ซื้อวัตถุดิบเอง VS ซื้อวัตถุดิบจาก Supplier - Amarin Academy

ซื้อวัตถุดิบเอง VS ซื้อวัตถุดิบจาก Supplier

ซื้อวัตถุดิบเอง VS ซื้อวัตถุดิบจาก Supplier

ซื้อวัตถุดิบเองหรือ ซื้อวัตถุดิบจาก Supplier ดี ? นี่เป็นคำถามที่ร้านอาหารถามกันเข้ามาเยอะมาก เพราะมักไม่รู้ว่าควรเลือกทางไหนจึงจะคุ้มค่ากว่า ซึ่งเจ้าของร้านส่วนใหญ่มักเลือกซื้อเอง เพราะคิดว่าราคาถูกกว่า แต่จริงๆ แล้วการซื้อวัตถุดิบเอง มีต้นทุนบางอย่างที่คุณอาจมองข้ามไป

ซื้อวัตถุดิบเอง

ต้นทุนที่มองเห็น

1.ค่าวัตถุดิบ > ซึ่งมักถูกกว่าการสั่งจาก Supplier

2.ค่าเดินทาง > ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางด้วย Taxi หรือรถส่วนตัว

3.ค่าแรงพนักงาน > จากปกติพนักงานอาจจะต้องเข้างานเวลาเปิดร้าน ก็ต้องเริ่มงานเร็วขึ้น เพื่อเดินทางไปซื้อวัตถุดิบก่อน

ต้นทุนที่มองไม่เห็น

1.ค่าเสียเวลา > แทนที่คุณหรือพนักงานของคุณจะมีเวลาไปทำอย่างอื่น แต่ต้องเสียเวลาเดินทางไปซื้อวัตถุดิบแทบทุกวัน และเมื่อซื้อกลับมาแล้ว ก็ต้องมาจัดเตรียมและตัดแต่งอีกเป็นชั่วโมง

นอกจากนี้ช่วงเวลาที่วัตถุดิบแต่ละชนิดเข้ามาที่ตลาดยังไม่เท่ากัน เช่น ผักบางชนิดเข้ามาช่วงตี 1 บางชนิดเข้ามาช่วง ตี 3 ถ้าคุณอยากซื้อของดี ก็ต้องไปให้ตรงช่วงเวลานั้นๆ เพราะถ้าไปช้า เจ้าอื่นๆ ก็จะเลือกของดีไปหมด ส่วนคุณก็จะได้ของคุณภาพต่ำ ไม่ตรงตามความต้องการ

2.ค่าความเสี่ยง > ความเสี่ยงนี้มีหลายด้าน

2.1 ด้านการขนส่ง >> หลังจากที่เราซื้อวัตถุดิบแล้ว ระหว่างการขนส่ง หากวัตถุดิบเสียหาย เช่น ผักช้ำ อุณหภูมิของเนื้อตก เราจะไม่สามารถเรียกร้องความเสียหายใดๆ จากเจ้าของร้านได้เลย เพราะหลังจากที่คุณจ่ายเงิน ภาระความรับผิดชอบก็จะตกที่คุณทันที

2.2 ด้านปริมาณและคุณภาพ >> หากร้านของคุณใส่ใจเรื่องคุณภาพวัตถุดิบ จำเป็นต้องใช้วัตถุดิบเกรดนี้เท่านั้น เช่น กุ้งต้องคัดไซส์ ผักต้องคุณภาพดี และในแต่ละวันต้องใช้ปริมาณเท่านี้ จึงจะเพียงพอต่อการใช้งาน การซื้อวัตถุดิบเองถือว่ามีความเสี่ยงสูงมาก ไม่มีใครมาการันตีคุณภาพให้ว่าจะได้ตรงตามสเป็กทุกครั้ง หรือมีปริมาณตามที่คุณต้องการทุกวัน

2.3 ด้านราคาที่ผันผวน >> อย่างที่รู้กันว่าราคาวัตถุดิบมีความผันผวนตลอดเวลา ขณะที่ราคาขาย (กว่าจะปรับขึ้นทีต้องคิดแล้วคิดอีก) โดยเฉพาะวัตถุดิบจำพวกผักและอาหารทะเล ที่ถือว่าผันผวนสุดๆ ถ้าคุณซื้อวัตถุดิบเอง ก็ต้องยอมรับความผันผวนนี้ให้ได้

