แนวคิดสำคัญช่วยให้ ธุรกิจร้านอาหารขนาดเล็ก เติบโต - Amarin Academy

แนวคิดสำคัญช่วยให้ ธุรกิจร้านอาหารขนาดเล็ก เติบโต

แนวคิดสำคัญช่วยให้ ธุรกิจร้านอาหารขนาดเล็ก เติบโต

บางคนใฝ่ฝันอยากมีร้านอาหารเป็นของตัวเอง มองเห็นภาพหน้าร้านสวยๆ ที่มีลูกค้านั่งอยู่เนืองแน่น แต่ความเป็นจริงแล้วภาพความสำเร็จที่เห็นอาจต้องแลกมากับชั่วโมงการทำงานอย่างหนัก ความมีระเบียบวินัย การให้ความใส่ใจอย่างเต็มที่ ฯลฯ ทำให้ความมีใจรักหรือมี Passion อย่างเดียวคงไม่เพียงพอในการดำเนินธุรกิจร้านอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งร้านอาหารขนาดเล็ก จะสามารถเติบโตได้อย่างไรในอุตสาหกรรมอาหารที่มีการแข่งขันสูง ลองมาดูแนวคิดสำคัญ 5 ข้อนี้ ที่จะช่วยในการดำเนิน ธุรกิจร้านอาหารขนาดเล็ก ให้มีโอกาสเติบโตและยืนได้ในระยะยาว

1.ให้ความสำคัญกับทีมงาน

เราเข้าใจว่าเจ้าของร้านอาหารมีงานหลายอย่างที่ต้องทำ เพื่อสร้างความประทับใจให้เกิดขึ้นกับลูกค้าคนสำคัญ แต่สำหรับพนักงานที่เหมือนกับฟันเฟืองของธุรกิจ คุณต้องให้ความสำคัญกับพวกเขาเช่นกัน หากไม่มีทีมงานที่ดีแล้วร้านของคุณอาจอยู่ห่างไกลจากคำว่าร้านอาหารที่มีอาหารและบริการที่ดีได้ ดังนั้นคุณต้องให้ความต้องการพื้นฐานกับพวกเขาได้ ไม่ว่าจะเป็นรายได้ สวัสดิการ โบนัส วันหยุด ฯลฯ ไม่อย่างนั้นคุณอาจจะต้องลุยเดี่ยวและทำทุกอย่างด้วยตัวของคุณเอง

แม้ว่าการทำงานกับคนไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะไม่มีใครที่สมบูรณ์แบบพร้อมไปทุกด้าน พนักงานของคุณอาจจะไม่ได้เก่งมาตั้งแต่แรก แต่การลงทุนให้เวลากับพนักงานที่เต็มใจเรียนรู้และมีความกระตือรือร้น ย่อมคุ้มค่าและเป็นวิธีการที่ทำให้ร้านอาหารที่ดีสามารถอยู่รอดได้

2.สร้างความเฉพาะตัว

คุณไม่สามารถเป็นทุกอย่างให้กับทุกคนได้ ในธุรกิจร้านอาหารไม่ได้มีแค่ผู้ที่ประสบความสำเร็จ ยังมีคนอีกจำนวนมากที่ไปไม่ถึงความฝันที่คิดไว้ “แนวคิด” จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ร้านอาหารขนาดเล็กสามารถดำเนินต่อไปได้ การกำหนดคอนเซ็ปต์ที่ชัดเจน จะทำให้ร้านของคุณโดดเด่นและแตกต่างจากคู่แข่งอื่นๆ ในตลาด คุณไม่จำเป็นต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้กว้างเพราะอยากเรียกคนเข้าร้าน คุณอาจโปรโมทร้านของคุณไปยังกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ โดยเป็นกลุ่มลูกค้าประจำหรือกลุ่มคนที่คุณคาดว่าจะมีโอกาสเข้ามาเป็นลูกค้าของร้านในอนาคตดีกว่า

