ร้านอาหารอร่อยอาจทำให้ลูกค้าหลายคนอยากลองมาชิม แต่ถ้าร้านอาหารนั้นบริการดีด้วย จะทำให้ลูกค้าอยากมาซ้ำ ๆ และบอกต่อคนรอบตัวเขา การบริการที่ดี จึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ที่เจ้าของร้านอาหารต้องสร้างให้พนักงานมีใจในการบริการ (Service Mind ) ให้ได้ เพราะมันสามารถชี้ชะตาได้เลยว่า ร้านอาหารของคุณจะรุ่งหรือจะร่วง แต่จะทำอย่างไรนั้นบทความนี้มีคำตอบให้กับคุณ
1.สร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง และมีเป้าหมาย
ความรู้สึกทำตามหน้าที่ปกติ กับความรู้สึกทำอย่างมีเป้าหมายนั้น ให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
ยกตัวอย่างร้าน Starbuck ทราบดีว่า พนักงานนั้น คือ Touch point สำคัญของแบรนด์ พวกเขาถูกวางให้เป็นพาร์ทเนอร์ไม่ใช่ลูกจ้าง มีการอบรมให้มีความเข้าใจในสินค้า และบริการของร้านอย่างถ่องแท้ ที่สำคัญคือสื่อสารเป้าหมายให้เห็น และสร้างความรู้สึกว่าพวกเขาเป็นหนึ่งในเป้าหมายนั้นด้วย
เคล็ดลับ ก็คือ แทนที่คุณจะมุ่งให้พนักงานสร้างความพึงพอใจลูกค้าเพียงอย่างเดียว แต่การบริหารคนให้เกิดความพอใจตั้งแต่แรก จะถูกส่งต่อถึงลูกค้าของคุณเอง ทั้งยังเป็นการสร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่ง และมีมูลค่าผ่านพวกเขาอีกด้วย
2.สร้างระบบการบริการที่ดี
บางครั้งลูกค้าไม่ได้คอมเพลนที่ตัวพนักงาน แต่คอมเพลนระบบในการบริการที่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์การทำงานบริการให้ดี ข้อกำหนดบางอย่างอาจสร้างปัญหาหน้างานด้วยซ้ำ เจ้าของร้านอาหารควรให้ความสำคัญตั้งแต่การออกแบบการบริการของร้านที่เหมาะสม และกำหนดให้สามารถยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ และสถานะของร้านอาหารในขณะนั้น
เคล็ดลับ ก็คือ พนักงานเป็นตัวแปรสำคัญในการรับมือกับสถานการณ์ เพราะจะต้องเป็นคนสื่อสารให้ลูกค้าเข้าใจ และจัดการกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตรงหน้าให้จบลงด้วยดีด้วย เทคนิค คือ ต้องฝึกให้รับฟังลูกค้าก่อน และเสนอทางแก้ไขปัญหาด้วยความกระตือรือร้น
3.สร้างความเข้าใจ โดยการฝึกให้เจอประสบการณ์จริง
ร้านอาหารหลายร้าน ลงทุนจ้างวิทยากรในการฝึกอบรม แต่กลับได้ผลลัพธ์ที่ไม่ดีเท่าที่ควร นั่นก็เพราะการเรียนรู้ในระยะเวลาจำกัด มักให้ผลในระยะสั้น รวมถึงหากไม่มีแนวทางประยุกต์ใช้ หลังจากนั้นก็แทบไม่มีประโยชน์ เพราะธุรกิจร้านอาหาร เป็นธุรกิจที่ใช้ใจและต้องการพลังในการสร้างความรู้สึกด้านบวกที่มากกว่านั้น ซึ่งการบอกว่าจะต้องทำอย่างไร ไม่สำคัญเท่ากับการที่ได้รับประสบการณ์เหล่านั้นด้วยตนเอง
เคล็ดลับก็คือ สร้างการพัฒนาจิตสำนึกในการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ แทนที่จะลงทุนไปกับการอบรมที่พนักงานอาจจะฟังบ้างไม่ฟังบ้างเพียงอย่างเดียว คุณอาจกำหนดให้มีการจัดงานเพื่อเลี้ยงอาหารพนักงานสักมื้อหนึ่ง และให้บริการที่แย่กับพวกเขาดูบ้าง เช่น ออกอาหารช้า พนักงานไม่สนใจให้บริการ ไม่ยิ้มแย้ม ไม่ได้รับความสะดวก รวมถึงการลองให้ประสบกับการให้บริการที่ดีที่สุดและแย่ที่สุด เพื่อให้พนักงานของคุณสะท้อนวิธีการทำงานของตนเองกับบริการที่ได้รับ แล้วลองให้พวกเขาให้ความคิดเห็นที่เป็นแนวทางการแก้ไขที่เกิดจากพวกเขาเอง
4.เจ้าของร้านอาหารคนสำคัญ ต้องทำให้ดู
