สอนพนักงานครัว ให้เป็นงาน ก่อนเปิดร้าน 7 วัน - Amarin Academy

สอนพนักงานครัว ให้เป็นงาน ก่อนเปิดร้าน 7 วัน

สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ของการทำร้านอาหารก็คือ ประสิทธิภาพของทีมงานร้านอาหาร โดยเฉพาะทีมงานครัว ที่ถือเป็นกำลังฝ่ายผลิต ที่มีส่วนสำคัญต่อคุณภาพร้านอาหาร จึงต้องมีการฝึกอบรม เพื่อเรียนรู้ขั้นตอนการปฏิบัติงานครัว เพื่อให้ทำงานสอดคล้องกับทีมงานในแต่ละส่วนได้อย่างดี ซึ่งก่อนที่เราจะไปดูว่าเทคนิค สอนพนักงานครัว ให้เป็นงานได้อย่างรวดเร็วภายใน 7 วันนั้น ทำได้อย่างไร เรามาทราบขั้นตอนเบื้องต้นของการฝึกอบรมทีมงานครัวกันก่อนค่ะ

 

ขั้นตอนเบื้องต้นของการฝึกอบรม สอนพนักงานครัว

1.ปฐมนิเทศพนักงาน

ร้านอาหารก็ควรจัดให้มีการปฐมนิเทศพนักงานเช่นเดียวกับการทำธุรกิจอื่น ๆ ทั้งนี้เพื่อให้พนักงานเข้าใจภาพรวมขององค์กร สร้างความเข้าใจโครงสร้างองค์กร เข้าใจการปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และเข้าใจกฏระเบียบต่าง ๆ

           ♦ ปฐมนิเทศพนักงานครัวด้วยเรื่องอะไรบ้าง?

  • ข้อมูลบริหารบุคคลที่ต้องรู้ก่อนร่วมงาน เช่น กฏระเบียบการเข้างาน ค่าตอบแทน โบนัส วันเวลาทำงาน
  • วิสัยทัศน์ ความมุ่งหมายของการทำร้านอาหาร
  • แนะนำทีมงานร้าน
  • รู้จักกับเมนูอาหารของร้าน หรือมีการทดลอง การชิมสูตรอาหารในวันนั้นๆ
  • แนะนำ Facility ต่าง ๆ ของห้องครัว
  • แนะนำขั้นตอนการอบรมงานครัวต่าง ๆ

 

2. แนะนำการปฏิบัติงาน

เริ่มการสอนงานด้วยการทำความเข้าใจขั้นตอน อุปกรณ์  หน้าที่ในแต่ละวัน ช่วงเวลาในการปฏิบัติงาน รวมถึงเข้าใจภาพรวมของการทำงานในส่วนร้านอาหารทั้งหมด การอบรมพนักงนเป็นการเปิดโอกาสให้ได้ฝึกสังเกตการณ์งานในหลายๆส่วน ที่เกี่ยวข้องด้วย ไม่ว่าจะเป็น การจัดเตรียมอาหารก่อนการปรุง ขั้นตอนการปรุงของเชฟ การทำงานของบาร์เทนเดอร์ การรับลูกค้า การให้บริการเสิร์ฟ

3. การเทรนงาน ของหัวหน้างาน

หัวหน้างานจะมีการเทรนงานก่อน เพื่อสร้างความเข้าใจในขั้นตอนการทำงานที่เป็นมาตรฐานอย่างถูกต้องทั้งหมด  ซักซ้อมทำความเข้าใจ ตอบข้อสงสัย รวมถึงตรวจสอบทักษะในการทำงานขั้นพื้นฐาน เพื่อฝึกปฏิบัติและให้คำแนะนำที่เหมาะสม อาจเริ่มจากวิธีการปฏิบัติให้ดู และให้ปฏิบัติตาม การปล่อยให้สอนงานทีมงานคนอื่น โดยในระยะเริ่มแรก อาจจับคู่ระหว่างพนักงานที่มีประสบการณ์แล้วมาเป็นพี่เลี้ยงในการปฏิบัติงานเพื่อลดความผิดพลาด

4. เปิดโอกาสให้ประชุมร่วมกันของพนักงานเก่าและใหม่

ควรมีการประชุมร่วมกันระหว่างพนักงานเก่าและพนักงานใหม่ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเริ่มทำงาน และเปิดโอกาสให้สอบถาม แนะนำการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน

5. ทบทวนการปฏิบัติงาน

เมื่อได้รับทราบข้อมูล ได้ฝึกอบรมการปฏิบัติหน้าที่แล้ว ควรเปิดโอกาสให้พนักงานใหม่ได้ทบทวนข้อมูลการทำงาน และวางแผนการทำงานในส่วนของตัวเองให้สอดประสานกับทีมงาน และเป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของร้านอาหาร SOP ที่ได้วางเอาไว้

