Airbnb ธุรกิจห้องพัก ที่ไม่มีห้องพักของตัวเองสักห้อง! - Amarin Academy

Airbnb ธุรกิจห้องพัก ที่ไม่มีห้องพักของตัวเองสักห้อง!

วิเคราะห์ความสำเร็จ Airbnb ธุรกิจห้องพัก ที่ไม่มีห้องของตัวเองสักห้อง!

Airbnb เริ่มต้นธุรกิจในปี พ.ศ.2551 โดยเริ่มจากอพาร์ตเมนท์เพียง 3 ห้องในสหรัฐอเมริกา และมีรายได้จากการปล่อยเช่าครั้งแรกเพียง 240 ดอลล่าร์สหรัฐ แต่ปัจจุบันAirbnbสามารถสร้างเครือข่ายห้องพักได้มากกว่า 3 ล้านแห่ง และสามารถทำรายได้ปีละ 2,800 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ! ทั้งๆ ที่ไม่ได้ลงทุนก่อสร้างห้องพักเองสักห้อง!

เพราะอะไรธุรกิจนี้จึงประสบความสำเร็จ เราจะมาถอดบทเรียนให้ฟังกัน

1.เปลี่ยนสิ่งที่ “คนอื่น” มีอยู่แล้วให้ทำเงิน

โมเดลธุรกิจของAirbnbคือวางตัวเองเป็นสื่อกลางระหว่างผู้ให้เช่า (Host) กับผู้เช่า (Guest) โดยผู้ให้เช่าเพียงแค่มีห้องพักว่างๆ ภายในบ้าน หรือมีบ้านพักตากอากาศที่นานๆ จะไปเที่ยวพักผ่อนสักครั้ง ก็สามารถทำเงินได้ง่ายๆ เพียงแค่สมัครลงทะเบีบนเป็นผู้ให้เช่า พร้อมกำหนดราคาที่ตัวเองพึงพอใจเท่านั้น โดยแทบไม่ต้องลงทุนใดๆ เพิ่มเติมเลย (อาจต้องตกแต่งเพิ่มเติมเพียงเล็กน้อย)

เมื่อลงทุนต่ำและความเสี่ยงน้อย จึงทำให้Airbnbสามารถสร้างเครือข่ายผู้ให้เช่าทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว โดยปัจจุบันกระจายไปกว่า 60,000 เมือง ใน 191 ประเทศทั่วโลกแล้ว

2.ตอบโจทย์ความต้องการนักท่องเที่ยว

ผู้เช่าส่วนใหญ่ของAirbnbมักเป็นนักท่องเที่ยว ซึ่งบางครั้งการพักในโรงแรมอาจไม่ตอบโจทย์ความต้องการ เช่น หากมาเที่ยวกับกลุ่มเพื่อน ก็ไม่สามารถพักห้องเดียวกันได้ เพราะส่วนใหญ่โรงแรมมักมีข้อจำกัดคือ เข้าพักได้ห้องละ 2-4 คน หรืออีกกรณีคือ ต้องการที่พักราคาถูก แต่ก็กังวลเรื่องความปลอดภัย เป็นต้น

ทั้งนี้Airbnbสามารถตอบโจทย์ความต้องการได้ครอบคลุม เพราะมีที่พักให้เลือกหลากหลายรูปแบบ ทั้งห้องพักภายในบ้าน (อยู่ร่วมกับผู้ให้เช่า) อพาร์ตเมนท์ที่มีความเป็นส่วนตัว หรือบ้านทั้งหลังที่สามารถเข้าพักได้นับสิบคน และมีแม้กระทั่งปราสาทและบ้านต้นไม้! ส่วนเรื่องความปลอดภัยนั้นAirbnbได้สร้างระบบรักษาความปลอดภัยไว้ค่อนข้างแข็งแกร่งคือ มี call center รับแจ้งปัญหาระหว่างการเข้าพัก มีแผนกที่ดูแลด้านความเชื่อมั่นและความปลอดภัย รวมทั้งดูแลด้านการบริการโดยเฉพาะ มีระบบตรวจสอบตัวตนของทั้งผู้ให้เช่าและผู้เช่าจากประวัติส่วนตัว เป็นต้น