ไม่มีหางที่ดีได้ถ้าหัวไม่ดี เจ้าของร้านรวมถึงพนักงานในระดับหัวหน้างานมีบทบาทสำคัญอย่างมาก ในการส่งต่อทัศนคติการบริการที่ดีเยี่ยมไปถึงพนักงานคนอื่น ๆ ซึ่งถ้าอยากให้พนักงานปฏิบัติกับลูกค้าอย่างไร เจ้าของร้าน หรือหัวหน้างานต้องปฏิบัติสิ่งนั้นกับลูกค้าก่อน นอกเหนือจากการประกาศเป้าหมาย และนโยบายที่ทำให้ทีมงานเห็นภาพเดียวกัน นอกจากนั้น การสื่อสารโดยตรงของผู้บริหารไปถึงทีมงานจะทำให้เกิดความรู้สึกไว้เนื้อเชื่อใจ และทำให้เกิดผลลัพธ์มากกว่าการใช้การสื่อสารผ่านเอกสาร ควรหาโอกาสในการลงพื้นที่ รับฟังแก้ไขปัญหา และบอกแนวทางในการปฏิบัติงานให้แก่พนักงานด้วย
เคล็ดลับ ก็คือ ไม่ใช่เพียงดูแลลูกค้า เจ้าของร้านต้องดูแลพนักงานให้ดีด้วยทั้งในแง่สวัสดิการและจิตใจ เพราะพนักงานจะเป็นคนที่ไปดูแลลูกค้าให้กับคุณ
5.ระบบการประเมิน พนักงานแบบมีส่วนร่วม
การประเมินการทำงานเป็นสิ่งสำคัญ แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าคือ วิธีที่ใช้ในการประเมิน และทิศทางในการแก้ไขหลังจากนั้น นอกจากวิธีการประเมินโดยหัวหน้างาน หรือจ้างคนมาสังเกตการณ์โดยเฉพาะแล้ว เราสามารถประเมินด้วยวิธีให้พนักงานประเมินตัวเอง หรือเชิญลูกค้าประจำมาเป็นคนประเมิน เพราะเขาจะได้เจอกับผู้ประเมินที่เป็นคนใช้บริการจริง ได้รับฟังความคิดเห็นจริง ๆ
เคล็ดลับ ก็คือ การทำร้านอาหารหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะโดนตำหนิการให้บริการ พนักงานส่วนใหญ่มี แนวโน้มที่จะต่อต้าน เกิดความคิดเชิงลบเมื่อโดนตำหนิ วิธีการแก้ไขคือเปิดโอกาสให้ชี้แจงข้อเท็จจริง แยกแยะว่าสิ่งที่ลูกค้าคอมเพลนนั้น เป็นการมุ่งตำหนิไปที่การบริการที่ไม่ได้รับความสะดวกที่เกิดจากระบบ ซึ่งไม่ได้เป็นการตำหนิพนักงานโดยตรง เพื่อให้พนักงานลดความรู้สึกเชิงลบ และรู้สึกว่ามีส่วนสำคัญในการแก้ไขสิ่งนั้นให้ดีขึ้นด้วย
ดังนั้นเซอร์วิสมายจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากต่อผู้ประกอบการร้านอาหารในยุคนี้ เพราะความคิดเห็นของลูกค้าสามารถแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว ถ้าร้านของคุณมีบริการที่ดีลูกค้าจะประทับใจ กลับมาบ่อย ๆ และบอกต่อคนรอบตัวเขาเป็นทอดไปอย่างไม่รู้จบ ในทางกลับกันถ้ามันเป็นประสบการณ์เชิงลบ ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่เมื่อเรื่องกระจายออกไปแล้ว จะสร้างความรู้สึกที่ดีให้กลับมาอีกครั้ง
เรียนรู้เทคนิคการบริหารคน และสร้างเซอร์วิสมายเพื่อนำมาปรับใช้กับร้านอาหาร คาเฟ่ กับหลักสูตรที่ทำให้คุณเรียนรู้เรื่องคน ได้ทะลุปรุโปร่งมากกว่าที่เคย จากอาจารย์พีรพัฒน์ กองทอง ซึ่งมีประสบการณ์บริหารงานบุคคลร้านอาหารดังหลายแห่งในประเทศไทย รวมถึงร้านแมคโดนัลด์ ประเทศไทย คลิกดูรายละเอียดหลักสูตร HR For Food Business การบริหารคน สำหรับธุรกิจร้านอาหาร รุ่นที่ 2
>> หลักสูตรการ บริหารคน สำหรับธุรกิจอาหาร (HR for Food Business) รุ่นที่ 2 <<
หลักสูตรนี้ จะตอบและแก้ไขปัญหาทุกสิ่งที่คุณอยากรู้
หยุดทุกปัญหาน่าปวดหัวของการทำธุรกิจอาหาร!!
เพื่อให้ผู้ประกอบการ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้
ในการบริหารคนภายในธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
✏ระยะเวลาในการอบรม : 2 วัน ในวันที่ 24 – 25 กรกฎาคม 2562 เวลา 9.00-17.00 น.
📍สถานที่: ณ บริษัท อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด
.
ค่าใช้จ่ายการอบรม: 12,000 บาท
🔥โปรโมชั่น : สมัคร 2 ท่านขึ้นไป ท่านละ 11,000 บาท
วิทยากร : อาจารย์พีรพัฒน์ กองทอง (อดีตผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล แมคโดนัลด์ ประเทศไทย)
👉🏻 รายละเอียดเพิ่มเติม : http://bit.ly/2ZQMeTA
👉🏻 สมัครเลย !! http://bit.ly/2RAeOFR
📍ด่วน!!ที่นั่งมีจำนวนจำกัด🔥