6 เหตุผล ทำไมร้าน Potato Corner ถึงดังติดตลาด - Amarin Academy

6 เหตุผล ทำไมร้าน Potato Corner ถึงดังติดตลาด

6 เหตุผล ทำไมร้าน Potato Corner ถึงดังติดตลาด

Potato Corner ร้านเฟรนฟรายส์เจ้าดังที่เข้ามาตีตลาดในประเทศไทยได้ไม่นาน แต่กลับสามารถขนาดได้ถึง 20 สาขา ภายใน 2 ปี แถมยังมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ รู้ไหมว่าเคล็ดลับความสำเร็จของธุรกิจนี้ มีจุดร่วมไม่ต่างจากบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกอย่าง Apple

“คุณพ่อของผมเป็นคนที่ใสใจทุกรายละเอียดครับ” สตีฟ จ๊อบส์ ศาสดาผู้เปลี่ยนโลกเคยเล่าให้สื่อสหรัฐฟังเมื่อถูกถามว่า ใครที่มีอิทธิพลต่อชีวิตของคุณบ้าง

“คุณพ่อเป็นคนที่ชอบสร้างอะไรขึ้นมาด้วยตัวของเขาเอง” “ถ้าอยากได้ตู้ ก็จะสร้างตู้ขึ้นมาเอง ถ้าอยากได้รั้วบ้าน เขาก็จะสร้างขึ้นเองเช่นกัน” สตีฟ จ๊อบส์ กล่าวอย่างชื่นชมครับ

เขาเล่าต่อว่า โดยทั่วไปแล้วช่างไม้ส่วนใหญ่ชอบใช้แผ่นไม้ข้างหลังตู้ เป็นไม้ราคาถูกเพื่อลดต้นทุน แต่คุณพ่อของเขาเลือกที่จะไม่ทำอย่างนั้น

คุณพ่อจะใช้วัสดุที่ดีทุกอย่าง เขาใส่ใจทุกรายละเอียด แม้ว่าจะเป็นส่วนที่คนอื่นมองไม่เห็นก็ตาม

ใครจะไปคิดล่ะครับว่า ประโยคนี้ประโยคเดียวจะกลายเป็นปรัชญาที่สตีฟ จ๊อบส์ ยึดถือมาโดยตลอด และสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ดีไซน์สวยงาม โดนใจสาวกอย่างมาก จนสร้างอาณาจักรธุรกิจที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลกในยุคนี้

วันก่อนผมมีนัดกับ คุณป๋อง-ชยภัทร ทองเจริญ นักธุรกิจหนุ่ม เจ้าของธุรกิจนำเข้าเฟรนช์ฟรายส์ ปรุงรส ชื่อดังระดับโลกจากประเทศฟิลิปปินส์ “โปเตโต้ คอร์เนอร์ (Potato Corner)”

เรานั่งคุยกันประมาณเกือบชั่วโมง แต่ผมว่าเฟรนช์ฟรายส์น่าจะหมดไปประมาณ 3 ถังละครับ คือต้องบอกว่า หยุดไม่ได้จริงๆ เคี้ยวเพลินสุดๆ

อร่อยขนาดนี้ไม่แปลกใจเลยครับว่า ทำไมโปเตโต้ คอร์เนอร์ใช้เวลาเพียงแค่ 2 ปีเท่านั้น ตอนนี้มีแล้วกว่า 20 สาขาทั่วประเทศ (เป็นแบรนด์น้องใหม่ที่มาแรงแซงทางโค้งรุ่นพี่ไปหลายแบรนด์)

“ผมยืนยันว่า ความสำเร็จของแบรนด์เราไม่ใช่เพราะ พีช พชร อย่างเดียว แต่เป็นเพราะทีมงานทุกคนทำงานหนักใส่ใจทุกรายละเอียด ตามหน้าที่ของตัวเองครับ” คุณป๋องเกริ่น เพราะหลายคนน่าจะทราบแล้วว่า คุณพีช พชร นักแสดงชื่อดังเองก็เป็นหุ้นส่วนในธุรกิจนี้เช่นกันครับ

