ร้านอาหาร กับ บริการเดลิเวอรี่ วางสมดุลไม่ดี ร้านขาดทุนได้ - Amarin Academy

ร้านอาหาร กับ บริการเดลิเวอรี่ วางสมดุลไม่ดี ร้านขาดทุนได้

บริการเดลิเวอรี่ ก็เป็นส่วนสำคัญที่คนทำร้านอาหารควรมี เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคในยุคนี้ แต่สงสัยหรือไม่ว่า บางร้านยอดเดลิเวอรี่ดี แต่ขาดทุน และบางรายเสียลูกค้าประจำไป เป็นเพราะสาเหตุอะไร  

 

ร้านอาหาร กับ บริการเดลิเวอรี่

วางสมดุลไม่ดี ร้านขาดทุนได้

 

การทำธุรกิจร้านอาหารในปัจจุบันนี้ จะเห็นได้ว่ามีการแข่งขันกันสูงขึ้นเพื่อดึงดูดลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นโปรโมชั่นต่างๆ การทำการตลาดในหลายช่องทาง รวมถึง บริการเดลิเวอรี่ ที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างสูงในกลุ่มของลูกค้าที่ต้องการความสะดวกสบาย ซึ่งมีมากขึ้นเรื่อยๆ แน่นอนว่าร้านอาหารก็ควรมีบริการนี้เพื่อให้ตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้บริโภคด้วย

แต่ถ้าเจ้าของร้านวางสมดุลระหว่างหน้าร้าน และบริการเดลิเวอรี่ไม่ดี ก็อาจจะทำให้ร้านคุณขาดทุน และสูญเสียลูกค้าได้เช่นกัน แล้วเจ้าของร้านอาหารควรทำอย่างไร มาฟังมุมมองจาก คุณธามม์ ประวัติตรี Managing Director, Wow Thai Food B.V. Amsterdam Netherland ที่จะมาให้ความคิดเห็นกับเรื่องนี้กันค่ะ

 

ปัญหาการแข่งขันในตลาด เดลิเวอรี่

จากประสบการณ์การทำร้านอาหาร ทั้งในประเทศไทย และร้านอาหารในต่างประเทศ คุณธามม์ ได้ให้ความเห็นที่น่าสนใจอย่างหนึ่งว่า ที่ผ่านมาเกือบตลอดทั้งปี จะเห็นได้ว่าการให้บริการแบบเดลิเวอรี่ กำลังมาแรงมากในการทำธุรกิจอาหารในประเทศไทย ร้านอาหารให้ความสนใจในบริการนี้ เพราะตอบโจทย์พฤติกรรมของลูกค้าในปัจจุบัน ทำให้เกิดการแข่งขันในเรื่องตลาดเดลิเวอรี่ ค่อนข้างสูง มีตัวเลือกที่มากขึ้น หลายร้านพยายามหากลยุทธ์ในการส่งฟรี เพื่อดึงลูกค้าให้อยู่กับร้านเราให้ได้

 

ต้นทุนร้านอาหารเพิ่มจาก บริการเดลิเวอรี่

เดลิเวอรี่ เป็นบริการที่ดี ตอบโจทย์ลูกค้าที่ต้องการความสะดวกสบาย และรวดเร็ว ซึ่งหากร้านอาหารร้านใด มีบริการเดลิเวอรี่ด้วย ก็เป็นผลดีกับร้านส่วนหนึ่งที่ทำให้ลูกค้าเลือกซื้ออาหารจากร้านคุณ แต่หากมองลึกลงไปกว่านั้น ในมุมเจ้าของร้านอาหาร ก็นับว่าเป็นปัญหาของคนทำร้านอาหารอีกอย่างหนึ่งก็ว่าได้ แล้วเป็นปัญหาได้อย่างไร?

ในอดีตผู้ประกอบการร้านอาหาร จะเป็นคนส่งอาหารเอง ต่อมาก็มีการพัฒนาเรื่องการรับส่ง โดยมีบริการรับส่งอาหารจาก Grab / Uber / Lineman ฯลฯ ซึ่งบริการเหล่านี้บางรายจะมีการคิดค่าบริการจากเจ้าของธุรกิจร้านอาหารด้วย

นั่นทำให้เกิดเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในการทำร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านต้องจ่ายเพิ่ม โดยบริการเดลิเวอรี่แต่ละที่ ก็มีการเรียกเก็บค่าบริการในราคาที่แตกต่างกันไป ซึ่งถือเป็นต้นทุนร้านอาหารทั้งสิ้น

 

