9 ฟีเจอร์เด็ด จาก K PLUS shop ช่วยธุรกิจราบรื่น - Amarin Academy

9 ฟีเจอร์เด็ด จาก K PLUS shop ช่วยธุรกิจราบรื่น

9 ฟีเจอร์เด็ด จาก K PLUS shop ช่วยธุรกิจราบรื่น

ช่วงนี้กระแสการปรับระบบของ K PLUS สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปกำลังมาแรง แต่ K PLUS shop แอปฯ ที่ออกแบบมาเพื่อ SME ก็ไม่น้อยหน้าเช่นกัน เพราะเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้ SME เพียบเลย เราสรุปฟีเจอร์เด็ดๆ ที่น่าสนใจ และน่าจะช่วยอำนวยความสะดวกให้ SME มาได้ 9 ข้อ ดังนี้

1. QR Code 2 แบบ ทั้งแบบระบุยอดเงิน และไม่ระบุยอดเงิน

ข้อนี้น่าจะโดนใจร้านค้าแทบทุกร้าน เพราะปัญหาสำคัญของร้านค้าคือ ถึงจะมี QR Code ตั้งอยู่หน้าร้านให้ลูกค้าสแกน แต่ลูกค้าก็ต้องคอยมาถามว่า “ยอดเงินเท่าไร” แล้วค่อยกดโอน ซึ่งบางครั้งก็พิมพ์ยอดเงินผิด ร้านก็ต้องมานั่งทำเรื่องคืนเงิน หรือถ้าโอนเงินขาด ลูกค้าก็ต้องโอนซ้ำ (ถ้าร้านไม่ได้ดูว่ายอดไม่ตรง ก็อาจจะขาดทุนได้)

K PLUS shop เลยปรับระบบใหม่ ให้เราสามารถระบุยอดเงินได้ใน QR Code ได้ แค่กดสร้าง QR Code ใน K PLUS shop แล้วระบุยอดเงินลงในนั้น ลูกค้าแค่สแกนแล้วกดโอนได้เลย ไม่ต้องกลัวยอดผิด

แต่ถ้าร้านไหนที่อยากให้ลูกค้าระบุยอดเงินเอง ก็ยังใช้ QR Code แบบไม่ระบุจำนวนเงินได้เช่นเดิม

2.แจ้งเตือนเงินเข้าแบบ Real time พร้อมเสียงพูด

เคยไหม ช่วงที่ยุ่งๆ ลูกค้าเยอะ พอลูกค้าบอกโอนเงินแล้ว เราก็ไม่มีเวลาเช็คว่าเงินเข้าจริงๆ ไหม อาศัยความเชื่อใจคิดว่าเขาคงไม่โกง สุดท้าย เงินไม่เข้า กระเป๋าแฟ่บ……

K PLUS shop จึงพัฒนาระบบให้มีเสียงพูดแจ้งเตือนเวลามีเงินเข้า แถมระบุยอดได้ด้วย เช่น เมื่อลูกค้าโอนเงินเข้าบัญชีปุ๊บ แอปฯ จะมีเสียงแจ้งเตือนขึ้นมาทันทีว่า “เงินเข้า 200 บาท” เจ้าของร้านไม่ต้องก้มดูมือถือหรือละสายตาจากงานหรือลูกค้าอื่นๆ ก็รู้ทันทีว่าเงินเข้าแล้ว

3.เพิ่มสิทธิ์พนักงานรู้ยอดเงินเข้า เจ้าของร้านไม่ต้องเฝ้าร้านเอง

อยากเป็นนายตัวเอง อยากมีอิสระ พอเปิดร้านปุ๊บ…ต้องเข้าร้านทุกวัน ไม่เคยได้หยุด เพราะไม่กล้าทิ้งร้าน เพราะยังไม่ไว้ใจลูกน้อง

หรือบางร้านลองเอา QR Code มาตั้งให้ลูกค้าจ่ายเงินผ่านแอปฯ คิดว่ายังไงเงินก็เข้ากระเป๋า ไม่ต้องกลัวลูกน้องโกง สุดท้าย เวลาลูกค้าแจ้งว่าจ่ายเงินแล้ว ลูกน้องก็ต้องคอยวิ่งไปตามเจ้าของร้าน ให้เช็คว่าเงินเข้าจริงๆ หรือเปล่า

สุดท้ายแล้ว อิสระอยู่ที่ไหน ?