3.ค่า Food waste > วัตถุดิบส่วนใหญ่ที่ซื้อจากตลาด มักไม่ผ่านการตัดแต่งมาก่อน ทำให้คุณต้องมาตัดแต่งให้พร้อมใช้งาน โดยเฉพาะผัก ไม่ว่าจะเป็นการนำผักใบแก่ ใบเหี่ยว ออก แทนที่จะใช้วัตถุดิบได้เต็ม 100% บางทีอาจต้องทิ้งเกือบครึ่ง (อ่านเพิ่มเติม 7 Wastes ในร้านอาหาร ลดได้ กำไรพุ่ง!)

นี่คือต้นทุนที่คุณต้องจ่าย หากคุณซื้อวัตถุดิบเอง กลับกัน หากคุณสั่งวัตถุดิบจาก Supplier ต้นทุนที่คุณต้องจ่ายมีดังนี้

รับวัตถุดิบจาก Supplier

ต้นทุนที่มองเห็น

1.ค่าวัตถุดิบ > อาจราคาสูงกว่าการซื้อเอง

2.ค่าขนส่ง > กรณีนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนการสั่งซื้อ หากคุณสั่งซื้อจำนวนมาก บางเจ้าอาจไม่คิดค่าส่ง

ต้นทุนที่มองไม่เห็น

ค่าเสียโอกาสในการสั่งขั้นต่ำ > Supplier ส่วนใหญ่มักมีการกำหนดจำนวนวัตถุดิบขั้นต่ำในการสั่งซื้อ ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่สำหรับร้านอาหารเล็กๆ ที่จำนวนยอดขายไม่สูงนัก หากต้องสั่งวัตถุดิบมากักตุนจำนวนมาก

  • ส่งผลให้วัตถุดิบเน่าเสีย หากเก็บรักษาได้ไม่เหมาะสม
  • ต้นทุนจม การเงินขาดสภาพคล่อง เพราะต้องสั่งซื้อจำนวนมาก

ขณะที่ต้นทุนที่มองไม่เห็นด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น

ค่าเสียเวลา

Supplier ก็เป็นผู้จัดส่งวัตถุดิบ เราเพียงแค่รอรับที่ร้าน ไม่ต้องเสียเวลาตัดแต่งวัตถุดิบ เนื่องจาก Supplier บางรายมีผักตัดแต่งแล้วจำหน่าย

ค่าความเสี่ยง

  • ด้านการขนส่ง >> ตราบใดที่เรายังไม่เซ็นรับสินค้า ที่มาส่งหน้าร้าน ความรับผิดชอบก็เป็นของ Supplier
  • ด้านปริมาณและคุณภาพ >> Supplier ส่วนใหญ่สามารถการันตีเรื่องปริมาณและคุณภาพวัตถุดิบให้ร้านอาหารได้ โดยเราสามารถกำหนดมาตรฐานและทำสัญญากับ Supplier ได้ตั้งแต่เริ่มสั่งวัตถุดิบ
  • ด้านราคาที่ผันผวน >> Supplier ส่วนใหญ่มักสามารถคุมราคาวัตถุดิบได้ในระดับหนึ่ง เพราะเขาสั่งปริมาณมากจึงมีอำนาจต่อรองสูงกว่า

ค่า Food waste

Supplier ส่วนใหญ่มักมีวัตถุดิบตัดแต่งแล้วจำหน่าย ซึ่งสามารถนำวัตถุดิบเหล่านั้นมาใช้ได้เกือบ 100% จึงมีอัตราวัตถุดิบเหลือทิ้งน้อยกว่าปกติ

แม้ว่าราคาวัตถุดิบจาก Supplier จะสูงกว่า แต่เมื่อเทียบกับต้นทุนแฝงต่างๆ แล้ว ก็ถือว่าคุ้มค่าสมราคา เจ้าของร้านไม่ต้องปวดหัวแบกรับต้นทุนและความเสี่ยงอื่นๆ ที่ตามมาสารพัด

หากคุณเปิดร้านอาหาร จะเลือกทางไหน ?