หาสมดุลระหว่างร้านอาหาร และบริการเดลิเวอรี่

อย่างที่กล่าวมา เมื่อมีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เจ้าของร้านต้องหาจุดสมดุลระหว่างหน้าร้าน และบริการเดลิเวอรี่ให้ได้ ลองสมมติเล่นๆว่า ถ้าต้นทุนเป็น 100% แล้วต้องจ่ายให้เดลิเวอรี่ประมาณ 30% เหลือ 70%  เป็นต้นทุนอาหาร 30% ค่าเช่า 20% เราจะเหลือ 20% ยังไม่รวมเงินเดือน ถ้าเงินเดือน 15% เราเหลือ 5% เพราะฉะนั้นอยากจะให้ตระหนักตรงนี้ เพราะถ้าร้านเราเปิดร้านมา มีที่นั่งหน้าร้าน แล้วรายได้ส่วนใหญ่มาจากเดลิเวอรี่ อันนี้น่าห่วง นอกจากร้านเราทำเดลิเวอรี่อย่างเดียวอันนั้นโอเค

แต่ยังทำหน้าร้านอยู่ อยากไฮไลท์เลยว่า ให้เจ้าของร้านระมัดระวัง หาจุดสมดุลว่ายอดขายเดลิเวอรี่ จากthird party บริษัทรับส่งอาหาร ที่เราต้องเสียให้เขา ควรมีสัดส่วนเท่าไหร่ ต้องจำกัดให้ชัดเจน

และที่สำคัญเจ้าของร้านต้องให้ความสำคัญกับคนที่ตั้งใจมานั่งทานที่ร้านด้วย มิเช่นนั้น มีออเดอร์เดลิเวอรี่มาเป็นจำนวนมาก อาจกระทบกับลูกค้าหน้าร้านได้ ทำให้อาหารออกล่าช้า และอาจจะสูญเสียลูกค้ประจำไปในที่สุด

 

กระแสเดลิเวอรี่ ในอนาคต

สำหรับกระแสเดลิเวอรี่ในประเทศไทยตอนนี้ ยังคงเป็นที่นิยมอยู่อย่างมาก แต่คุณธามม์เผยว่า ในต่างประเทศอย่างเช่นสิงคโปร์นั้น ตอนนี้กระแสเริ่มลดลงแล้ว เพราะผู้ประกอบการบางรายก็ไม่สามารถอยู่รอดได้ เนื่องจากแบ่งสัดส่วนต้นทุนค่าบริการเดลิเวอรี่ไม่สมดุล อย่างที่กล่าวไป ทำให้หลายๆร้าน ยอดเดลิเวอรี่ดี แต่ร้านเจ๊ง นอกจากว่าร้านของคุณมีรายได้จากเดลิเวอรี่เกิน 60% ก็สามารถเปิดเดลิเวอรี่สโตร์อย่างเดียวได้ เช่น พิซซ่าฮัทบางสาขาที่มีเดลิเวอรี่อย่างเดียว ก็เป็นการลดต้นทุน ทำเป็นร้านเล็กๆ ใช้พนักงานน้อยลง จ่ายให้กับ third party ผู้ให้บริการรับส่งอาหารได้เต็มที่ หรือบางร้านที่ออเดอร์เดลิเวอรี่เยอะ ก็สามารถทำเป็นครัวกลาง (Cloud Kitchen) ก็จะช่วยในเรื่องการจัดการอาหารได้ดีขึ้น

 

เรียกว่าเป็นสิ่งท้าทาย ที่เจ้าของร้านอาหารต้องหาจุดสมดุลให้ได้ การตลาดที่ดี คือการบริหารจัดการหน้าร้านให้ดี สร้างความประทับใจให้ลูกค้า การบอกปากต่อปากสำคัญมาก การทำกิจกรรมการตลาดเป็นสิ่งที่ดี  แต่ต้องเลือกใช้ให้ถูกที่ ทำอย่างไรให้ลูกค้ามาแล้ว ต้องกลับมาอีกนั่นเอง

 

