3 สิ่งที่ต้องทำ เมื่อ ธุรกิจมีปัญหา - Amarin Academy

3 สิ่งที่ต้องทำ เมื่อ ธุรกิจมีปัญหา

3 สิ่งที่ต้องทำ เมื่อ ธุรกิจมีปัญหา

ขึ้นชื่อว่าเป็นเจ้าของกิจการ คงจะหลีกเลี่ยงปัญหาไปไม่ได้ และบางครั้งอาจเจอปัญหาหนักจนไม่รู้จะแก้อย่างไร หลายคนเมื่อเจอปัญหาหนักๆ อาจจะถึงขั้นล้มเลิกความตั้งใจและเลือกที่จะปิดกิจการ แต่คงไม่มีใครอยากให้วันนั้นมาถึง วันนี้เราจึงมีเทคนิคดีๆ ที่จะช่วยดึงสติ ในยามที่ ธุรกิจมีปัญหา ให้กลับมาดำเนินการได้ตามปกติมาฝาก

1.หยุดมองโลกในแง่ดี และต้องยอมรับความจริง

“ไม่เป็นไร เดี๋ยวทุกอย่างก็ดีขึ้นเอง ได้แค่นี้ก็ดีแล้ว” ประโยคให้กำลังตัวเองเช่นนี้ไม่ใช่ไม่ดี เพียงแต่ว่าหลังจากให้กำลังใจตัวเองแล้ว เราต้องยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นด้วย โดยการยอมรับความจริงนี้ เป็นขั้นแรกของการแก้ไขปัญหา เพราะหากคุณเอาแต่คิดว่า ไม่เป็นไร และปล่อยให้ทุกอย่างดำเนินไปเช่นเดิม ปัญหาเหล่านั้นก็จะสั่งสมขึ้นเรื่อยๆ ทับไปทับมา หากคิดจะแก้ไขอีกทีก็อาจจะสายไปเสียแล้ว

เช่น หากคุณพบว่าพนักงานบางคนทำงานไม่เต็มที่ แล้วคุณละเลย เพราะคิดว่าอย่างไรงานโดยภาพรวมก็ยังได้มาตรฐาน ต่อไปพนักงานคนอื่นอาจจะเอาเยี่ยงอย่าง จนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ถูกปลูกฝังไปเรื่อยๆ จนเมื่อคุณคิดจะแก้ไขอีกทีก็กลายเป็นว่าคุณกำลัง “ไล่บี้” ทำให้พนักงานไม่พอใจได้ ฉะนั้น หากทำธุรกิจแล้วพบเจอปัญหาเมื่อไร ควรวางแผนแก้ไขทันที เพื่อให้ปัญหาทุกอย่างคลี่คลายโดยเร็วที่สุด

2.ทำความเข้าใจปัญหาให้ละเอียดและชัดเจนที่สุด

หลังยอมรับว่าธุรกิจมีปัญหาแล้ว คุณต้องทำความเข้าใจปัญหาโดยละเอียดและรอบด้าน ว่าเกิดจากสาเหตุภายใน เช่น การบริหารงาน การจัดการงานที่ไม่เป็นระบบ ลูกน้องทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ หรือเกิดจากปัญหาภายนอก เช่น สภาพเศรษฐกิจไม่ดี คู่แข่งมากขึ้น วัตถุดิบขึ้นราคา เป็นต้น

การทำความเข้าใจปัญหานี้ จะช่วยให้เราวางแผนเพื่อแก้ไขได้อย่างตรงจุด โดยอาจลองหาทางออกไว้หลายๆ ทาง เผื่อแผนหนึ่งแก้ไม่ได้ ก็จะได้ใช้แผนสอง หรือแผนสามแทน

เช่น หากประสบปัญหาเรื่องพนักงานลาออกบ่อย ก็ควรต้องทำความเข้าใจปัญหาว่าเกิดจากสาเหตุใด เกิดจากปัจจัยภายนในหรือภายนอก แล้วค่อยๆ วางแผนในการแก้ปัญหาต่อไป (อ่านเพิ่มเติม: เคล็ด (ไม่) ลับ ขจัดปัญหา พนักงานเปลี่ยนงานบ่อย)

3.ยอมรับความช่วยเหลือ

เมื่อเจอต้นตอของปัญหาแล้ว เจ้าของธุรกิจหลายคนก็พยายามหาทางแก้ไข แต่บางครั้งปัญหาที่เกิดขึ้นก็นับว่าใหญ่เอาการ จนไม่รู้จะแก้ไขด้วยตัวคนเดียวอย่างไร ดังนั้นแทนที่จะมัวลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง คุณคงต้องยอมรับความช่วยเหลือ