เรื่องแนะนำ

อยากขายแอลกอฮอล์ต้องรู้! ขั้นตอนขอใบอนุญาตจำหน่ายสุราสำหรับร้านอาหาร

กลางวันเปิดคาเฟ่ กลางคืนอยากเปิดบาร์ เจ้าของร้านกาแฟถาม อยากขายแอลกอฮอล์กลางคืน แชร์ขั้นตอนขอใบอนุญาตจำหน่าย สุรา สำหรับร้านอาหาร เพิ่มรายได้ร้าน ตอนเช้าเป็นร้านกาแฟ ตอนเย็นเป็นร้านนั่งชิลล์ดีปะ ? วันก่อนแอดได้ไปเห็นโพสต์หนึ่งในกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ” ที่เจ้าของร้านกาแฟร้านหนึ่งได้มาโพสต์ขอคำแนะนำ เนื่องจากเขาทำร้านกาแฟอยู่และต้องการเปิด ขายสุรา ในช่วงเย็นด้วย ในกรณีนี้ต้องทำอย่างไรบ้าง? โพสต์นี้มีคำตอบ! การขายสุรา ใบอนุญาตมี 2 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 ขายส่งสุราทุกชนิด ครั้งละสิบลิตรขึ้นไป ประเภทที่ 2 ขายปลีกสุราทุกชนิด ครั้งละต่ำกว่าสิบลิตร (สำหรับร้านอาหาร คือ ประเภทที่ 2) ซึ่งสำหรับการขออนุญาตขายสุราทาง “คลินิกภาษี กระทรวงการคลัง” ได้เคยให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า ขอใบอนุญาตได้จากไหน ผู้ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตขายสุรา สามารถติดต่อขอใบอนุญาต ณ สำนักงานสรรพสามิต พื้นที่สาขาแห่งท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ โดยเปิดทำการในเวลาราชการ การขอใบอนุญาตสุราผ่านอินเตอร์เน็ต ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.excise.go.th/…/LIQUOR-TOBACCO…/index.htm ต้องใช้อะไรบ้าง ผู้ขอรับใบอนุญาตรายใหม่ นำเอกสารฉบับจริง ดังต่อไปนี้ไปแสดง 1.บัตรประจำตัวประชาชน […]

ซื้อหุ่นยนต์ มาช่วยเสิร์ฟจะคุ้มไหม? เทียบให้ชัดความต่าง ระหว่างแรงงานคนและหุ่นยนต์

ซื้อหุ่นยนต์ มาช่วยเสิร์ฟจะคุ้มไหม? เทียบให้ชัดความต่าง ระหว่างแรงงานคนและหุ่นยนต์ ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้หลาย ๆ ธุรกิจ รวมถึงร้านอาหาร ได้มีการนำเอา หุ่นยนต์ เข้ามาใช้ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเพื่ออำนวยความสะดวก ลดต้นทุนค่าแรง เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ไปจนถึงการทำกำไรให้ร้านได้มากขึ้น ซึ่งร้านอาหารในไทยที่ได้มีการนำ หุ่นยนต์ โดยเฉพาะ “ หุ่นยนต์เสิร์ฟอาหาร ” มาใช้ ก็อย่างเช่น Sizzler, MK, Sukishi, BarBQ Plaza และสุกี้ตี๋น้อย ที่เชื่อว่าหลาย ๆ คนที่เคยได้ไปใช้บริการ จะต้องเคยได้ใช้บริการน้อง ๆ หุ่นยนต์กันมาบ้าง ทีนี้มองในแง่ของการนำมาใช้ การใช้ หุ่นยนต์ แตกต่างจากการใช้พนักงานเสิร์ฟยังไง ? แล้วร้านแบบไหนที่เหมาะกับนำ หุ่นยนต์ นี้เข้ามาใช้ เรามาหาคำตอบกัน! เว็บไซต์ www.idio-tech.net ผู้นำเข้าและจำหน่ายหุ่นยนต์เสิร์ฟอาหาร เคยได้ให้ข้อมูลเปรียบเทียบการทำงานระหว่างพนักงานและหุ่นยนต์ ที่สามารถสรุปได้ดังนี้ พนักงาน 1 […]

เช็กลิสต์ QSC ระบบ ประเมินมาตรฐาน ที่ร้านอาหารคุณต้องมี!