เรื่องแนะนำ

เทคนิค การบริหารร้าน ให้รุ่ง เจ้าของร้านควรโฟกัสเรื่องอะไรบ้าง

ไม่ว่าจะเปิดร้านอะไร แน่นอนว่า คุณย่อมหวังให้ธุรกิจของคุณไปได้ด้วยดี มีกำไร แต่การที่จะทำให้ร้านขายดี ทำกำไรได้นั้น ก็ต้องมี การบริหารร้าน ที่ดีด้วย ซึ่งเจ้าของร้านควรโฟกัสที่ในเรื่องอะไรบ้าง มาดูกันครับ เทคนิคการบริหารร้านให้รุ่ง เจ้าของร้านควรโฟกัสเรื่องอะไรบ้าง กำหนดทิศทาง ตั้งเป้าหมายให้ดี ธุรกิจร้านอาหารเป็นธุรกิจที่จะต้องมีการวางแผนเพื่อเติบโตในแต่ละปี เจ้าของร้านอาหารควรมีความชัดเจนในการกำหนดเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรม ให้ทิศทางการดำเนินงานที่ชัดเจน และสามารถสื่อสารความตั้งใจนั้นไปสู่ทีมงานร้านอาหารทุกฝ่ายได้  เช่น ตั้งใจให้เป็นร้านไก่ทอดที่ชนะร้านไก่ทอดชื่อดังภายใน 5  ปี โดยการขยายสาขาให้มากที่สุด  หรือเป็นร้านผักออแกนิกส์อันดับ 1 ที่มีกลยุทธ์จับมือกับพันธมิตรผู้ให้บริการฟิตเนส  การโฟกัสกับ  “การสร้างภาพความสำเร็จขึ้นในใจของทีมงาน เพื่อให้เขาเป็นส่วนหนึ่งในการที่จะสร้างความสำเร็จนั้น” เป็นสิ่งสำคัญ ก่อนที่จะกำหนดแผนงานเพื่อให้แต่ละฝ่ายรับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่ของตัวเอง และคอยตรวจสอบแผนงานนั้นอยู่เสมอ มองหาโอกาส เพื่อวางแผนการเติบโต             ร้านอาหารไม่ใช่การซื้อมาขายไป แต่การทำธุรกิจร้านอาหารให้อยู่รอด ต้องมองหาช่องทางในการเติบโต ธุรกิจร้านอาหารต้องมีการปรับตัวตลอดเวลา เนื่องจากมีปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อยอดขาย ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยภายนอกจากสภาวะการแข่งขัน หรือปัจจัยภายในที่เกิดจากการดำเนินงานของร้านเอง เจ้าของร้านอาหารที่ดีจึงควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาร้านอาหาร ตรวจสอบข้อผิดพลาดเพื่อแก้ไขจุดบกพร่อง ทำการบ้านเรื่องคู่แข่งอยู่ทุกวัน ในขณะเดียวกันก็มองหาโอกาสในการที่จะพัฒนาร้านให้พร้อมต่อการเติบโตในอนาคต วางแผนการเติบโตของพนักงานแต่ละฝ่าย             พนักงานร้านอาหารไม่ใช่ต้นทุน แต่เป็นทรัพยากรที่จำเป็นจะต้องส่งเสริมให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพมากที่สุด เพื่อให้พนักงานสามารถไปดูแลลูกค้าให้ดี สมกับที่นำรายได้มาให้เรา เจ้าของร้านอาหารนอกจากจะต้องรับรู้หน้าที่ของพนักงานแต่ละคนแล้ว ยังต้องวางแผนในการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและเติบโตในสายงาน […]

ต้นทุนอาหารควบคุมได้ กำไรเห็น ๆ

  การกำหนดต้นทุนอาหารส่วนใหญ่จะกำหนดไม่เกิน 35-40 เปอร์เซนต์ของต้นทุนทั้งหมด โดยสูตรการคำนวณที่นิยมใช้กันคือต้นทุน เท่ากับ ยอดขาย (ราคาขาย ) คูณด้วยเปอร์เซนต์ของต้นทุน เพราะฉะนั้นถ้าเรากำหนดต้นทุนและยอดขายโดยประมาณไว้แล้ว เราก็จะได้จำนวนต้นทุนเพื่อควบคุมไว้ให้ไม่เกิน ยกตัวอย่าง ยอดขาย 90,000 คูณด้วย 35 เปอร์เซนต์ เท่ากับต้นทุนต้องไม่เกิน 31,500  บาท เป็นต้น ระบบการควบคุมต้นทุนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  ควรทำควบคู่กับระบบการจัดทำ Recipe  เพื่อกำหนดราคาขาย  และการกำหนด SOP เพื่อจัดการเมนูอาหาร   การจัดทำ  recipe เพื่อลงรายละเอียดของวัตถุดิบ   การจัดทำ recipe นั้นจะช่วยให้เรากำหนดราคาขายที่เหมาะสม ประเมินงบประมาณจัดซื้อวัตถุดิบ และยังช่วยลดการสูญเสียวัตถุดิบ ยกตัวอย่าง ดังนั้น ข้าวไข่ข้นกุ้งเมนูนี้ จึงมีต้นทุนอยู่ที่ 14.4 % หากขายที่ราคา 90  บาท นอกจากนี้ การคำนวณวัตถุดิบควรลงละเอียดในเรื่องของ yield  (การหาค่าเฉลี่ยวัตถุดิบ) ลงไปด้วยเพื่อการกำหนดต้นทุนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในส่วนของการจัดทำ Recipe […]

นักธุรกิจผู้ประสบความสำเร็จ

5 สิ่งที่ นักธุรกิจผู้ประสบความสำเร็จ ทำทุกวัน

ใครๆ ก็รู้ว่า เจ้าของธุรกิจแต่ละคนล้วนมีภาระหน้าที่มากมายที่ต้องแบกรับในแต่ละวัน ทั้งเข้าพบลูกค้า ทำการตลาด ให้สัมภาษณ์สื่อ และทำกิจกรรมอื่นๆ อีกมหาศาล

จ้างเชฟ

4 สิ่งที่ควรเช็ค ก่อนตัดสินใจ จ้างเชฟ

ก่อนเปิดร้านสิ่งที่เราต้องคิดให้หนัก คือการ จ้างเชฟ เพราะตำแหน่งนี้คือ คนสำคัญที่จะสร้างมาตรฐาน ให้ร้านอาหาร มาดูกันดีกว่าว่า ก่อนจ้างเชฟเราต้องเช็คอะไรบ้าง

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.