เคล็ด (ไม่) ลับ ทำร้านบุฟเฟต์ให้มีกำไร - Amarin Academy

เคล็ด (ไม่) ลับ ทำร้านบุฟเฟต์ให้มีกำไร

เคล็ด (ไม่) ลับ ทำร้านบุฟเฟต์ให้มีกำไร

ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีร้านบุฟเฟต์เยอะมากๆ เมื่อเทียบกับประเทศในแถบเอเชียด้วยกัน ไล่ไปตั้งแต่ อาหารญี่ปุ่นไม่ว่าจะเป็น ยากินิกุ ชาบูชาบู ซูชิบุฟเฟต์ หรืออาหารนานาชาติตามโรงแรมต่างๆ อาหารไทย เช่น หมูกระทะ ไก่ย่าง ส้มตำ ขนมจีน ไปจนถึงร้านขนม เนื่องด้วยพฤติกรรมและนิสัยของคนไทยที่ชอบกินอาหารเป็นกลุ่ม โดยไม่อยากมานั่งกังวลว่าจะต้องจ่ายเงินเท่าไหร่ ทำให้ธุรกิจร้านอาหารบุฟเฟต์โตสวนกระแสร้านอาหารประเภทอื่น แต่ขณะเดียวกันกลับมีไม่กี่ร้านที่สามารถยืนหยัดท่ามกลางการแข่งขันเหล่านี้ได้ ส่วนที่เหลือต่างล้มหายไปในระยะเวลาอันรวดเร็ว ด้วยหลายๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นควบคุมต้นทุนไม่ได้ ลูกค้าน้อยลงทำให้กำไรไม่เหลือ คู่แข่งตัดราคา ไม่มีจุดเด่นเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ฯลฯ วันนี้เลยอยากสรุปเทคนิคการ ทำร้านบุฟเฟต์ให้มีกำไร มาฝากกัน

1.ทำให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่า

จริงๆ แล้วลูกค้าไม่ได้สนใจว่าราคาบุฟเฟต์ของคุณจะถูกหรือแพง เขาสนใจแค่ว่าคุ้มหรือไม่คุ้มมากกว่า ฉะนั้นไม่ว่าคุณจะตั้งราคาบุฟเฟต์เท่าไหร่ จะ 99 บาทหรือ 1000 บาท จงมั่นใจว่าทุกเมนูที่คุณเสิร์ฟให้ลูกค้า จะทำให้เขารู้สึกคุ้มค่ากับเงินที่เสียไป โดยที่ไม่ได้รู้สึกว่าถูกยัดเยียดหรือเอาเปรียบ จำไว้ว่าลูกค้ามีทางเลือกเสมอ เมื่อเขารู้สึกว่าคุณไม่แฟร์ เขาก็พร้อมจะไปร้านอื่นทันที เพราะไม่ได้มีร้านคุณร้านเดียวที่ขายอาหารแบบนี้

2.บริหารจัดการต้นทุนให้ดี

“You can’t manage what you can’t measure” “คุณไม่สามารถบริหารจัดการอะไรที่คุณไม่สามารถตรวจวัดได้” ก่อนที่คุณจะเริ่มคิดถึงการบริหารจัดการต้นทุน คุณต้องรู้ก่อนว่าในแต่ละเมนูมีต้นทุนเท่าไหร่ มีส่วนประกอบอะไรบ้าง อย่างละกี่กรัม เมนูไหนออกมากหรือออกน้อย เหล่านี้เป็นเรื่องพื้นฐานที่คนทำร้านอาหารบุฟเฟต์มักละเลย เพราะชอบคิดว่าดูไปทำไม ในเมื่อเราไม่สามารถบังคับลูกค้าให้กินอย่างที่เราต้องการได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ถ้าเรารู้ว่าเมนูไหนมีต้นทุนที่สูงและไม่เป็นที่นิยม แค่เราตัดออกจะทำให้เราสามารถลด food costs ได้ทันที

