เคล็ด (ไม่) ลับ ขจัดปัญหา พนักงานเปลี่ยนงานบ่อย - Amarin Academy

เคล็ด (ไม่) ลับ ขจัดปัญหา พนักงานเปลี่ยนงานบ่อย

เคล็ด (ไม่) ลับ ขจัดปัญหา พนักงานเปลี่ยนงานบ่อย

จากการที่ทีมงานได้ไปสัมภาษณ์เจ้าของธุรกิจหลายๆ ราย พบว่าปัญหาหลักที่ส่วนใหญ่มักเจอคือ อัตราการลาออกของพนักงานสูงมาก ส่งผลให้การทำงานสะดุด แถมยังต้องเสียเวลาคอยเทรนด์พนักงานใหม่เรื่อยๆ อีกด้วย วันนี้เราจึงรวบรวมเทคนิคดีๆ ที่ช่วยขจัดปัญหา พนักงานเปลี่ยนงานบ่อย มาฝาก

1.หาสาเหตุว่า ทำไมถึงลาออก

การที่พนักงานลาออกบ่อยๆ แทนที่จะโทษว่าพนักงานทำงานไม่ทน เจ้าของร้านควรหันกลับมามองที่สาเหตุของปัญหาว่า เพราะอะไรเขาถึงลาออก โดยอาจจะลองถามจากตัวพนักงานที่ลาออกว่า มีเรื่องไม่สบายใจตรงไหน เพราะอะไรจึงอยากลาออก หรือคอยสังเกตจากพนักงานปัจจุบันว่าเขามักบ่นเรื่องอะไรเป็นพิเศษ ไม่แน่ว่าสาเหตุที่เขาลาออกหลักๆ อาจมาจากการบริหารงานของตัวคุณเองก็ได้

2.ทบทวนเรื่องค่าตอบแทนและสวัสดิการ

เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่และเป็นเรื่องหลักที่ทำให้พนักงานหลายคนลาออก หากเขาทำงานหนัก ก็ควรต้องให้ค่าตอบแทนที่คุ้มค่าเหนื่อย และอย่ามองข้ามเรื่องสวัสดิการ เจ้าของร้านอาหารส่วนใหญ่ที่ทีมงานเคยไปสัมภาษณ์ เช่น ซูชิชิน โกอ่าง ข้าวมันไก่ประตูน้ำ มักให้คำแนะนำในการแก้ปัญหาว่า ต้องดูแลพนักงานให้ดี โดยเฉพาะเรื่องการรักษาพยาบาล เพราะนั่นเป็นปัจจัยที่ทำให้พนักงานรู้สึกสบายใจ และวางใจว่าเขาสามารถฝากชีวิตไว้กับเราได้

3.สร้างระบบทีม

การทำร้านอาหาร คือการทำงานเป็นทีม ต้องอาศัยความร่วมมือจากพนักงานทุกคน ตั้งแต่พนักงานรับรถ ยันเชฟในห้องครัว ทั้งหมดก็เพื่อทำให้ลูกค้าพึงพอใจมากที่สุด และหน้าที่ของเจ้าของร้านคือ ต้องทำให้พนักงานเข้าใจว่าทุกคนมีความสำคัญกับร้านเท่าเทียมกันทั้งหมด เมื่อเขาเห็นว่าตัวเองมีความสำคัญทั้งกับร้านและทีม เขาก็จะรักและอยากทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุดเอง

4.หาวิธีเพิ่มรายได้ให้พนักงาน

จริงๆ แล้วเงินเดือนพนักงานร้านอาหารไม่ได้มากมายนัก และเราก็ไม่สามารถรับภาระจ่ายเงินเดือนให้พวกเขาได้มากเท่าอาชีพอื่นๆ ดังนั้น เจ้าของร้านจึงต้องหาวิธีเพิ่มรายได้ให้พนักงานในช่องทางอื่น ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดให้ร้านมี service charge 10%  มีกล่องทิปหน้าเคาท์เตอร์คิดเงิน เป็นต้น

5.เปิดเผยข้อมูลธุรกิจให้พนักงานรู้

การที่เจ้าของปกปิดข้อมูลของร้าน อาจทำให้พนักงานรู้สึกไม่เป็นหนึ่งเดียวกับร้านอาหาร ฉะนั้นจึงควรเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับร้านอาหารบางส่วน เช่น กลุ่มลูกค้าที่วางไว้ แผนการดำเนินงานในอนาคต กลยุทธ์การตลาด โดยอาจขอความเห็นหรือคำแนะนำจากพนักงานว่า เขาคิดว่าการวางแผนเช่นนี้ดีหรือไม่ มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมไหม นี่ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่จะช่วยให้เขารู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกับร้าน รู้สึกว่าตัวเองมีความสำคัญ และอยากอยู่กับร้านไปนานๆ

6.จัดโปรแกรมพัฒนาทักษะพนักงาน

การจัดเทรนนิ่ง ฝึกทักษะให้พนักงานได้พัฒนาตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบริการ การปรุงอาหาร การบริหาร หรือทักษะอื่นๆ ที่เขาอยากเรียนรู้เพิ่มเติม และเป็นประโยชน์ต่อการทำงาน จะให้ช่วยพนักงานรู้สึกว่าเขามีโอกาสเติบโตไปพร้อมๆ กัน ทั้งนี้ทั้งนั้นแต่ละโปรแกรมก็ควรถามความต้องการและความสมัครใจของพนักงานด้วย เพราะหากเทรนด์ให้เขาทั้งๆ ที่เขาไม่เต็มใจ หรือไม่อยากเรียนรู้ การพัฒนาครั้งนั้นก็เปล่าประโยชน์