นอกจากนี้ผู้ให้เช่าบางรายอาจมีการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวท้องถิ่น ที่ไม่มีใน Guide book ซึ่งถือเป็นการสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ให้กับนักท่องเที่ยว จนเกิดการบอกต่อ จึงทำให้Airbnbได้รับความนิยมในเวลาอันรวดเร็ว

3.สร้างรายได้จากการเข้าพัก

Airbnbสามารถสร้างรายได้จากการเข้าพักจากทั่วทุกมุมโลก โดยไม่ต้องลงทุนก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ใดๆ เลย แถมไม่ต้องจ้างพนักงานทำความสะอาด พนักงานต้อนรับ เชฟ หรือเด็กยกกระเป๋า ฯลฯ

ทั้งนี้รายได้ของAirbnbมาจากการคิดค่าห้องเพิ่มจากที่ผู้ให้เช่าคิดมา 6-12% รวมทั้งเก็บค่าธรรมเนียมจ่ายเงินอีกประมาณ 3% จากผู้เช่า ต่อการจอง 1 ครั้ง โดยปัจจุบันAirbnbมีจำนวนยอดผู้เข้าพักแล้วกว่า 160 ล้านคน เฉลี่ยแล้วจะมีผู้เข้าพักประมาณ 500,000 รายต่อคืน! จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมธุรกิจนี้ถึงสามารถสร้างรายได้มหาศาล

จะเห็นได้ว่าเทรนด์การทำธุรกิจยุคใหม่ ไม่ว่าจะเป็น Airbnb, Grab taxi, Uber ฯลฯ มักมีจุดเริ่มต้นจากสิ่งใกล้ตัว และใช้ความคิดสร้างสรรค์ โดยไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมหาศาล ก็สามารถต่อยอดเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนได้


บทความที่เกี่ยวข้อง

5 เคล็ดลับความสำเร็จของ ยูนิโคล่ พลิกจากความผิดพลาดสู่ความสำเร็จ

ถอดบทเรียนความสำเร็จ ทำไม Muji ถึงครองใจคนทั่วโลก

เรื่องแนะนำ

Instagram

แชร์ 10 เทคนิค ใช้ Instagram ให้ปัง เพื่อคนทำธุรกิจอาหาร

Social Media กลายเป็นเครื่องมือที่ผู้ประกอบการร้านอาหาร หรือ ผู้ที่ทำธุรกิจอาหารในปัจจุบันขาดไม่ได้เลย ซึ่ง Social Media ที่ใช้ทำการตลาดนั้นมีมากมายหลายประเภท และที่ร้านนิยมใช้มากหนึ่งในนั้นก็คือ IG หรือ Instagram นั้นเอง   10 เทคนิค ใช้ Instagram ให้ปัง เพื่อคนทำธุรกิจอาหาร Instagram หรือ IG แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่เน้นการแชร์รูปภาพและวิดีโอเป็นหลัก ร้านอาหารส่วนใหญ่จึงใช้ช่องทางนี้สำหรับประชาสัมพันธ์ร้าน ด้วยการแชร์ภาพ หรือวิดีโอ ที่เห็นบรรยากาศร้าน และเมนูเด็ดของร้านให้ดูน่ารับประทาน และน่ารีวิว แต่บางครั้งเจ้าของร้านอาจจะรู้ฟังก์ชันการใช้งานInstagram แค่บางฟังก์ชันเท่านั้น แต่ความจริงแล้วยังมีลูกเล่นที่เจ้าของร้านสามารถนำไปใช้ได้อีกมากมาย เรามาดูกันว่ามีเทคนิคอะไรกันบ้าง ที่สามารถช่วยให้ร้านของคุณโดดเด่น และดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาติดตามได้   1.ชื่อโปรไฟล์ การตั้งชื่อโปรไฟล์ เหมือนง่ายแต่การตั้งชื่อโปรไฟล์ที่ดี คือ ชื่อจะต้องสะดุดหู หรือเป็นที่จดจำได้ง่าย กระชับ และสามารถสะท้อนอัตลักษณ์ร้านของคุณได้ดีที่สุด 2. รูปโปรไฟล์ ส่วนของรูปโปรไฟล์นั้น ก็สำคัญไม่น้อยไปกว่าชื่อ เพราะเป็นสิ่งที่ผู้เข้ามาติดตามจะเห็นเป็นอันดับแรกๆ ดังนั้น รูปโปรไลฟ์แนะนำให้ใช้รูปโลโก้ของร้าน ก็เป็นตัวเลือกที่ดี หลีกเลี่ยงภาพเซลฟี่ […]

