขอให้ได้เป็นส่วนหนึ่งของกระแสที่เกิดขึ้นก็พอใจแล้ว

พฤติกรรมผู้บริโภคในลักษณะนี้เกิดขึ้นมาแล้วยาวนาน แต่ว่าเริ่มเห็นชัดเจนมากขึ้นเมื่อมีสื่อออนไลน์เข้ามา ขอให้ได้ตามกระแส ไม่ตกยุค หรือเป็นกลุ่มคนแรกๆ ที่ได้ไปทาน ก็จะยิ่งน่าภาคภูมิใจ พฤติกรรมนี้ ผู้ประกอบการร้านอาหารสามารถหยิบจับมาใช้เป็น กลยุทธ์ทางการตลาดในรูปแบบออนไลน์ได้อย่างไม่ยาก แต่ต้องวางแผนและเข้าใจถึงกลุ่มผู้บริโภคให้เหมาะสมกับร้านของคุณ รับรองว่าคุณสามารถใช้ประโยชน์ หรือ หาจุดเด่นจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในข้อนี้ได้อย่างแน่นอน

 

 5. พฤติกรรมลดความภักดีต่อแบรนด์

หนึ่งในข้อสรุปที่ได้จากรายงานครั้งล่าสุดของนีลเส็น ในการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคโดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกว่า 3 หมื่นคน ในภูมิภาคต่างๆ จาก 64 ประเทศทั่วโลก เผยถึงระดับของความ ไม่ จงรักภักดีต่อแบรนด์ ที่เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ โดยพบว่า มีเพียง 8% ของผู้บริโภคทั่วโลกเท่านั้น ที่เชื่อว่าตัวเองเป็นผู้ที่ภักดีต่อแบรนด์ นักการตลาดและที่ปรึกษาการตลาดส่วนใหญ่ ต้องพูดกันว่า ปัจจุบันผู้บริโภคหรือลูกค้าไม่มีความจงรักภักดีต่อแบรนด์สินค้าอีกต่อไป สาเหตุที่ว่าทำไมลูกค้าถึงลดความภักดีต่อแบรนด์สินค้าลงไปมาก หลักๆเนื่องมาจาก ปัจจุบันผู้บริโภคมีทางเลือกในการจับจ่ายใช้สอยหรือเลือกไปร้านอาหารร้านใหม่ๆ ที่ต้องการได้อย่างง่ายผ่านสื่อโฆษณาบน Social Media ที่มีอิทธิพลต่อผู้บริโภคมากขึ้น

ดังนั้น ผู้บริโภคจึงมีช่องทางหลากหลายมากมายในการรับสื่อ ไม่จำเป็นต้องใช้สื่อหลักอย่างโทรทัศน์และวิทยุอีกต่อไปแล้ว การมีอินเทอร์เน็ตทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสื่อในหลากหลายรูปแบบ สำหรับผู้บริโภคไทย ก็จะมีสื่อช่องทางออนไลน์ที่เป็นกระแสหลักๆ อย่าง เช่น Facebook YouTube LINE หรือ Twitter ช่องทางเหล่านี้ แม้จะดูเป็นแค่ Application ที่ใช้ในการติดตามเรื่องราวของเพื่อนๆหรือชาวบ้าน แต่ก็ยังเป็นสื่อที่ผู้ประกอบการร้านอาหารสามารถส่งโฆษณา หรือสร้างการรับรู้ของร้านอาหารของตัวเองได้

ในฐานะผู้ประกอบการร้านอาหาร จะสามารถใช้ประโยชน์จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปนี้ได้อย่างไร? ที่ต้องทำก็คือสำรวจตลาด วิเคราะห์ วิจัยผู้บริโภค แล้วหาช่องว่างเหล่านั้น เพื่อเติมเต็มตลาดที่ยังว่างอยู่ และ หวังว่าคุณจะสามารถใช้ประโยชน์จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปนี้กลายมาเป็นประโยชน์อย่างสูงสุดให้กับธุรกิจร้านอาหารของคุณได้

 


           กลับมาอีกครั้งกับหลักสูตร HR for Food Business บริหารคน สำหรับธุรกิจอาหาร รุ่นที่ 3 หลักสูตรที่จะทำให้ผู้ประกอบการเรียนรู้การบริหารบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ ไขข้อข้องใจปัญหาเรื่องพนักงานลาออกบ่อย ขาด ลา มาสาย ทะเลาะกัน การหาพนักงานที่ดี โครงสร้างเงินเดือน สัญญาจ้างงาน รวมถึงกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานต่างๆ ที่ต้องรู้ โดยวิทยากร คือ อาจารย์ พีรพัฒน์ กองทอง ผู้มีประสบการณ์จากธุรกิจอาหารเชนใหญ่อย่าง แมคโดนัลด์ ประเทศไทย ที่จะมาพร้อมแขก สุดพิเศษ ร่วมแชร์ประสบการณ์การบริหารจัดการพนักงานในร้าน งานนี้จะจัดขั้นในวันอังคารที่ 31 มีนาคม – วันพุธที่ 1 เมษายน 2563  เวลา 9.00-17.00 น. 

