7 สิ่งที่ห้ามทำ! เมื่อ เริ่มต้นทำธุรกิจ - Amarin Academy

7 สิ่งที่ห้ามทำ! เมื่อ เริ่มต้นทำธุรกิจ

สิ่งที่ห้ามทำ! เมื่อ เริ่มต้นทำธุรกิจ

ทุกวันนี้กระแสการเริ่มต้นธุรกิจด้วยตัวเองกำลังมาแรงสุดๆ คนรุ่นใหม่หลายคนเริ่มลาออกจากงานประจำเพื่อเริ่มต้นทำธุรกิจเล็กๆ บางคนอาจมีประสบการณ์การทำธุรกิจมาบ้าง ก็ถือว่าเป็นต้นทุนที่ดี แต่สำหรับบางคนที่ไม่เคยมีประสบการณ์การทำธุรกิจเลย ก็ถือว่าเสี่ยงพอสมควร วันนี้เราจึงขอแนะนำ 7 สิ่งที่ห้ามทำ! เมื่อ เริ่มต้นทำธุรกิจ มาฝาก เผื่อเป็นแนวคิดเพื่อช่วยให้ Start up ทุกๆ คนประสบความสำเร็จ!

1.กอดงานไว้คนเดียว ดับแน่

การที่เจ้าของกิจการทำงานทุกอย่างได้เป็นเรื่องที่ดี เพราะจะทำให้เราเข้าใจภาพรวมของธุรกิจมากขึ้น แต่! ไม่ใช่ทำทุกหน้าที่เอง ตลอดเวลา

แม้ว่าในช่วงเริ่มต้น คุณอาจจะต้องลงมือเองบ้าง เพื่อผลักดันงานดำเนินต่อไปได้ แต่คุณไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ตลอดไป เพราะสุดท้ายตัวคุณเองก็จะไม่ไหว และธุรกิจก็จะก้าวต่อไปไม่ได้

ดังนั้นสิ่งที่คุณควรทำคือ สร้างทีมที่ทำหน้าที่แทนคุณ และสร้างระบบงานให้ชัดเจน แบ่งหน้าที่การทำงาน แล้วปล่อยให้ระบบเป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจ ส่วนตัวคุณเองทำหน้าที่ดูแลงานในภาพรวม และพยายามหาโอกาสการเติบโตใหม่ๆ อยู่เสมอ

2.ไม่รักษาคำพูด ไม่ตรงต่อเวลา

เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินคำพูดที่ว่า “หัวหน้าเป็นอย่างไร ลูกน้องก็เป็นอย่างนั้น” กันมาบ้าง ประโยคนี้ได้รับการพิสูจน์จากหลายๆ บริษัทแล้วว่าเป็นเรื่องจริง เพราะการที่เจ้าของธุรกิจเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีให้ทีม เช่น มาประชุมสาย ไม่รักษาคำพูด ทีมก็จะรู้สึกว่า “ทีเจ้าของยังมาสายได้ เราก็มาสายได้เหมือนกัน” ความคิดเหล่านี้จะค่อยๆ แปรเปลี่ยนเป็นวัฒนธรรมองค์กรในระยะยาว ซึ่งจะแก้ไขได้ยากมาก ฉะนั้นหากคุณต้องการให้ลูกน้องขยันขันแข็ง ทุ่มเทกับงาน ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบ คุณก็ต้องแสดงให้พวกเขาเห็นด้วย

