8 วิธี ประหยัดค่าใช้จ่าย ภายในร้าน - Amarin Academy

8 วิธี ประหยัดค่าใช้จ่าย ภายในร้าน

8 วิธี ประหยัดค่าใช้จ่าย ภายในร้าน

เป็นที่ทราบดีว่า ค่าใช้จ่ายของธุรกิจร้านอาหารค่อนข้างสูง ไหนจะค่าพนักงาน ค่าวัตถุดิบ ค่าน้ำ ค่าไฟ ฯลฯ หากสามารถลดรายจ่ายช่องทางไหนได้ก็ควรทำ ฉะนั้นเราจึงมี  10 วิธี ประหยัดค่าใช้จ่าย ภายในร้าน ที่หลายคนอาจมองข้าม แต่ช่วยลดรายจ่ายได้จริง คอนเฟิร์ม!

1.ใช้หลอดประหยัดไฟ

หากคุณเปิดร้านอาหารจะทราบดีว่า ค่าไฟของร้านอาหารค่อนข้างสูง เนื่องจากร้านอาหารต้องเปิดไฟทั้งวัน ไม่ว่าจะมีลูกค้าหรือไม่ก็ตาม ดังนั้นการเลือกใช้หลอดประหยัดไฟ จึงเป็นทางเลือกที่ดีมาก สามารถช่วยลดค่าไฟได้สูงสุดถึง 20 เปอร์เซ็นต์ต่อปี หรือสำหรับร้านอาหารเปิดใหม่ อาจตั้งโจทย์ให้สถาปนิกออกแบบร้านให้แสงสว่างเข้าถึงได้มาก เพื่อจะได้ช่วยประหยัดไฟ ได้อีกทางหนึ่ง

2.ใช้เครื่องล้างจานก็ต่อเมื่อจานเต็มเครื่อง

เครื่องล้างจานเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่ช่วยประหยัดเวลา และค่าจ้างพนักงาน แถมจานยังสะอาดหมดจด ไม่ต้องเสียเวลามานั่งล้างนั่งเช็ดจานอีกด้วย ขณะเดียวกัน การใช้เครื่องล้างจาน ก็มีข้อเสียที่ต้องใช้น้ำเยอะกว่าการล้างจานด้วยมือ ฉะนั้นควรใส่จานให้เต็มเครื่องก่อนล้างจาน จะช่วยประหยัดน้ำได้มากขึ้น

3.ใช้สุขภัณฑ์ชนิดประหยัดน้ำ

ข้อนี้ก็ไม่ควรมองข้าม เพราะเมื่อลูกค้ามาใช้บริการร้านอาหาร ร้อยทั้งร้อยต้องเข้าห้องน้ำ ฉะนั้นการเปลี่ยนมาใช้สุขภัณฑ์ชนิดประหยัดน้ำ จะช่วยลดการใช้ได้น้ำสูงถึง 20-40 % รายจ่ายของคุณก็จะลดลงตามไปด้วย

4.เปลี่ยนจากพลาสติกเป็นแก้ว

ร้านอาหารหลายร้านนิยมใช้แก้วพลาสติกในการเสิร์ฟน้ำ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภค หากดื่มไม่หมดก็สามารถนำกลับบ้านได้ และทางร้านก็ไม่ต้องมานั่งล้างทำความสะอาดแก้วอีกด้วย แต่หากร้านของคุณอยากลดรายจ่ายจริงๆ ลองเปลี่ยนมาใช้แก้วแบบถาวรจะดีกว่า นอกจากจะช่วยลดรายจ่ายแล้ว ยังช่วยลดปริมาณขยะในโลกของเราอีกด้วย