“หลายคนเห็นโอกาสในตลาด มองออกว่าอะไรที่น่าจะขายได้ แต่พอเปิดมากลับไม่ปังอย่างที่คิด ทำให้ต้องปิดกิจการไปหลายแห่ง อะไรที่ทำให้ธุรกิจคุณจะไม่เป็นอย่างนั้น” ผมยิงคำถามที่คาใจมานาน

  1. รู้จักผู้บริโภคให้ดี เหมือนรู้จักตัวเอง

คุณป๋อง เล่าให้ฟังอย่างมั่นใจว่า อย่างแรกเลย คุณต้องเข้าใจตลาดก่อนครับ “คนไทยจริงๆแล้วชอบทานเฟรนช์ฟรายส์นะ เป็นสินค้าที่ขายดีที่สุดในร้านฟาสต์ฟู้ด แต่ไม่มีรสชาติอะไรแปลกใหม่ เคยทานยอย่างไรในอดีต ตอนนี้ก็ทานแบบเดิมๆ”

เหมือนโชคชะตาฟ้าลิขิตครับ ที่เพื่อนของคุณป๋องที่เป็นชาว ฟิลิปปินส์ แนะนำให้รู้จัก โปเตโต้ คอร์เนอร์ (ปัจจุบันมีสาขาอยู่ทั่วโลก ทั้งในสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ปานามา อินโดนีเซีย รวม 900 สาขา)

ทันทีที่ลองทานเท่านั้นแหละครับ คุณป๋องฟันธงเลยว่า นี่แหละคือสินค้าที่น่าจะเหมาะกับคนไทยก็เลยติดต่อเพื่อนำเข้ามาขายในเมืองไทย

  1. เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม

คุณป๋องเล่าให้ฟังว่า โปเตโต้ คอร์เนอร์ ในฟิลิปปินส์ ขายในห้างแม้จะเป็นบูธเล็กๆ แต่ก็ขายดีมาก แต่ในเมืองไทยจะทำอย่างนั้นไม่ได้

“เราต้องการให้โปเตโต้ คอร์เนอร์ เป็นเฟรช์ฟรายส์ พรีเมียม” “ลูกค้าถึงจะกล้าซื้อในราคา 79 บาท เราก็ต้องให้ประสบการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้า”

ถ้าไปตามสาขาต่างๆ จะเห็นเลยว่า เขาตกแต่งแบบจัดหนักจัดเต็ม ดูดี สีสันเขียว-เหลือง สดใส เตะตาอย่างมากครับ

นอกจากนี้ยังปรับรสชาติให้ถูกปากคนไทยอีกด้วย “โปเตโต้ คอร์เนอร์ในไทย เป็นประเทศแรก และประเทศเดียวที่ีมีรสลาบ”

คุณป๋องเห็นโอกาสจากการที่สังเกตว่าคนไทยชอบทานลาบ เลยลองทำวิจัย ทดลองขาย และพอเห็นรอยยิ้มของลูกค้าก็เลยมั่นใจว่าขายได้แน่ๆ ก็เลยเริ่มขายเลย

3.การตั้งราคา ไม่ใช่แค่กำหนดตัวเลข

“ที่นี่ขาย ราคา 39, 59, 79, 129 บาท ขึ้นอยู่กับขนาด” คุณป๋องเล่าให้ฟังต่อ

แน่นอนครับ เลข “9” เตะตาผมอย่างมากเลยถามว่ามีสูตรในการตั้งราคาอย่างไร

“ความรู้สึกมันต่างนะ เช่น เราเริ่มต้นราคา 39 บาท มันให้ความรู้สึกดีมากเวลาที่เราจ่ายแบงค์ 20 จำนวน 2 ใบแล้วได้เงินทอน”

อีกหนึ่งเหตุผลที่ไม่ได้ตั้งราคาแพงเกินไป คือ อยากให้เป็นเฟรนช์ฟรายส์ ที่ทุกคนเข้าถึงได้ เป็นเฟรนช์ฟรายส์ ที่ทานแล้วสนุก กินกันทั้งครอบครัว เป็นความสุขของการทำธุรกิจครับ