3.เริ่มทำธุรกิจ ทั้งๆ ที่ตัวเองไม่มีความรู้ หรือไม่ชอบ

Start up หลายๆ คน เริ่มธุรกิจตามกระแส เช่น กระแสการนั่งคาเฟ่ ดื่มกาแฟกำลังมาแรง ก็คิดจะเปิดคาเฟ่บ้าง ทั้งๆ ที่ตัวเองไม่มีพื้นฐานด้านการทำอาหาร หรือไม่ดื่มกาแฟด้วยซ้ำ นี่คือจุดเริ่มต้นแห่งความหายนะ เพราะการเริ่มต้นทำธุรกิจ ต้องอาศัยทั้งแรงใจและแรงสมองอย่างมหาศาล เพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ ซึ่งการที่คุณไม่มีความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่ทำเลย หรือไม่ได้ชื่นชอบมันจริงๆ เวลาเจอปัญหา คุณก็จะรู้สึก “มืดแปดด้าน” ไม่รู้จะหาทางออกอย่างไร แถมยังไม่มีกำลังใจในการแก้ปัญหาด้วย (เพราะคุณไม่ได้ชอบมันตั้งแต่แรก) ดังนั้น เริ่มทำจากสิ่งที่รักและเชี่ยวชาญ จะทำให้คุณมีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่า

4.ใส่ใจรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ มากเกินไป

การที่คุณใส่ใจรายละเอียดในการทำงานเป็นเรื่องที่ดี แต่บางครั้งถ้าใส่ใจมากเกินไป อาจทำให้คุณเสียเวลาในการพัฒนาด้านอื่นๆ หรือรู้สึก “ประสาทเสีย” หากงานไม่เป็นดั่งใจสักที

คุณต้องคำนึงเสมอว่า “การทำธุรกิจไม่มีวัน Perfect” ถ้ามัวแต่กังวลกับรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ (ซึ่งมีมากมายมหาศาล) คุณอาจสูญเสียโอกาสในการเติบโตไป ฉะนั้นใส่ใจเฉพาะเรื่องที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ เพื่อจะได้มีเวลาไปโฟกัสกับการพัฒนาธุรกิจด้านอื่นๆ ต่อไป

5.ลงทุนกับสิ่งที่ไม่จำเป็น

เมื่อเริ่มต้นทำธุรกิจ เงินทุน ถือเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ตัดสินว่า คุณจะได้ไปต่อในเกมธุรกิจหรือไม่ ฉะนั้นก่อนการลงทุนใดๆ ต้องคำนึงเสมอว่า สิ่งที่ได้รับกลับมานั้นต้องคุ้มค่ากับการลงทุน

การลงทุนตกแต่งออฟฟิศให้สวยงาม หรือซื้อเฟอร์นิเจอร์แต่งร้านมากมายจนงบประมาณบานปลาย การลงทุนที่ว่ามานี้ถือเป็นการลงทุนที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ซ้ำยังเป็นตัวฉุดให้ธุรกิจของคุณโตได้ยาก (เพราะเงินสำหรับทำการตลาด เงินสำหรับจัดอบรมพนักงาน เงินสำหรับการพัฒนาสินค้า หมดไปกับการลงทุนที่ไม่จำเป็นไปเสียหมด) ฉะนั้นก่อนลงทุนใดๆ ต้องวางแผนงบการเงินให้ดี แล้วชั่งน้ำหนักความสำคัญให้รอบคอบก่อนจะดีกว่า

6.ดันทุรังทำในสิ่งที่ทำแล้วไม่ประสบความสำเร็จ

เมื่อเริ่มทำธุรกิจใหม่ๆ ย่อมมีช่วงที่ต้องลองผิด ลองถูก เพื่อนำประสบการณ์เหล่านั้นมาพัฒนาธุรกิจให้ดีขึ้น แต่ผู้ประกอบการบางรายอาจเสียดายกับเงินลงทุนที่เสียไป จนไม่กล้าล้มเลิกแผนการเดิม แล้วหันมาทำสิ่งใหม่ๆ เช่น หากออกสินค้าใหม่แล้วยอดขายไม่ดีเท่าที่ควร พยายามทำทุกวิธีทางแล้วไม่สำเร็จ บางคนก็เลือกลงทุนเพิ่มไปเรื่อยๆ เช่น อัดเงินทำการตลาด เปลี่ยน Packaging ขยายช่องทางการขาย เป็นต้น โดยหวังว่าสักวันเดี๋ยวก็สำเร็จเอง แต่ปัญหาคือ “แล้ววันไหนล่ะ” และถ้าไม่สำเร็จคุณจะต้องลงทุนต่อไปเรื่อยๆ หรือ? ดังนั้นก่อนการลงทุนต้องตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนเลยว่า จะใช้เวลากับวิธีการนี้นานเท่าไร ใช้เงินลงทุนกี่บาท ถ้าหากไม่สำเร็จ ก็ต้องตัดใจล้มเลิก แล้วเดินเส้นทางอื่นแทน เพราะไม่อย่างนั้นคุณจะไม่มีทุนสำรองสำหรับการทำอย่างอื่นเลย

