การเงินในธุรกิจ มีปัญหา ต้องจัดการอย่างไร? - Amarin Academy

การเงินในธุรกิจ มีปัญหา ต้องจัดการอย่างไร?

การเงินในธุรกิจ มีปัญหา ต้องจัดการอย่างไร?

เมื่อคุณทำธุรกิจได้สักระยะหนึ่งแล้วพบว่าระบบ การเงินในธุรกิจ ของคุณนั้นดันเกิดปัญหา ชักหน้าไม่ถึงหลัง เงินไม่พอ หมุนไม่ทัน ยอดรายจ่ายสูงกว่ารายรับ หลายคนอาจเลือกมองหาแหล่งเงินทุนเพิ่ม เพื่อมาจัดการค่าใช้จ่ายต่างๆ แต่จริงๆ แล้วการหาแหล่งเงินทุนมาโปะปัญหาที่เกิดขึ้นควรเป็นวิธีสุดท้าย แต่สิ่งแรกที่ควรทำคือ ต้องจัดการระบบการเงินในบริษัทให้ได้เสียก่อน เพื่อที่คุณจะได้ใช้เงินลงทุนที่ได้มาใหม่นั้นให้คุ้มค่าที่สุด และหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาแบบเดิมอีก

  1. จัดการหนี้สิน

พยายามจัดการหนี้สินของคุณให้เป็นระบบระเบียบ ลิสต์รายการหนี้สินของคุณที่มีอยู่ออกมาทั้งหมด แล้วลำดับความสำคัญของหนี้ต่างๆ อย่ารอให้ถึงวันครบกำหนดจ่าย การจัดรายการหนี้แบบนี้จะทำให้คุณเห็นว่า อะไรที่จำเป็นต้องรีบจัดการและอะไรพอที่จะจัดการทีหลังได้ หนี้ที่มีอยู่จะได้ไม่ถูกสะสมเพิ่มเป็นภาระของคุณในอนาคต

  1. ลดภาระค่าใช้จ่าย

เช่นเดียวกับการจัดการหนี้สิน อย่างแรกคือ ลองวิเคราะห์รายจ่ายที่เกิดขึ้นในทุกเดือน เช่น ค่าจ้างพนักงาน ต้นทุนการผลิต ต้นทุนวัตถุดิบ เรียงลำดับความสำคัญรายจ่ายของคุณ เช่น รายจ่ายจำนวนมากไปถึงน้อย รายจ่ายจำนวนมากที่สุดจะต้องจัดการภายในเมื่อไร เพื่อจะทำให้คุณแบ่งสัดส่วนการใช้จ่ายของเงินคุณได้ถูก ที่สำคัญคือ พยายามลดต้นทุนสินค้าให้ได้มากที่สุด เช่น การหาแหล่งวัตถุดิบที่ถูกกว่า หรือเปรียบเทียบราคาของบริษัทซัพพลายเออร์หลายๆ ที่ เพื่อให้คุณได้ต้นทุนที่ต่ำที่สุด และยังช่วยลดรายจ่ายของคุณในระยะยาวอีกด้วย

  1. ขายสินทรัพย์ที่ไม่จำเป็น

ลองสังเกตว่าวัสดุหรืออุปกรณ์อะไรที่คุณซื้อมาแล้ว ถูกเก็บนานจนลืมและไม่ได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ควรนำออกมาขายแบบลดราคาเพื่อเพิ่มรายรับให้บริษัท วิธีนี้อาจจะแก้ปัญหาได้ชั่วคราว แต่ก็สามารถเพิ่มเงินสดมาจ่ายหนี้สินบางส่วนและนำมาใช้เป็นเงินหมุนได้สักระยะหนึ่ง ทั้งนี้ก็ถือซะว่า คุณเองจะได้มีพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น นอกจากนั้นเครื่องมือหรือเครื่องจักรที่ซื้อมาราคาสูงและไม่ได้ใช้งาน ก็สามารถปล่อยเช่าเป็นรายได้ระยะยาวก็ยังได้

  1. ปล่อยโปรโมชั่น/ลดราคาสินค้า

การทำโปรโมชั่นหรือลดราคาสินค้า สามารถเพิ่มยอดขายให้คุณได้ดี จำนวนกำไรต่อชิ้นอาจจะลดลง แต่ถ้าสามารถขายได้จำนวนมากขึ้น ก็อาจจะดีกว่าขายได้น้อยหรือขายไม่ได้เลย โดยเฉพาะสินค้าที่ไม่ได้เป็นที่นิยมมากนัก นอกจากจะสามารถดึงดูดลูกค้าใหม่ๆ แล้ว ก็ยังเป็นการเอาใจลูกค้าขาประจำอีกด้วย แต่ข้อควรระวังในการลดราคานั้น ควรทำเฉพาะช่วงที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น เพราะหากคุณเอาแต่ลดราคา ลูกค้าอาจเคยชินกับการลดราคา หากคุณเลิกลดราคาเมื่อไร เขาก็จะหันไปซื้อเจ้าอื่นๆ ทันที

  1. เพิ่มราคาสินค้า

วิธีนี้แนะนำว่าให้ทำเมื่อคุณคิดว่าจำเป็นเท่านั้น เช่น ต้นทุนการผลิตหรือต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้นจนทำให้ต้นทุนต่อชิ้นมีราคาสูงขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ต้องแจ้งเหตุผลลูกค้าด้วยว่าเพราะอะไร การขึ้นราคานี้คุณจะต้องมั่นใจว่าลูกค้ายังเห็นข้อดีและความคุ้มค่าที่จะต้องจ่ายเงินเพิ่มในการใช้สินค้าหรือบริการของคุณต่อ และเขาจะไม่หนีไปพึ่งเจ้าอื่นที่สามารถใช้ทดแทนกันได้

