ข้อดี/พิจารณา บริการน้ำเปล่า “ตั้งบนโต๊ะ" กับ “ให้ลูกค้าสั่ง” แบบไหนเหมาะร้านคุณ

เทียบ ข้อดี – ข้อพิจารณา บริการน้ำเปล่า “ตั้งน้ำไว้บนโต๊ะให้ลูกค้าหยิบ” กับ “ให้ลูกค้าสั่งกับพนักงาน”

เทียบ ข้อดี – ข้อพิจารณา บริการน้ำเปล่า
“ตั้งน้ำไว้บนโต๊ะให้ลูกค้าหยิบ” กับ “ให้ลูกค้าสั่งกับพนักงาน”
บริการแบบไหนเหมาะกับร้านคุณ!?

เวลาไปร้านอาหารคุณชอบบริการแบบไหนมากกว่ากัน!? ระหว่างร้านที่ “ตั้งน้ำไว้บนโต๊ะให้ลูกค้าหยิบ” กับ “ให้ลูกค้าสั่งกับพนักงาน” ในแง่ของผู้ประกอบการรูปแบบบริการ 2 อย่างข้างต้นต่างก็มีข้อดี ข้อด้อยแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับร้าน แต่แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าแบบไหนเข้ากับร้านเราล่ะ ? ลองมาดูข้อดี ข้อด้อยของบริการน้ำดื่ม 2 รูปแบบนี้เพื่อช่วยในการตัดสินใจนำมาปรับใช้กับร้านคุณสิ!
.
หมายเหตุ: น้ำดื่มที่ยกมาพูดถึง คือ น้ำเปล่า ซึ่งในที่นี้จะขอเรียกสั้น ๆ ว่า “น้ำ”
.
<<ตั้งน้ำไว้บนโต๊ะให้ลูกค้าหยิบ>>
😁ข้อดี
1.แน่นอนว่าวิธีนี้ทำให้ลูกค้าสามารถหยิบน้ำดื่มเติมเองได้ทันที ไม่ต้องรอเรียกพนักงานให้มารับออเดอร์หรือรอพนักงานเดินไปหยิบน้ำมาเสิร์ฟ เรียกได้ว่าเป็นวิธีที่ทันใจลูกค้า
2.เนื่องจากการมีน้ำมาตั้งอยู่ใกล้ ๆ ทำให้ลูกค้ามีแนวโน้มเปิดเครื่องดื่มเพิ่มมากกว่าการต้องสั่งให้พนักงานมาเสิร์ฟ เพราะลูกค้าสามารถตัดสินใจได้เดี๋ยวนั้น จะดื่มก็หยิบเพิ่มเลย ในทางกลับกันถ้าต้องใช้เวลาในการรอ ลูกค้าก็อาจจะเปลี่ยนใจแล้วเลือกที่จะกลับไปกินที่บ้านหรือที่อื่นแทน เพราะเพียงเสี้ยวนาทีก็มีผลต่อการตัดสินใจ
3.เมื่อมีน้ำไว้บริการบนโต๊ะอยู่แล้วทำให้ภาระงานของพนักงานลดลง ข้อนี้อาจเห็นได้ไม่ชัดในการเสิร์ฟรอบแรก เพราะถึงพนักงานไม่ได้มาเสิร์ฟน้ำ แต่ก็อาจมีการเสิร์ฟน้ำแข็ง และต้องเสิร์ฟอาหารอยู่แล้ว แต่เมื่ออาหารออกหมด ลูกค้ารับประทานมาได้สักพักน้ำก็อาจจะหมด ทีนี้เมื่อมีน้ำอยู่บนโต๊ะ ลูกค้าก็ไม่จำเป็นต้องเรียกพนักงานเพื่อมารับออเดอร์ เพราะสามารถหยิบน้ำเติมเองได้เลย ทำให้พนักงานมีภาระงานต่อโต๊ะน้อยลง อีกทั้งสามารถไปทำอย่างอื่นหรือบริการโต๊ะอื่นได้อีก
.
🤨ข้อพิจารณา
1.การตั้งน้ำไว้บนโต๊ะอาจทำให้การจดออเดอร์รวมอาหารและเครื่องดื่มตกหล่น เนื่องจากการจดออเดอร์แบบนี้จะไม่ผ่านหน้าเคาน์เตอร์ แต่จะเป็นการมาเช็คหลังลูกค้ารับประทานอาหารเสร็จ ซึ่งมีโอกาสเช็คออเดอร์ตกหล่นอย่างไม่ตั้งใจได้ เช่น การที่ลูกค้าวางขวดไว้ด้านล่างแล้วลืม พอพนักงานมาเช็คก็ไม่ทันได้สังเกตทำให้ร้านเสียรายได้ส่วนนั้นไป
2.เมื่อตั้งน้ำทิ้งไว้ แม้เวลาจะผ่านไปไม่นานแต่ก็มีโอกาสที่ฝุ่นหรือละอองจะมาเกาะที่ขวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในร้านที่เป็นแบบ outdoor ที่เป็นร้านเปิด ลมก็อาจจะพัดฝุ่นควันเข้าร้านได้มากซึ่งตรงนี้ถ้าไม่หมั่นดูแลรักษาความสะอาดก็จะส่งผลต่อภาพลักษณ์เรื่องความสะอาดของร้านได้ ลองจินตนาการว่าถ้าลูกค้าหยิบขวดน้ำขึ้นมาแล้วมีแต่ฝุ่นเกาะดำปี๋ ก็ดูไม่น่าพิศมัยเท่าไหร่ใช่ไหมล่ะ