ฟีเจอร์ใหม่ของ K PLUS shop จึงเพิ่มสิทธิ์พนักงานให้สามารถรู้ได้ว่าเงินเข้าบัญชีแล้วจริงๆ (แต่ไม่รู้ยอดรายได้รวมทั้งหมด) ซึ่งเราสามารถเพิ่มสิทธิ์พนักงานได้สูงสุดถึง 10 คน เงินเข้าเมื่อไหร่ พนักงานเห็น เจ้าของร้านก็รู้ อยู่ที่ไหน ก็เช็คยอดเงินได้ คราวนี้ไม่จำเป็นต้องเข้าร้านทุกวัน ได้พบอิสระอย่างแท้จริง

4.สร้าง “บิลแมวเขียว” กดสั่งซื้อปุ๊บ ก็รวมรายการส่งลูกค้าทันที

ข้อนี้เหมาะสำหรับธุรกิจร้านค้าออนไลน์มาก เพราะแก้ไขปัญหาให้ร้านค้าออนไลน์ได้ตรงจุด เช่น ลูกค้าโอนเงินผิดบัญชี โอนเงินผิดยอด หรือร้านค้าเจอสลิปปลอม

“บิลแมวเขียว” คือบิลออนไลน์ ที่เจ้าของร้านสามารถสร้างและส่งบิลผ่าน Social Media ให้ลูกค้าได้ทันที เมื่อลูกค้าได้รับบิลก็กดชำระเงินได้เลย ร้านค้าได้รับเงินถูกต้อง แถมยังใส่รายการสินค้าได้ถึง 10 รายการ ไม่ต้องเสียเวลานั่งคำนวณราคาเองเพราะระบบคำนวณยอดรวมราคาสินค้าทั้งหมดให้อัตโนมัติ และแม้ว่าบิลจะมีอายุ 24 ชั่วโมง แต่หากเกินเวลาชำระ ก็สามารถส่งซ้ำได้โดยไม่ต้องสร้างบิลใหม่

5.เชื่อมระบบ Shippop คำนวณค่าส่ง เช็คสถานะ ทำใบแปะหน้าพัสดุ

ปัญหาสำคัญของการส่งสินค้าออนไลน์คือ เจ้าของร้านคำนวณค่าขนส่งผิด จากที่คิดว่าจะได้กำไรกลับขาดทุนซะอย่างงั้น

K PLUS Shop เลยเชื่อมต่อกับระบบของ Shippop ช่วยเปรียบเทียบราคาการขนส่งรูปแบบต่างๆ โดยให้เจ้าของร้านเลือกบริการเองตามสะดวก จะส่งทางไปรษณีย์ หรือขนส่งเอกชนรูปแบบอื่นๆ ก็ได้ โดยระบบจะคำนวณขนาดกล่อง น้ำหนัก ระยะทางให้อัตโนมัติ เจ้าของร้านก็ไม่ต้องปวดหัว นั่งคำนวณว่าควรคิดค่าส่งเท่าไร ทำให้ร้านค้าบริหารต้นทุนได้สะดวกยิ่งขึ้น และยังมีบริการทำใบแปะหน้ากล่องพัสดุ ไม่ต้องเสียเวลามานั่งพิมพ์เองให้ยุ่งยาก ที่สำคัญลูกค้ายังสามารถเช็คสถานะการจัดส่งสินค้าได้ตลอดเวลา

6.เจาะตลาดจีน รับชำระเงินจาก E-Wallet : Alipay / Wechat pay

ทุกวันนี้ชาวจีนเข้ามาเที่ยวในประเทศไทยเยอะมาก ซึ่งกำลังซื้อก็สูงซะด้วย กลายเป็นโอกาสสำหรับร้านค้าทั่วไปที่จะขยายฐานลูกค้า ดูท่าทางแล้วโอกาสกำลังมา…แต่ติดปัญหาตรงที่ ชาวจีนส่วนใหญ่ใช้จ่ายด้วย Alipay และ Wechat pay ถ้าเขาไม่มีเงินบาทติดตัวมา เราก็ขายของไม่ได้

