กสิกรไทย เพิ่มการปล่อยสินเชื่อธุรกิจ ตั้งเป้าปี63 สินเชื่อเติบโต 4-6 % - Amarin Academy

กสิกรไทย เพิ่มการปล่อยสินเชื่อธุรกิจ ตั้งเป้าปี63 สินเชื่อเติบโต 4-6 %

ก่อนหน้านี้ธนาคาร กสิกรไทย ได้มีการประชุมคณะกรรมการ เกี่ยวกับการ อนุมัติเป้าหมายทางการเงินของธนาคารกสิกรไทย สำหรับปี 2563 ซึ่งทางกสิกรเล็งเห็นว่า ปี 2563 ปัจจัยท้าทายกดดันเศรษฐกิจไทยยังคงมีอย่างต่อเนื่อง และเตรียมเดินหน้าสร้างบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าทั้งชีวิตและธุรกิจ มุ่งเน้นการบริหารจัดการต้นทุน และเพิ่มการปล่อยสินเชื่อรายย่อยด้วยการใช้ศักยภาพด้านการวิเคราะห์ข้อมูล พร้อมตั้งเป้าหมายสินเชื่อรวมเติบโต 4-6%

 

แผนปี 2563 ธนาคาร กสิกรไทย

นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกรรมการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า “เศรษฐกิจไทยในปี 2563 ยังเผชิญความท้าทายจากปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ยังมีอยู่มาก โดยเฉพาะประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกา และจีนที่ยังคงยืดเยื้อ เงินบาทที่ยังคงแข็งค่าส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจระหว่างประเทศ คาดว่าปี 2563 การส่งออกไทยจะขยายตัวติดลบที่ -2% ด้านภาคเศรษฐกิจภายในประเทศจะเป็นปัจจัยหลักที่กระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจ จากการเดินหน้าโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทิศทางดอกเบี้ยมีแนวโน้มลดลง ท่ามกลางหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง”

 

ภายใต้ปัจจัยความท้าทายต่าง ๆ ธนาคาร กสิกรไทย กำหนดทิศทางการดำเนินงานปี 2563 กำหนดเป้าหมายธุรกิจ “To Empower Every Customer’s Life and Business” ในการเป็นสถาบันการเงินที่ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง สร้างนวัตกรรมทางการเงิน และทำงานเชิงรุก เพื่อส่งมอบบริการมาตรฐานสากล และคุณค่าที่ยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ด้วยการประสานพลังเทคโนโลยีและบุคลากรคุณภาพ เพื่อตอบสนองลูกค้าทั้งการใช้ชีวิตและการดำเนินธุรกิจ

 

ธนาคารกสิกรไทยได้ประกาศเป้าหมายทางการเงินปี 2563 โดยตั้งเป้าการเติบโตเงินให้สินเชื่อรวมที่ 4-6% แบ่งเป็นสินเชื่อธุรกิจลูกค้าบรรษัทเติบโต 2-4% สินเชื่อธุรกิจลูกค้าผู้ประกอบการเติบโต 1-3% และสินเชื่อลูกค้าบุคคลเติบโต 9-11% อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net Interest Margin:NIM) อยู่ที่ 3.1ถึง 3.3% อัตราการเติบโตของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยอยู่ที่ -5 ถึง -17% ในส่วนของคุณภาพสินทรัพย์ คาดว่ามีสัดส่วนเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อรวม (NPL Ratio Gross) ที่ 3.6-4.0%

 

อย่างไรก็ดีธนาคาร กสิกรไทย ได้เปิดเผยในการพบนักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งว่า ธนาคารได้วางยุทธศาสตร์ใหม่ที่จะเป็นกลไกขับเคลื่อนธุรกิจหรือที่เรียกว่า 8 เส้นทางของการเปลี่ยนแปลง ”8 Transformation Journeys” ประกอบด้วย

 

