ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้!

ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้!

ร้านอาหารที่ประสบความสำเร็จ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความอร่อยหรือการตกแต่งร้านเท่านั้น แต่ต้องอาศัย “ทีมงาน” ที่ดีมีคุณภาพ ช่วยกันสร้างสรรค์ขึ้นมา เจ้าของร้านบางท่านอาจจะคิดว่าให้ทีมแบ่งงานกันทำง่ายๆ ใครว่างก็ไปช่วยคนอื่นทำต่อ แต่ถ้าจะบริหารร้านให้เป็นระบบอย่างมืออาชีพแล้ว ควรจะแบ่งงานกันอย่างไร มาศึกษาการแบ่ง  ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้!

ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร
ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้!

ร้านอาหารแต่ละชนิดก็จะต้องการพนักงานที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันไป โดยเราสามารถแบ่งประเภทพนักงานออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ พนักงานหลังร้าน และพนักงานหน้าร้าน

 พนักงานหลังร้าน
ความสามารถที่จำเป็นของพนักงานหลังร้านหรือในครัวนั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของร้านอาหาร และความซับซ้อนของเมนูในร้าน เช่น ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด พนักงานไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ในครัวมากนัก ก็สามารถประกอบอาหารได้ตามมาตรฐาน แต่ถ้าเป็นร้านอาหารญี่ปุ่น คงต้องการเชฟที่มีประสบการณ์มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นความรู้เกี่ยวกับวัตถุดิบ ความสามารถในการใช้มีด การแล่ปลา การปั้นซูซิและทำอาหารญี่ปุ่นอื่นๆ 

ยิ่งเป็นร้านที่พัฒนามากขึ้น ตำแหน่งก็จะยิ่งละเอียด เพื่อความชัดเจนในหน้าที่ ลดความซ้ำซ้อนของงาน และมีโครงสร้างเหมือนกับบริษัทย่อยๆ ที่พนักงานต้องเรียนรู้ขึ้นไปเรื่อยๆ โดยตำแหน่งในครัวแบ่งย่อยได้เป็น 

หัวหน้าเชฟ

  • หัวหน้าเชฟ

เป็นตำแหน่งสำคัญที่สุดเบื้องหลังร้าน แค่ต้องทำอาหารได้ดียังไม่พอ แต่ต้องสามารถบริการจัดการครัวได้ด้วย ทั้งเรื่องการกระจายงานให้พนักงานในครัว ดูแลการจัดการวัตถุดิบ คำนวนต้นทุนอาหาร วางแผนและพัฒนาเมนูในร้าน  

  • ผู้ช่วยเชฟ 

มีหน้าที่ช่วยจัดการงานต่างๆ ของหัวหน้าเชฟ และดูแลครัวในกรณีที่หัวหน้าเชฟไม่อยู่ รวมถึงทำงานปรุงอาหารบางส่วน ถือเป็นตำแหน่งที่ฝึกการเป็นหัวหน้าเชฟก็ว่าได้

  • พนักงานครัว

คือพนักงานประจำสเตชั่นปรุงอาหารต่างๆ เช่น ครัวทอด ครัวย่าง ครัวผัด ครัวเย็น และจัดเตรียมวัตถุดิบอาหารที่ต้องใช้ มีบทบาทต่อการทำเมนูอาหารให้เป็นไปตามสูตรมาตรฐาน และหากจัดการได้ดีก็จะช่วยลด waste ของอาหารได้

  • พนักงานทำความสะอาดในครัว

ตำแหน่งสำหรับคนสู้งานในครัว ดูแลเครื่องใช้ให้ถูกสุขลักษณะ รวมถึงจะเป็นคนที่ช่วยสังเกตผลตอบรับของเมนู จากสิ่งที่เหลืออยู่ในจานได้ ว่าเมนูไหนที่ไม่ถูกปาก หรือลูกค้าส่วนใหญ่ไม่ทานอะไรบ้าง นอกจากนี้ เชฟหลายๆ คนยังเริ่มต้นงานในร้านอาหารจากตำแหน่งพื้นฐานนี้ด้วย