5.ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงาน

การเปลี่ยนมาใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน อาจจะไม่เห็นผลในระยะสั้น แต่จะส่งผลต่อดีค่าใช้จ่ายในระยะยาวแน่นอน เนื่องจากทุกวันเราต้องใช้ตู้เย็น เตาอบ เครื่องล้างจาน ฯลฯ ติดต่อกันหลายชั่วโมง ต้องเสียค่าไฟแทบจะตลอดเวลา ฉะนั้นเปลี่ยนมาใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงานดีกว่า คุ้มค่ากว่าเยอะ

6.ตัดบางเมนูทิ้งไป

บางเมนูที่ไม่เป็นที่นิยมนัก นานๆ จะมีลูกค้าสั่งสักครั้งหนึ่ง เจ้าของร้านก็ควรตัดเมนูนั้นทิ้งไป เพื่อลดรายจ่ายด้านวัตถุดิบลง แถมยังช่วยลดปริมาณของเสียภายในร้านได้อีกด้วย (อ่านต่อ: เหตุที่ควรพัฒนาเมนู)

  1. ทำการตลาดทางออนไลน์

การตลาดช่องทางนี้เสียค่าใช้จ่ายไม่มาก แถมมีประสิทธิภาพสูงอีกด้วย เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคยุคปัจจุบันนั้นเปลี่ยนไปมาก สนใจรับข่าวสารจากอินเทอร์เน็ตมากกว่าสื่ออื่นๆ ฉะนั้น เจ้าของธุรกิจควรทำการตลาดช่องทางนี้

8.เทรนด์พนักงาน

เจ้าของกิจการ ควรการฝึกให้พนักงานทำงานอย่างเป็นระบบ และพัฒนาศักยภาพของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ เพราะการที่เขาทำงานได้ดีขึ้น ข้อผิดพลาดน้อยลง เช่น รับออร์เดอร์ไม่ผิด ไม่ทำข้าวของในร้านเสียหาย ก็มีส่วนช่วยในการประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่ง

8 ข้อนี้เป็นวิธีง่ายๆ ที่ทุกร้านสามารถทำตามได้ อย่ามองข้ามจุดเล็กๆ น้อยๆ เพราะเงินที่คุณคิดว่าเล็กน้อยนั้น เมื่อนำมารวมกัน อาจนำมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายได้อีกเดือนหนึ่งเลยก็ได้

เรื่องแนะนำ

ถ้าตัดสินใจลุยต่อ! สิ่งที่ต้องทำคืออะไรบ้าง? ในวันที่ขายได้แค่ “ซื้อกลับบ้าน”