1. Ecosystem Orchestrator & Harmonized Channel หรือการเป็นผู้พัฒนาระบบนิเวศและผสานช่องทางให้เป็นหนึ่งเดียวกับพันธมิตร เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าในทุกช่องทาง ซึ่งปัจจุบันธุรกรรมผ่านช่องทางของธนาคารในช่วงครึ่งปีแรกของ 2562 นั้นราว 65 % อยู่ในช่องทาง Mobile Banking หรือที่เรียก K+  ขณะที่ 31 %เป็นธุรกรรมผ่านช่องทางเครื่องอัตโนมัติและ 4% ที่เป็นธุรกรรมผ่านช่องสาขา โดยธุรกรรมสาขาลดลงอย่างต่อเนื่องขณะที่ช่องทางอื่นเพิ่มขึ้นตามพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป  ซึ่งธนาคารได้เดินหน้าปรับรูปแบบช่องทางการให้บริการให้เหมาะสมกับลูกค้าในแต่ละกลุ่ม ซึ่งคาดว่าสิ้นปี 2562 จำนวนสาขาของธนาคารจะอยู่ที่ 886 สาขา และมีเครื่องอัตโนมัติ 10,985 เครื่อง ส่วนผู้ใช้งานแอปพลิเคชั่น K+ จะอยู่ที่ 11.8 ล้านราย

2. Intelligent Lending การปล่อยสินเชื่ออย่างอัจฉริยะ ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อนำเสนอสินเชื่อให้ตรงกับพฤติกรรมของลูกค้าภายใต้ความเสี่ยงที่เหมาะสม ในช่วง 9 เดือนของปี 2562 การปล่อยสินเชื่อในรูปแบบIntelligent Lending ของธนาคารมียอดสินเชื่อแล้วราว 17,483 ล้านบาท แบ่งเป็นสินเชื่อรูปแบบดิจิทัล 7,314 ล้านบาท และการให้สินเชื่อในช่องทางใหม่ หรือ alternative data lending มีมูลค่า10,169 ล้านบาท อย่างไรก็ดีในปี 2563 ธนาคารตั้งเป้าหมาย  50% ของสินเชื่อลูกค้าบุคคลจะมาจากการให้สินเชื่อแบบ intelligent lending

3. Proactive Risk & Compliance Management การจัดการความเสี่ยงและการปฏิบัติตามแนวทางกำกับดูแล โดยจะสามารถคาดการณ์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและสร้างการป้องกันการสูญเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. New Growth in Regional Market การเติบโตในตลาดภูมิภาค แสวงหาโอกาสในเรื่องเพย์เมนต์ระดับภูมิภาค และบริการทางการเงินที่ดีกว่า “Better Me”

5. Data Analytics การวิเคราะห์ข้อมูล โดยธนาคารจะขยายขีดความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลให้ดีกว่าเดิมเพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจและประสิทธิภาพการดำเนินงานของธนาคาร

6. Cyber Security & IT Resilience การพัฒนาระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์และความแข็งแกร่งของเทคโนโลยี

7. Performing Talent and Agile Organization เป็นการเดินหน้าสร้างองค์กรให้มีความสามารถและมีความคล่องตัว โดยคนในองค์กรตระหนักในเป้าหมายเดียวกัน

 

8. Modern World Class Technology Capability การเป็นองค์กรที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัยในระดับโลก โดยวางเป้าหมายให้ KASIKORN BUSINESS – TECHNOLOGY GROUP (KBTG) บริษัทเทคโนโลยีในเครือขึ้นเป็นบริษัทเทคโนโลยีที่ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี  2565 ( BEST TECH ORGANIZATIONin South East Asia BY 2022 )

 

 

ขอบคุณข้อมูล : moneyandbanking

เรื่องแนะนำ

รายจ่ายของร้านอาหาร

รายจ่ายของร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านต้องรู้

เจ้าของร้านอาหารรายใหม่ๆ มักไม่ทราบว่า รายจ่ายของร้านอาหาร แต่ละเดือน มีอะไรบ้าง คิดเป็นสัดส่วนเท่าไร และต้องบริหารจัดการอย่างไร เรารวบรวมมาให้แล้ว

 4 กลโกง พนักงาน รูรั่วทางการเงินที่มองข้ามไม่ได้!

ปัญหาเงินรั่วไหลของธุรกิจร้านอาหาร ส่วนใหญ่เป็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ แต่สุดท้ายนำไปสู่ปัญหาใหญ่บานปลาย เราจะเผย กลโกง พนักงาน ให้เจ้าของร้านอาหารทราบกัน