7.ให้พนักงานใช้คอมพิวเตอร์ส่วนตัวในการทำงาน

หลายๆ ธุรกิจ ที่มีเงินทุนไม่มาก มักไม่ยอมลงทุนซื้ออุปกรณ์สำนักงาน โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ให้พนักงาน เพราะต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย แต่รู้ไหมว่าการทำเช่นนี้ถือว่าเสี่ยงมาก เพราะคุณกำลังฝากข้อมูลของบริษัทไว้ที่พนักงาน ซึ่งไม่รู้ว่าจะลาออกเมื่อใด จะนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานจนเกิดปัญหาข้อมูลรั่วไหลหรือเปล่า ดังนั้นหากคุณยังพอจะมีเงินทุนอยู่บ้าง ก็ควรซื้ออุปกรณ์ให้พร้อม แต่หากเงินทุนคุณน้อยมาก จำเป็นต้องให้พนักงานใช้คอมพิวเตอร์ส่วนตัวจริงๆ ก็ควรแจ้งพนักงานว่าต้องตั้งรหัสผ่านเข้าใช้งานกับไฟล์งานที่สำคัญ เพื่อป้องกันข้อมูลรั่วไหล เป็นต้น

การทำธุรกิจ คือการเรียนรู้จากข้อผิดพลาด เพื่อพัฒนาสู่สิ่งที่ดีกว่า หากคุณมุ่งมั่นและพยายามมากพอ ความสำเร็จก็จะตามมาเอง

ขอบคุณข้อมูล www.thebalance.com

เรื่องแนะนำ

6 ปัญหาที่ต้องระวัง  ในการนำ ร้านอาหารเข้าระบบเดลิเวอรี

6 ปัญหาที่ต้องระวัง เมื่อนำ ร้านอาหารเข้าระบบเดลิเวอรี

        การจะนำ ร้านอาหารเข้าระบบเดลิเวอรี เป็นทางเลือกกึ่งบังคับของผู้ประกอบการหลายๆท่าน ในช่วงที่มีการ Shutdown กรุงเทพฯ รวมถึงอีกหลายจังหวัดจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 การปรับตัวเข้าสู่ระบบเดลิเวอรี จึงเป็นการเพิ่มโอกาสทำยอดขายทางออนไลน์ เพื่อชดเชยกับยอดขายหน้าร้านที่ลดลง รวมถึงเป็นการเพิ่มช่องทางในการขายใหม่ๆให้กับลูกค้า แต่ระบบนี้ก็ไม่ได้มีแต่ข้อดีเสมอไป ลองมาดูปัญหาที่ผู้ประกอบการควรระวังเพื่อไม่ให้ร้านขาดทุน!! หากต้องนำร้านอาหารเข้าร่วมให้บริการเดลิเวอรี 6 ปัญหาที่ต้องระวัง  เมื่อนำ ร้านอาหารเข้าระบบเดลิเวอรี 1. ไม่สามารถรักษาคุณภาพและรสชาติของอาหารได้         การส่งอาหารผ่านระบบเดลิเวอรี จะต้องมีการควบคุมมาตรฐานของอาหาร โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าอาหารจะต้องปรุงสุกใหม่ เนื้อสัตว์ควรผ่านกระบวนการทำอาหารที่อุณหภูมิมากกว่า 70 องศาเซลเซียส และหลีกเลี่ยงการจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุกเพื่อป้องกันการปนเปื้อนในอาหาร         นอกจากนี้ ผู้ประกอบการอาจจะต้องเจอกับปัญหารสชาติและคุณภาพของอาหารที่ด้อยลง ซึ่งมีสาเหตุได้จากหลายปัจจัย เช่น เกิดจากระยะเวลาในการจัดส่งที่ล่าช้า หรือการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสมกับชนิดของอาหาร เช่น อาหารทอด เมื่อนำบรรจุลงกล่องที่ปิดมิดชิด จะทำให้เกิดไอน้ำควบแน่นอยู่ที่ฝากล่อง และเกิดความชื้นทำให้อาหารนั้นไม่กรอบ รสชาติและสัมผัสของอาหารจึงไม่เหมือนเดิม ทางร้านควรมีแนวทางการแก้ไข โดยอาจจะเลือกใช้กล่องที่มีรูระบายความร้อน […]