วางผังครัว

เทคนิคการ วางผังครัวร้านอาหาร ให้งานราบรื่น

ครัว ถือเป็นหัวใจสำคัญของร้านอาหาร เราจึงมีเทคนิคการ วางผังครัวร้านอาหาร ที่ดี พร้อมวิธีการเลือกอุปกรณ์ครัวให้เหมาะกับร้านอาหารมาแนะนำ

ซื้อเก้าอี้ร้านอาหาร

5 ปัจจัยที่ควรคำนึงก่อนเลือก ซื้อเก้าอี้ร้านอาหาร

หลายคนอาจคิดว่าการ ซื้อเก้าอี้ร้านอาหาร แค่ซื้อให้เหมาะสมกับสไตล์การตกแต่งร้านก็คงเพียงพอแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่า การซื้อเก้าอี้ส่งผลต่อยอดขายของเราเหมือนกัน

เปิดร้านของตัวเอง

เปิดร้านของตัวเอง VS ซื้อแฟรนไชส์ แบบไหนดีกว่ากัน?

เชื่อว่าหลายคน มีความคิดว่าอยากจะมีธุรกิจเป็นของตัวเองสักครั้ง แต่การจะเริ่มต้นทำธุรกิจนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยค่ะ โดยเฉพาะมือใหม่ที่อยากเริ่มมีธุรกิจของตัวเอง ที่ต้องคิดทั้งเรื่องสินค้า การตลาด บัญชี การเงิน เยอะแยะไปหมด และมักจะมีคำถามว่าจะลงทุน เปิดร้านของตัวเอง หรือซื้อแฟรนไชส์ จะเลือกแบบไหนดี? มาดูกันว่าข้อดี ข้อเสียของทั้งสองแบบว่าเป็นอย่างไร แล้วค่อยมาตัดสินใจให้เหมาะกับธุรกิจของคุณเองกันค่ะ   เปิดร้านของตัวเอง VS ซื้อแฟรนไชส์ เลือกแบบไหนดี? ข้อดีของการเปิดร้านของตัวเอง มีอิสระในการบริหารจัดการ การตัดสินใจและกำหนดทิศทางธุรกิจของเราเองได้อย่างเต็มที่ สามารถทำตามไอเดียของตัวเอง สร้างแบรนด์ที่เป็นตัวตนของเราเองได้ ถ้าเป็นธุรกิจอาหารก็สามารถที่จะเพิ่ม หรือดัดแปลงสูตรเมนูของร้านได้ อีกทั้งยังมีความยืดหยุ่นสูง ในการปรับเปลี่ยนพัฒนาธุรกิจ การสร้างแบรนด์เองอาจจะเหมาะกับคนรุ่นใหม่ หรือคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ อยากทำอะไรใหม่ๆ แบบที่ไม่ต้องตามแบบใครค่ะ การเปิดร้านเอง อาจไม่ต้องลงทุนสูงมาก เพราะบางคนก็มีทุนน้อย หรือมีจำกัด แต่อยากที่จะทำธุรกิจ ก็สามารถทำได้ไม่จำเป็นต้องเปิดร้านใหญ่จนเกินตัว ค่อยๆเริ่มต้นจากธุรกิจเล็กๆ แล้วต่อยอดไปเรื่อยๆ จนสามารถขยายกิจการ สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักได้ในอนาคต เรื่องส่วนแบ่งกำไร หากคุณเปิดร้านเอง แน่นอนว่า คุณไม่จำเป็นต้องแบ่งกำไร คุณสามารถบริหารกำไรของคุณทั้งหมดได้เอง อย่างที่บอกว่าใครก็อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง แล้วหากคุณทำได้ ข้อดีนี้ก็คือ ความภาคภูมิใจที่คุณทำ และมีความสุขที่ได้เริ่มต้นทำสิ่งใหม่ๆ และถ้ายิ่งพัฒนาไปจนแบรนด์ประสบความสำเร็จ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.