หนึ่งในระบบเซตอัพร้านอาหารที่สำคัญ ก็คือการออกแบบเครื่องมือในการ ประเมินมาตรฐาน หรือผลการปฏิบัติงานของร้าน ที่เรียกว่า QSC  ถือเป็นคู่มือที่ใช้ควบคุมการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ โดยจะครอบคลุม 3 เรื่องสำคัญ ได้แก่   เช็กลิสต์ QSC ระบบ ประเมินมาตรฐาน ที่ร้านอาหารคุณต้องมี! Q = Quality การประเมินด้านคุณภาพ เริ่มตั้งแต่วัตถุดิบ วิธีการเก็บรักษาวัตถุดิบ วิธีการปรุงอาหารและการเสิร์ฟ ทั้งรสชาติ ปริมาณ หน้าตาอาหาร   S =Service การประเมินด้านการบริการ เริ่มตั้งแต่การต้อนรับลูกค้า การแนะนำรายการสินค้า ความเต็มใจบริการ ความสุภาพของพนักงาน ความถูกต้องในการรับรายการอาหาร   C = Cleanliness การประเมินด้านความสะอาด เริ่มประเมินตั้งแต่ การแต่งกายของพนักงาน ความสะอาดของหน้าร้านและหลังร้าน รวมไปถึงการดูแลรักษาและซ่อมบำรุงอุปกรณ์ครัว   ตัวอย่างการทำ QSC : ร้านกาแฟ มาดูกันว่าการทำ QSC ร้านกาแฟ จะกำหนดให้ควบคุมในเรื่องใดบ้าง ยกตัวอย่างเช็กลิสต์ […]

เทคโนโลยีดิจิตอล ตัวช่วยร้านอาหารยุคใหม่

  ระบบจัดการร้าน POS ระบบบริหารจัดการร้าน  POS ที่เจ้าของร้านอาหารหลายร้านนำมาใช้เพื่อบันทึกยอดขายหน้าร้าน   ซึ่งในปัจจุบันได้พัฒนาให้รองรับการบริหารจัดการร้าน และสนับสนุนในด้านการตลาดด้วยฟังค์ชั่นที่ทำได้มากกว่าการแค่บันทึกยอดขาย หรือการจัดการที่นั่ง นั่นก็คือ การมีระบบหลังบ้านที่ช่วยบันทึกและประมวลผล ซึ่งสามารถดูได้แบบเรียลไทม์ ยกตัวอย่าง เช่น เมนูขายดี ช่วงเวลาขายดี จำนวนการซื้อต่อหัว จำนวนบิล การจัดการโปรโมชั่น และการเชื่อมต่อเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าที่มากขึ้นได้ เช่น เดลิเวอร์รี่ การสั่งเมนูล่วงหน้า ที่เป็นประโยชน์ต่อร้านในการบริหารจัดการเมนู และการตลาด แต่ทราบไหมว่าการใช้ POS ปัจจุบันร้านอาหารหลายร้านยังใช้คุณสมบัติพิเศษของ POS ได้ไม่เต็มที่ เช่น  ความสามารถในด้านการประมวล ข้อมูลด้านต้นทุนต่อเมนู  ที่ POS สามารถบันทึก คำนวณผลกำไร การสูญเสีย รวมถึงสามารถใช้การบริหารวัตถุดิบ เพื่อจัดการสั่งซื้อได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาวัตถุดิบขาด ต้องเสียต้นทุนแฝงในการไปซื้อในกรณีเร่งด่วนได้ ซึ่งหากร้านของคุณมีการจัดทำข้อมูลด้านต้นทุน หรือการทำ Recipe ที่ดีอยู่แล้ว ก็ไม่ควรพลาดโอกาสที่จะใช้คุณสมบัติสำคัญนี้ด้วย ระบบ  POS นับว่าเป็นระบบที่สามารถรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นพื้นฐานต่อการบริหารให้ได้กำไรสูงสุดต่อร้านอาหารในปัจจุบัน เพราะฉะนั้นถ้าคุณเป็นร้านที่ใช้ระบบ POS อยู่แล้วควรให้ความสำคัญกับการใช้ฟีเจอร์ต่าง ๆ ให้เป็นประโยชน์สูงสุด […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.