4 เหตุผลสำคัญที่ทำให้ “ พนักงานดีๆ ลาออก ” - Amarin Academy

4 เหตุผลสำคัญที่ทำให้ “ พนักงานดีๆ ลาออก ”

4 เหตุผลสำคัญที่ทำให้ “ พนักงานดีๆ ลาออก ”

เชื่อว่าปัญหาน่าปวดหัวอันดับหนึ่งของร้านอาหาร คือเรื่อง “คน” ใช่ไหมครับ ทั้งเรื่องขาด ลา มาสาย บริการไม่ดี ไม่พัฒนาตัวเอง และที่สำคัญ พนักงานลาออกกันเป็นว่าเล่น แต่สิ่งที่ทำให้เจ้าของร้านอาจต้องนั่งกุมขมับคือ การที่พนักงานดีๆ ที่ตั้งใจจะปั้นให้เป็นมือขวาหรือมือซ้าย ดันมาลาออกซะนี่! จะหาคนมาแทนก็ยากลำบาก ฉะนั้นถ้าไม่อยากให้ปัญหานี้เกิดขึ้น มาลองดู 4 เหตุผล ที่อาจส่งผลให้ พนักงานดีๆ ลาออก กันดีกว่า เผื่อจะช่วยป้องกันปัญหานี้ได้บ้าง

1.เพราะตัวคุณเอง

หากพนักงานดีๆ ของคุณตัดสินใจลาออก ก่อนที่จะโทษว่าพนักงานไม่อดทน หรือมองว่ามาจากสาเหตุอื่นๆ ลองย้อนกลับมามองที่ตัวคุณเองก่อนว่า เป็นเพราะว่าคุณเป็นเจ้านายที่ไม่ดีหรือเปล่า
ส่วนใหญ่แล้วพฤติกรรมที่ลูกน้องมักไม่ชอบสุดๆ คือ การที่เจ้าของร้านด่าทอ ต่อว่าลูกน้องตลอดเวลา โดยไม่สมเหตุสมผล แถมยังไม่ช่วยหาทางออกหรือวิธีแก้ไขปัญหาให้ด้วย (ลองคิดดูว่า ถ้าคุณเป็นลูกน้อง คงไม่อยากได้หัวหน้าที่มีนิสัยเหมือนเชฟกอร์ดอน แรมซีย์ ที่เอาแต่ตะโกนด่าลูกทีมตลอดเวลา แบบไม่ไว้หน้าหรอก จริงไหม?)
หรืออีกพฤติกรรมหนึ่งที่พนักงานส่วนใหญ่รับไม่ได้คือ ความไม่ยุติธรรมของเจ้าของร้าน เช่น หากพนักงานบางคนขาด ลา มาสาย หรือทำงานผิดพลาดบ่อยๆ แต่เจ้าของร้านกลับไม่ลงโทษ หรือไม่มีกฎเกณฑ์ในการตัดสินความผิดตายตัว วันนี้อารมณ์ดี ก็แค่ตักเตือน อีกวันหนึ่งอารมณ์ไม่ดี ก็เปลี่ยนจากการตักเตือนเป็นตัดเงินเดือนหรือสั่งพักงาน การไม่มีระบบที่ชัดเจน จะทำให้ลูกน้องบางคนรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้รับความยุติธรรม
หากพนักงานดีๆ ของคุณรับไม่ได้กับพฤติกรรมหรือวัฒนธรรมดังกล่าว ย่อมตัดสินใจลาออก เพื่อสิ่งที่ดีกว่าก็ได้

2.เพราะไม่โตสักที

เคยไหม ทำงานเป็นปีๆ แต่ตำแหน่งงานก็ยังอยู่เท่าเดิม ไม่ได้ขยับขยาย เงินเดือนก็ขึ้นทีละเล็ก ทีละน้อย เป็นใครก็ไม่อยากอยู่ต่อจริงไหมครับ ฉะนั้นเจ้าของร้านอาหารต้องวางแผนการเติบโตให้ทีมงานด้วย เช่น อาจลองประเมินผลงานของลูกน้องทุกครึ่งปี บอกให้เขารับรู้ว่าการทำงานของเขาเป็นอย่างไร สมควรปรับปรุงหรือพัฒนาในส่วนไหนบ้าง หากเขาปรับปรุงหรือพัฒนาได้ตามเป้า จะได้รับผลอะไรตอบแทน วิธีนี้จะทำให้เขารู้สึกว่าการทำงานมีเป้าหมาย และได้รับผลตอบแทนที่วัดผลได้อย่างชัดเจน
นอกจากจะช่วยให้เขาอยากทำงานกับเราต่อแล้ว ยังทำให้เขาได้พัฒนาตัวเองตลอดเวลา ส่งผลดีต่อธุรกิจของเราอีกด้วย

