ถ้าตัดสินใจลุยต่อ! สิ่งที่ต้องทำคืออะไรบ้าง? ในวันที่ขายได้แค่ “สั่งกลับบ้าน”

ถ้าตัดสินใจลุยต่อ! สิ่งที่ต้องทำคืออะไรบ้าง? ในวันที่ขายได้แค่ “ซื้อกลับบ้าน”

ถ้าตัดสินใจลุยต่อ! สิ่งที่ต้องทำคืออะไรบ้าง?

ในวันที่ขายได้แค่ “ ซื้อกลับบ้าน ”

วิกฤตโรคระบาดครั้งนี้ดูจะไม่หายไปง่าย ๆ ถ้านับจากตอนระบาดใหม่ ๆ ก็กินเวลามาเป็นปี ๆ ทั่วโลกได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างหนัก ทำให้ตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภคหรือผู้ประกอบการก็ต่างอยู่ในจุดที่ต้องกอดเงินที่มีอยู่ไว้ให้แน่น  ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ประกอบการควรมีการวางแผนการเงินในระยะยาวให้ธุรกิจของคุณยังคงไปต่อได้ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจในช่วงวิกฤต ลองมาดูสิ่งที่ต้องทำในวันที่ขายได้แค่ “สั่งกลับบ้าน”

ประเมินความพร้อมในการขายแบบสั่งกลับบ้าน

1.ประเมินความพร้อม:

จากบทเรียนการระบาดครั้งก่อน ร้านที่ได้ลองทำเดลิเวอรีแล้วก็พอจะเห็นสถิติและพอประเมินได้ว่า ถ้าต้องเปลี่ยนมาขายแบบซื้อกลับเป็นหลัก ร้านจะมีรายได้เท่าไหร่ พอสำหรับจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมดหรือไม่ ถ้าประเมินแล้วคิดว่ารายได้โอเค สู้ไหว เปิดแล้วทำให้ร้านพอมีรายได้เข้าบ้างก็ไปข้อต่อไป

2.ต่อรองประนอมหนี้:

“รายได้ลดลง รายจ่ายเท่าเดิม” สิ่งต่อมาที่ผู้ประกอบการต้องทำ คือ ลดภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือนให้ได้มากที่สุด ให้ตัวเบาที่สุด โดยทำการพูดคุยตกลงกับเจ้าของที่เพื่อขอลดค่าเช่า หรือขอแบ่งเบาภาระหนี้สินกับธนาคาร อย่างน้อย 1 – 2 เดือน เพื่อลดรายจ่ายเท่าที่เป็นไปได้

คุยกับพนักงาน
3.เอายังไงกับพนักงาน:

แม้ร้านจะไม่เปิดให้บริการนั่งทานในร้าน แต่การจ่ายค่าจ้างพนักงานยังคงอยู่ ดังนั้นสิ่งที่ผู้ประกอบการทำได้ คือ พยายามลดค่าใช้จ่ายด้านพนักงานให้ลดลง โดยการประเมินงานที่ต้องทำในแต่ละวันก่อนว่าร้านเราน่าจะใช้คนเท่าไหร่ ถ้าใช้คนน้อยให้ลองใช้วิธีแบ่งกะเวลาการทำงาน สลับเวลากันมาทำ แต่ต้องคุยกับพนักงานให้ชัดว่า ช่วงนี้อาจจะให้ค่าตอบแทนได้น้อยลง แต่อย่างน้อยก็มีงานทำอยู่ พร้อมทั้งวางแผนการทำงานให้ 1 คนทำได้หลายหน้าที่ ซึ่งอาจรวมไปถึงการขับรถส่งอาหารด้วย

ในอีกทางหนึ่งการที่ผู้ประกอบการยังคงรักษาพนักงานเอาไว้ อาจเป็นข้อดีในภายหน้า ในตอนที่สถานการณ์กลับเข้าสู่สภาวะปกติ ร้านขายได้เหมือนเดิม คุณจะไม่ต้องมานั่งปวดหัวกับการสรรหาพนักงานใหม่ ต้องเทรนใหม่ หรือเสียค่าใช้จ่ายในการเทรนนิ่งพนักงานใหม่ ค่ายูนิฟอร์ม รวมถึงสวัสดิการอื่น ๆ และอาจจะทำให้ร้านคุณได้พนักงานที่มีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ มีความเข้าใจและผูกพันกับองค์กรอย่างลึกซึ้งอีกด้วย

4.ปรับกลยุทธ์:

