เปิดร้านอาหารวันแรก ต้องเจอปัญหาอะไรบ้าง - Amarin Academy

เปิดร้านอาหารวันแรก ต้องเจอปัญหาอะไรบ้าง

เปิดร้านอาหารวันแรก ต้องเจอปัญหาอะไรบ้าง

เปิดร้านอาหารวันแรก หลายคนคงตื่นเต้นและดีใจที่ความฝันของตัวเองสำเร็จสักที หลังจากที่ตั้งใจวางแผนและทำงานอย่างหนักมาตลอด แต่อย่าเพิ่งดีใจจนเกินไป เพราะบางครั้งวันแรกก็ไม่ได้ราบรื่นอย่างที่คิด คุณต้องเผื่อใจ และเผื่อสติในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าสารพัด ปัญหาที่ว่านั้นมีอะไรบ้าง วิธีแก้ปัญหาเป็นอย่างไร ไม่ต้องนั่งเดาเอง เราลิสต์ปัญหาหลักๆ มาให้แล้ว

ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในการเปิดร้านวันแรก เราจะแยกเป็น 2 ฝั่ง คือหน้าร้าน หลังร้าน

หน้าร้าน >> เรื่องการบริการของพนักงาน ที่ต้องมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นแน่นอน เช่น พนักงานเสิร์ฟอาหารผิดโต๊ะ เสิร์ฟช้า จำเมนูไม่ได้ จดออร์เดอร์ผิด ทำอาหารหก จานแตก คิดเงินผิด ทอนเงินพลาด ลืมเก็บโต๊ะ ใช้เครื่อง POS ไม่เป็น หรือระบบ POS ขัดข้อง โต๊ะไม่พอ เจอแมลงต่างๆ บนโต๊ะ ฯลฯ

หลังร้าน >> ระบบงานรวน เชฟปรุงผิด ปรุงอาหารช้า รสชาติไม่คงที่ วัตถุดิบที่เตรียมไว้ไม่เหมาะสม ซึ่งมีทั้งมากเกินไปและน้อยเกินไป อุปกรณ์ครัวไม่ทำงาน พนักงานใช้อุปกรณ์ครัวไม่เป็น วัตถุดิบที่สั่งไว้ไม่มาส่ง ฯลฯ

แม้ว่าจะเป็นปัญหาเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็ทำให้การบริการของร้านคุณสะดุด และอาจทำให้ลูกค้าไม่พึงพอใจได้ ซึ่งบางร้านอาจแก้ไขปัญหาเหล่านี้ด้วยการบอกลูกค้าว่า วันนี้เปิดร้านวันแรก อาจจะติดขัดบ้าง ต้องขออภัย ซึ่งลูกค้าบางรายอาจจะใจดีให้อภัย แต่ไม่มีสิ่งใดการันตีได้เลยว่า เขาจะกลับมาใช้บริการร้านของคุณซ้ำ หรือลูกค้าบางรายอาจจะไม่ให้อภัยเลยก็ได้

(เพราะลูกค้ามีสิทธิ์คิดว่า ในเมื่อเราจ่ายเงินเต็มราคา ก็ต้องคาดหวังที่จะได้รับบริการที่ดีที่สุด แม้จะเป็นการเปิดร้านวันแรก ก็ไม่ใช่ข้อแก้ตัว เพราะคุณต้องเตรียมพร้อมมาแล้ว ถึงเริ่มเปิดร้าน)

ปัญหาเหล่านี้อาจป้องกันได้ด้วยการวางระบบ เทรนด์พนักงานให้พร้อม แต่ถึงอย่างไรก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ 100% จนกว่าคุณจะได้ลองสัมผัสกับปัญหาและลงมือแก้ไขเองจริงๆ

บางร้านจึงใช้วิธีแก้ปัญหาด้วยการเชิญเพื่อนๆ หรือคนรู้จักมาก่อนในวันแรก (อาจให้รับประทานฟรี หรือลดราคาพิเศษ) เพื่อทดลองรันระบบงาน โดยบอกว่าเป็น Soft opening ให้เพื่อนๆ Feedback ได้เต็มที่ และควรเชิญมาให้แขกเต็มร้าน (จะได้รู้ว่าถ้าลูกค้ามาเต็มร้านแล้วอาจจะเกิดปัญหาใดขึ้นบ้าง เราจะได้นำมาปรับปรุงต่อไป โดยอาจใช้วิธีสอบถามเป็นรายคน หรือใช้แบบสอบถามความพึงพอใจก็ได้

