วิธีเก็บผัก เก็บอย่างไรให้ถูกต้อง และเก็บได้นาน - Amarin Academy

วิธีเก็บผัก เก็บอย่างไรให้ถูกต้อง และเก็บได้นาน

งานครัวในร้านอาหาร ไม่ใช่แค่เรื่องระบบการจัดการในครัวเท่านั้นที่ทุกคนให้ความสำคัญ แต่เรื่องรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ อย่างวัตถุดิบต่างๆในครัว ก็ไม่ควรละเลยนะคะ ซึ่งแน่นอนว่าครัวในร้านอาหารจะต้องมีปริมาณการสั่งซื้อผักต่างๆ จำนวนมาก ซึ่งถ้าหากจัดเก็บไม่ถูกวิธี อาจจะทำให้สูญเสียวัตถุดิบไปอย่างน่าเสียดาย โดยเฉพาะผักบางชนิด  Amarin Academy มี วิธีเก็บผัก มาฝากกันค่ะ เก็บอย่างไรให้ถูกต้อง และใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด ซึ่งวิธีนี้จะนำไปใช้ที่บ้านก็ได้เช่นกันค่ะ

 

วิธีเก็บผัก ให้ถูกต้องเก็บได้นาน ทำอย่างไร?

เบื้องต้นสิ่งที่ควรต้องรู้ก่อนเลยก็คือ

1.ไม่ควรเก็บผักทุกชนิดไว้รวมกัน จะทำให้เกิดการเน่าเสีย หรือผักเสื่อมสภาพเร็วขึ้น

2.ควรล้างผักให้สะอาดก่อนที่จะนำมาปรุงอาหาร เพราะผักที่ซื้อมาจากตลาดมักไม่สะอาดเพียงพอ หากยังไม่ได้ใช้ทันทีให้ล้างทั้งต้นด้วยน้ำสะอาด แล้วผึ่งให้สะเด็ดน้ำก่อน จึงเอาเข้าเก็บ

3.การเก็บผักด้วยวิธีแช่น้ำ ไม่ควรแช่ผักลงในน้ำทั้งต้น เพราะจะทำให้วิตามินถูกละลายไปกับน้ำ

 

สำหรับ วิธีเก็บผัก ให้ยังคงสด ใหม่ อยู่ได้นานและอยู่ในสภาพที่ดีพร้อมเสิร์ฟนั้น ต้องเก็บให้เหมาะสมกับชนิดของผักนั้นๆ ด้วย สามารถแบ่งได้ตามนี้ค่ะ

1. ผักหัว ประเภทแครอท หัวบีท หัวผักกาด เผือก ให้ตัดใบออกให้หมดก่อนเก็บ หากไม่ตัดออกความหวานในหัวจะลดลง ส่วนผักที่มีเปลือกหนา เช่น ฟักทอง ฟัก แฟง มันฝรั่ง เผือก เก็บได้เลยโดยไม่ต้องล้าง สามารถวางไว้ในที่เย็น อากาศถ่ายเท และอยู่ที่อุณหภูมิประมาณ 55-65 องศาฟาเรนไฮต์ จะช่วยให้เก็บไว้ได้นานขึ้น

2. กลุ่มผักที่เน่าเสียง่าย เช่น เห็ด ผักชี ผักกาดหอม ถั่วงอก ถั่งฝักยาว ผักบุ้ง หรือกลุ่มผักที่เก็บได้ในระยะเวลาที่ค่อนข้างจำกัด เช่น ผักกาด ผักคะน้า มะเขือเทศ ผักเหล่านี้แม้จะเก็บในตู้เย็นก็ยืดเวลาได้ไม่นานนัก แต่การเก็บที่ดีที่สุดคือ ใส่ถุงพลาสติกที่สะอาดและแห้ง จะช่วยเก็บไว้ได้นานขึ้น 5-7 วัน

3. วิธีเก็บผัก ควรแยกเก็บตามชนิดของผัก เพราะทำให้เกิดการเน่าหรือเสื่อมสภาพเร็วขึ้น ดังนั้นจึงควรเก็บผักแต่ละชนิดโดยแยกกันเป็นสัดส่วน การเก็บผักนั้นไม่ควรล้างก่อนเก็บ ควรจะล้างเมื่อจะนำมาประกอบอาหารเท่านั้น ประเภทผักใบ ถั่วลันเตา ถั่วแขก เหล่านี้ควรแยกใส่ถุงพลาสติกแล้วเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 45 องศาฟาเรนไฮต์ จะช่วยให้คงความสดอยู่ได้นานขึ้น

4. ไม่ควรแช่ผักกับผลไม้ไว้รวมกัน เพราะผลไม้สุกจะปล่อยก๊าซเอทิลีนออกมา ทำให้ผักที่วางอยู่ใกล้ๆ อาจเสียเร็วขึ้น เพราะฉะนั้นควรเก็บผักและผลไม้แยกถุงกัน หรือแยกชั้นกันก็ได้ค่ะ ก็จะสามารถช่วยยืดอายุผักได้นานยิ่งขึ้น

 