<<ให้ลูกค้าสั่งกับพนักงาน>>
😁ข้อดี
1.เมื่อเป็นการหยิบใหม่มาเสิร์ฟ อาจทำให้ลูกค้ามีทางเลือกในการบริโภคเยอะขึ้น เช่น น้ำแบบแช่เย็น เพราะน้ำที่ตั้งอยู่บนโต๊ะไม่เย็นแน่ ๆ อีกทั้งอาจมีน้ำดื่มยี่ห้ออื่นให้เลือก เพราะก็มีผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยที่ชื่นชอบรสชาติของน้ำดื่มยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งเป็นพิเศษทำให้เว้นการดื่มน้ำยี่ห้อที่ไม่ชอบ
2.พนักงานสามารถเช็คสินค้าก่อนจะไปถึงมือลูกค้าได้ เช่น สิ่งแปลกปลอมที่อาจติดไปกับขวด ตำหนิของฝาขวด รวมถึงความสะอาดของขวด ซึ่งถ้าลูกค้าได้รับไปแล้วสังเกตเห็นว่าสินค้าที่ได้ด้อยคุณภาพ ก็ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของร้าน
3.โอกาสที่ออเดอร์จะตกหล่นน้อย เพราะออเดอร์ออกผ่านเคาน์เตอร์ ซึ่งเมื่อพนักงานเสิร์ฟมาสั่ง พนักงานหน้าเคาน์เตอร์ก็จะทำการจดบันทึกทันที อีกทั้งในบางร้านใช้เครื่อง POS ที่สามารถบันทึกรายการสินค้าและตัดสต็อกได้เลย พนักงานไม่ต้องไปรอเช็คออเดอร์รวมตอนเก็บเงิน

🤨ข้อพิจารณา
1.ลูกค้าต้องรอสั่งจากพนักงานเพียงอย่างเดียว ซึ่งถ้าเป็นเวลาปกติหรือในร้านที่มีจำนวนพนักงานเยอะคงไม่มีปัญหา แต่ถ้าอยู่ในชั่วโมงเร่งด่วนแถมร้านยังมีจำนวนพนักงานน้อย อาจทำให้พนักงานให้บริการลูกค้าไม่ทั่วถึง เช่น ลูกค้าต้องการจะสั่งน้ำแต่พนักงานที่ดูแลโต๊ะหายและไม่มีพนักงานคนไหนว่างมารับออเดอร์ก็อาจทำให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกไม่พอใจได้
2.อยากจะเพิ่มยอดขายน้ำ พนักงานต้องพูดให้เป็น ส่วนใหญ่เราจะพบว่าเราจะได้ยอดขายน้ำเพิ่มขึ้น ต่อเมื่อลูกค้าต้องการสั่งเพิ่มด้วยตัวเอง ทั้งนี้ถ้าอยากจะเพิ่มยอดขายน้ำ พนักงานต้องมีทักษะในการพูดและรู้จักจังหวะในการเข้าไปเสนอขายเพิ่มเติม เช่น เข้าไปเสนอขายน้ำเปล่าในขณะที่น้ำขวดเก่าใกล้จะหมด “รับน้ำอีก 1 ขวดเพิ่มไหมครับ”
.
ทั้งนี้การเลือกนำรูปแบบบริการเครื่องดื่มไปใช้ในร้านยังต้องคำนึงถึงเรื่องอื่น ๆ อีก ทั้งจำนวนพนักงาน จำนวนลูกค้า ประเภทร้าน รวมถึงความคาดหวังของลูกค้าที่มีต่องานบริการ อย่างในร้านอาหารที่ราคาสูงลูกค้าก็คาดหวังว่าจะได้รับการบริการจากพนักงานเป็นอย่างดี คุ้มค่ากับเงินที่จ่าย อย่างไรก็ตามทุกคนลองไปเปรียบเทียบกันดูว่าบริการแบบไหนเหมาะกับร้านของคุณมากกว่ากัน แล้วนำไปปรับใช้กันนะคะ
.
#AmarinAcademy #ร้านอาหาร