วิธีนี้จะทำให้เรารู้ข้อบกพร่องที่ดีที่สุด และไม่ทำให้เสียลูกค้าด้วย เพราะทุกคนรู้ว่านี่คือช่วงทดลองเปิดร้าน หากคุณมีเวลาและมีงบประมาณเพียงพอ ก็อาจทดลองทำ Soft opening สัก 2 ครั้ง ครั้งแรกอาจจะมีระบบขัดข้องค่อนข้างเยอะ จะได้นำไปแก้ไข แล้วเมื่อ Soft opening รอบที่สองคือการทดสอบว่าวิธีแก้ปัญหาที่คิดมานั้น สามารถแก้ปัญหาได้จริงหรือเปล่า

จากนั้นเมื่อระบบลงตัว จึงค่อยเปิดตัวอย่างเป็นทางการหรือ Grand Opening แต่ถ้าไม่มีงบประมาณ และมีเวลาไม่มากพอก็อาจจะจัดแค่รอบเดียวก็ได้เช่นกัน

หรือบางร้านอาจใช้วิธีเปิดร้านครึ่งวันเช้า และลองรันระบบกับลูกค้าจริง พร้อมบอกพนักงานว่าให้จดจำปัญหาที่เจอระหว่างการทำงานเอาไว้ จากนั้นช่วงบ่ายจึงปิดร้าน แล้วให้พนักงานเล่าปัญหาที่เจอ พร้อมหาทางแก้ไขร่วมกัน วิธีนี้ก็จะช่วยลดข้อผิดพลาดในการทำงานได้เร็วและตรงจุดยิ่งขึ้น พร้อมสำหรับการเปิดร้านในวันต่อไป

วันแรกอาจจะมีปัญหาบ้าง แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นในการทำตามความฝันของคุณ ฉะนั้นอย่าเพิ่งท้อ ลองปรับและแก้ไขไปเรื่อยๆ ทุกปัญหามีทางออก (สำหรับคนที่ตั้งใจ และพร้อมพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ)

เรื่องแนะนำ

ถ้าตัดสินใจลุยต่อ! สิ่งที่ต้องทำคืออะไรบ้าง? ในวันที่ขายได้แค่ “ซื้อกลับบ้าน”

ถ้าตัดสินใจลุยต่อ! สิ่งที่ต้องทำคืออะไรบ้าง? ในวันที่ขายได้แค่ “ ซื้อกลับบ้าน ” วิกฤตโรคระบาดครั้งนี้ดูจะไม่หายไปง่าย ๆ ถ้านับจากตอนระบาดใหม่ ๆ ก็กินเวลามาเป็นปี ๆ ทั่วโลกได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างหนัก ทำให้ตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภคหรือผู้ประกอบการก็ต่างอยู่ในจุดที่ต้องกอดเงินที่มีอยู่ไว้ให้แน่น  ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ประกอบการควรมีการวางแผนการเงินในระยะยาวให้ธุรกิจของคุณยังคงไปต่อได้ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจในช่วงวิกฤต ลองมาดูสิ่งที่ต้องทำในวันที่ขายได้แค่ “สั่งกลับบ้าน” 1.ประเมินความพร้อม: จากบทเรียนการระบาดครั้งก่อน ร้านที่ได้ลองทำเดลิเวอรีแล้วก็พอจะเห็นสถิติและพอประเมินได้ว่า ถ้าต้องเปลี่ยนมาขายแบบซื้อกลับเป็นหลัก ร้านจะมีรายได้เท่าไหร่ พอสำหรับจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมดหรือไม่ ถ้าประเมินแล้วคิดว่ารายได้โอเค สู้ไหว เปิดแล้วทำให้ร้านพอมีรายได้เข้าบ้างก็ไปข้อต่อไป 2.ต่อรองประนอมหนี้: “รายได้ลดลง รายจ่ายเท่าเดิม” สิ่งต่อมาที่ผู้ประกอบการต้องทำ คือ ลดภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือนให้ได้มากที่สุด ให้ตัวเบาที่สุด โดยทำการพูดคุยตกลงกับเจ้าของที่เพื่อขอลดค่าเช่า หรือขอแบ่งเบาภาระหนี้สินกับธนาคาร อย่างน้อย 1 – 2 เดือน เพื่อลดรายจ่ายเท่าที่เป็นไปได้ 3.เอายังไงกับพนักงาน: แม้ร้านจะไม่เปิดให้บริการนั่งทานในร้าน แต่การจ่ายค่าจ้างพนักงานยังคงอยู่ ดังนั้นสิ่งที่ผู้ประกอบการทำได้ คือ พยายามลดค่าใช้จ่ายด้านพนักงานให้ลดลง โดยการประเมินงานที่ต้องทำในแต่ละวันก่อนว่าร้านเราน่าจะใช้คนเท่าไหร่ ถ้าใช้คนน้อยให้ลองใช้วิธีแบ่งกะเวลาการทำงาน สลับเวลากันมาทำ แต่ต้องคุยกับพนักงานให้ชัดว่า ช่วงนี้อาจจะให้ค่าตอบแทนได้น้อยลง แต่อย่างน้อยก็มีงานทำอยู่ พร้อมทั้งวางแผนการทำงานให้ […]