3.บริหารของเสียให้เหลือน้อยที่สุด

ยิ่งคุณทำให้ของเสียในร้านเหลือน้อยเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้คุณมีกำไรที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น หากคุณใส่ใจในรายละเอียดและรู้จักมองหาไอเดียอะไรใหม่ๆ อาจทำให้คุณได้เมนูใหม่โดยที่ต้นทุนวัตถุดิบแทบไม่เพิ่มขึ้นเลยก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น ปลาแซลมอน 1 ตัว แทนที่เราจะแล่เอาหนังหรือเอาส่วนหัวปลาทิ้งไป คุณอาจเอามาทำหัวปลาต้มซีอิ๊ว หรือหนังปลาทอดกรอบ ก็จะทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าไลน์บุฟเฟต์ของคุณหลากหลายมากขึ้น โดยที่คุณแทบจะไม่เหลือเศษทิ้งเลย

เหล่านี้รวมไปถึงการทำให้ portion ของอาหารน้อยลง ก็อาจลดโอกาสที่ลูกค้าจะกินเหลือให้น้อยลงได้ เนื่องจากพฤติกรรมของคนที่กินบุฟเฟต์มักชอบลองอะไรหลายๆ อย่าง การที่แต่ละเมนูมีขนาดไม่ใหญ่นัก จะทำให้ลูกค้ามีโอกาสลองเมนูอื่นๆ มากขึ้น

4.คิดให้ดีก่อนทำโปรโมชั่น

ท่าไม้ตายที่คนทำร้านบุฟเฟต์ส่วนใหญ่ใช้ในการทำการตลาดก็คือการลดราคา ไม่ว่าจะเป็นลด 30% จากราคาเต็ม มา 4 จ่าย 3 หรือแม้กระทั่งมา 4 จ่าย 2 แน่นอนลูกค้าคุณอาจเพิ่มขึ้นอย่างถล่มทลายในระยะเวลาอันสั้น แต่เมื่อไหร่ที่คู่แข่งคุณลดราคาถูกกว่า หรือมีโปรโมชั่นที่ดึงดูดมากกว่า ก็มีโอกาสที่ลูกค้ากลุ่มนี้จะไหลไปร้านคู่แข่งคุณในทันที และสุดท้ายเกมมักจบลงที่ ไม่คุณก็คู่แข่งขาดทุนย่อยยับและต้องออกจากธุรกิจนี้ไป

ฉะนั้นก่อนที่จะทำให้โปรโมชั่น ให้กลับมาดูที่จุดยืนของแบรนด์ (Brand Positioning) ของคุณด้วยว่า ขายอะไรและขายใคร คุณอาจจะได้ลูกค้ากลุ่มใหม่ที่มาเพราะโปรโมชั่น แต่ในขณะเดียวกันคุณก็อาจเสียลูกค้ากลุ่มเดิมที่จงรักภักดีกับร้านคุณไป เพราะเขาคิดว่าคุณสูญเสียความเป็นตัวตนไปแล้ว และอาจทำให้คุณภาพของอาหารและการบริการที่เขาเคยได้รับลดลง

5.รสชาติและบริการคือพื้นฐานที่สำคัญที่สุด

คนทำร้านบุฟเฟต์มักคิดว่า ลูกค้าที่มาร้านบุฟเฟต์เขาคงดูที่ความคุ้มด้านปริมาณเป็นหลัก รสชาติอาหารหรือบริการคงไม่ซีเรียสมาก ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง คงไม่เป็นไร ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดมหันต์ แท้จริงแล้วไม่ว่าลูกค้าจะเสียเงินให้คุณเพื่อมากินบุฟเฟต์หรืออะลาคาร์ท คงไม่มีใครอยากกินอาหารที่ไม่อร่อยหรือไม่มีคุณภาพแน่นอน