3.เพราะเพื่อนร่วมงานแย่

ปัญหาเรื่องเพื่อนร่วมงานเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดการลาออก เช่น หากพนักงานคนอื่นเฉื่อยชา ไม่กระตือรือร้น พนักงานดีๆ ย่อมรู้สึกว่าตัวเองขยันไป หรือทำดีไปก็ไม่เกิดประโยชน์ ทางเลือกของพวกเขามักมี 2 ทาง คือ ไหลไปตามน้ำ “ในเมื่อไม่มีใครขยัน แล้วฉันจะทำไปเพื่ออะไร อย่างนั้นก็ทำงานตามหน้าที่ก็พอ” หรืออีกทางหนึ่งคือ ลาออก เพื่อไปหาสังคมใหม่ๆ ที่ดีกว่า
แน่นอนว่าทั้งสองทางเลือกย่อมส่งผลเสียต่อร้านอาหารทั้งคู่ ฉะนั้นจึงเป็นหน้าที่ของเจ้าของร้านที่จะสร้างวัฒนธรรมที่ดีให้กับลูกน้อง หากพบพนักงานที่มีพฤติกรรมไม่ดีต้องรีบตักเตือนและแก้ไข ไม่อย่างนั้นอาจส่งผลกระทบในระยะยาวได้

4.เพราะไม่มีระบบ อุปกรณ์ไม่พร้อม

ระบบคือสิ่งสำคัญที่สุดในการทำร้านอาหาร ยิ่งคุณวางระบบได้ดีมากเท่าไร ปัญหาก็ยิ่งมีน้อยมากเท่านั้น แต่หากคุณไม่วางระบบการทำงานเลย นอกจากตัวคุณเองต้องปวดหัวกับสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว พนักงานก็ต้องคอยมานั่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้าตลอดเวลาเช่นกัน เช่น ปัญหาอาหารออกช้า เพราะวัตถุดิบหมด (เนื่องจากไม่เคยมีการเช็คสต็อกวัตถุดิบเลย) ต้องรีบให้พนักงานไปซื้อ นอกจากจะเสียเวลาแล้ว พนักงานรับออร์เดอร์อาจจะต้องถูกลูกค้าตำหนิจากความไม่พร้อม หากโดนบ่อยๆ เข้าก็พนักงานคงเซ็งไปตามๆ กัน

นอกจากนี้ความไม่พร้อมของเครื่องไม้ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต่อการทำงาน ก็ส่งผลให้พนักงานลาออกได้เช่นกัน เช่น เคาท์เตอร์ครัวอาจจะสูงเกินไป ทำให้ปรุงอาหารไม่สะดวก ต้องก้มๆ เงยๆ ทำให้มีปัญหาสุขภาพ แจ้งเจ้าของร้านไปก็ไม่มีแนวโน้มว่าจะช่วยแก้ปัญหา เป็นใคร ใครก็ลาออกครับ เพราะห่วงสุขภาพตัวเองมากกว่า

ปัจจัย 4 ข้อที่ว่ามานี้ เป็นปัจจัยหลักๆ ที่อาจส่งผลให้พนักงานลาออก แต่จริงๆ แล้วยังมีปัจจัยอื่นๆ มากมาย เช่น เรื่องเงินเดือน สวัสดิการต่างๆ ที่อาจไม่ตรงกับความคาดหวังของพนักงาน หรือปัญหาส่วนตัวของลูกน้อง เจ้าของร้านลองพิจารณากันดูนะครับ ว่ามาจากสาเหตุอะไร จะได้แก้ไขได้ตรงจุด