 พนักงานหน้าร้าน

พนักงานหน้าร้านก็เปรียบเหมือนพนักงานต้อนรับ คอยบริการลูกค้าให้ได้ประสบการณ์ที่ดีกลับไป ซึ่งการบริการของร้านสามารถเป็นทั้งจุดเด่น และจุดด้อยของร้านได้เลย จากรีวิวร้านอาหารส่วนใหญ่ก็มักจะติชมการบริการของพนักงานในร้านไว้ด้วย ตำแหน่งของพนักงานหน้าร้านแบ่งได้เป็น 

ผู้จัดการ

  • ผู้จัดการร้าน 

ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าควบคุมความเรียบร้อยโดยรวมของร้าน มีอำนาจในการตัดสินใจในร้าน หน้าที่หลักๆ คือการวางแผนการทำงานของพนักงานให้เหมาะสม สั่งซื้อของที่จำเป็น บริการลูกค้าและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ตรวจสอบยอดขายเพื่อรายงานแก่เจ้าของร้าน และจ้างหรือเลิกจ้างพนักงาน ดังนั้น ผู้จัดการจึงเปรียบเหมือนตัวแทนของเจ้าของร้าน และมีบทบาทเยอะมากที่จะทำให้ร้านประสบความสำเร็จ

  • พนักงานต้อนรับ 

ในร้านขนาดใหญ่อาจจะมีพนักงานต้อนรับอยู่ด้านหน้าของร้าน เพื่อคอยรับลูกค้า แนะนำเมนูเบื้องต้น และจัดคิวลูกค้า ตำแหน่งนี้พนักงานต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ยิ้มแย้มรับแขก และสามารถจัดการปัญหาเบื้องต้นได้

  • แคชเชียร์ 

พนักงานในหน้าที่นี้ต้องดูแลเงินของร้าน บางร้านอาจจะให้รับจองโต๊ะ หรือตอบคำถามของลูกค้าทางโทรศัพท์คู่กันไปด้วย ต้องอาศัยความละเอียดรอบคอบ มักจะใช้พนักงานที่น่าเชื่อถือ และทำงานในร้านมาแล้วเป็นระยะเวลาหนึ่ง 

ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร

  • พนักงานเสิร์ฟ

ตำแหน่งที่ต้องสื่อสารกับลูกค้าอย่างใกล้ชิดที่สุด เป็นภาพลักษณ์ของร้าน จึงควรจะมีใจรักในการบริการ พูดจาไพเราะ ต้องศึกษาข้อมูลเมนูอาหารในร้านเพื่อแนะนำให้แก่ลูกค้า รวมถึงส่งเสริมการขายอย่างเหมาะสม และมีไหวพริบแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ ร้านที่มีขนาดเล็กส่วนใหญ่ก็จะให้พนักงานทำหน้าที่ทั้งต้อนรับ เสิร์ฟ จัดเก็บโต๊ะ และเป็นแคชเชียร์ไปพร้อมกัน 

ร้านอาหารอาศัยพนักงานหลายตำแหน่งมาทำงานร่วมกัน เจ้าของร้านจึงควรคัดเลือกคน มอบหมายงานอย่างเหมาะสม สร้างระเบียบและมาตรฐานการทำงาน โดยอย่าลืมส่งเสริมบรรยากาศในการทำงานที่ดี เพื่อความสุขในการทำงานของทุกคน และรักษาพนักงานที่ดีให้อยู่กับร้านได้ยาวๆ นะครับ 

 

เรื่องแนะนำ

วิธีจัดเก็บวัตถุดิบร้านอาหาร

FIFO วิธีจัดเก็บวัตถุดิบร้านอาหาร ช่วยลดต้นทุนได้จริง!

ลืมใช้วัตถุดิบจนหมดอายุ วัตถุดิบหมดสต๊อก วัตถุดิบหาย แต่จับมือใครดมไม่ได้ สารพัดปัญหาวัตถุดิบ FIFO วิธีจัดเก็บวัตถุดิบร้านอาหาร ง่ายๆ แต่มีประสิทธิภาพ ช่วยได้!