การพยากรณ์ยอดขาย เพื่อวางแผนธุรกิจร้านอาหาร

การพยากรณ์ยอดขาย เพื่อวางแผนธุรกิจร้านอาหาร

        การพยากรณ์ยอดขาย (Sales Forecast) คือ การคาดการณ์หรือประเมินยอดขายที่ร้านอาหารจะขายได้ จากการนำข้อมูลต่างๆ มาวิเคราะห์ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นยอดขายในอดีต การสำรวจตลาด สถานการณ์และแนวโน้มของเศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการพยากรณ์ยอดขายนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินธุรกิจ และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมาก ทั้งคนกำลังจะเปิดร้านอาหาร หรือผู้ประกอบการร้านอาหารในปัจจุบัน การพยากรณ์ยอดขาย เพื่อวางแผนธุรกิจร้านอาหาร ความสำคัญของการพยากรณ์ยอดขาย สำหรับคนที่กำลังจะเปิดร้านอาหาร         เนื่องจากคนที่อยากเปิดร้านอาหาร ควรจะต้องเขียนแผนธุรกิจ (Business Plan) เพื่อจะใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานของร้าน หรืออาจจะใช้ยื่นกับสถาบันการเงินเพื่อขออนุมัติสินเชื่อ ซึ่งการพยากรณ์ยอดขายจะเป็นส่วนประกอบสำคัญในการวางแผนการดำเนินธุรกิจ ช่วยประเมินรายรับ ผลกำไร และโอกาสการเติบโตของร้านอาหาร ทำให้แผนธุรกิจมีความน่าเชื่อถือ และมีแนวโน้มที่จะได้รับการอนุมัติสินเชื่อมากขึ้น หรือแม้แต่แล้วดึงดูดให้คนมาร่วมลงทุนได้อีกด้วย สำหรับผู้ประกอบการร้านอาหาร         การพยากรณ์ยอดขาย จะช่วยผู้ประกอบการเข้าใจตัวแปรต่างๆ ที่มีผลต่อยอดขาย และเป็นเหมือนเป้าหมายที่ร้านควรจะทำยอดขายให้ได้ตามที่ประมาณไว้ ทำให้สามารถกำหนดแนวทางบริหารจัดการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนขยายร้าน จำนวนพนักงาน เงินลงทุนในด้านการตลาด และด้านอื่นๆ เพื่อพัฒนาแผนการขายของร้านให้ดีขึ้น […]

เผยสูตรคำนวณ ต้นทุนร้านอาหาร คุมค่าใช้จ่ายให้เป๊ะก่อนเปิดร้าน

เพราะการทำร้านอาหารจะกำไรหรือขาดทุน ขึ้นอยู่กับว่าเจ้าของร้านอาหารควบคุม ต้นทุนร้านอาหาร ได้ดีขนาดไหน การกำหนดโครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร จะช่วยทำให้ตั้งราคาขาย และกำหนดยอดขายในแต่ละวันได้อย่างเหมาะสม  ที่สำคัญยังช่วยให้ป้องกันปัญหาต้นทุนพุ่งจนกระทบยอดรายได้  เพราะสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสม   โครงสร้าง ต้นทุนร้านอาหาร ที่สำคัญมีอะไรบ้าง คำนวณอย่างไรไม่ขาดทุน   1.ต้นทุนอาหาร (วัตถุดิบ) ต้นทุนวัตถุดิบอาหาร หมายรวมถึงวัตถุดิบที่ใช้ปรุง การตกแต่งจาน รวมถึงบรรจุภัณฑ์ต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว ต้นทุนวัตถุดิบที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 25-30 เปอร์เซ็นต์ นอกจากร้านอาหารประเภทบุฟเฟต์ จะมีต้นทุนวัตถุดิบอยู่ประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ การทราบต้นทุนอาหาร ช่วยให้กำหนดราคาขายต่อเมนูได้อย่างแม่นยำ สูตรการคิดคำนวณต้นทุนอาหาร ต้องคำนวณจาก Yield หรือวัตถุดิบที่ใช้ได้จริง เป็นหลัก เพราะฉะนั้นร้านอาหารจะต้องหา Yield ของวัตถุดิบทุกชนิด โดยขั้นตอนก็คือ การชั่งน้ำหนักวัตถุดิบ และทำการเตรียมวัตถุดิบพร้อมสำหรับการปรุง เช่น เนื้อปลา เมื่อหั่นให้ได้ขนาดชิ้นตามสูตร SOP ที่กำหนดแล้ว ให้นำเนื้อปลาหลังตัดแต่ง และเนื้อปลาส่วนที่ตัดทิ้ง มาชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบเพื่อคำนวณ   ค่าเปอร์เซ็นต์ Yield =  ปริมาณหลังตัดแต่ง […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.