เรื่องแนะนำ

คุมต้นทุนอาหาร

คุมต้นทุนอาหาร ด้วยเทคนิค 4 ข้อ

        หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ร้านอาหารต้องปิดตัวลง คือ “การคุมต้นทุนไม่อยู่” บางร้านอาจจะขายดีมากแต่ไม่ได้กำไรเพราะมีต้นทุนสูงเกินไป โดยเฉพาะต้นทุนด้านวัตถุดิบ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายหลักของร้านอาหาร ร้านทั่วไปจะมีต้นทุนส่วนนี้ 30-40% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด หรืออาจสูงกว่านี้ในร้านอาหารประเภทบุฟเฟ่ต์ ผู้ประกอบการจึงควรให้ความสำคัญกับการบริหารต้นทุนในส่วนนี้ให้มาก ลองมาดูสิ่งที่จะช่วย คุมต้นทุนอาหาร และเพิ่มกำไรให้ร้านอาหารของเรากันครับ คุมต้นทุนอาหาร ด้วยเทคนิค 4 ข้อ 1. ใส่ใจและติดตามราคาวัตถุดิบ         วิธีที่ดีในการคุมต้นทุน คือการติดตามราคาของวัตถุดิบที่ใช้ภายในร้าน บางท่านอาจจะรู้สึกยุ่งยากเพราะที่ร้านใช้วัตถุดิบหลายชนิด แต่วิธีง่ายๆ คือเลือกแค่วัตถุดิบที่เป็นต้นทุนหลักของร้านมาบันทึกราคา ปริมาณที่ใช้ และต้นทุนทั้งหมดของวัตถุดิบแต่ละชนิด เพื่อนำมาเปรียบเทียบราคาในแต่ละเดือน          สมมติว่าราคากุ้งเดิมกิโลกรัมละ 180 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 220 บาทจากภาวะน้ำท่วมในบางพื้นที่ ส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นมา 40 บาทนี้อาจจะดูไม่มาก แต่มันคือต้นทุนที่เพิ่มขึ้น 22% จากราคาเดิม ยิ่งร้านที่ขายดีเท่าไหร่ กำไรที่หายไปก็จะเพิ่มมากขึ้น ในช่วงภาวะต้นทุนวัตถุดิบปรับขึ้นราคา […]

พีคไทม์ ออเดอร์แน่น! ร้านอาหารรับมืออย่างไร?

Host จัดคิว ให้เหมาะสมกับที่นั่ง การทำยอดขายขึ้นอยู่กับการจัดที่นั่ง การจัดการด้านที่นั่งให้เพียงพอกับลูกค้าตามจำนวนที่คาดการณ์ การจัดสรรที่นั่ง และรับออเดอร์ได้อย่างรวดเร็ว จะช่วยลดระยะเวลาในการบริการหน้าร้าน ส่งผลให้ร้านสามารถทำรอบได้สูง ในช่วงเวลาพีคไทม์ ร้านอาหารหลายแห่งจะมีการจ้าง Host ในการรับหน้าที่ต้อนรับลูกค้า พาลูกค้าไปยังที่นั่ง แต่หากร้านของคุณเป็นร้านเล็ก ๆ ก็สามารมอบหน้าที่ให้กับหัวหน้าพนักงานเสิร์ฟ หรือผู้จัดการร้านอาหารในการดูแล โดยจะต้องมีทักษะในการวางแผนจัดการที่นั่ง การสื่อสารกับลูกค้า  รวมถึงประสานกับพนักงานส่วนบริการเพื่อรับหน้าที่ต่อได้เป็นอย่างดี   อุปกรณ์ วางแผนให้เหมาะกับ Turn ถ้าหากอุปกรณ์ไม่เพียงพอต่อจำนวนลูกค้า อาจส่งผลโดยตรงกับประสบการณ์ในการรับบริการ การเตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์จึงเป็นเรื่องสำคัญ คุณอาจจะคาดการณ์ได้จากจำนวนลูกค้าที่สูงสุดที่รับในช่วงพีคไทม์ ว่าจะใช้ได้กี่รอบ ยกตัวอย่าง ร้านอาหาร 40 ที่นั่ง คาดการณ์ว่าจะรับลูกค้าได้ 2 รอบในช่วงพีคไทม์ อุปกรณ์สำหรับลูกค้าจะต้องมี 80 ชุด  และคุณอาจจะบวกจำนวนเพิ่มขึ้นมากกว่านั้นสัก 1 เปอร์เซนต์ โดยคำนวณให้เพียงพอ ไม่ควรเผื่อการนำอุปกรณ์ที่มีอยู่ไปล้างเพื่อใช้ในช่วงเวลานี้   เตรียมอาหารให้พร้อม มีคนรอซื้อแต่ไม่มีของขาย มีขายแต่ขายช้า ลูกค้าต้องรอเป็นระยะเวลานานๆ ทำให้รับลูกค้าได้น้อยรอบ  รวมถึงประสบการณ์ยอดแย่อันดับต้น ๆ ที่ลูกค้าร้านอาหารเจอและทำให้ไม่กลับไปกินร้านอาหารนั้น ๆ […]