เรื่องแนะนำ

เทคนิคเรียกลูกค้า

เทคนิคเรียกลูกค้า (ที่ไลก์เพจ) ให้เข้ามาใช้บริการที่ร้านอาหาร

จะทำอย่างไรให้ลูกค้าที่กดไลก์เพจ เข้ามาใช้บริการที่ร้านอาหารเพิ่มขึ้น หากคุณกำลังกังวลใจกับเรื่องนี้อยู่ ลองนำเอา 5 เทคนิคเรียกลูกค้า นี้ไปปรับใช้กัน

6 ปัญหาที่ต้องระวัง  ในการนำ ร้านอาหารเข้าระบบเดลิเวอรี

6 ปัญหาที่ต้องระวัง เมื่อนำ ร้านอาหารเข้าระบบเดลิเวอรี

        การจะนำ ร้านอาหารเข้าระบบเดลิเวอรี เป็นทางเลือกกึ่งบังคับของผู้ประกอบการหลายๆท่าน ในช่วงที่มีการ Shutdown กรุงเทพฯ รวมถึงอีกหลายจังหวัดจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 การปรับตัวเข้าสู่ระบบเดลิเวอรี จึงเป็นการเพิ่มโอกาสทำยอดขายทางออนไลน์ เพื่อชดเชยกับยอดขายหน้าร้านที่ลดลง รวมถึงเป็นการเพิ่มช่องทางในการขายใหม่ๆให้กับลูกค้า แต่ระบบนี้ก็ไม่ได้มีแต่ข้อดีเสมอไป ลองมาดูปัญหาที่ผู้ประกอบการควรระวังเพื่อไม่ให้ร้านขาดทุน!! หากต้องนำร้านอาหารเข้าร่วมให้บริการเดลิเวอรี 6 ปัญหาที่ต้องระวัง  เมื่อนำ ร้านอาหารเข้าระบบเดลิเวอรี 1. ไม่สามารถรักษาคุณภาพและรสชาติของอาหารได้         การส่งอาหารผ่านระบบเดลิเวอรี จะต้องมีการควบคุมมาตรฐานของอาหาร โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าอาหารจะต้องปรุงสุกใหม่ เนื้อสัตว์ควรผ่านกระบวนการทำอาหารที่อุณหภูมิมากกว่า 70 องศาเซลเซียส และหลีกเลี่ยงการจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุกเพื่อป้องกันการปนเปื้อนในอาหาร         นอกจากนี้ ผู้ประกอบการอาจจะต้องเจอกับปัญหารสชาติและคุณภาพของอาหารที่ด้อยลง ซึ่งมีสาเหตุได้จากหลายปัจจัย เช่น เกิดจากระยะเวลาในการจัดส่งที่ล่าช้า หรือการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสมกับชนิดของอาหาร เช่น อาหารทอด เมื่อนำบรรจุลงกล่องที่ปิดมิดชิด จะทำให้เกิดไอน้ำควบแน่นอยู่ที่ฝากล่อง และเกิดความชื้นทำให้อาหารนั้นไม่กรอบ รสชาติและสัมผัสของอาหารจึงไม่เหมือนเดิม ทางร้านควรมีแนวทางการแก้ไข โดยอาจจะเลือกใช้กล่องที่มีรูระบายความร้อน […]

“กะหล่ำผัดน้ำปลา” หรือ “กะหล่ำทอดน้ำปลา” คือเมนูเดียวกันไหม?