K PLUS Shop จึงพัฒนาระบบให้สามารถรับชำระเงินได้ทั้ง Alipay และ Wechat pay จบปัญหาเรื่องการรับเงินจากนักท่องเที่ยวชาวจีน เพราะเวลาซื้อของคนจีนเห็นราคาเป็นหยวน แม่ค้าเห็นรายรับเป็นบาท แฮปปี้ทั้ง 2 ฝ่าย

7.รายงานยอดขาย Real Time แถมแสดงสัดส่วนลูกค้าประจำและลูกค้าทั่วไปได้ด้วย

ฟีเจอร์นี้น่าจะเหมาะกับร้านค้าทุกรูปแบบ ที่ไม่ต้องนั่งทำบัญชีรายรับรายจ่ายเองอีกต่อไป เพราะแอปฯ จะมีรายงานยอดขายอย่างละเอียดทั้งรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน ช่วยบริหารการขาย เก็บสถิติร้านค้า แสดงรีพอร์ต สรุปให้เข้าใจได้ง่าย แถมยังเปรียบเทียบยอดขายระหว่างปีนี้กับปีที่แล้วได้ด้วย

ที่สำคัญยังเก็บข้อมูลลูกค้า เพื่อแสดงสัดส่วนลูกค้าใหม่ ลูกค้าเดิม และลูกค้าประจำด้วย ทำให้เรารู้ว่าตอนนี้ธุรกิจของเราถึงเวลาที่ควรหาลูกค้าใหม่เพิ่มหรือต้องรักษาลูกค้าเดิมเอาไว้ให้อยู่หมัด

8.บัตรสะสมแสตมป์ สร้างลูกค้าประจำ

การแสวงหาลูกค้าใหม่ๆ ว่ายากแล้ว การรักษาฐานลูกค้าเดิมยากยิ่งกว่า เพราะทุกวันนี้คู่แข่งในตลาดมีมากขึ้น ถ้ามีเจ้าใหม่ๆ เข้ามาเสนอสินค้าหรือบริการ ลูกค้าก็พร้อมจะลอง ฉะนั้นร้านค้าต้องปรับตัว พยายามรักษาฐานลูกค้าเดิมเอาไว้ให้ได้ ซึ่งหนึ่งในวิธีที่ช่วยให้เกิดลูกค้าประจำคือ การใช้บัตรสะสมแสตมป์ ซึ่ง K PLUS shop ก็ถือว่าตอบโจทย์ น่าจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการซื้อซ้ำได้ดี

9.เพิ่มช่องทางการขายออนไลน์ ลง K PLUS Market 

อีกหนึ่งฟีเจอร์ที่หลายคนไม่เคยรู้ว่ามีอยู่ แต่ KBank เขาประกาศแล้วว่ากำลังจะเดินหน้าดันฟีเจอร์นี้อย่างเต็มตัว คือ K PLUS Market แหล่งรวมร้านค้าออนไลน์ขนาดใหญ่ ซึ่งมีฐานลูกค้าเป็นผู้ใช้งาน K PLUS ที่มีมากกว่า 9.4 ล้านราย

ข้อดีของ K PLUS Market คือ เจ้าของร้านสามารถสมัครและอัปโหลดสินค้าใหม่ๆ รวมทั้งราคาและโปรโมชั่นเด็ดๆ ได้ตลอดเวลา ลูกค้าก็ไม่ต้องกังวลกับปัญหาร้านค้าปลอม เพราะว่า KBank มีเจ้าหน้าที่คอยคัดกรองร้านค้าอย่างเข้มข้น

เราว่า 9 ฟีเจอร์ที่เพิ่มเข้ามานี้ ถือว่าตอบโจทย์ ช่วยแก้ปัญหาให้ SME ได้เยอะเลยทีเดียว แต่ถ้าใครยังมีข้อสงสัยเพื่อเติมหรืออยากรู้รายละเอียดลึกกว่านี้ เข้าไปในเว็บไซต์ของเขาได้เลย  https://bit.ly/2ORJPWX

ลองโหลดมาใช้ดูนะ ใช้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายด้วย

เรื่องแนะนำ

ร้านสตรีทฟู้ด

สถานการณ์ ร้านสตรีทฟู้ด อยู่รอดอย่างไรในวิกฤต?