  1. เพิ่มตัวเลือกในการจ่ายเงินของลูกค้า

การจ่ายสด งดเชื่อ อาจจะใช้ไม่ได้ในยุคเทคโนโลยีแบบนี้ ทริคง่ายๆ ที่จะเพิ่มยอดขายให้คุณคือ ลองเพิ่มตัวเลือกการจ่ายเงินให้ลูกค้า ทั้งการจ่ายผ่านบัตรเครดิต Online banking หรือถ้าธุรกิจของคุณสามารถซื้อขายออนไลน์ได้ PayPal ก็ถือว่าสำคัญ แถมยังเป็นระบบที่ใช้ได้ทั่วโลก แปลงค่าเงินให้คุณแบบอัตโนมัติ ไม่มีการชาร์จเงินลูกค้าคุณเพิ่ม การเพิ่มความสะดวกในการจ่ายเงินให้กับลูกค้า ยังเป็นการเพิ่มฐานกลุ่มลูกค้าให้ธุรกิจของคุณอีกด้วย

ถ้าวิธีที่กล่าวมานั้นยังไม่สามารถช่วยลดปัญหาได้ คุณอาจจะต้องมองหาเงินทุนเพิ่ม จากการกู้ธนาคารหรือการหยิบยืมจากคนรอบตัว แต่การยืมเงินจากครอบครัวหรือเพื่อน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ ความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับพวกเขา คุณจะมีวิธีการการจัดการอย่างไร เพื่อให้การทำธุรกิจของคุณไม่สร้างปัญหาให้กับคนรอบข้าง อย่างหนึ่งที่สามารถรักษาผลประโยชน์และความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่ายไว้ คือในระยะยาวอาจจะเสนอเป็นเงินปันผลหรือดอกเบี้ยให้กับพวกเขาพร้อมทั้งทยอยจ่ายเงินต้นไปด้วย

นี่อาจจะเป็นวิธีง่ายๆ ที่คุณสามารถจัดการระบบการเงินด้วยตัวเองได้ หากรู้สึกว่าตัวเองจัดการปัญหาเหล่านี้ได้ไม่ดีนัก ก็ลองหาผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินหรือที่ปรึกษาด้านธุรกิจให้คำแนะนำกับคุณดู อาจจะทำให้คุณรู้วิธีการแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาวได้นะครับ

เรื่องแนะนำ

กสิกรไทย

กสิกรไทย เพิ่มการปล่อยสินเชื่อธุรกิจ ตั้งเป้าปี63 สินเชื่อเติบโต 4-6 %

ก่อนหน้านี้ธนาคาร กสิกรไทย ได้มีการประชุมคณะกรรมการ เกี่ยวกับการ อนุมัติเป้าหมายทางการเงินของธนาคารกสิกรไทย สำหรับปี 2563 ซึ่งทางกสิกรเล็งเห็นว่า ปี 2563 ปัจจัยท้าทายกดดันเศรษฐกิจไทยยังคงมีอย่างต่อเนื่อง และเตรียมเดินหน้าสร้างบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าทั้งชีวิตและธุรกิจ มุ่งเน้นการบริหารจัดการต้นทุน และเพิ่มการปล่อยสินเชื่อรายย่อยด้วยการใช้ศักยภาพด้านการวิเคราะห์ข้อมูล พร้อมตั้งเป้าหมายสินเชื่อรวมเติบโต 4-6%   แผนปี 2563 ธนาคาร กสิกรไทย นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกรรมการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า “เศรษฐกิจไทยในปี 2563 ยังเผชิญความท้าทายจากปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ยังมีอยู่มาก โดยเฉพาะประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกา และจีนที่ยังคงยืดเยื้อ เงินบาทที่ยังคงแข็งค่าส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจระหว่างประเทศ คาดว่าปี 2563 การส่งออกไทยจะขยายตัวติดลบที่ -2% ด้านภาคเศรษฐกิจภายในประเทศจะเป็นปัจจัยหลักที่กระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจ จากการเดินหน้าโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทิศทางดอกเบี้ยมีแนวโน้มลดลง ท่ามกลางหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง”   ภายใต้ปัจจัยความท้าทายต่าง ๆ ธนาคาร กสิกรไทย กำหนดทิศทางการดำเนินงานปี 2563 กำหนดเป้าหมายธุรกิจ “To Empower Every Customer’s Life and Business” […]

Business Plan

สรุปขั้นตอนง่ายๆ เขียน Business Plan ให้เป๊ะ

Business Plan คือสิ่งสำคัญในการเริ่มต้นทำร้านอาหาร โดยประโยชน์หลักๆ มี 2 ข้อ คือ เพื่อใช้แสดงต่อสถาบันการเงิน และให้เจ้าของร้านเห็นภาพรวมในธุรกิจของตัวเอง

คำนวณเงิน ลงทุนร้านอาหาร

เปิดร้านอาหารจะคืนทุนกี่ปี วิธี คำนวณการลงทุนร้านอาหาร อย่างง่าย

เปิดร้านอาหาร ควรมีรายได้เท่าไรถึงจะคุ้มค่าการลงทุน ต้องเปิดร้านกี่ปี ถึงจะคืนทุนและมีกำไร โดยวิธี คำนวณเงิน ลงทุนร้านอาหาร จะแบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้

ต้นทุนร้านอาหาร

เผยวิธีคำนวณ ต้นทุนร้านอาหาร ที่เจ้าของกิจการต้องรู้!

การเงินและบัญชี เป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้และการ คำนวณ ต้นทุนร้านอาหาร ก็ถือเป็นปัจจัยที่ทำให้ตัวเลขในบัญชีของคุณแม่นยำมากขึ้น แต่จะคำนวณอย่างไร ไปติดตามกัน

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.