ตั้งราคาอาหาร

ปัจจัยที่ต้องคำนึงก่อน ตั้งราคาอาหาร

ตั้งราคาอาหาร เท่าไรดี? คงเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย แต่ก่อนที่จะตัดสินใจ ตั้งราคาอาหาร อย่าลืมคำนึงถึงปัจจัยต่อไปนี้ ไม่อย่างนั้นอาจจะขาดทุนโดยไม่ทันตั้งตัว!

5 บริการสุดห่วย ที่ทำให้ลูกค้าไม่อยากมาร้านของคุณ

1.การบริการที่ทำให้รู้สึกเหมือน ‘ไม่มีตัวตน’ หนึ่งในประสบการณ์ที่ลูกค้าร้านอาหารยอมรับว่าทำให้รู้สึกแย่ ก็คือ การที่พนักงานของร้านไม่ให้ความสนใจในการบริการโดยเฉพาะอย่างยิ่งการกล่าวต้อนรับ ลองจินตนาการระหว่างร้าน A : ซึ่งมีพนักงานต้อนรับกล่าวคำทักทาย และจัดการที่นั่งอย่างรวดเร็ว กับร้าน B: ที่ปล่อยให้ลูกค้ายืนรอ ไม่กล่าวคำทักทาย จนคุณต้องเดินเข้าไปหาที่นั่งเอง ร้านไหนที่คุณอยากเดินเข้าไปกินมากกว่ากัน การทักทายนั้นมีความสำคัญมากและเป็นด่านแรกในการสร้างความประทับใจ ซึ่งถ้าหากลูกค้ารู้สึกไม่ดีตั้งแต่เริ่มต้นก็มีแนวโน้มที่จะไม่พอใจในเรื่องอื่น ๆ ด้วย   2.พนักงานดูแลเหมือนเพื่อนสนิท…… จนเกินไป           บริการดุจญาติมิตรนั้นอาจดีสำหรับธุรกิจบางประเภท แต่การบริการสำหรับธุรกิจร้านอาหารนั้นลูกค้าส่วนใหญ่มักต้องการเวลาส่วนตัว การที่พนักงานคุยเล่นกันข้ามหัวลูกค้า หรือใช้คำพูดในการบริการที่แสดงความเป็นกันเองกับลูกค้ามากจนเกินไป นอกจากจะทำให้ลูกค้ารู้สึกตะขิดตะขวงใจ ยังแสดงถึงความไม่เป็นมืออาชีพในการให้บริการอีกด้วย     3.พนักงานไม่แม่นข้อมูลอาหาร และการบริการ           ร้านอาหารอร่อยขายได้ แต่ร้านอาหารอร่อยที่ขายดีอยู่ที่พนักงานให้บริการและให้คำแนะนำเมนูต่าง ๆ ได้อย่างมืออาชีพ ลองจินตนการว่า การที่ลูกค้ามีคำถามแล้วพนักงานเสิร์ฟต้องวิ่งไปถามพ่อครัว ถามผู้จัดการ นอกจากจะทำให้การบริการสะดุดแล้ว ลูกค้าย่อมรู้สึกถึงความไม่พร้อมในการให้บริการ หากพนักงานบริการได้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน รู้จังหวะในการเข้าถึงลูกค้า การแนะนำเมนูที่เหมาะสมได้อย่างลื่นไหล สิ่งเหล่านี้จะสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้อย่างแน่นอน   4.การบริการที่สร้างความลำบากให้แก่ลูกค้า           ในยุคนี้การอำนวยความสะดวกสำคัญไม่แพ้รสชาติอาหาร เพราะเมื่อไหร่ที่ลูกค้ารู้สึกถึงความยุ่งยากในการบริการจากร้านของคุณ เขาจะตัดสินใจไปร้านอื่นทันที ยกตัวอย่างเช่น […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.