เมื่อรู้วิธีเก็บผักแล้ว จะไม่รู้วิธีทำความสะอาดผักเพื่อลดสารเคมีได้อย่างไร มาดูกันค่ะว่ามีวิธีไหนบ้าง

  1. ใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำอุ่นประมาณ 20 ลิตร จากนั้นแช่ผักนาน 15 นาที แล้วนำไปล้างน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง จะสามารถลดสารตกค้างได้ประมาณ 90-95 %
  2. ใช้น้ำส้มสายชูที่มีกรดความเข้มข้น 5 % ผสมในอัตราส่วน 1:10 เช่น น้ำส้มสายชู 1 ถ้วยตวง ต้องใช้น้ำ 10 ถ้วยตวง จากนั้นนำไปแช่ผัก 10-15 นาที แล้วนำมาล้างด้วยน้ำสะอาด วิธีนี้สามารถช่วยลดสารเคมีได้ประมาณ 60-84 %
  3. วิธีง่ายๆด้วยการปล่อยน้ำไหลผ่านผัก โดยเด็ดผักเป็นใบๆ ใส่ตระแกรงโปร่งไว้ แล้วใช้มือช่วยคลี่ใบผักล้างไปด้วย ใช้เวลาทำประมาณ 2 นาที จะสามารถช่วยลดสารเคมีในผักได้ประมาณ 25-63 %
  4. การแช่น้ำ เริ่มด้วยการล้างผักรอบแรกให้สะอาดเสียก่อน หลังจากนั้นเด็กผักออกเป็นใบ ๆ แล้วนำมาแช่ในอ่างน้ำที่เตรียมไว้ประมาณ 15 นาที วิธีนี้จะช่วยลดสารพิษจากฆ่ายาแมลงได้ประมาณ 7-33%
  5. ด่างทับทิม ให้ใช้ด่างทับทิมประมาณ 20-30 เกล็ด ผสมกับน้ำ 4 ลิตร แล้วจึงนำผักมาแช่ไว้ในน้ำด่างทับทิมประมาณ 10 นาที หลังจากนั้นให้ล้างออกด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง วิธีนี้จะช่วยลดประมาณของสารพิษตกค้างได้ประมาณ 35-43 %

 

วิธีล้างผักที่กล่าวมา ร้านอาหารสามารถพิจารณาเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมของแต่ละร้านค่ะ ซึ่งเปอร์เซ็นต์การลดปริมาณสารพิษในแต่ละวิธีนั้น ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของผักด้วยค่ะ 

 

ขอบคุณข้อมูล  thaihealth

เรื่องแนะนำ

Food Stylist อาชีพสุดครีเอทของวงการร้านอาหาร

หน้าที่ของฟู้ดสไตลิสต์ ( Food Stylist ) คือ ตกแต่งอาหารให้สวยงาม ชวนรับประทาน ส่วนใหญ่มักทำงานร่วมกับเชฟ ในการแต่งจานเพื่อถ่ายภาพประชาสัมพันธ์ แน่นอนว่าหน้าตาอาหารที่สวยงามขึ้นจะทำให้สามารถเพิ่มราคาอาหารให้สูงขึ้นตามไปด้วย   ฟู้ดสไตลิสต์ ( Food Stylist ) อาชีพFood Stylist เป็นอาชีพที่ต้องอาศัยเรื่องของรสนิยม เพราะฉะนั้นการหยิบจับ ผสมผสานของใกล้ตัวมาจัดวางให้เกิดเป็นเอกลักษณ์ สร้างความแตกต่าง กระตุ้นให้คนเห็นอาหารแล้วอยากทานจึงเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการเรียนรู้ ประสบการณ์ และจินตนาการ ฟู้ดสไตลิสต์ที่ดี ควรจะรักในการทำอาหาร เข้าใจธรรมชาติของวัตถุดิบ และวิธีการปรุงที่แตกต่างกัน มีความคิดสร้างสรรค์ พิถีพิถันใส่ใจในรายละเอียด และรักการเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ต้องเป็นผู้ที่สามารถดึงจุดเด่น จิตวิญญาณ ดึงความเป็นตัวตนของอาหารออกมาให้เด่นชัด นำเสนอแก่คนที่ต้องการเสพสื่อจากเราให้ได้มากที่สุด ทำอย่างไรให้คนรู้สึกว่าเห็นอาหารแล้วอยากหยิบเข้าปาก ไม่ใช่ทำอาหารให้แค่ดูสวยเพียงอย่างเดียว สิ่งสำคัญที่สุดคือ ต้องน่าทานด้วย “Food Stylist อาจไม่ใช่คนที่ทำอาหารเป็นหรือเก่ง แต่ต้องมีความเข้าใจในเรื่องของอาหาร”   หลักจิตวิทยากับหน้าตาของอาหาร การจัดวางอาหารมีผลต่อความอยากรับประทานไม่น้อย ในยุคที่โซเชียลมีเดียเข้ามามีบทบาท ปฏิเสธไม่ได้ว่าหลายคนหันมาสนใจการถ่ายภาพมากขึ้น แม้แต่ตัวนักเขียนเองยังชื่นชอบการถ่ายภาพรีวิวอาหาร เพราะอาหารคือปัจจัย 4 เป็นเรื่องที่ทุกคนทุกระดับเข้าถึงได้ง่าย อีกทั้งภาพอาหารยังเป็นวิธีที่ผู้คนใช้บอกเล่าคนอื่นๆ ว่ากำลังทำอะไรอยู่ โดยการโพสต์ภาพเมนูจานเด็ดผ่านโซเชียล […]