6. การทดสอบการปฏิบัติงาน

พนักงานใหม่อาจต้องใช้เวลาในการปรับตัว แม้ว่าจะมีการวางระบบการทำงานตามขั้นตอนไว้แล้ว การทดสอบการปฏิบัติงานเป็นการวัดผลทั้งการฝึกอบรม วัดผลการทำงานของพนักงาน ช่วยแก้ไขจุดบกพร่อง และยังช่วยให้เกิดการพัฒนาการทำงานในส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย

7. วัดผลการฝึกอบรม

เพราะงานบริการร้านอาหารจะมีความท้าทาย และโจทย์ใหม่ๆ ที่ต้องแก้ไขจากลูกค้าทุกวัน หลังจากร้านปิดจึงเป็นหน้าที่ของทีมงานร้านอาหารทุกคนที่ควรวัดผลการทำงานของตัวเอง  โดยหัวหน้างานซึ่งนอกจากมีหน้าที่ในการฝึกอบรมแล้ว ต้องสามารถวัดผลการทำงานจริงของทีม วิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น วางแนวทางแก้ไข และพัฒนาทีมงานให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

 

คราวนี้ก็มาถึงการทำ Road Map Training ของพนักงานในแต่ละหน้าที่ต่างออกไป รวมถึงพนักงานครัวด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างการทำ Road Map Training ตำแหน่ง ผู้ช่วยพ่อครัว เรามาดูกันว่าเทคนิค สอนพนักงานครัว (ตำแหน่ง ผู้ช่วยพ่อครัว) ให้เป็นงานภายใน 7 วันก่อนเปิดร้านทำได้อย่างไร

วันที่ 1

  • แนะนำทีมงานร้านอาหาร และความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสุขอนามัย

วันที่ 2

  • เรียนรู้การจัดเตรียมวัตถุดิบ และการเตรียมอุปกรณ์ตู้แช่

วันที่ 3

  • เรียนรู้การใช้งานอุปกรณ์เตา + การจัดวางหน้าเตา +ระบบความปลอดภัย

วันที่ 4

  • เรียนรู้การเปิด-ปิดครัว + การปรุงวัตถุดิบซอสพื้นฐาน +การหมัก +การผัด

วันที่ 5

  • เรียนรู้การจัดทำสต็อก + การตรวจคุณภาพวัตถุดิบ +การทำเช็คลิสต์ + การทำ QSC

วันที่ 6

  • เรียนรู้การทำสูตร SOP + การจัดตารางคิวงานและกำลังคน

วันที่ 7

  • เรียนรู้ระบบการรันออเดอร์

 

                ระบบการฝึกอบรมทีมงานร้านอาหารที่มีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการจัดทำ SOP ที่ชัดเจน จะทำให้ร้านประสบความสำเร็จได้อย่างไม่ยาก เป็นโอกาสดี ที่คุณสามารถเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติ และนำไปใช้งานจริง และถ้าอยากให้ร้านของคุณเติบโตมากกว่าที่คุณคิด ไม่ควรพลาดกับหลักสูตรที่เข้มข้นที่สุดในรอบปี  Operation Setup วางระบบร้านอาหารอย่างมืออาชีพ รุ่นที่ 4  ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากวิทยากร  ที่การันตีความสำเร็จ จากประสบการณ์การบริหารธุกิจร้านอาหาร ทั้งในและต่างประเทศ กับ Blue Elephant International, YUM Brand LSG Sky Chef , Minor Food และ Wow Thai Food Holding ประเทศเนเธอร์แลนด์ คุณธามม์ ประวัติตรี   วันอังคารที่ 29 และวันพุธที่ 30 ตุลาคม 2562 เวลา 09.00 -17.00 น.

 

สมัครเลยถ้าคุณไม่อยากพลาดหลักสูตรที่จะช่วยแก้ทุกปัญหาให้กับคุณ  คลิก!!

 

