ทำร้านอาหาร มีแต่ passion ไม่มีระบบ ไม่รอดนะ! - Amarin Academy

ทำร้านอาหาร มีแต่ passion ไม่มีระบบ ไม่รอดนะ!

ทำร้านอาหาร มีแต่ passion ไม่มีระบบ  ไม่รอดนะ!

ทุกวันนี้เวลาได้คุยกับคนที่เริ่ม ทำร้านอาหาร หรือร้านขนม หลายคนชอบบอกกับผมว่าเขาอยากทำร้าน เพราะเขาชอบทำอาหาร เวลาทำให้ญาติหรือเพื่อนๆ กินก็มีแต่คนบอกว่าอร่อย และเชียร์ให้เปิดร้านขายเลย

สุดท้ายหลายคนถึงขั้นยอมออกจากงานเงินเดือนดีๆ มาทำ หรือบางคนแทนที่สืบทอดกิจการจากที่บ้านก็ขอที่บ้านมาทำร้านเพราะอยากพิสูจน์ตัวเอง ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่ การทำอาหารกับ การทำธุรกิจอาหาร มันคนละเรื่องกัน!

การมี Passion ในการทำงานเป็นเรื่องดี เพราะการทำร้านอาหารไม่ว่าร้านเล็กหรือใหญ่ คุณต้องพบเจอปัญหาตลอดทาง ตั้งแต่การเริ่มทำร้าน คิดเมนู ทำการตลาด ไปจนถึงการบริการ การเงิน-บัญชี หากไม่มี Passion ตั้งแต่ต้นแล้ว เชื่อว่าคงพับกระเป๋ากลับบ้านได้ในระยะเวลาไม่กี่เดือนแน่นอน

แต่การมี Passion อย่างเดียวไม่สามารถทำให้ร้านอยู่รอดได้ แค่อยู่รอดนะ ไม่ได้หมายความจะประสบความสำเร็จด้วยซ้ำ ผมขอยกตัวอย่างการทำร้านขนมเล็กๆ หนึ่งร้าน ว่าคุณจะต้องเจออะไรบ้าง อยากแรกคือเรื่องสถานที่ ตอนคุณทำขนมที่บ้าน คุณไม่ต้องเสียค่าเช่าที่ ค่าน้ำ ค่าไฟ ตู้เย็นคุณก็ใช้ของที่บ้านได้ แต่พอคุณทำร้านคุณเอง ไหนจะค่าตกแต่ง ค่าเช่า ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าใช้จ่ายยิบย่อยอื่นๆ ฉะนั้นการวางแผนการเงิน การลงทุนก่อนทำร้านถึงมีความสำคัญมาก เพราะจะเป็นตัวกำหนดทิศทางของร้านคุณเลยว่าควรจะไปทางไหน

ต่อมาคือเรื่องคน ตอนคุณทำขนมที่บ้าน คุณอยากทำวันไหนก็ได้ วันไหนเหนื่อยก็หยุดพัก แต่เมื่อทำร้าน จากความชอบกลายเป็นหน้าที่ วันไหนขี้เกียจก็ต้องตื่นมานั่งทำ วันหยุดเหมือนคนอื่นๆ ก็ไม่มี ต่อให้ไม่ทำเองก็ต้องให้ลูกน้องทำ ซึ่งบางวันก็ทำตามมาตรฐานเรา บางวันก็ทำตามใจตัวเอง อร่อยบ้างไม่อร่อยบ้าง ก็ทนให้ลูกค้าด่าไป อยู่ดีๆ วันหนึ่งลูกน้องอันประเสริฐของคุณก็ดันลาออกโดยไม่แจ้งล่วงหน้า แล้วคุณเองก็ดันไม่ได้มีคนสำรองไว้ด้วย งานเข้าเลยทีนี้ ต้องมานั่งวุ่น หาคนมาช่วย หรือถ้าไม่ได้จริงๆ อาจถึงขั้นต้องปิดร้านในวันนั้นกันเลย

นี่แค่สองเรื่องเองนะ ยังไม่รวมเรื่องวัตถุดิบที่คุณต้องเสียเวลาขับรถไปซื้อแต่ละวัน เรื่องบัญชี ซึ่งเป็นเรื่องปวดใจของคนทำร้านอย่างเรา เหนื่อยทำเหนื่อยขายแทบตาย ยังจะต้องมานั่งทำบัญชีตอนสิ้นวัน แม้กระทั่งเรื่องการตลาดออนไลน์ที่ต้องคอยมานั่งโพสถ่ายรูปสวยๆ ให้คนไลค์ คนแชร์

ที่ผมพูดมาทั้งหมดนี้ เพียงเพื่อที่จะบอกว่านอกจาก Passion ในการทำร้านแล้ว สิ่งที่คุณควรต้องทำคือ วางระบบการบริหารจัดการร้าน คุณในฐานะเจ้าของร้านก็เปรียบได้กับ CEO ของบริษัท หน้าที่ของคุณคือสร้างมาตรฐานการทำงานและควบคุมการทำงานของลูกน้องในแต่ละแผนกให้ทำงานบรรลุสิ่งที่ได้รับมอบหมาย รวมถึงคิดกลุยทธ์ใหม่ๆ เพื่อหาลูกค้าใหม่ ไม่ใช่ลงไปทำเองในทุกๆ เรื่อง