ร้านเฟอร์นิเจอร์

4 ร้านเฟอร์นิเจอร์ แต่งร้านก็ดี (แต่งบ้านก็โดน)

เฟอร์นิเจอร์ คืออีกหนึ่งองค์ประกอบหลักที่ร้านอาหารทุกร้านต้องมี นอกจากด้านประโยชน์ใช้สอยแล้ว เฟอร์นิเจอร์ยังมีประโยชน์ในแง่ความสวยงาม สะท้อนตัวตนของร้านอาหารคุณอีกด้วย

ไอเดียตกแต่งโฮสเทล

7 ไอเดียตกแต่งโฮสเทล ให้เท่และใช้ประโยชน์ได้จริง!

ที่พักขนาดเล็กอย่าง โฮสเทล กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มนักเที่ยวที่เดินทางคนเดียว เราจึงมี ไอเดียตกแต่งโฮสเทล เท่ๆ มาฝาก!

logo ร้านอาหาร

ออกแบบ Logo ร้านอาหาร ให้โดนใจจนลูกค้าจำได้!!

Logo ร้านอาหาร ถือเป็นส่วนสำคัญที่เปรียบเสมือนหน้าตาของร้าน มีผลต่อการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักได้ โดยเฉพาะในบริการเดลิเวอรี ที่ลูกค้าอาจจะไม่ได้เห็นหน้าร้านของเรา แต่จะจำร้านได้จากโลโก้ที่ติดอยู่บนบรรจุภัณฑ์อาหารเท่านั้น  ร้านอาหารจึงควรมีหลักการในการออกแบบโลโก้ที่ดี เพื่อให้ตรงกับตัวตนของร้าน และเป็นที่น่าจดจำของลูกค้ามากที่สุด บทความนี้ เราจึงขอนำหลักการออกแบบโลโก้ร้านอาหารที่ดีมาแนะนำกันครับ ออกแบบ Logo ร้านอาหาร ให้โดนใจจนลูกค้าจำได้!! มีความเป็นเอกลักษณ์ของร้าน  โลโก้ของร้านควรจะสื่อสารถึงตัวตนของร้าน สไตล์อาหารที่ขาย มองแล้วรับรู้ทันทีว่านี่คือร้านอาหารอะไร และสัมพันธ์กับการตั้งชื่อร้าน รวมถึงควรมีความเป็นเอกลักษณ์ ไม่ไปซ้ำซ้อนกับร้านอื่นๆ เพื่อป้องกันความสับสนของลูกค้า  ตัวอย่างของโลโก้ร้านอาหารญี่ปุ่น Sushi Time ที่อาจจะขายซูซิเป็นหลัก จึงแสดงออกมาในรูปของนาฬิกาที่ทำจากมากิซูชิ เพื่อให้สื่อถึงชื่อของร้าน และช่วงเวลาที่ได้ทานอาหารญี่ปุ่น ไส้ซูซิด้านในออกแบบให้เป็นปลาแซลมอนด้วยสีส้มและลายปลาที่เป็นเอกลักษณ์ ดูแล้วใช้ลายเส้นที่เรียบง่าย แต่แสดงถึงความเป็นอาหารญี่ปุ่นได้อย่างชัดเจนและน่าสนใจทีเดียวครับ   ใช้โลโก้สื่อความหมาย โลโก้ที่ดีจะต้องสามารถสื่อความหมายได้มากกว่าแค่บอกชื่อร้าน รูปที่อยู่ในโลโก้ควรจะผ่านการคิดว่ามีความหมายอย่างไร เพื่อสื่อสารไปให้ถึงลูกค้า  ยกตัวอย่างการออกแบบโลโก้ร้านกาแฟ ก็ควรจะเลือกใช้รูปเชิงสัญลักษณ์ที่สื่อถึงถ้วย และสีน้ำตาลที่ทำให้นึกถึงกาแฟ ดังเช่นโลโก้ร้านกาแฟในภาพ ที่ใช้ภาพของถ้วยกาแฟ ผสมกับสัญลักษณ์ power ที่พบได้บ่อยบนอุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์ และยังมีการเคลื่อนไหวของกาแฟที่กระฉอกขึ้นมา ดูกระฉับกระเฉงไม่หยุดนิ่ง สื่อความหมายถึงการเริ่มต้นวันใหม่ด้วยกาแฟ เป็นเหมือนปุ่ม Start ของชีวิต และการเพิ่มพลังให้กับตัวเอง ซึ่งเป็นโลโก้ที่คนที่เห็นสามารถรู้สึก […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.