“กะหล่ำผัดน้ำปลา” หรือ “กะหล่ำทอดน้ำปลา” เมนูคิดไม่ตก ทั้งร้านและลูกค้า สั่งอันนี้ได้อีกอย่าง ตกลงเมนูเดียวกันไหม? “กะหล่ำผัดน้ำปลา” หรือ “กะหล่ำทอดน้ำปลา” เมนูเดียวกันหรือเปล่า? เป็นเมนูที่ค่อนข้างสร้างความสับสนให้กับทั้งคนกิน คนขาย เป็นอย่างมากกับเมนู “กะหล่ำผัดน้ำปลา” และ “กะหล่ำทอดน้ำปลา” ที่บางทีก็ทำให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ตรงกันระหว่างลูกค้าและร้านได้ เมื่อเมนูนี้มาเสิร์ฟ ซึ่งล่าสุดก็ได้มีผู้ใช้ทวิตเตอร์คนหนึ่งได้มาทวีตภาพเปรียบเทียบให้เห็นชัด ๆ ว่าจริง ๆ แล้ว 2 เมนูนี้ คือคนละเมนูกัน! โดยผู้ใช้ทวิตเตอร์รายนี้ได้ทวีตรูป 2 เมนูที่เป็นประเด็นพร้อมข้อความว่า “เทียบให้เห็นภาพ ซ้าย กะหล่ำ “ผัดน้ำปลา” ขวา กะหล่ำ “ทอดน้ำปลา” ที่เรามีปัญหาเพราะร้านอาหารส่วนมากจะเขียนลงเมนูว่า กะหล่ำทอดน้ำปลา แต่ทำออกมาหน้าตาแบบกะหล่ำผัด กะหล่ำผัดน้ำปลาจะน้ำเจิ่งนอง ผัดนิ่ม กะหล่ำทอดน้ำปลาจะแห้ง น้ำมันเคลือบผิวกะหล่ำ เกรียม ๆ น้ำปลาไหม้ ต่างอย่างเห็นได้ชัด” 🔸ความเห็นชาวเน็ต💬 ซึ่งหลังจากที่โพสต์นี้ออกไปก็ได้มีผู้ใช้ทวิตเตอร์ต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นแชร์ประสบการณ์ของตนเองด้วยเหมือนกัน เช่น 🗣💬 “เคยทำให้แฟนกินครั้งนึง เราทำออกมาแบบขวา ผช.บอกทำกับข้าวแค่นี้ก็ไหม้ […]

ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร

ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้!

ร้านอาหารที่ประสบความสำเร็จ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความอร่อยหรือการตกแต่งร้านเท่านั้น แต่ต้องอาศัย “ทีมงาน” ที่ดีมีคุณภาพ ช่วยกันสร้างสรรค์ขึ้นมา เจ้าของร้านบางท่านอาจจะคิดว่าให้ทีมแบ่งงานกันทำง่ายๆ ใครว่างก็ไปช่วยคนอื่นทำต่อ แต่ถ้าจะบริหารร้านให้เป็นระบบอย่างมืออาชีพแล้ว ควรจะแบ่งงานกันอย่างไร มาศึกษาการแบ่ง  ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้! ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้! ร้านอาหารแต่ละชนิดก็จะต้องการพนักงานที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันไป โดยเราสามารถแบ่งประเภทพนักงานออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ พนักงานหลังร้าน และพนักงานหน้าร้าน  พนักงานหลังร้าน ความสามารถที่จำเป็นของพนักงานหลังร้านหรือในครัวนั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของร้านอาหาร และความซับซ้อนของเมนูในร้าน เช่น ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด พนักงานไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ในครัวมากนัก ก็สามารถประกอบอาหารได้ตามมาตรฐาน แต่ถ้าเป็นร้านอาหารญี่ปุ่น คงต้องการเชฟที่มีประสบการณ์มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นความรู้เกี่ยวกับวัตถุดิบ ความสามารถในการใช้มีด การแล่ปลา การปั้นซูซิและทำอาหารญี่ปุ่นอื่นๆ  ยิ่งเป็นร้านที่พัฒนามากขึ้น ตำแหน่งก็จะยิ่งละเอียด เพื่อความชัดเจนในหน้าที่ ลดความซ้ำซ้อนของงาน และมีโครงสร้างเหมือนกับบริษัทย่อยๆ ที่พนักงานต้องเรียนรู้ขึ้นไปเรื่อยๆ โดยตำแหน่งในครัวแบ่งย่อยได้เป็น  หัวหน้าเชฟ เป็นตำแหน่งสำคัญที่สุดเบื้องหลังร้าน แค่ต้องทำอาหารได้ดียังไม่พอ แต่ต้องสามารถบริการจัดการครัวได้ด้วย ทั้งเรื่องการกระจายงานให้พนักงานในครัว ดูแลการจัดการวัตถุดิบ คำนวนต้นทุนอาหาร วางแผนและพัฒนาเมนูในร้าน   ผู้ช่วยเชฟ  มีหน้าที่ช่วยจัดการงานต่างๆ ของหัวหน้าเชฟ และดูแลครัวในกรณีที่หัวหน้าเชฟไม่อยู่ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.