ถ้าตัดสินใจลุยต่อ! สิ่งที่ต้องทำคืออะไรบ้าง? ในวันที่ขายได้แค่ “ ซื้อกลับบ้าน ” วิกฤตโรคระบาดครั้งนี้ดูจะไม่หายไปง่าย ๆ ถ้านับจากตอนระบาดใหม่ ๆ ก็กินเวลามาเป็นปี ๆ ทั่วโลกได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างหนัก ทำให้ตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภคหรือผู้ประกอบการก็ต่างอยู่ในจุดที่ต้องกอดเงินที่มีอยู่ไว้ให้แน่น  ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ประกอบการควรมีการวางแผนการเงินในระยะยาวให้ธุรกิจของคุณยังคงไปต่อได้ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจในช่วงวิกฤต ลองมาดูสิ่งที่ต้องทำในวันที่ขายได้แค่ “สั่งกลับบ้าน” 1.ประเมินความพร้อม: จากบทเรียนการระบาดครั้งก่อน ร้านที่ได้ลองทำเดลิเวอรีแล้วก็พอจะเห็นสถิติและพอประเมินได้ว่า ถ้าต้องเปลี่ยนมาขายแบบซื้อกลับเป็นหลัก ร้านจะมีรายได้เท่าไหร่ พอสำหรับจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมดหรือไม่ ถ้าประเมินแล้วคิดว่ารายได้โอเค สู้ไหว เปิดแล้วทำให้ร้านพอมีรายได้เข้าบ้างก็ไปข้อต่อไป 2.ต่อรองประนอมหนี้: “รายได้ลดลง รายจ่ายเท่าเดิม” สิ่งต่อมาที่ผู้ประกอบการต้องทำ คือ ลดภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือนให้ได้มากที่สุด ให้ตัวเบาที่สุด โดยทำการพูดคุยตกลงกับเจ้าของที่เพื่อขอลดค่าเช่า หรือขอแบ่งเบาภาระหนี้สินกับธนาคาร อย่างน้อย 1 – 2 เดือน เพื่อลดรายจ่ายเท่าที่เป็นไปได้ 3.เอายังไงกับพนักงาน: แม้ร้านจะไม่เปิดให้บริการนั่งทานในร้าน แต่การจ่ายค่าจ้างพนักงานยังคงอยู่ ดังนั้นสิ่งที่ผู้ประกอบการทำได้ คือ พยายามลดค่าใช้จ่ายด้านพนักงานให้ลดลง โดยการประเมินงานที่ต้องทำในแต่ละวันก่อนว่าร้านเราน่าจะใช้คนเท่าไหร่ ถ้าใช้คนน้อยให้ลองใช้วิธีแบ่งกะเวลาการทำงาน สลับเวลากันมาทำ แต่ต้องคุยกับพนักงานให้ชัดว่า ช่วงนี้อาจจะให้ค่าตอบแทนได้น้อยลง แต่อย่างน้อยก็มีงานทำอยู่ พร้อมทั้งวางแผนการทำงานให้ […]

เพิ่มยอดขาย

เสิร์ฟเร็วขึ้น 10 นาที เพิ่มยอดขาย ได้ปีละ 4 แสน!

ร้านอาหาร ส่วนใหญ่มักเลือกเล่นโปรโมชั่นเพื่อ เพิ่มยอดขาย แต่เรามีวิธีทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น โดยที่กำไรไม่ลดลง แถมยอดขายยังสูงสม่ำเสมอ มาแนะนำ

วิเคราะห์ ปัญหาร้านอาหาร ทำการตลาดดีแต่ไม่มีลูกค้าประจำ

เชื่อไหมว่า… ปัญหาร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านประสบชะตากรรมยอดขายตก มักจะมีคำถามว่าทำการตลาดอย่างไรดีช่วงนี้ให้ลูกค้าเข้าร้านเยอะ ๆ แทนที่จะตั้งคำถามว่า Operation อย่างไรให้ดี จนลูกค้าบอกต่อโดยไม่ต้องทุ่มงบทำการตลาด ซึ่งเจ้าของร้านอาหารบางท่าน ก็ไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่า Operation ทำหน้าที่ไล่ลูกค้าไปกี่คนแล้วต่อเดือน !   ทำไมการตลาดเรียกลูกค้า Operation ไล่ลูกค้า ?             ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณา การจัดทำโปรโมชั่น ล้วนเป็นการสร้างความเคลื่อนไหวให้กับร้าน ทำให้ลูกค้าเกิดความสนใจ และตัดสินใจลองใช้บริการมากขึ้นในช่วงนั้น ๆ ซึ่งร้านอาหารมีโอกาสที่จะเปลี่ยนลูกค้าใหม่ให้เป็นลูกค้าประจำ และทำให้ลูกค้าประจำมีการซื้อมากขึ้นได้ ในทางกลับกันถ้า Operation มีจุดบอดก็จะเปิดโอกาสให้ลูกค้ามาเจอกับประสบการณ์ที่ไม่ดีได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพนักงานบริการไม่ดี อาหารออกช้า ความไม่คงที่ของรสชาติและปริมาณ แทนที่จะเพิ่มยอดขาย กลับทำให้ร้านเกิดผลกระทบด้านลบในระยะยาวแทน เช่นเดียวกัน ถ้าหากร้านของคุณยังมีปัญหาด้าน Operation ก็ยากที่จะครองใจลูกค้าไว้ได้ แม้จะดันการตลาดมากแค่ไหนก็ตาม   การตลาดที่ดีต้องคำนึงถึงการ Operation หน้าร้านด้วย             กรณีศึกษา เกิดขึ้นกับร้านอาหารในประเทศจีน ทำการตลาดกินฟรี โดยกำหนดช่วงเวลา เพื่อหวังให้ร้านเป็นที่รู้จักในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่ปรากฏว่าการจัดการหน้าร้านไม่สามารถรองรับจำนวนลูกค้าที่ล้นหลามได้ และยังทำให้ร้านอาหารประสบกับปัญหาขาดทุนจากการจัดการต้นทุนที่ผิดพลาด แทนที่ร้านจะมีชื่อเสียงกลับทำให้เจ้าของร้านต้องตัดสินใจปิดร้านในเวลาอันรวดเร็ว การทำการตลาดจึงต้องคำนึงถึงความพร้อมของการจัดการหน้าร้านด้วย […]