  หาพนักงานไม่ได้ พนักงานลาออกกะทันหันทำอย่างไรดี เชื่อว่าปัญหานี้เจ้าของร้านอาหารทุกคนไม่อยากเจอ เพราะนอกจากเสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการหาคนทำงานแทนแล้ว ความไม่พร้อมด้านกำลังคนอาจส่งผลต่อการบริหารจัดการและเสียลูกค้าไปในที่สุด มาเรียนรู้ขั้นตอนแก้สถานการณ์ เพื่อให้คุณสามารถรับมือกับเรื่องหัวหมุนนี้ไว้ก่อนจะดีกว่า   ประเมินสถานการณ์ วางแผนการทำงานโดยคาดการณ์จำนวนลูกค้าที่เข้ามารับบริการต่อวัน  โดยร้านส่วนใหญ่จะมีระบบ POS สามารถดูสถิติจำนวนลูกค้าได้  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดจ้างพนักงานร้านอาหารแบบ Part time  การจ้างเฉพาะช่วงเวลาขายดีเพื่อทดแทนกำลังที่ขาด จะทำให้คุณไม่ต้องแบกค่าใช้จ่ายจาการจ้างงานเต็มวัน นอกจากนี้ควรวางแผนกำลังคนที่มีอยู่ให้เหมาะสมกับลักษณะร้าน เช่น ร้านอาหารแบบบุฟเฟต์เน้นการเตรียมของ เติมของ เคลียร์ภาชนะที่รวดเร็ว อาจเพิ่มพนักงานในส่วนนั้น และดึงพนักงานประจำที่เชี่ยวชาญแล้ว มาคอยบริหารจัดการลูกค้าหน้าร้านแทน   มอบหมายหน้าที่ บริหารจัดการคนที่มีอยู่ให้ดีที่สุด การมอบหมายหน้าที่ที่ชัดเจน จะช่วยลดปัญหาที่เกิดจากการสื่อสารผิดพลาด โดยเฉพาะพนักงานบริการที่ต้องรับมือกับลูกค้าโดยตรง  วิธีที่ง่ายวิธีหนึ่ง คือ การกำหนดจำนวนโต๊ะ  และโซนที่รับผิดชอบให้เหมาะสมกับจำนวนพนักงานบริการที่มีอยู่ จากนั้นกำหนดเวลาในการบริการแต่ละขั้นตอน เช่น หลังจากลูกค้านั่งที่โต๊ะ ตั้งไว้เลยว่าอีกกี่นาทีรับออเดอร์ รวมถึงการเสิร์ฟอาหาร การเคลียร์จานเข้าออก พนักงานที่มีอยู่ต้องหมั่นคอยสังเกตความต้องการของลูกค้า เพื่อให้เกิดการบริการที่ลื่นไหล และทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้รับการบริการและความใส่ใจอย่างเต็มที่ ในขณะที่ฝ่ายเตรียมอาหาร ต้องมีการวางแผนอาหารในแต่ละออเดอร์ให้แม่นยำ เพื่อการบริการอย่างดีที่สุด   ครอบคลุมโซนพื้นที่ในการให้บริการ ในกรณีที่ลูกค้าไม่เยอะ การปิดพื้นที่บางส่วน  หรือเชื้อเชิญลูกค้าให้นั่งในพื้นที่ที่กำหนด […]