วิธีรับมือลูกค้า ที่มีปัญหา รับมืออย่างไรให้เจ๋ง พลิกวิกฤตเป็นโอกาสได้

เชื่อไหมว่า….เจ้าของร้านอาหารหลายร้านไม่รู้ว่าจะมี วิธีรับมือลูกค้า ที่มีปัญหาอย่างไร ? หรือบางรายก็คิดว่าการรับมือลูกค้าเป็นเรื่องของศิลปะและประสบการณ์ ถ้าเกิดก็ปรับไปตามหน้างานก็พอ ซึ่งร้านอาหารจำนวนไม่น้อย ไม่มีการกำหนดขั้นตอนการรับมือลูกค้า และไม่เคยฝึกพนักงานให้รับมือ สุดท้าย…มีร้านอาหารที่ต้องเจ๊ง เพราะรับมือกับลูกค้าไม่เป็น Customer Complain Handling เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานการบริการ SOP  เพื่อให้ทีมงานสามารถนำไปปฏิบัติได้ สามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ หรืออย่างน้อยก็ต้องส่งผลเสียกับร้านน้อยที่สุด  มาดูกันว่ามีแนวทางอะไรบ้าง ที่ควรรู้ก่อนนำไปกำหนดรูปแบบของร้านคุณเอง Customer Complain Handling วิธีรับมือลูกค้า ที่ควรรู้! กำหนดความร้ายแรงให้กับกรณี วิธีรับมือลูกค้า เมื่อเกิดปัญหาโดยทั่วไปนั้น มีลำดับขั้นตอนที่ไม่แตกต่างกันนัก ไม่ว่าจะเป็นการขอโทษก่อนเป็นลำดับแรก จากนั้นสอบถามเรื่องที่เกิดขึ้น  และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าโดยทันที แต่สิ่งที่ทำให้การรับมือกับปัญหาต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้กว่านั้น คือ การกำหนดระดับความรุนแรงของปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดหน้าร้านเข้าไปด้วย เพราะจะช่วยให้ทีมงานร้านอาหารสามารถจัดการกับปัญหาตรงหน้าได้อย่างเหมาะสม เพราะในแต่ละช่วงเวลาร้านอาจจะยุ่ง มีลูกค้ารายอื่น ๆ ที่ต้องบริการ รวมถึงระดับความไม่พอใจของลูกค้านั้นกระทบกับบรรยากาศของร้าน หรือการบริการกับลูกค้าอื่น ๆ ต่างกัน การกำหนดระดับความรุนแรงจากมากไปน้อย เป็นเหมือนเครื่องมือในการสื่อสารกับทีมงานในส่วนต่าง ๆ ของร้านว่ากำลังใช้แผนการใดในการรับมือ เช่น ต้องเร่งรีบแค่ไหน ต้องการตัวช่วยระดับผู้จัดการหรือไม่ […]