 

คลิกสมัครด่วน! หลักสูตร HR for Food Business บริหารคน สำหรับธุรกิจอาหาร รุ่นที่ 3

HR for Food Business บริหารคน สำหรับธุรกิจอาหาร รุ่นที่ 3

                    

เรื่องแนะนำ

วิธีจัดเก็บวัตถุดิบร้านอาหาร

FIFO วิธีจัดเก็บวัตถุดิบร้านอาหาร ช่วยลดต้นทุนได้จริง!

ลืมใช้วัตถุดิบจนหมดอายุ วัตถุดิบหมดสต๊อก วัตถุดิบหาย แต่จับมือใครดมไม่ได้ สารพัดปัญหาวัตถุดิบ FIFO วิธีจัดเก็บวัตถุดิบร้านอาหาร ง่ายๆ แต่มีประสิทธิภาพ ช่วยได้!

การจัดการธุรกิจอาหาร

เจาะลึกเบื้องหลัง การจัดการธุรกิจอาหาร ระดับโลก

เมื่อพูดถึงธุรกิจอาหาร หลายคนมักนึงถึง ร้านอาหาร แต่จริงๆ แล้ว ธุรกิจร้านอาหารมากกว่านั้น เราเลยอยากแชร์เกี่ยวกับ การจัดการธุรกิจอาหาร รูปแบบอื่นๆ ให้รู้กัน

ต้นทุนอาหารควบคุมได้ กำไรเห็น ๆ

  การกำหนดต้นทุนอาหารส่วนใหญ่จะกำหนดไม่เกิน 35-40 เปอร์เซนต์ของต้นทุนทั้งหมด โดยสูตรการคำนวณที่นิยมใช้กันคือต้นทุน เท่ากับ ยอดขาย (ราคาขาย ) คูณด้วยเปอร์เซนต์ของต้นทุน เพราะฉะนั้นถ้าเรากำหนดต้นทุนและยอดขายโดยประมาณไว้แล้ว เราก็จะได้จำนวนต้นทุนเพื่อควบคุมไว้ให้ไม่เกิน ยกตัวอย่าง ยอดขาย 90,000 คูณด้วย 35 เปอร์เซนต์ เท่ากับต้นทุนต้องไม่เกิน 31,500  บาท เป็นต้น ระบบการควบคุมต้นทุนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  ควรทำควบคู่กับระบบการจัดทำ Recipe  เพื่อกำหนดราคาขาย  และการกำหนด SOP เพื่อจัดการเมนูอาหาร   การจัดทำ  recipe เพื่อลงรายละเอียดของวัตถุดิบ   การจัดทำ recipe นั้นจะช่วยให้เรากำหนดราคาขายที่เหมาะสม ประเมินงบประมาณจัดซื้อวัตถุดิบ และยังช่วยลดการสูญเสียวัตถุดิบ ยกตัวอย่าง ดังนั้น ข้าวไข่ข้นกุ้งเมนูนี้ จึงมีต้นทุนอยู่ที่ 14.4 % หากขายที่ราคา 90  บาท นอกจากนี้ การคำนวณวัตถุดิบควรลงละเอียดในเรื่องของ yield  (การหาค่าเฉลี่ยวัตถุดิบ) ลงไปด้วยเพื่อการกำหนดต้นทุนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในส่วนของการจัดทำ Recipe […]

ไผ่ทอง ไอศกรีม

ไผ่ทอง ไอศกรีม อันละ 10 บาท ปีละเกือบ 100 ล้าน!

เพราะอะไร ไผ่ทอง ไอศกรีม รถเข็นหน้าตาธรรมดา ที่ไม่ได้ทำการตลาดอย่างเข้มข้น ไม่มีหน้าร้าน ถึงครองใจลูกค้ามาได้นานขนาดนี้ เราจะมาไขสูตรลับให้ฟัง!

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.