4.ใช้เงินการตลาดให้คุ้มค่า

กลุ่มลูกค้าที่ โปเตโต้ คอร์เนอร์ เลือกทำตลาดก่อนคือ กลุ่มวัยรุ่น เพราะเป็นกลุ่มที่ชอบแชร์ ชอบบอกต่อๆ กันไป โดยเน้นทำการตลาดออนไลน์ ถ้าได้ใจกลุ่มนี้ก็จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายการตลาดได้มาก เพราะเขาจะโพสต์ Like comment share ทำให้แบรนด์ติดตลาดได้เร็วขึ้น

  1. ซื้อบ้านยังต้องดูหวงจุ้ย เลือกร้านต้องเลือกทำเลให้ดี

โปเตโต้ คอร์เนอร์ พิถีพิถันในการเลือกทำเลอย่างมาก “ถ้าจำเป็นต้องรอ 3 เดือน เพื่อให้ได้พื้นที่ที่ดี ผมก็จะรอครับ” (เพราะถ้าเลือกทำเลผิด ชีวิตเปลี่ยนเลยนะครับ)

ในมุมมองของคุณป๋อง ทำเลที่เหมาะสำหรับโปเตโต้ คอร์เนอร์ คือ พื้นที่เกาะกลางของห้างครับ เพราะเฟรนช์ฟรายส์ เป็นสินค้าที่ “impulse buying” เห็นแล้วต้องอยากทานทันที

เป็นทำเลที่ใครผ่านไป ผ่านมา ก็เห็นได้จากทุกทิศทุกทาง เห็นโลโก้รอบร้านมากที่สุด มองว่าวิธีนี้ทรงพลังมากกว่าโฆษณาช่องทางอื่นเสียอีกครับ

6.ชมตัวเอง ไม่เท่ากับคนอื่นชม

แบรนด์ส่วนใหญ่จะบอกว่า สินค้าของตัวเองดีที่สุดในโลก แต่เราไม่อยากพูดตั้งแต่แรก แต่เราอยากให้สินค้า พูดด้วยตัวของมันเอง ลูกค้าจะเชื่อมากกว่า

คุณป๋อง เล่าให้ผมฟังต่อว่า วัตถุดิบเป็นเกรดพรีเมียม ส่งตรงนำเข้าจากประเทศเบลเยียม ภายใต้การควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสม ถ้าลูกค้ามองว่า เฟรนช์ฟรายส์ไม่สด ไม่กรอบ ลูกค้าก็สามารถขอเปลี่ยนใหม่ได้ทันที เพื่อการันตีคุณภาพ

“ในเมื่อลูกค้ายอมจ่ายราคาสูง เราก็ต้องให้สิ่งที่สมบูรณ์แบบที่สุด” นี่คือคำยืนยันของนักธุรกิจหนุ่มไฟแรงคนนี้

เรื่องคุณภาพของสินค้า สำคัญมากและมีผลต่อการขยายกิจการด้วย สังเกตไหมครับว่า หลายแบรนด์พอเริ่มโด่งดัง ก็จะเร่งขยายสาขาจนทำให้คุณภาพลดลง ทำให้ในท้ายที่สุดก็ไปไม่รอด

“ถ้าคุณภาพไม่ 100% เราจะไม่ขยายสาขา ต่อให้กระแสมาแรง เราก็จะยังไม่ขยาย” คุณป๋องบอกทิ้งท้ายที่ฟังดูแล้ว ต้องบอกเลยครับว่า ผู้บริหารทีมนี้ไม่ธรรมดาครับ

ความเห็นของ ถามอีกกับอิก เรื่องลงทุน

ผมมองว่า โปเตโต้ คอร์เนอร์ ไม่เพียงแต่สามารถทำให้สินค้าติดตลาดได้อย่างรวดเร็วเท่านั้น แต่มุมมองการทำธุรกิจของคุณป๋องและทีมงาน เป็นแนวคิดที่ไม่ได้ทำธุรกิจแบบฉาบฉวย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จระยะยาว

สังเกตไหมครับ ว่าทีมนี้เขา “ใส่ใจทุกรายละเอียด” เก็บทุกเม็ด ตั้งแต่คุณภาพสินค้า หรือหลักการทำการตลาดเจาะกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

ผมเชื่อว่า การที่เราใส่ใจรายละเอียดเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้ามากขึ้นเรื่อยๆ วันละเล็กวันละน้อย ถึงจุดหนึ่งเราก็จะสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งและได้ใจลูกค้าไปตลอดกาล

ขอบคุณภาพจาก Potato Corner

เรื่องแนะนำ

จริงหรือไม่!? ร้านสวยแม้กาแฟแย่คนก็ซื้อ? ผู้ใช้ทวิตเตอร์แชร์มุมมอง กาแฟแย่และแพง แต่คนเยอะมากเพราะถ่ายรูปสวย หรือคาเฟ่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราไปแล้ว?