เรื่องแนะนำ

ต้นทุนแฝงร้านอาหาร โฟกัสให้ดี ถ้าไม่อยากผิดพลาด

กำไรที่เกิดขึ้นจากร้านอาหาร จะมากหรือน้อยไม่ได้อยู่ที่ยอดขายเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากความสามารถในการจัดการต้นทุนได้อย่างดีด้วย ต้นทุนที่เรากำหนดไว้อยู่แล้วไม่ว่าจะเป็น วัตถุดิบ ค่าเช่าสถานที่ ค่าบริหารจัดการ หรือต้นทุนทางการตลาดก็ตาม มักจะมี ต้นทุนแฝงร้านอาหาร ที่เกิดขึ้นด้วย หากไม่โฟกัสให้ดีก็ส่งผลให้ร้านสูญเสียค่าใช้จ่าย สูญเสียโอกาสทางธุรกิจโดยไม่จำเป็น    ต้นทุนแฝงร้านอาหาร โฟกัสให้ดี ถ้าไม่อยากผิดพลาด  ต้นทุนจากการสูญเสียวัตถุดิบ           ต้นทุนวัตถุดิบเป็นต้นทุนที่มากที่สุดของร้านอาหารที่เรียกว่า Prime Cost ซึ่งส่งผลต่อค่าใช้จ่ายของร้านมากที่สุด ต้นทุนวัตถุดิบจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของร้านอาหาร โดยเฉลี่ยร้านอาหารทั่วไปจะควบคุมต้นทุนให้ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อรวมกับต้นทุนแรงงานแล้วไม่ควรจะเกิน 45 – 60 % เพื่อควบคุมให้กำไรต่อเดือนเมื่อหักค่าใช้จ่ายภาษีและค่าเสื่อมแล้ว ไม่น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์           การควบคุมต้นทุนวัตถุดิบ อาจจะต้องวิเคราะห์ต้นทุนอาหารแต่ละเมนู ปริมาณการจัดเสิร์ฟ จัดการสต๊อกสินค้าให้ดี โดยเฉพาะการสั่งซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์แต่ละครั้ง ต้องดูความพร้อมในการจัดเก็บวัตถุดิบของร้านด้วย นอกจากวัตถุดิบเสียแล้วการจัดเก็บยังเป็นภาระต้นทุนแฝงที่เกิดขึ้น ซึ่งร้านอาหารใหม่ ๆ ส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักพฤติกรรมของลูกค้าเพียงพอจะสามารถคาดเดายอดขายได้   ต้นทุนค่าจ้างแรงงาน  ต้นทุนแรงงานเป็นต้นทุนที่อยู่ใน Prime Cost เช่นเดียวกัน กระทบต่อค่าใช้จ่ายเป็นอันดับรองลงมาจากต้นทุนวัตถุดิบ ซึ่งควรควบคุมให้ไม่เกิน […]

5 แนวทางลดต้นทุนวัตถุดิบ ในวันที่อะไรๆ ก็ขึ้นราคา วิกฤตของแพง จะให้ขายแบบเดิมคงไม่ไหว

5 แนวทาง “ลดต้นทุนวัตถุดิบ” ในวันที่อะไรๆ ก็ขึ้นราคา วิกฤตของแพง จะให้ขายแบบเดิมคงไม่ไหว เมื่อเกิดวิกฤตของแพง วัตถุดิบขึ้นราคา จนบางทีทำให้ทุกคนรู้สึกว่าจะแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้นไม่ไหวแล้ว แต่จะปรับราคาก็กลัวลูกค้าไม่ซื้ออีก เรียกได้ว่าเป็นสถานการณ์ที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกของคนทำร้านอาหารมาก ๆ แต่ทั้งนี้ก็ใช่ว่าจะไม่มีวิธีรับมือกับวิกฤตนี้เลย เพราะฉะนั้นลองมาดูแนวทางในการบริหารจัดการร้านเพื่อ ลดต้นทุนวัตถุดิบ รับ “วิกฤตของแพง” แล้วนำไปปรับใช้กัน! 1.ลองทานเมนูนี้ไหมคะ ? . หนึ่งในวิธีที่สามารถช่วยลดต้นทุนได้ ในวิกฤติที่ของแพงนั้นก็คือ การเชียร์ขายเมนูอื่นแทนเมนูที่มีส่วนประกอบของวัตถุดิบที่มีราคาแพง อย่างเช่นในกรณีที่หมูแพง เมื่อลูกค้ามาสั่งอาหาร เราอาจใช้วิธีการเสนอขายเมนูอื่น ๆ ให้ลูกค้าเกิดความสนใจ และอยากจะสั่งเมนูอื่นมากกว่าเมนูที่ทำจากหมู โดยอาจทำการเสนอขายในแง่ของเมนูแนะนำ เช่น เมนูแนะนำของร้านเราจะเป็นปลาทอดน้ำปลา แกงส้มแป๊ะซะ ไก่ทอดกระเทียม หรืออาจเป็นการทำโปรโมชั่นกับเมนูนั้น ๆ เช่น การจัดเป็นเซ็ต แถมน้ำ เป็นต้น . 2.ของใหม่จากของเดิม . ลองย้อนกลับมาดูว่าวัตถุดิบที่เรามีอยู่หรือวัตถุดิบที่ลูกค้าไม่ค่อยสั่งอันไหนบ้าง ที่สามารถจับมารังสรรค์เป็นเมนูใหม่ได้บ้าง เช่น ปลาทูน่า แทนที่เราจะเสิร์ฟแค่สลัดทูน่าเพียงอย่างเดียว ก็ลองคิดเมนูใหม่ ๆ เพิ่มเติม เช่น ยำทูน่า […]