ธุรกิจร้านอาหารขนาดเล็ก

แนวคิดสำคัญช่วยให้ ธุรกิจร้านอาหารขนาดเล็ก เติบโต

บางคนใฝ่ฝันอยากมีร้านอาหารเป็นของตัวเอง มองเห็นภาพหน้าร้านสวยๆ ที่มีลูกค้านั่งอยู่เนืองแน่น แต่ความเป็นจริงแล้วภาพความสำเร็จที่เห็นอาจต้องแลกมากับชั่วโมงการทำงานอย่างหนัก ความมีระเบียบวินัย การให้ความใส่ใจอย่างเต็มที่

5 ขั้นตอน เซตอัพทีมงานหลังร้าน ที่เจ้าของร้านอาหารต้องรู้!

ร้านอาหารหลายร้านเปิดตัวมาอย่างดี แต่ต่อมามาตรฐานกลับลดลง ไม่ว่าจะเป็นรสชาติอาหาร หรือการบริการที่เกิดความล่าช้าจนลูกค้าเข็ดไม่มาอีกต่อไป สาเหตุสำคัญที่ปฏิเสธไม่ได้เลยก็คือ การขาดประสิทธิภาพของทีมงานหลังร้าน บทความนี้จะแนะนำขั้นตอนที่จำเป็นต่อการ เซตอัพทีมงานหลังร้าน ที่เจ้าของร้านอาหารจำเป็นต้องรู้   ขั้นตอน 1  รู้จักโครงสร้างทีมงานหลังร้าน ทีมงานหลังร้านและหน้าที่ความรับผิดชอบ ประกอบด้วย หัวหน้าเชฟ /รองหัวหน้าเชฟ/หัวหน้าส่วนครัวต่าง ๆ มีส่วนช่วยในการบริหารการบริการลูกค้า ร่วมวางแผนและตัดสินใจเกี่ยวกับงานบริการด้านอาหาร ควบคุมและตรวจสอบคุณภาพของอาหาร รับผิดชอบเวลาออกอาหาร รวมถึงการเสิร์ฟให้เป็นไปตามมาตรฐาน นอกจากนี้ยังต้องบริหารต้นทุน ควบคุมค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังมีหน้าที่ในการสอนงาน มอบหมายงาน และดูแลทีมงานครัวด้วย พนักงานครัว หน้าที่หลัก ๆ คือการปฏิบัติงานครัว ควบคุมมาตรฐาน ทำงานตามขั้นตอนที่กำหนด ช่วยดูแลควบคุมปริมาณของเสีย ฝ่ายสนับสนุน แผนกที่ช่วยดูแลเรื่องเอกสารต่าง ๆ ของธุรกิจ การจัดการเงินและบัญชี ดูแลการตลาดของธุรกิจ  ดูแลเรื่องสวัสดิการต่าง ๆ ของพนักงานร้านอาหาร จะเห็นได้ว่าทีมงานครัวมีหน้าที่สำคัญคือการผลิต แต่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การปรุงอาหาร แต่ยังมีหน้าที่ครอบคลุมไปถึงการกำหนดคุณภาพ การจัดสรร ควบคุมต้นทุน และช่วยส่งเสริมงานบริการหน้าร้าน ในขณะเดียวกันทีมงานหลังร้านก็ยังรวมไปถึงแผนกสนับสนุน ที่เตรียมความพร้อมด้านการเงิน การบริหารบุคคล บัญชีและการตลาดด้วย หากขาดระบบที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของสองทีมหลักนี้ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.