การดูแลพนักงานไม่ให้ลาออก ถือเป็นหน้าที่สำคัญของเจ้าของร้านเลยก็ว่าได้ ฉะนั้นหากเจ้าของร้านอาหารคนไหน ประสบปัญหานี้เป็นประจำ ควรหันมาตรวจสอบวิธีการทำงานและบริหารจัดการร้านของตนเอง แล้วลองปรับปรุงให้ดีขึ้น น่าจะช่วยลดอัตราการลาออกลงได้

เรื่องแนะนำ

จัดการร้านอาหาร

5 เคล็ดลับ จัดการร้านอาหาร ดี บริการเร็ว ยอดขายเพิ่ม

บทความนี้เราจะมาเล่าต่อว่า วิธีการบริหาร จัดการร้านอาหาร ที่ทำให้เราบริการลูกค้าได้เร็วขึ้น ย่นระยะเวลาการทำงานให้น้อยลงควรทำอย่างไร

ถ้าตัดสินใจลุยต่อ! สิ่งที่ต้องทำคืออะไรบ้าง? ในวันที่ขายได้แค่ “ซื้อกลับบ้าน”

ถ้าตัดสินใจลุยต่อ! สิ่งที่ต้องทำคืออะไรบ้าง? ในวันที่ขายได้แค่ “ ซื้อกลับบ้าน ” วิกฤตโรคระบาดครั้งนี้ดูจะไม่หายไปง่าย ๆ ถ้านับจากตอนระบาดใหม่ ๆ ก็กินเวลามาเป็นปี ๆ ทั่วโลกได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างหนัก ทำให้ตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภคหรือผู้ประกอบการก็ต่างอยู่ในจุดที่ต้องกอดเงินที่มีอยู่ไว้ให้แน่น  ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ประกอบการควรมีการวางแผนการเงินในระยะยาวให้ธุรกิจของคุณยังคงไปต่อได้ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจในช่วงวิกฤต ลองมาดูสิ่งที่ต้องทำในวันที่ขายได้แค่ “สั่งกลับบ้าน” 1.ประเมินความพร้อม: จากบทเรียนการระบาดครั้งก่อน ร้านที่ได้ลองทำเดลิเวอรีแล้วก็พอจะเห็นสถิติและพอประเมินได้ว่า ถ้าต้องเปลี่ยนมาขายแบบซื้อกลับเป็นหลัก ร้านจะมีรายได้เท่าไหร่ พอสำหรับจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมดหรือไม่ ถ้าประเมินแล้วคิดว่ารายได้โอเค สู้ไหว เปิดแล้วทำให้ร้านพอมีรายได้เข้าบ้างก็ไปข้อต่อไป 2.ต่อรองประนอมหนี้: “รายได้ลดลง รายจ่ายเท่าเดิม” สิ่งต่อมาที่ผู้ประกอบการต้องทำ คือ ลดภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือนให้ได้มากที่สุด ให้ตัวเบาที่สุด โดยทำการพูดคุยตกลงกับเจ้าของที่เพื่อขอลดค่าเช่า หรือขอแบ่งเบาภาระหนี้สินกับธนาคาร อย่างน้อย 1 – 2 เดือน เพื่อลดรายจ่ายเท่าที่เป็นไปได้ 3.เอายังไงกับพนักงาน: แม้ร้านจะไม่เปิดให้บริการนั่งทานในร้าน แต่การจ่ายค่าจ้างพนักงานยังคงอยู่ ดังนั้นสิ่งที่ผู้ประกอบการทำได้ คือ พยายามลดค่าใช้จ่ายด้านพนักงานให้ลดลง โดยการประเมินงานที่ต้องทำในแต่ละวันก่อนว่าร้านเราน่าจะใช้คนเท่าไหร่ ถ้าใช้คนน้อยให้ลองใช้วิธีแบ่งกะเวลาการทำงาน สลับเวลากันมาทำ แต่ต้องคุยกับพนักงานให้ชัดว่า ช่วงนี้อาจจะให้ค่าตอบแทนได้น้อยลง แต่อย่างน้อยก็มีงานทำอยู่ พร้อมทั้งวางแผนการทำงานให้ […]

ลูกค้าทำของหายในร้าน

เมื่อ ลูกค้าทำของหายในร้าน ยืนยันว่าพนักงานขโมย

เจ้าของร้านอาหารหลายราย คงเคยเจอเหตุการณ์ ลูกค้าทำของหายในร้าน กันใช่ไหมครับ หลายๆ คนก็มีวิธีแก้ไขสถานการณ์แตกต่างกันไป นี่ก็เป็นอีกวิธีที่อยากแชร์ให้ฟัง

เปิดร้านอาหาร

เปิดร้านอาหาร ดูแลร้านเอง VS จ้างคนมาคุมร้าน

เปิดร้านอาหาร ควรดูแลร้านเองหรือควรจ้างผู้จัดการร้านมาคุม ? เราจะลองมาเปรียบเทียบให้ฟังว่า การดูแลร้านเอง กับ การจ้างคนมาคุมร้าน มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.