3.อย่าประหยัดจนเกินไป

ใช้เงินซื้อสิ่งที่มีคุณภาพดีที่สุดไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ เทคโนโลยี หรือแม้กระทั่งคนทำงาน เมื่อคุณใช้วัตถุดิบที่ดีมีคุณภาพในการทำอาหาร ลูกค้าจะสามารถสัมผัสได้ในทันทีที่เขาได้ลิ้มลองรสชาติอาหารจากร้านคุณ การลงทุนในด้านเทคโนโลยีก็จะช่วยให้คุณในฐานะเจ้าของร้านก็จะมีเวลาในการไปบริหารจัดการงานในด้านอื่นๆ ได้อีกเยอะ และยิ่งคุณสามารถจ้างคนที่มีความสามารถ (ด้วยการให้ผลตอบแทนที่ดีกับเขา) ไม่ว่าจะเป็นเชฟ ผู้จัดการร้าน และพนักงานภายในร้าน คุณก็จะมั่นใจได้เลยว่าลูกค้าของคุณจะได้รับอาหารและบริการที่ยอดเยี่ยม

4.จัดสรรเวลา

ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือการที่เราสวมหมวกหลายๆ ใบในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่พ่อ แม่ ลูกที่ดี ทำงานประจำ ฯลฯ ซึ่งอาจดึงเวลาของเราออกไปจากการบริหารงานร้านอาหาร ดังนั้นการแบ่งเวลาที่ดีจะช่วยให้คุณไม่สับสนในการทำงาน เพราะไม่ว่าจะมีปัญหามากมายขนาดไหน คุณต้องไม่ลืมตรวจสอบคุณภาพของอาหารและบริการให้เป็นไปตามมาตรฐาน

อย่าใช้ปัญหาส่วนตัวมาเป็นข้ออ้างว่า “ไม่มีเวลา” ไม่อย่างนั้นแล้วลูกค้าของคุณอาจได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดีกลับไป นอกจากลูกค้าจะไม่อยากกลับมาที่ร้านอีก พวกเขายังอาจบอกต่อเพื่อนๆ ของเขาถึงประสบการณ์เลวร้ายที่ได้รับเพียงครั้งเดียวก็เป็นได้

5.อย่าลืมเงินทุนสำรอง

สำหรับคนที่พยายามจะเปิดร้านอาหารขนาดเล็กในงบประมาณที่จำกัด คุณต้องแน่ใจว่าตัวเองมีเงินสดสำรองที่เอาไว้ใช้ “เผา” หรือหมุนเวียนในช่วง 2 – 3 เดือนแรก เพราะในช่วงแรกๆ ร้านของคุณอาจยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก ทำให้จำนวนลูกค้าน้อย ในขณะที่ต้นทุนค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่าที่ ค่าวัตถุดิบ ค่าจ้าง ฯลฯ ยังมีอยู่เท่าเดิม อีกทั้งคุณยังต้องใช้เงินไปกับการประชาสัมพันธ์ร้านของตัวเองให้เป็นที่รู้จักอีกด้วย ดังนั้นการมีเงินสดสำรองไว้จะทำให้ร้านของคุณมีสภาพคล่องมากพอที่จะดำเนินกิจการให้ผ่านพ้นช่วงโค้งแรกไปได้

 

บทความที่น่าสนใจ

5 ข้อพลาดของนักธุรกิจ รุ่นใหม่

7 Wastes ในร้านอาหาร ลดได้ กำไรพุ่ง!

เรื่องแนะนำ

ภูมิคุ้มกันร้านอาหาร ที่ชื่อว่า SOP

  มาทำความรู้จักกับ “ภูมิคุ้มกันร้านอาหาร ที่ชื่อว่า SOP ที่เจ้าของร้านทุกคนต้องมีกัน”   ผมเชื่อว่า ร้านอาหาร ก็เปรียบเสมือน ร่างกาย ของคนเรา ที่ประกอบไปด้วย อวัยวะ หลายส่วน ถ้าเจ้าของร้าน เปรียบเสมือน ส่วนหัว พนักงาน ก็จะเป็นแขนขา มือ และส่วน อื่นๆ ที่ทำงาน เพื่อจุดประสงค์เดียวกัน สุขภาพของร้านอาหารที่ดี ก็เหมือนร่างกายที่มีสุขภาพดี คือทำงานออกมาได้ดี มีผลงานออกมาตามแผนที่วางไว้ แต่ถ้าร่างกาย เกิดเจ็บป่วย เราก็จะเห็นว่า มีอาการแปลกประหลาด เช่น อาหารออกมารสชาติ ไม่เหมือนเดิม คุณภาพการบริการเปลี่ยนไป จนลูกค้าเริ่มต่อว่า จะดีแค่ไหนถ้าร้านของเรามีเครื่องมือบางอย่าง ที่ทำหน้าที่ เป็นเหมือนภูมิคุ้มกันร่างกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรง สามารถที่จะ ซ่อมแซมตัวเองได้ โดยที่เจ้าของร้านไม่ต้องคอยควบคุมอยู่ตลอด หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น วันนี้ผม จึงอยากเสนอ เครื่องมือชนิดหนึ่ง ที่จะช่วยให้ร้านอาหารของเรา มีสุขภาพที่แข็งแรง การทำงานราบรื่นขึ้น สิ่งนี้เรียกว่า “SOP” (เอสโอพี) […]