จริงหรือไม่!? ร้านสวยแม้กาแฟแย่คนก็ซื้อ? ผู้ใช้ทวิตเตอร์แชร์มุมมอง กาแฟแย่และแพง แต่คนเยอะมากเพราะถ่ายรูปสวย หรือ “คาเฟ่” เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราไปแล้ว? เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในทวิตเตอร์ เมื่อผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่ง ได้มีการแชร์มุมมองเกี่ยวกับรสชาติของเครื่องดื่มและอาหารของร้าน คาเฟ่ ว่ามักจะมีรสชาติแย่ ในขณะที่ราคาแพงมาก แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีผู้ไปใช้บริการเยอะมาก ด้วยเหตุผลว่าเพราะร้านนั้นถ่ายรูปสวย และเธอยังได้ตั้งคำถามต่ออีกว่า ทำไมคาเฟ่ที่มีมุมถ่ายรูปถึงได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญของวิถีชีวิตคนกรุงเทพฯ ได้ขนาดนี้ จนบางทีเธอก็คิดว่าทำไมให้ทำคาเฟ่ให้เป็นสตูดิโอถ่ายรูปไปเลย… โดยผู้ใช้ทวิตเตอร์รายนี้ยังได้เสริมถึงเรื่องนี้อีกว่า ที่เธอได้พูดถึงประเด็นนี้ขึ้นมา เพราะรู้สึกว่าการที่คนซื้อเครื่องดื่มหรืออาหารมาแล้วกินไม่หมด เพราะว่าไม่อร่อย ทำให้เกิด waste จากการบริโภคได้ ความเห็นจากชาวเน็ต ซึ่งหลังจากเรื่องนี้ออกไปก็ได้มีผู้ใช้ทวิตเตอร์ให้ความสนใจเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างล้นหลาม บ้างก็บอกว่า “ไปคาเฟ่ไหนๆ ก็ไม่เจอที่เครื่องดื่มถูกปากเลยค่ะ ราคาก็แรงมากส่วนใหญ่แก้วละ 60-150 เลยนะที่เจอมา” “คาเฟ่แบบนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ได้ไม่นานหรอก ต่อให้ร้านสวยถ้าของกินแพงแต่คุณภาพห่วย คงไม่มีใครไปซ้ำเกิน 2 ครั้งหรอกค่ะ มุมก็มุมเดิม เข้าใจแหละว่าช่วงนี้คนไม่ค่อยได้เที่ยวไหน ร้านกาแฟสวยๆ สักร้านก็ทำให้ผ่อนคลายเหมือนไปเที่ยวพักผ่อนได้ แต่สิ่งที่น่าจะดึงดูดได้จริงคือคุณภาพสินค้า” บ้างก็บอกว่า “บางร้านก็อร่อยนะคะ แต่ชาวเซลฟี่เยอะไปหน่อย เดินวนถ่ายทั่วร้านจนทำให้คนที่อยากไปนั่งกินเฉย ๆ รู้สึกไม่เป็นส่วนตัวเหมือนโดนคุกคามก็มี นั่งกินอยู่ดี ๆ มายืนจ้องแบบฉันจะถ่ายตรงนี้แกลุกไปสิ”  คาเฟ่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต? […]