รู้แบบนี้แล้ว ใครที่กำลังทำร้านอาหารแล้วมัวแต่ไปโฟกัสที่รสชาติอาหารหรือบริการ อย่าลืมแบ่งเวลามาวางระบบร้านให้ดีด้วย จะได้ไม่ต้องมานั่งแก้ปัญหาที่จะตามมาในภายหลัง


หากอยากศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเริ่มต้นธุรกิจ เรามีหลักสูตรเปิดร้านอาหาร…ไม่ให้เจ๊ง (Restaurant Feasibility Study) ที่จะช่วยลดความเสี่ยง เพิ่มโอกาสสำเร็จให้คุณ

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก!

เรื่องแนะนำ

หน้าที่ผู้จัดการร้านอาหาร

สงสัยไหม หน้าที่ผู้จัดการร้านอาหาร มีอะไรบ้าง

หลายคนอาจสงสัยว่าหากจะจ้างผู้จัดการร้านสักคนหนึ่ง ต้องระบุหน้าที่อะไรให้เขารับทราบบ้าง วันนี้เราจึงขอนำรายละเอียดเกี่ยวกับ หน้าที่ผู้จัดการร้านอาหาร ให้ทุกคนได้ทราบกัน

การจัดการธุรกิจอาหาร

เจาะลึกเบื้องหลัง การจัดการธุรกิจอาหาร ระดับโลก

เมื่อพูดถึงธุรกิจอาหาร หลายคนมักนึงถึง ร้านอาหาร แต่จริงๆ แล้ว ธุรกิจร้านอาหารมากกว่านั้น เราเลยอยากแชร์เกี่ยวกับ การจัดการธุรกิจอาหาร รูปแบบอื่นๆ ให้รู้กัน

วิธีรับมือลูกค้า ที่มีปัญหา รับมืออย่างไรให้เจ๋ง พลิกวิกฤตเป็นโอกาสได้

เชื่อไหมว่า….เจ้าของร้านอาหารหลายร้านไม่รู้ว่าจะมี วิธีรับมือลูกค้า ที่มีปัญหาอย่างไร ? หรือบางรายก็คิดว่าการรับมือลูกค้าเป็นเรื่องของศิลปะและประสบการณ์ ถ้าเกิดก็ปรับไปตามหน้างานก็พอ ซึ่งร้านอาหารจำนวนไม่น้อย ไม่มีการกำหนดขั้นตอนการรับมือลูกค้า และไม่เคยฝึกพนักงานให้รับมือ สุดท้าย…มีร้านอาหารที่ต้องเจ๊ง เพราะรับมือกับลูกค้าไม่เป็น Customer Complain Handling เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานการบริการ SOP  เพื่อให้ทีมงานสามารถนำไปปฏิบัติได้ สามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ หรืออย่างน้อยก็ต้องส่งผลเสียกับร้านน้อยที่สุด  มาดูกันว่ามีแนวทางอะไรบ้าง ที่ควรรู้ก่อนนำไปกำหนดรูปแบบของร้านคุณเอง Customer Complain Handling วิธีรับมือลูกค้า ที่ควรรู้! กำหนดความร้ายแรงให้กับกรณี วิธีรับมือลูกค้า เมื่อเกิดปัญหาโดยทั่วไปนั้น มีลำดับขั้นตอนที่ไม่แตกต่างกันนัก ไม่ว่าจะเป็นการขอโทษก่อนเป็นลำดับแรก จากนั้นสอบถามเรื่องที่เกิดขึ้น  และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าโดยทันที แต่สิ่งที่ทำให้การรับมือกับปัญหาต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้กว่านั้น คือ การกำหนดระดับความรุนแรงของปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดหน้าร้านเข้าไปด้วย เพราะจะช่วยให้ทีมงานร้านอาหารสามารถจัดการกับปัญหาตรงหน้าได้อย่างเหมาะสม เพราะในแต่ละช่วงเวลาร้านอาจจะยุ่ง มีลูกค้ารายอื่น ๆ ที่ต้องบริการ รวมถึงระดับความไม่พอใจของลูกค้านั้นกระทบกับบรรยากาศของร้าน หรือการบริการกับลูกค้าอื่น ๆ ต่างกัน การกำหนดระดับความรุนแรงจากมากไปน้อย เป็นเหมือนเครื่องมือในการสื่อสารกับทีมงานในส่วนต่าง ๆ ของร้านว่ากำลังใช้แผนการใดในการรับมือ เช่น ต้องเร่งรีบแค่ไหน ต้องการตัวช่วยระดับผู้จัดการหรือไม่ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.