ขั้นแรก อาจจะลองศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งปัจจุบันข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการทำธุรกิจก็มีมากมาย และหาได้ง่ายๆ เพียงแค่เสิร์จ Google ก็เจอบทเรียนและวิธีแก้ไขเต็มไปหมด คุณอาจลองนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจของตัวเองดู แต่หากปัญหาของคุณค่อนข้างเฉพาะเจาะจง อาจจะต้องลองหาเพื่อนทางธุรกิจที่ทำธุรกิจประเภทเดียวกัน แน่นอนว่าเขาย่อมต้องเคยผ่านปัญหาเหล่านี้มาก่อนบ้าง และอาจจะได้รับคำแนะนำดีๆ ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน แต่ถ้าอยากให้ชัวร์ที่สุด และแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด คุณอาจจะต้องลองหาที่ปรึษาทางธุรกิจที่เชี่ยวชาญในธุรกิจดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันก็มีบริษัทรับเป็นที่ปรึกษาให้มากมาย เพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องมัวลองผิดลองถูกเอง แต่ข้อเสียคือคุณต้องเสียค่าใช้จ่ายพอสมควร อย่างไรลองเลือกวิธีแก้ไขตามที่ตนเองถนัดดูนะครับ

เมื่อเจอปัญหา อย่าเอาแต่วิตกกังวลไป ลองค่อยๆ คิดหาวิธีแก้ไขดูนะครับ ทุกปัญหามีทางออกเสมอ

เรื่องแนะนำ

ลูกค้าอยากบอกเจ้าของ

8 ข้อสำคัญที่ลูกค้า อยากบอกเจ้าของร้านอาหาร

รู้ไหม นอกจากรสชาติอาหารและการบริการ ลูกค้ายังมีความคาดหวังอื่นๆ ซ่อนอยู่ด้วย เราจึงขอรวบรวม 8 ข้อสำคัญที่ ลูกค้าอยากบอกเจ้าของ ร้านอาหารมาให้คุณ

เทคนิค หาพนักงานร้านอาหาร ชั้นเซียน ก่อนเปิดร้าน!

หาพนักงานร้านอาหาร จนท้อ แถมทำงานได้ไม่ถึงเดือนก็ลาออก ต้องหาพนักงานมาแทนกันให้วุ่น ลดปัญหาน่าปวดหัวเรื่องพนักงาน ด้วยเทคนิคการหาคนให้ตรงใจตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อลดผลกระทบที่เกิดกับร้านของคุณให้มากที่สุดกันดีกว่า   เทคนิค หาพนักงานร้านอาหาร ก่อนเปิดร้าน! WHAT  หาอะไร ประเภทของร้านอาหารแต่ละแบบ ต้องการพนักงานที่ต่างประสบการณ์กัน  รวมถึงจำนวนที่เหมาะสมก็ต่างกันด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับการวางโครงสร้างต้นทุนร้านอาหารที่เหมาะสม ทีมงานร้านอาหารแบ่งเป็น 2 ทีมงานหลัก ๆ  คือ ทีมงานหลังบ้าน เช่น เชฟ ผู้ช่วยเชฟ คนปรุงอาหาร คนแพ็คอาหาร พนักงานล้างจาน และทีมงานหน้าบ้าน เช่น  ผู้จัดการร้าน ผู้ช่วยผู้จัดการ พนักงานต้อนรับ แคชเชียร์พนักงานรับออร์เดอร์  ซึ่งแต่ละตำแหน่งมีหน้าที่การทำงานที่ชัดเจน จำนวนการจ้างงานก็ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของร้าน เช่น ถ้าคุณทำร้านอาหาร Quick Service  เน้นพนักงานแคชเชียร์รับ Order ลูกค้า ไม่ต้องจ้าง Food Runner  ก็ได้  หรือร้านขนาดเล็ก ผู้จัดการคนเดียว โดยไม่ต้องมีผู้ช่วยก็สามารถดำเนินงานได้ Tips : ต้นทุนแรงงานเป็น Fix […]