เปิดร้านอาหารให้สำเร็จ

3 สิ่งที่ควรทำ เปิดร้านอาหารให้สำเร็จ !

ใครๆ ก็อยาก เปิดร้านอาหารให้สำเร็จ แต่คนส่วนใหญ่มักเริ่มต้นจาก passion แต่จะทำอย่างไรให้ความชื่นชอบของคุณแปรเปลี่ยนมา "ทำเงิน" ได้ ไปติดตามกันได้เลย

มือใหม่เปิดร้านอาหาร …สร้างจุดขายในโลกออนไลน์อย่างไรให้ปัง!

หากคุณเปิดร้านอาหาร และต้องการทำตลาดออนไลน์ให้สำเร็จ ก็ต้องเริ่มต้นสร้างตัวตนในใจลูกค้าให้ได้ก่อน ร้านค้าเกือบทุกร้านใช้วิธีการสื่อสารกับลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์ และแข่งกันด้วยการทำ Content Marketing จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ร้านของคุณจะสามารถเป็นหนึ่งในร้านที่ลูกค้าเลือก มาดูกันว่ามีเทคนิคอะไรที่น่าสนใจ และนำไปปรับใช้กับร้านของคุณได้บ้างสำหรับ มือใหม่เปิดร้านอาหาร  มือใหม่เปิดร้านอาหาร …สร้างจุดขายในโลกออนไลน์อย่างไรให้ปัง! ทำให้….เหนือความคาดหมาย การสื่อสารที่ดีอย่างเหนือความคาดหมาย จะทำให้ลูกค้าจดจำคุณได้เพียงข้ามคืน  ยกตัวอย่างร้านอาหารเรือนจรุง ร้านอาหารไทยในจังหวัดอยุธยา สามารถรับลูกค้าได้เพียงโต๊ะเดียว การที่ลูกค้าจดจำว่าเป็นร้านที่จองยาก เป็นจุดขายที่แตกต่างก็จริง แต่ก็อาจจะทำให้ลูกค้าปัจจุบันที่ชอบความสะดวก ไม่ชอบรอนานจนถอดใจ แต่ร้านนำตรงนี้มาเป็นจุดแข็ง โดยกำหนดให้ลูกค้าอยากจะกินจริง ๆ เขียนจดหมายมาเพื่อบอกเหตุผลว่าทำไมถึงควรได้คิวที่ร้านไป การเขียนจดหมายเป็นรูปแบบวิธีการสื่อสารแบบเดิมขัดกับพฤติกรรมคนปัจจุบัน เป็นวิธีการที่เหนือความคาดหมาย แต่ยังสามารถบอกตัวตนของร้านที่เน้นการอาหารตำรับไทย ปรุงด้วยกรรมวิธีแบบเดิม ๆ อีกด้วย เห็นได้ว่า การทำให้เกิดการแชร์ Content เป็นเรื่องยากในปัจจุบัน แต่คนแชร์ที่เรื่องราวเหล่านี้ออกไปเพราะอยากแชร์ โดยไม่คำนึงว่ากำลังโฆษณาให้กับร้านนี้เลย จึงทำให้ร้านเป็นที่รู้จักมากขึ้น   ทำให้รู้… Right Time Right Target           การสื่อสารว่าคุณเป็นร้านอาหารที่สามารถตอบความต้องการของลูกค้าในเรื่องรสชาติและบริการเป็นการสื่อสารกับลูกค้าทั่วไปที่อยากกินอาหารอยู่แล้ว มันจึงไม่เพียงพอ  การศึกษาความต้องการเชิงลึกของลูกค้าให้ได้ รู้ว่าลูกค้ามีปัญหาอะไร อยากได้อะไร และสามารถนำเสนอมันได้อย่างถูกเวลา จะทำให้ลูกค้าจดจำร้านของคุณได้มากกว่า เช่น ร้านอาจจะพบว่าลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเป็นหัวหน้าครอบครัว […]