วิธีรับมือลูกค้า ที่มีปัญหา รับมืออย่างไรให้เจ๋ง พลิกวิกฤตเป็นโอกาสได้

เชื่อไหมว่า….เจ้าของร้านอาหารหลายร้านไม่รู้ว่าจะมี วิธีรับมือลูกค้า ที่มีปัญหาอย่างไร ? หรือบางรายก็คิดว่าการรับมือลูกค้าเป็นเรื่องของศิลปะและประสบการณ์ ถ้าเกิดก็ปรับไปตามหน้างานก็พอ ซึ่งร้านอาหารจำนวนไม่น้อย ไม่มีการกำหนดขั้นตอนการรับมือลูกค้า และไม่เคยฝึกพนักงานให้รับมือ สุดท้าย…มีร้านอาหารที่ต้องเจ๊ง เพราะรับมือกับลูกค้าไม่เป็น Customer Complain Handling เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานการบริการ SOP  เพื่อให้ทีมงานสามารถนำไปปฏิบัติได้ สามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ หรืออย่างน้อยก็ต้องส่งผลเสียกับร้านน้อยที่สุด  มาดูกันว่ามีแนวทางอะไรบ้าง ที่ควรรู้ก่อนนำไปกำหนดรูปแบบของร้านคุณเอง Customer Complain Handling วิธีรับมือลูกค้า ที่ควรรู้! กำหนดความร้ายแรงให้กับกรณี วิธีรับมือลูกค้า เมื่อเกิดปัญหาโดยทั่วไปนั้น มีลำดับขั้นตอนที่ไม่แตกต่างกันนัก ไม่ว่าจะเป็นการขอโทษก่อนเป็นลำดับแรก จากนั้นสอบถามเรื่องที่เกิดขึ้น  และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าโดยทันที แต่สิ่งที่ทำให้การรับมือกับปัญหาต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้กว่านั้น คือ การกำหนดระดับความรุนแรงของปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดหน้าร้านเข้าไปด้วย เพราะจะช่วยให้ทีมงานร้านอาหารสามารถจัดการกับปัญหาตรงหน้าได้อย่างเหมาะสม เพราะในแต่ละช่วงเวลาร้านอาจจะยุ่ง มีลูกค้ารายอื่น ๆ ที่ต้องบริการ รวมถึงระดับความไม่พอใจของลูกค้านั้นกระทบกับบรรยากาศของร้าน หรือการบริการกับลูกค้าอื่น ๆ ต่างกัน การกำหนดระดับความรุนแรงจากมากไปน้อย เป็นเหมือนเครื่องมือในการสื่อสารกับทีมงานในส่วนต่าง ๆ ของร้านว่ากำลังใช้แผนการใดในการรับมือ เช่น ต้องเร่งรีบแค่ไหน ต้องการตัวช่วยระดับผู้จัดการหรือไม่ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.