เปลี่ยนเรื่องยากของธุรกิจร้านอาหารให้เป็นเรื่องง่ายที่ OfficeMate

การทำธุรกิจร้านอาหารมักมีโจทย์มาให้แก้ทุกวัน หนึ่งในโจทย์ที่เจ้าของธุรกิจร้านอาหารต้องเจอก็คือเรื่องของ “เวลา” เพราะธุรกิจร้านอาหารประกอบด้วยฟังก์ชั่นงานต่างๆมากมาย เริ่มตั้งแต่ งานตกแต่งร้าน งานครัว งานทำความสะอาด งานบัญชี งานไอที รวมไปถึงงานบริหาร ยิ่งมีงานเหล่านี้มากขึ้น คำถามคือ จะจัดการงานทั้งหมดอย่างไรในเวลาที่มีอยู่เท่าเดิม? แถมยังต้องมาเสียเวลาไปกับการเดินทางไปที่ต่างๆ เพื่อเลือกซื้ออุปกรณ์และของใช้เข้าร้านอีก จะดีกว่าไหมหากเราสามารถลดต้นทุนแฝงส่วนนี้ลงได้? และมีเวลาเหลือไปทำงานอย่างอื่นให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น ใช้เวลาอย่างคุ้มค่า เลือกซื้อสินค้าสำหรับร้านอาหารที่ OfficeMate OfficeMate เป็นผู้ช่วยชั้นเยี่ยมสำหรับเจ้าของธุรกิจร้านอาหารที่มีสินค้าที่ตอบโจทย์ธุรกิจอย่างครบครัน เรียกได้ว่าครอบคลุมแทบทุกส่วนงาน ตั้งแต่อุปกรณ์สำหรับขั้นตอนการตกแต่งร้าน และอุปกรณ์ที่ใช้ระหว่างดำเนินกิจการ รวมถึงของใช้เบ็ดเตล็ดอื่นๆ ทำให้การเลือกซื้อสินค้าที่ออฟฟิศเมท ช่วยประหยัดเวลาของเหล่าผู้ประกอบการร้านอาหาร และเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จในธุรกิจในเวลาเดียวกัน ลดต้นทุนเวลา มาที่เดียวจบ เพราะทุกสิ่งมีครบที่ OfficeMate             อย่างที่บอกไปว่าการเลือกซื้ออุปกรณ์และของใช้สำหรับธุรกิจร้านอาหารที่ OfficeMate ครอบคลุมงานแทบทุกส่วน มาดูกลุ่มสินค้าหลักๆ ที่สามารถเลือกซื้อได้ที่ OfficeMate กันค่ะ   สร้างมุมสวยด้วยเฟอร์นิเจอร์หลากหลายสไตล์ มุมสวยๆ เฟอร์นิเจอร์เก๋ๆ คือ องค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ของร้านอาหารยุค 4.0 เพราะลูกค้านิยมถ่ายรูปลง Social Media ดังนั้นร้านอาหารที่เลือกเฟอร์นิเจอร์ในการตกแต่งร้านได้สวยและมีเอกลักษณ์ ย่อมสามารถเข้าไปอยู่ในใจลูกค้าทั้งขาประจำและขาจรได้ง่ายขึ้น แถมเป็นการโฆษณาร้านอาหารของเราทางอ้อมอีกด้วย แต่การเดินหาเฟอร์นิเจอร์มาตกแต่งร้านก็ใช้เวลาไม่ใช่น้อยเลย […]