วิธีคำนวณต้นทุนร้านอาหาร

วิธี คำนวณต้นทุนร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านต้องรู้! by คุณ ธามม์ ประวัติตรี

การคำนวณต้นทุนร้านอาหาร ถ้ามองให้เป็นเรื่องใกล้ตัว พูดง่ายๆ ก็เหมือนเรามีเงินเดือน แล้วเราต้องรู้ว่าในแต่ละเดือนนั้น ต้องมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ และมีเงินเหลือเก็บหรือไม่ เช่นเดียวกับการ คำนวณต้นทุนร้านอาหาร ที่ต้องทำอย่างเป็นระบบ มาดูคำแนะนำจาก คุณ ธามม์ ประวัติตรี Managing Director, Wow Thai Food Holding ประเทศเนเธอร์แลนด์   “ คำนวณต้นทุนร้านอาหาร ไม่ใช่การเดา แต่ต้องทำให้เป็นระบบ แล้วผลประกอบการก็จะดีขึ้น ” เจ้าของธุรกิจบางรายมักใช้ความรู้สึก ในการวัดผลการดำเนินงาน เช่น วันที่ลูกค้าเต็มร้าน คาดว่าน่าจะมีรายได้มาก และน่าจะมีเงินหมุนเวียนในธุรกิจมากตามไปด้วย แต่คำว่ามากนั้น คงไม่เพียงพอที่จะบอกได้ว่าธุรกิจของคุณเป็นไปด้วยดีจริงหรือไม่ ทั้งนี้เจ้าของร้านจะต้องสามารถระบุได้ว่ามาตรฐานของร้าน หรือระดับรายได้ที่ควรจะได้คือเท่าไหร่ หรือมากกว่าคู่แข่งเท่าไหร่ หรือบางร้านอาจจะมีการจดบันทึกที่ละเอียดขึ้น คือมีการบันทึกรายรับ-รายจ่ายเป็นเงินสด ว่าวันนี้ขายได้กี่จาน จานละกี่บาท ก็จะบันทึกเป็นยอดขาย เพื่อนำมาคำนวณ ต่อวันจะขายได้เท่าไหร่ ต่อเดือนจะขายได้เท่าไหร่ แต่ความจริงแล้ว การคาดการณ์ที่กล่าวมาอาจไม่เพียงพอเท่าที่ควร และอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจในระยะยาวได้ เพราะเจ้าของร้านต้องไม่ลืมว่ารายรับนั้น ยังไม่ได้หักต้นทุนใด ๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างพนักงาน ค่าล่วงเวลาของพนักงาน […]

ระบบงานครัว

อย่าปล่อยให้ ระบบงานครัว ทำร้านเจ๊ง ถึงเวลาเจ้าของร้านต้องวางแผน

ระบบงานครัว ที่มีปัญหาอาจส่งผลให้เจ้าของร้านอาหารต้องเสียทั้งค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา เสียโอกาสในการทำกำไรได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และยังอาจทำให้ร้านเติบโตยากขึ้นอีกด้วย ดังนั้นจึงต้องมีการวางระบบครัวที่ดี แล้วการวางระบบครัวให้ดีนั้นต้องทำอย่างไร?   สัญญาณที่บอกว่า ระบบงานครัว กำลังมีปัญหา ความล่าช้าในการออกอาหาร ขายดี แต่ไม่มีกำไร Food Cost สูง คุณภาพอาหาร รสชาติ และปริมาณไม่คงที่ เสียวัตถุดิบบ่อย วัตถุดิบไม่เพียงพอต่อการใช้งาน อุปกรณ์การใช้งานมีปัญหา ส่งผลต่อการขายในแต่ละวัน การเซตอัพระบบงานครัว มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมมาตรฐานการทำงาน โดยการกำหนดขั้นตอนจัดการงานครัว ทั้งวัตถุดิบและการใช้อุปกรณ์การทำงานที่ถูกต้อง ดังต่อไปนี้   กำหนดขั้นตอนการใช้อุปกรณ์และวัตถุดิบ ตัวอย่าง 1 : ขั้นตอนการใช้อุปกรณ์ การจัดเตรียม การทำความสะอาด Note : กำหนดรายละเอียด และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุด เพื่อให้ผู้ที่ได้รับมอบหมาย สามารถรับผิดชอบงานได้ทันที และทำให้เกิดมาตรฐานในการปฏิบัติงาน   ตัวอย่าง 2 : การตรวจสอบ จัดเตรียม จัดเก็บวัตถุดิบ Note : จัดทำรูปภาพการใช้งานจริงเพื่ออ้างอิง สร้างมาตรฐานการจัดการวัตถุดิบ ช่วยควบคุมการใช้วัตถุดิบให้เกิดประโยชน์สูงสุด   […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.