         ร้านสตรีทฟู้ด (Street food) หรือร้านอาหารริมทาง ถือเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ของประเทศไทย โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพ ฯ ที่เรียกได้ว่าเป็น “เมืองหลวงของสตรีทฟู้ด” เพราะสามารถหาซื้ออาหารรสชาติดี ราคาไม่แพงได้ในทุกพื้นที่ทั่วไป อีกทั้งยังสะดวกรวดเร็วไม่แพ้ฟาสฟู้ดต่างๆ           ซึ่งร้านอาหารแบบนี้เป็นที่นิยมเนื่องจากต้นทุนที่ไม่สูงมากนัก ใช้อุปกรณ์ไม่มาก และเริ่มต้นธุรกิจได้ง่าย รวมทั้งยังมีหลายรูปแบบ ทั้งร้านแบบรถเข็นเล็กๆ แผงลอย รถขายอาหาร (Food Truck) แบรนด์ร้านอาหารใหญ่ ๆ ก็สนใจที่จะลงมามีบทบาทในตลาดสตรีทฟู้ดมากขึ้น หรือแม้แต่คนทั่วไปก็หันมาขายอาหารข้างทาง เพื่อหารายได้ชดเชยงานที่หายไปจากวิกฤตไวรัสอีกด้วย  สถานการณ์ ร้านสตรีทฟู้ด อยู่รอดอย่างไรในวิกฤต? วิกฤตโควิด-19 มีผลกระทบอย่างไรต่อตลาดสตรีทฟู้ด?           แน่นอนว่า ร้านสตรีทฟู้ด ที่อยู่ในแหล่งท่องเที่ยว ย่อมได้รับผลกระทบจากนักท่องเที่ยวที่หายไป ทำให้ยอดขายลดลงอย่างมาก การประกาศเคอร์ฟิวทำให้ร้านอาหารต้องปรับเวลาเปิดปิดร้านใหม่ตามกำหนดเวลา และการสั่งปิดร้านตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินที่ทำให้สามารถขายได้แค่แบบซื้อกลับบ้าน ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของร้าน และต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างหน้าที่ของพนักงานบางส่วน ในมุมพนักงานก็มีทั้งโดนลดค่าแรง จนไปถึงโดนเลิกจ้างงาน   […]

ปรับตัววิกฤติโควิด-19 สู่การช้อปสินค้าเกษตรอินทรีย์ ผ่านแอปพลิเคชั่น Thai Organic Platform