ฉะนั้นควรตั้งใจทำอาหารทุกจาน รวมถึงใส่ใจในการบริการให้ดีที่สุดไม่ต่างจากร้านอาหารทั่วไป และถ้าคุณต้องการลดค่าใช้จ่าย ขอให้คุณเลือกที่จะบริหารจัดการต้นทุนก่อนที่จะลดคุณภาพของอาหารหรือบริการ เพราะเมื่อไหร่ที่คุณเลือกลดคุณภาพของวัตถุดิบ โอกาสที่ลูกค้าของคุณจะเลิกใช้บริการร้านคุณก็ย่อมมีมากขึ้นด้วยเช่นกัน

การทำร้านบุฟเฟต์มีขั้นตอน รายละเอียดและเคล็ดลับอีกมากมาย อย่าคิดเพียงว่า คนอื่นเปิดได้ เราก็เปิดได้ ศึกษาให้ดี แล้วลงมือทำอย่างมั่นใจดีกว่า

เรื่องแนะนำ

เทคนิค การบริหารร้าน ให้รุ่ง เจ้าของร้านควรโฟกัสเรื่องอะไรบ้าง

ไม่ว่าจะเปิดร้านอะไร แน่นอนว่า คุณย่อมหวังให้ธุรกิจของคุณไปได้ด้วยดี มีกำไร แต่การที่จะทำให้ร้านขายดี ทำกำไรได้นั้น ก็ต้องมี การบริหารร้าน ที่ดีด้วย ซึ่งเจ้าของร้านควรโฟกัสที่ในเรื่องอะไรบ้าง มาดูกันครับ เทคนิคการบริหารร้านให้รุ่ง เจ้าของร้านควรโฟกัสเรื่องอะไรบ้าง กำหนดทิศทาง ตั้งเป้าหมายให้ดี ธุรกิจร้านอาหารเป็นธุรกิจที่จะต้องมีการวางแผนเพื่อเติบโตในแต่ละปี เจ้าของร้านอาหารควรมีความชัดเจนในการกำหนดเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรม ให้ทิศทางการดำเนินงานที่ชัดเจน และสามารถสื่อสารความตั้งใจนั้นไปสู่ทีมงานร้านอาหารทุกฝ่ายได้  เช่น ตั้งใจให้เป็นร้านไก่ทอดที่ชนะร้านไก่ทอดชื่อดังภายใน 5  ปี โดยการขยายสาขาให้มากที่สุด  หรือเป็นร้านผักออแกนิกส์อันดับ 1 ที่มีกลยุทธ์จับมือกับพันธมิตรผู้ให้บริการฟิตเนส  การโฟกัสกับ  “การสร้างภาพความสำเร็จขึ้นในใจของทีมงาน เพื่อให้เขาเป็นส่วนหนึ่งในการที่จะสร้างความสำเร็จนั้น” เป็นสิ่งสำคัญ ก่อนที่จะกำหนดแผนงานเพื่อให้แต่ละฝ่ายรับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่ของตัวเอง และคอยตรวจสอบแผนงานนั้นอยู่เสมอ มองหาโอกาส เพื่อวางแผนการเติบโต             ร้านอาหารไม่ใช่การซื้อมาขายไป แต่การทำธุรกิจร้านอาหารให้อยู่รอด ต้องมองหาช่องทางในการเติบโต ธุรกิจร้านอาหารต้องมีการปรับตัวตลอดเวลา เนื่องจากมีปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อยอดขาย ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยภายนอกจากสภาวะการแข่งขัน หรือปัจจัยภายในที่เกิดจากการดำเนินงานของร้านเอง เจ้าของร้านอาหารที่ดีจึงควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาร้านอาหาร ตรวจสอบข้อผิดพลาดเพื่อแก้ไขจุดบกพร่อง ทำการบ้านเรื่องคู่แข่งอยู่ทุกวัน ในขณะเดียวกันก็มองหาโอกาสในการที่จะพัฒนาร้านให้พร้อมต่อการเติบโตในอนาคต วางแผนการเติบโตของพนักงานแต่ละฝ่าย             พนักงานร้านอาหารไม่ใช่ต้นทุน แต่เป็นทรัพยากรที่จำเป็นจะต้องส่งเสริมให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพมากที่สุด เพื่อให้พนักงานสามารถไปดูแลลูกค้าให้ดี สมกับที่นำรายได้มาให้เรา เจ้าของร้านอาหารนอกจากจะต้องรับรู้หน้าที่ของพนักงานแต่ละคนแล้ว ยังต้องวางแผนในการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและเติบโตในสายงาน […]

พฤติกรรมพนักงานบริการ

เช็ค 10 พฤติกรรมพนักงานบริการ ที่ร้านอาหารควรปรับปรุง

พนักงานบริการถือว่ามีความสำคัญต่อร้านอาหารมาก ฉะนั้นทางที่ดีมาเช็ค พฤติกรรมพนักงานบริการ ของร้านเราดีกว่า ว่าเข้าข่ายต้องรีบปรับปรุงหรือเปล่า

เทคโนโลยีดิจิตอล ตัวช่วยร้านอาหารยุคใหม่

  ระบบจัดการร้าน POS ระบบบริหารจัดการร้าน  POS ที่เจ้าของร้านอาหารหลายร้านนำมาใช้เพื่อบันทึกยอดขายหน้าร้าน   ซึ่งในปัจจุบันได้พัฒนาให้รองรับการบริหารจัดการร้าน และสนับสนุนในด้านการตลาดด้วยฟังค์ชั่นที่ทำได้มากกว่าการแค่บันทึกยอดขาย หรือการจัดการที่นั่ง นั่นก็คือ การมีระบบหลังบ้านที่ช่วยบันทึกและประมวลผล ซึ่งสามารถดูได้แบบเรียลไทม์ ยกตัวอย่าง เช่น เมนูขายดี ช่วงเวลาขายดี จำนวนการซื้อต่อหัว จำนวนบิล การจัดการโปรโมชั่น และการเชื่อมต่อเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าที่มากขึ้นได้ เช่น เดลิเวอร์รี่ การสั่งเมนูล่วงหน้า ที่เป็นประโยชน์ต่อร้านในการบริหารจัดการเมนู และการตลาด แต่ทราบไหมว่าการใช้ POS ปัจจุบันร้านอาหารหลายร้านยังใช้คุณสมบัติพิเศษของ POS ได้ไม่เต็มที่ เช่น  ความสามารถในด้านการประมวล ข้อมูลด้านต้นทุนต่อเมนู  ที่ POS สามารถบันทึก คำนวณผลกำไร การสูญเสีย รวมถึงสามารถใช้การบริหารวัตถุดิบ เพื่อจัดการสั่งซื้อได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาวัตถุดิบขาด ต้องเสียต้นทุนแฝงในการไปซื้อในกรณีเร่งด่วนได้ ซึ่งหากร้านของคุณมีการจัดทำข้อมูลด้านต้นทุน หรือการทำ Recipe ที่ดีอยู่แล้ว ก็ไม่ควรพลาดโอกาสที่จะใช้คุณสมบัติสำคัญนี้ด้วย ระบบ  POS นับว่าเป็นระบบที่สามารถรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นพื้นฐานต่อการบริหารให้ได้กำไรสูงสุดต่อร้านอาหารในปัจจุบัน เพราะฉะนั้นถ้าคุณเป็นร้านที่ใช้ระบบ POS อยู่แล้วควรให้ความสำคัญกับการใช้ฟีเจอร์ต่าง ๆ ให้เป็นประโยชน์สูงสุด […]

ธุรกิจร้านอาหารขนาดเล็ก

แนวคิดสำคัญช่วยให้ ธุรกิจร้านอาหารขนาดเล็ก เติบโต

บางคนใฝ่ฝันอยากมีร้านอาหารเป็นของตัวเอง มองเห็นภาพหน้าร้านสวยๆ ที่มีลูกค้านั่งอยู่เนืองแน่น แต่ความเป็นจริงแล้วภาพความสำเร็จที่เห็นอาจต้องแลกมากับชั่วโมงการทำงานอย่างหนัก ความมีระเบียบวินัย การให้ความใส่ใจอย่างเต็มที่

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.