เช็คลิสต์ความพร้อมร้านอาหาร ก่อนรบตลาด Delivery

  ร้านอาหาร Delivery ช่วยเพิ่มโอกาสในการขายมากขึ้น แต่ก็อาจตัดโอกาสในการขายเช่นกัน หากว่าร้านของคุณไม่พร้อมในการดำเนินการ มาลองตรวจสอบกันก่อนว่าร้านของคุณพร้อมหรือไม่ จากเช็คลิสต์ 5 ข้อ เหล่านี้   เจ้าของต้องริเริ่ม กำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการเริ่มทำร้านอาหาร Delivery การใช้ Application ด้าน Delivery มีตัวเลือกอยู่หลายเจ้าทั้ง Grab, Get, FOODPANDA, lineman  ซึ่งไม่จำเป็นที่ร้านอาหารจะต้องใช้ทุกเจ้าที่มีอยู่ เพราะแทนที่จะส่งผลดี อาจส่งผลเสียต่อร้านมากกว่า เจ้าของควรคำนึงถึงเป้าหมายของร้าน และต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับรายได้ของสินค้าที่ขายได้หลังหักต้นทุนแล้ว เช่น แอพพลิเคชั่นบางแห่งคิดค่าคอมมิชชั่นจากยอดการส่งเป็นเปอร์เซ็นต์ อาจจะไม่เหมาะกับร้านที่มีมาร์จินต่ำ  ทำให้ต้องขายลูกค้าในราคาที่สูง ลูกค้าสับสนราคาขาย และไม่ตัดสินใจซื้อ   ตลาดต้องรุก การใช้ Application ผู้ให้บริการ Delivery ยังช่วยให้การทำส่งเสริมการขายเป็นไปได้มากขึ้น การตลาดที่ดีจะต้องศึกษาข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้า การเตรียมข้อมูล ภาพ การวางรูปแบบเมนูสินค้าใน Application เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อเมนูที่ต้องการผลักดันยอดได้ในลำดับแรก ๆ   Application ส่วนใหญ่จะการทำโปรโมชันเพื่อแข่งขันกันเป็นเจ้าตลาด ร้านอาหาร Delivery จึงควรศึกษาข้อมูลเพื่อจัดทำโปรโมชั่นร่วมที่มีรูปแบบตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และพฤติกรรมการซื้อมากที่สุด […]

5 ปัญหาวัตถุดิบ สุดคลาสสิค แก้ได้ กำไรมา!

การบริหารจัดการวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพ ถือเป็นกฎเหล็กของคนทำร้านอาหารที่ช่วยให้คุณสามารถควบคุมต้นทุนอาหารได้ไม่ว่าจะสถานการณ์ไหน มาดูกันว่าปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยๆกับคนทำร้านอาหารในด้าน ปัญหาวัตถุดิบ มีอะไรบ้าง แล้วสามารถหลีกเลี่ยงได้ด้วยวิธีใด   5 ปัญหาวัตถุดิบ สุดคลาสสิค แก้ได้ กำไรมา!   1. วัตถุดิบเน่าเสีย วัตถุดิบเน่าเสีย เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยอันดับต้น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการจัดเก็บผิดวิธี ขาดขั้นตอนในการนำไปใช้งาน เจ้าของร้านอาหารจึงต้องให้ความสำคัญกับวิธีการจัดเก็บวัตถุดิบที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมของวัตถุดิบแต่ละชนิด การตัดแต่งก่อนการจัดเก็บที่ถูกต้อง  รวมถึงวางระบบสต็อกวัตถุดิบ การจัดเรียงวัตถุดิบเพื่อให้สอดคล้องกับอายุการใช้งาน การทำบันทึกเพื่อให้เกิดการนำมาใช้ในลักษณะ first in first out  ให้ความสำคัญกับการกำหนดขั้นตอนการทำงานของทีมงานที่เกี่ยวข้องจะช่วยให้การนำวัตถุดิบมาใช้เป็นระบบ รวมถึงอย่าลืมตรวจสอบอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องว่าทำงานได้อย่างสมบูรณ์ทุกครั้ง ก็จะช่วยลดปัญหาเน่าเสียได้   2.คุณภาพของวัตถุดิบลดลง             การจัดเก็บวัตถุดิบ ส่งผลต่อคุณภาพของอาหารโดยตรง แต่ในบางครั้งจัดเก็บวัตถุดิบไว้อย่างดีแล้ว แต่คุณภาพของวัตถุดิบกลับลดลง เพราะการทำงานที่ซ้ำซ้อนของทีมงานครัว เช่น การทำความสะอาดวัตถุดิบก่อนจัดเก็บ และก่อนปรุง ทำให้สูญเสียคุณภาพของวัตถุดิบ เช่น เนื้อสัตว์ ผักบางชนิด นอกจากนี้ปัญหาอาจเกิดจากการขาดการตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบที่รับจากซัพพลายเออร์ ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาในการจัดส่ง สินค้าตรงตามที่ต้องการ หรือการทดแทนวัตถุดิบที่ขาดตลาดทำให้เกิดปัญหาได้เช่นกัน เพราะฉะนั้น การกำหนด SOP ในแต่ละขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.