“เราอยู่ในสังคมเดียวกัน เราก็ต้องช่วยเหลือกันเท่าที่เราทำได้” ไม่มีใครไม่ได้รับผลกระทบในช่วงนี้ เพราะวิกฤติการแพร่ระบาดโรคไวรัสโควิด-19 ทำให้ใครหลายคนต้องอยู่บ้าน พฤติกรรมการบริโภคจึงเปลี่ยนไป ความต้องการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์กลายมาเป็นช่องทางหลัก หลายๆ คนต่างต้องปรับตัวรับมือกับสถานการณ์แบบนี้ให้ได้ เช่นเดียวกับเกษตรกรอินทรีย์ในเครือข่ายสามพรานโมเดลที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตินี้เช่นกัน จากการที่ลูกค้าประจำที่มีทั้งโรงแรม ร้านอาหาร จำเป็นต้องยกเลิกออเดอร์ ทางสามพรานโมเดลจึงได้ริเริ่มนำเครื่องมือ Thai Organic Platform ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ  (สนช.) และ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) มาใช้เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเชื่อมโยงและซื้อขายสินค้าอินทรีย์ตรงจากกลุ่มเกษตรกรได้ผ่านช่องทางออนไลน์ และยังสามารถเข้าถึงข้อมูลแหล่งที่มาของสินค้าได้อย่างเปิดเผย โปร่งใส โดยเริ่มเปิดรับพรีออเดอร์ครั้งแรกไปเมื่อวันที่ 30 มีนาคม ที่ผ่านมา ตัวอย่างหน้าตาแอปพลิเคชั่น   ทางเราไม่รอช้า เมื่อสบโอกาสได้สัมภาษณ์ คุณอรุษ นวราช ผู้บริหารสวนสามพราน และผู้ริเริ่มสามพรานโมเดล จึงอยากจะมาเล่าถึงการปรับตัววิกฤติโควิด-19  และความคืบหน้าการเปิดใช้แอปพลิเคชัน Thai Organic Platform ให้เพื่อนๆ อ่านกันครับ แพลตฟอร์มขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ ร่วมกันฝ่าวิกฤติโควิด-19 “สังคมอินทรีย์เราเน้นเรื่องการเชื่อมโยงห่วงโซ่ ตั้งแต่ผู้ผลิตคือเกษตรกรอินทรีย์ ผู้ประกอบการอย่างโรงแรม ร้านอาหาร และผู้บริโภคคือลูกค้า เหมือนเราเป็นตัวกลางเชื่อมให้ห่วงโซ่ทั้งหมดมาเจอกัน พอมีวิกฤติอย่างนี้เกิดขึ้น เราเป็นสังคมเดียวกัน […]

ขยะพลาสติก

ส่องแบรนด์ใหญ่ เดินหน้าลด ขยะพลาสติก แบบใช้แล้วทิ้ง Single-use plastics

วิกฤตปัญหาขยะพลาสติกล้นโลก กำลังส่งผลร้ายอย่างมากมายกับโลกของเรา เห็นได้จากข่าวต่างๆที่ผ่านมา เปิดปัญหากับสัตว์ต่างๆ และธรรมชาติอย่างร้ายแรง ทำให้ที่ผ่านมาหลายหน่วยงาน หลายองค์กรทั่วโลก เริ่มหันมาให้ความสำคัญ และตื่นตัวกับปัญหานี้มากขึ้น รวมถึงแบรนด์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหารทั่วโลก ซึ่งเป็นธุรกิจที่นับว่ามีปริมาณการใช้ ขยะพลาสติก แบบใช้แล้วทิ้ง (Single-use plastics) เป็นจำนวนมาก ก็เริ่มรณรงค์และหาทางออกในเรื่องนี้  เรามาดูกันว่ามีแบรนด์ใดบ้าง   แบรนด์ใหญ่ เดินหน้าลด ขยะพลาสติก แบบใช้แล้วทิ้ง Starbucks แบรนด์ยักษ์ใหญ่อย่าง Starbucks ก็เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่ประกาศเลิกใช้หลอดพลาสติกใช้แล้วแบบ Single Use ในทุกสาขาทั่วโลกภายในปี 2563 ในทุกสาขาทั่วโลกภายในปี 2563 ของ Starbucks เพื่อให้แบรนด์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นอกจากใช้หลอดที่ทำจากวัสดุดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างกระดาษ หรือพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทดแทนแล้ว ในปัจจุบัน Starbucks ยังออกแบบฝาปิดแก้วสำหรับเครื่องดื่มเย็นบางชนิดให้สามารถยกดื่มได้ง่ายแบบไม่ต้องใช้หลอด โดยเริ่มใช้ในหลายๆ สาขาทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วย ซึ่งหากสามารถทำตามแผนที่วางไว้ได้สำเร็จ Starbucks จะสามารถกำจัดหลอดพลาสติกไปได้กว่า 1,000 ล้านชิ้น/ปี เลยทีเดียว *ข้อมูลจาก Ocean Conservancy องค์กรไม่แสวงหากำไรที่ดูแลปกป้องมหาสมุทรพบว่า ตลอด 30 […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.