Operation Setup วางระบบร้านอาหารไม่ยากอย่างที่คิด

รู้ว่ากำลังทำร้านอาหารประเภทไหน             ร้านอาหารแต่ละประเภท มีลักษณะที่ต่างกัน การวางระบบก็มีความแตกต่างกันด้วย ก่อนที่จะเริ่มต้นวางระบบร้านอาหารจึงต้องรู้ว่าร้านอาหารของเรามีรูปแบบการบริการแบบไหน ยกตัวอย่าง ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดไม่เน้นการบริการ แต่เน้นที่ความรวดเร็ว ร้านอาหารภัตตาคารเน้นการบริการที่มีมาตรฐานแบบ Table Service ประเภทของร้านอาหารจะสัมพันธ์กับการวางโครงสร้างต้นทุน โครงสร้างทีมงานร้านอาหาร และระบบงานครัว อย่างไรก็ดี ร้านอาหารลักษณะเดียวกันก็ไม่จำเป็นต้องมีระบบร้านที่เหมือนกันเสมอไป ขึ้นอยู่กับว่า เป้าหมายและจุดขายที่แตกต่างกันของแต่ละร้านด้วย คลิกอ่าน เทคนิควางระบบร้านอาหาร 5 ประเภท Click link การวางโครงสร้างงาน             ลำดับต่อมา คือการวางโครงสร้างงานร้านอาหาร ซึ่งจะเป็นการวางรูปแบบการทำงานของทีมงานร้านอาหาร ที่สามารถแบ่งง่าย ๆ เป็น 3 ส่วน คือทีมงานบริหาร มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายทิศทาง ซึ่งประกอบไปด้วย เป็นเจ้าของ หุ้นส่วน ลูกจ้างบริหารระดับสูง  ทีมงานเบื้องหน้า ได้แก่ทีมที่ให้บริการหน้าร้าน ตั้งแต่ ฝ่ายต้อนรับ ผู้จัดการร้าน พนักงานเสิร์ฟ ทีมงานเบื้องหลัง ได้แก่ ทีมงานการผลิต ทีมครัว และทีมสนับสนุนดูแลระบบ เป็นต้น การวางโครงสร้างงานเป็นการกำหนดกำลังคน ขอบเขตในการทำงาน […]

จุดคุ้มทุนร้านอาหาร

วิเคราะห์ จุดคุ้มทุนร้านอาหาร ขายเท่าไหร่ถึงได้กำไร!

        ผู้ที่สนใจจะเปิดร้านอาหารมักจะมีคำถามว่า ต้องขายจนถึงเมื่อไหร่ถึงจะคืนทุน? การลงทุนเปิดร้านอาหารจะคุ้มค่าไหม? แล้วต้องขายเยอะแค่ไหนถึงจะได้กำไร? ร้านอาหารจึงต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เช่น การพยากรณ์ยอดขายของร้าน และขั้นตอนต่อไปคือ การวิเคราะห์ จุดคุ้มทุนร้านอาหาร ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำก่อนเปิดร้านอาหารใหม่ เพื่อวางแผนในการบริหารจัดการร้านให้ได้กำไร วิเคราะห์ จุดคุ้มทุนร้านอาหาร ขายเท่าไหร่ถึงได้กำไร! จุดคุ้มทุนร้านอาหาร คืออะไร ?         จุดคุ้มทุน (Break-Even Point) คือ จุดที่รายได้เท่ากับต้นทุนพอดี หรือมีรายรับ = รายจ่ายนั่นเอง เป็นจุดที่ร้านอาหารขายแล้วไม่ขาดทุนแต่ก็ไม่มีกำไร ซึ่งการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน จะทำให้ทราบว่าร้านอาหารจะต้องมียอดขายเท่าไหร่ถึงจะทำกำไรได้ ควรลดต้นทุนลงหรือไม่อย่างไร นอกจากนี้ ยังใช้เป็นแนวทางการวางแผนธุรกิจให้มีกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย         การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน (Break-even point) ต้องเริ่มจากพิจารณาค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นของร้าน โดยแบ่งค่าใช้จ่ายออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ต้นทุนคงที่ (Fixed cost) […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.