รู้เทคนิค คิดราคาขาย …ร้านไม่เสี่ยงขาดทุน

สำหรับเจ้าของร้านมือใหม่ มีหลายคนถามเข้ามาหลายเรื่องในการเริ่มต้นเปิดร้านอาหาร หรือเครื่องดื่ม ซึ่งหนึ่งในคำถามนั้นก็คือ การคิดราคาขาย ต้องคิดอย่างไร คำนวณจากอะไร ต้องเริ่มอย่างไรดี วันนี้เรามีเทคนิคการ คิดราคาขาย ให้กับร้าน ว่าต้องคำนวณจากอะไร และมีสูตรอย่างไรบ้าง สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนจะ คิดราคาขาย 1 เมนู 1. ต้นทุนอาหาร การตั้งราคาอาหารต่อ 1 เมนู ให้อยู่ประมาณ 3 เท่า ของต้นทุนทั้งหมด ทั้งวัตถุดิบ ค่าจัดส่ง ค่าน้ำ ค่าไฟ  เป็นวิธีที่ร้านส่วนมากนิยมใช้ แต่วิธีนี้อาจไม่ละเอียดและไม่แม่นยำมากพอ โดยเฉพาะต้นทุนวัตถุดิบที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ ค่าความสูญเสีย รวมถึงค่าวัตถุดิบที่ใช้งานจริง และในส่วนของ Yield (การหาค่าเฉลี่ยของวัตถุดิบ 1 หน่วยที่ผ่านการตัดตกแต่ง หรือหักส่วนที่สูญเสียออกเรียบร้อยแล้ว) ที่ร้านส่วนใหญ่มักไม่ได้นำมาคำนวณด้วย   2. คู่แข่ง กลยุทธ์การตั้งราคา โดยดูจากคู่แข่งของร้านอาหารประเภทเดียวกันกับคุณ จะช่วยคาดเดาได้ว่า ลูกค้ามีกำลังพร้อมจ่ายอยู่ที่เท่าไหร่ แต่โดยส่วนมากจะนำมาใช้กับร้านอาหารที่สามารถแข่งขันด้านราคาได้โดยไม่กระทบต่อต้นทุนวัตถุดิบ และคุณภาพที่ลูกค้าจะได้รับ เช่น ร้านอาหารบุฟเฟต์ ร้านอาหารตามสั่งที่มีเมนูไม่มาก การตั้งราคาโดยคำนึงถึงคู่แข่งจึงต้องทำร่วมกับการคำนวณต้นทุนด้านอื่น ๆ […]

เทคนิคคิดโปรโมชั่น เอาใจลูกค้าสาย Foodie!

ชอบกิน ชอบลอง และชอบแชร์ประสบการณ์ร้านอาหารใหม่ ๆ กลุ่ม Foodie จึงเป็นกลุ่มที่ร้านอาหารในยุคนี้ให้ความสนใจ เพราะนอกจากจะสามารถขายให้กลุ่มนี้ได้มากแล้ว คนกลุ่มนี้ยังทำให้ร้านเป็นที่รู้จักมากขึ้นอีกด้วย เรามาดู เทคนิคคิดโปรโมชั่น เอาใจลูกค้าสาย Foodie! กันครับ   เทคนิคคิดโปรโมชั่น เอาใจลูกค้าสาย Foodie! เซฟเงินแต่ได้ภาพ แม้กลุ่ม Foodie ยินดีจะจ่ายเงินในการกิน ดื่ม เพื่อประสบการณ์ใหม่ ๆ แต่ก็มองหาทางที่จะประหยัดค่าใช้จ่ายอยู่เหมือนกัน โปรโมชั่นที่น่าสนใจคือ เป็นส่วนลดที่ให้ประสบการณ์ที่พิเศษ เช่น คูปองส่วนลดเพื่อได้ทดลองเมนูใหม่ หรือการร่วมกับบัตรเครดิตโดยการแลกแต้มบัตรสะสมในบัตรเป็นเมนูพิเศษ นอกจากนั้นโปรโมชั่นที่ทำให้ได้กินอาหารอย่างหลากหลายในราคาที่ถูกกว่า เช่น มา 4 จ่าย 3 ของร้านอาหารบุฟเฟต์ นอกจากคุ้มค่าแล้วยังได้ภาพถ่ายเยอะอีกด้วย   ท้าทายและน่าแชร์ กลุ่ม Foodie ชอบการแชร์ภาพถ่ายลงในโซเชียลมีเดีย สนุกกับการเล่าเรื่องอาหารในมุมมองตัวเอง ซึ่งโปรโมชั่นออนไลน์ไม่ได้มีเพียงแค่เช็คอิน แชร์ แล้วได้รับสินค้าฟรี แต่การใส่ความสนุกเข้าไปจะทำให้เกิดการแชร์ที่อิมแพคมากกว่า เช่น แคมเปญตอกไข่ของ MK หรือการจับคูปองที่มีโอกาสซื้อสินค้าพิเศษได้จำนวนจำกัด นอกจากนำเสนอจุดขายของเมนูใหม่แล้ว ยังส่งเสริมให้ลูกค้าอยากมีส่วนร่วมอีกด้วย   […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.