โอยั๊วะ

โอยั๊วะ การเดินทางกว่า 20 ปี กับ บทเรียนที่หาซื้อไม่ได้

ถ้าใครเคยผ่านไปย่านมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน ถนนเกษตร-งามวงศ์วาน อาจจะเคยมีโอกาสได้เห็น หรือเคยไปทานร้านอาหารร้านหนึ่งที่ชื่อว่า โอยั๊วะ ร้านอาหารชื่อดังที่มีมานานกว่า 20 ปี แต่การเดินทางของโอยั๊วะ กว่าจะมาถึงวันนี้นั้น ผ่านเรื่องราวมามากมาย กว่าที่จะหาความเป็นตัวตนได้ และต้องเจอกับบทเรียนอะไรบ้าง เรามาฟังจากคุณกุ้ง ทสานุช ไทกุล เจ้าของร้านโอยั๊วะ กันครับ   การเดินทางกว่า 20 ปี ของธุรกิจร้านอาหาร โอยั๊วะ จุดเริ่มต้นของร้าน โอยั๊วะ ชื่อโอยั๊วะ จริงๆแล้วมีมานาน 20 กว่าปีแล้วค่ะ เริ่มจากร้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์เล็กๆ ที่ อตก. เป็นแค่ห้องแถวห้องเดียว ทำมาได้ระยะหนึ่ง พอร้านเริ่มไม่เป็นที่นิยมแล้ว ร้านก็ปิดตัวลง แต่แฟนของพี่เป็นคนรักการทำร้านอาหาร ก็เลยคิดว่าเรามาลองเปิดร้านอาหารกันไหม ก็เลยยังเอาชื่อโอยั๊วะคงไว้เหมือนเดิม แต่มาเปิดเป็นร้านอาหารแถวเมเจอร์รัชโยธิน เรียกว่าเป็นร้านอาหารรุ่นแรกๆที่มีความเป็นสวนด้วย ก็จะแปลกจากที่อื่นทำให้ลูกค้าชอบ   ทำไมต้องชื่อโอยั๊วะ จริงๆ ไม่มีเหตุผลอะไรเป็นพิเศษเลย แค่ช่วงวัยรุ่นยุคพี่ ก็จะคุ้นกับคำว่า โอยั๊วะ คือ กาแฟดำ คิดว่ามันเป็นชื่อติดหู ชื่อมันก็ทำให้ร้านเราดูกันเอง เข้าถึงง่าย […]

Food safety culture

Food safety culture มาตรฐานใหม่ของธุรกิจอาหาร by สวนดุสิตโฮมเบเกอรี่

        ความสะอาดของอาหาร เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการร้านอาหารทุกคนต้องใส่ใจ แต่ Food safety culture หรือวัฒนธรรมความปลอดภัยของธุรกิจอาหารนี้ จะมีวิธีสร้างขึ้นได้อย่างไร และจะมีประโยชน์แค่ไหน คุณจันทร์จนา ศิริพันธ์วัฒนา ประธานคณะกรรมการดำเนินงานสวนดุสิตโฮมเบเกอรี่ จากมหาวิทยาลัยสวนดุสิต จะมาแชร์ให้ฟังกันค่ะ Food safety culture ทางสู่ความยั่งยืนของธุรกิจอาหาร         Foodssafety culture: ก่อนและหลังวิกฤตไวรัส         Foodssafety culture เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก ก่อนที่จะมีวิกฤต COVID-19 อาจารย์มองว่าเรื่องวัฒนธรรมความปลอดภัยอาหารยังเป็นอะไรที่ไม่ชัดเจน ในภาคฝั่งรัฐบาลเริ่มมีการพัฒนากฎหมายรองรับ ออกเป็นกฎกระทรวงในปี 2561 เกี่ยวกับเรื่องของสุขลักษณะในการให้บริการอาหารออกมา แต่ในด้านของผู้ประกอบการอย่างแท้จริงแล้ว พฤติกรรมของคนทั่วไปค่อนข้างจะยังละเลย ยังไม่ให้ความสำคัญมากนัก          แต่ธุรกิจที่ให้ความสำคัญมากๆ น่าจะเป็นกลุ่มของธุรกิจร้านอาหารเครือข่าย (Food chain) ซึ่งมีบริษัทแม่ที่มีนโยบายชัดเจน หรือว่ากลุ่มของโรงแรมห้าดาว […]

House of Crepe

House of Crepe ผู้นำ Street food สู่ห้างระดับไฮเอนด์

ใครจะคิดว่าเครปที่เราเคยซื้อชิ้นละ 20-30 บาท จะนำมาขึ้นห้างสุดหรูได้ แถมมีคนต่อแถวรอซื้อตั้งแต่ห้างเปิดยันห้างปิด และนี่คือความสำเร็จของ House of Crepe

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.