จากเดิมที่โฟกัสการขายหน้าร้านเป็นหลักก็เปลี่ยนมาให้ความสำคัญกับช่องทางออนไลน์ด้วย โดยนำกลยุทธ์การตลาดออนไลน์มาใช้ โปรโมทสินค้าผ่านสื่อโซเชี่ยลมีเดียว่าทางร้านมีเมนูอะไรบ้าง มีโปรโมชั่นอะไร โดยอาศัยการถ่ายรูปเมนูอาหารให้น่ากิน รวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม แปลกตาเข้ามาใช้ เพื่อดึงดูดลูกค้าให้อยากสั่ง อีกทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคเห็นว่าร้านเราให้ความสำคัญกับความสะอาด ปลอดภัย อาหารทุกกล่องที่ส่งไปผ่านการตรวจสอบมาอย่างดี เพราะทุกคนในตอนนี้ก็มีความกังวลในโรคระบาด

สต็อกวัตถุดิบ
5.จัดการสต็อกให้ดี:

ด้วยสถานการณ์โรคระบาด ร้านเปิดได้ไม่เต็มรูปแบบรวมถึงผู้บริโภคมีพฤติกรรมรัดเข็มขัดกันแน่น เซฟค่าใช้จ่ายมากขึ้น ก็มีแนวโน้มว่าผู้บริโภคจะเลือกทำอาหารกินเองที่บ้าน และสั่งอาหารมากินน้อยลง ดังนั้นร้านควรมีการประเมินยอดขายต่อวันเพื่อนำข้อมูลมาใช้พิจารณาการซื้อวัตถุดิบเข้าร้านให้สอดคล้องกับยอดขาย แต่ในกรณีที่ร้านซื้อวัตถุดิบมาไว้ก่อนหน้าแล้ว ให้ดูว่าสต็อกนั้นสามารถนำมาทำอะไรได้บ้าง โดยเลือกใช้วัตถุดิบตามหลัก FIFO หรือ First in First out มาก่อน ใช้ก่อน เพื่อลดต้นทุนร้านอาหาร ของไม่เหลือทิ้ง
.
แต่ทั้งนี้เมื่อเผชิญวิกฤตสิ่งที่ร้านอาหารควรทำไม่ใช่แค่การปรับตัวหรือวางแผนสำรองเพื่อพร้อมรับสถานการณ์ในระยะยาวเท่านั้น แต่ยังต้องสร้างกำลังใจให้ตัวเองเยอะ ๆ หันมาเติมใจ เติมพลังให้ตัวเองบ้าง
.
ยอมรับว่าการระบาดรอบนี้หนักและมีแต่จะซ้ำเติมเราให้ยิ่งทรุดจนบางคนแทบทนไม่ไหว แต่อยากบอกว่ามาถึงจุดนี้ก็เก่งที่สุดแล้ว สักวันหนึ่งแอดเชื่อว่าเราจะกลับมายืนหยัดได้เหมือนเดิม แอดเชื่อว่าอย่างนั้นและพร้อมอยู่เคียงข้าง คอยเป็นกำลังใจให้ผู้ประกอบการทุกคน เราจะผ่านมันไปได้ค่ะ✌🏻
.
#AmarinAcademy #ร้านอาหาร

เรื่องแนะนำ

ทำร้านอาหาร

ทำร้านอาหาร มีแต่ passion ไม่มีระบบ ไม่รอดนะ!

เวลาได้คุยกับคนที่เริ่ม ทำร้านอาหาร หลายคนชอบบอกว่าเขาอยากทำร้าน เพราะชอบทำอาหาร เวลาทำให้ญาติหรือเพื่อนๆ กินมีแต่คนบอกว่าอร่อย และเชียร์ให้เปิดร้านเลย

อยากเปิดร้านอาหาร ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

เปิดร้านอาหารสักร้านไม่ว่าจะเปิดในห้าง หรือ นอกห้าง ต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ที่เป็นค่าใช้จ่ายสำคัญ ๆ เพื่อให้ทุกท่านที่กำลังจะเปิดร้านได้เตรียมความพร้อม

ผู้จัดการร้านอาหารที่ดี

4 คุณสมบัติสำคัญที่ ผู้จัดการร้านอาหารที่ดี ควรมี

ผู้จัดการร้านอาหาร คือคนที่ทำหน้าที่ควบคุมร้านอาหารให้ดำเนินงานไปได้โดยราบรื่น อย่างนั้นมาดูกันสิว่า ผู้จัดการร้านอาหารที่ดี ต้องมีคุณสมบัติใดบ้าง

เจ๊จง หมูทอด

ถอดบทเรียน เจ๊จง หมูทอด ร้อยล้าน !

เจ๊จง หมูทอด เป็นร้านอาหารไม่กี่แห่งที่ขายดีมากอย่างสม่ำเสมอ เมื่อมีโอกาสคุยกับเจ๊จง เลยอดไม่ได้ที่จะชวนคุยถึงข้อคิดที่ทำให้ประสบความสำเร็จอย่างทุกวันนี้

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.