Crisis Management เมื่อโซเชียลทำพิษ ร้านต้องจัดการอย่างไร

เชื่อว่าเจ้าของร้านอาหารก็อยากให้ร้านของตัวเองเป็นที่พอใจของลูกค้าอยู่เสมอ แต่ความผิดพลาดเป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกร้าน หลายร้านเองต้องประสบปัญหากับน้ำผึ้งหยดเดียวเนื่องจากรับมือไม่เป็น Crisis Management จึงเป็นสิ่งที่เจ้าของร้านอาหารในยุคนี้ต้องรู้จักและเตรียมตัวรับมือให้ดี ซึ่งสามารถทำได้ตามวิธีที่แนะนำดังนี้   Crisis Management เมื่อโซเชียลทำพิษ ร้านต้องจัดการอย่างไร ตอบทันทีอย่าให้มีดราม่า ความไม่พอใจต่อเหตุการณ์จะยิ่งรุนแรงมากขึ้นจนกลายเป็นดราม่าได้หากได้รับการเพิกเฉย การตอบลูกค้ารวดเร็วจะทำให้ลูกค้าใจเย็นลง ดังนั้น ร้านอาหารควรจะวางแนวทางในการตอบคำถามไว้ โดยต้องใช้คำง่าย ๆ ตรงไปตรงมาในการตอบ และสุภาพ การพยายามเอาชนะลูกค้าย่อมไม่เป็นผลดี เช่น กรณีร้านที่เจ้าของร้านตอบโต้อย่างรุนแรงเมื่อลูกค้าติถึงคุณภาพอาหาร จากเรื่องเล็ก ๆ ที่สามารถจัดการได้ กับเป็นเรื่องใหญ่ที่ลุกลามไปยังช่องทางอื่น ๆ เพราะฉะนั้น ผู้ที่ทำหน้าที่ตอบคำถามไม่ว่าจะเป็นเจ้าของหรือจ้างคนมาทำหน้าที่แอดมินโดยตรง จะต้องเป็นคนที่ใจเย็นและสื่อสารได้ดี   ขอโทษอย่างจริงใจ ถ้าคุณคิดว่าการขอโทษแสดงถึงการยอมรับ คุณกำลังคิดผิด เพราะการขอโทษไม่ได้สื่อสารถึงลูกค้าคู่กรณีเพียงอย่างเดียว แต่ร้านกำลังสื่อสารไปถึงลูกค้าคนอื่น ๆ ด้วย ว่าคุณเป็นร้านอาหารที่ให้ความใส่ใจและเห็นว่าลูกค้าเป็นคนสำคัญเพียงใด  นอกจากนี้การขอโทษเป็นการทำให้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีเพียงแค่ประเด็นเดียว ซึ่งดีกว่าการแก้ตัวที่จะทำให้เกิดประเด็นใหม่ ๆ หากคุณรับมือได้ไม่ดีพอก็จะบานปลายเกิดผลเสียมากกว่าได้ในที่สุด   รวบรวมข้อมูล…เปิดอกไกล่เกลี่ย ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพ รสชาติ การบริการของร้านอาหาร คุณจะต้องสอบถามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ควรแบ่งระดับความร้ายแรงของสถานการณ์ไว้ เช่น ขั้นต้น คือลูกค้าไม่พอใจรสชาติ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.