5 แนวทาง "ลดต้นทุนวัตถุดิบ" วิกฤตของแพง จะให้ขายแบบเดิมคงไม่ไหว

5 แนวทางลดต้นทุนวัตถุดิบ ในวันที่อะไรๆ ก็ขึ้นราคา วิกฤตของแพง จะให้ขายแบบเดิมคงไม่ไหว

5 แนวทาง “ลดต้นทุนวัตถุดิบ”

ในวันที่อะไรๆ ก็ขึ้นราคา

วิกฤตของแพง จะให้ขายแบบเดิมคงไม่ไหว

เมื่อเกิดวิกฤตของแพง วัตถุดิบขึ้นราคา จนบางทีทำให้ทุกคนรู้สึกว่าจะแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้นไม่ไหวแล้ว แต่จะปรับราคาก็กลัวลูกค้าไม่ซื้ออีก เรียกได้ว่าเป็นสถานการณ์ที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกของคนทำร้านอาหารมาก ๆ แต่ทั้งนี้ก็ใช่ว่าจะไม่มีวิธีรับมือกับวิกฤตนี้เลย เพราะฉะนั้นลองมาดูแนวทางในการบริหารจัดการร้านเพื่อ ลดต้นทุนวัตถุดิบ รับ “วิกฤตของแพง” แล้วนำไปปรับใช้กัน!
1.ลองทานเมนูนี้ไหมคะ ?👩🏻‍🍳
.
หนึ่งในวิธีที่สามารถช่วยลดต้นทุนได้ ในวิกฤติที่ของแพงนั้นก็คือ การเชียร์ขายเมนูอื่นแทนเมนูที่มีส่วนประกอบของวัตถุดิบที่มีราคาแพง อย่างเช่นในกรณีที่หมูแพง เมื่อลูกค้ามาสั่งอาหาร เราอาจใช้วิธีการเสนอขายเมนูอื่น ๆ ให้ลูกค้าเกิดความสนใจ และอยากจะสั่งเมนูอื่นมากกว่าเมนูที่ทำจากหมู โดยอาจทำการเสนอขายในแง่ของเมนูแนะนำ เช่น เมนูแนะนำของร้านเราจะเป็นปลาทอดน้ำปลา แกงส้มแป๊ะซะ ไก่ทอดกระเทียม หรืออาจเป็นการทำโปรโมชั่นกับเมนูนั้น ๆ เช่น การจัดเป็นเซ็ต แถมน้ำ เป็นต้น
.
2.ของใหม่จากของเดิม🥗
.
ลองย้อนกลับมาดูว่าวัตถุดิบที่เรามีอยู่หรือวัตถุดิบที่ลูกค้าไม่ค่อยสั่งอันไหนบ้าง ที่สามารถจับมารังสรรค์เป็นเมนูใหม่ได้บ้าง เช่น ปลาทูน่า แทนที่เราจะเสิร์ฟแค่สลัดทูน่าเพียงอย่างเดียว ก็ลองคิดเมนูใหม่ ๆ เพิ่มเติม เช่น ยำทูน่า สเต็กทูน่า หรือขนมปังหน้าทูน่าน้ำพริกเผา เพื่อให้ลูกค้ามีทางเลือกในการรับประทานที่มากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการช่วยให้เราสามารถบริหารการใช้วัตถุดิบได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่เกิด Waste และเพิ่มความแปลกใหม่ทำให้ลูกค้ารู้สึกไม่จำเจอีกด้วย
.
3.ควบคุมให้ดี✨
.
ตรวจสอบวัตถุดิบที่มาส่งที่ร้านทุกครั้ง เพื่อเป็นการควบคุมวัตถุดิบให้ดีตั้งแต่ต้นทาง เช่น การตรวจสอบสี ลักษณะ ความสดใหม่ของผักที่มาส่งว่าได้มาตรฐานตามที่ร้านต้องการหรือไม่ ช้ำไหม ตัดแต่งแล้วจะได้เท่าไหร่ เพื่อลดโอกาสที่จะมีวัตถุดิบที่ใช้ไม่ได้หรือเหลือทิ้งให้น้อยที่สุด ลดทั้งต้นทุนเวลาและเงินที่อาจเสียไปอย่างเปล่าประโยชน์
.
4.หลีกเลี่ยงความคิดที่ว่า “เหลือ ดีกว่าขาด”💸
.
คนส่วนใหญ่มักคิดว่าซื้อของมาเผื่อไว้ก่อน เพราะหากของหมดขึ้นมาจะเกิดปัญหาตามมามากมาย แต่จริง ๆ แล้วทั้งสองกรณีไม่ได้ดีกว่ากันเลย แน่นอนว่าหากวัตถุดิบหมด ร้านย่อมเสียโอกาสในการสร้างรายได้ แต่ขณะเดียวกันหากวัตถุดิบมีมากเกินจำเป็น ยิ่งเป็นของสดที่เก็บรักษาได้ไม่นาน เท่ากับว่าเรากำลังโยนเงินจากน้ำพักน้ำแรงของตัวเองลงถังขยะไปฟรี ๆ
ยิ่งช่วงนี้ของราคาแพง ไม่ใช่แค่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ แต่ผู้บริโภคก็กระทบด้วยเหมือนกัน เมื่อเป็นเช่นนี้จึงมีโอกาสที่ผู้บริโภคจะลดการใช้จ่ายลง และรัดเข็มขัดมากขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการร้านอาหารควรมีการวิเคราะห์ และบริหารการจัดการสต็อกให้ดี เพื่อรับมือกับวิกฤตวัตถุดิบแพงและลดการสูญเสียต้นทุนให้ได้มากที่สุด
.
5.เปลี่ยนวัตถุดิบไปเลย🐔
.
ตัวเลือกสุดท้ายในเมื่อต้นทุนวัตถุดิบที่เราใช้อยู่มันแพงนัก ก็เปลี่ยนวัตถุดิบมันไปซะเลย โดยอาจใช้การเปลี่ยนไปขายเมนูที่มีส่วนประกอบของวัตถุดิบที่มีราคาถูกกว่าหรือเปลี่ยนไปขายเมนูอื่นเลย ยกตัวอย่างร้านที่ใช้วิธีนี้ เช่น ตอนนี้หมูแพง ร้านคอหมูพระราม 5 ก็ได้มีการเปลี่ยนวัตถุดิบในการประกอบอาหารมาเป็น “ไก่” แทน เช่น ข้าวไก่ย่าง ยำไก่ซอสหมาล่า และซุปไก่ หรือร้านหมูทอดเจ๊จงที่ได้มีการเพิ่มเมนูข้าวปลาแกะเข้ามาขายในร้านด้วย เป็นต้น
.
ทั้งนี้ก็เป็นทางเลือกหนึ่งให้กับผู้ประกอบการที่ต้องการลดต้นทุนวัตถุดิบให้ได้มากที่สุด ในยามที่อะไร ๆ ก็แพง เศรษฐกิจก็ไม่ค่อยจะดีแบบนี้ หวังว่าทุกคนจะผ่านมันไปได้ และราคาวัตถุดิบเหล่านี้จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติโดยเร็ว เพื่อที่จะไม่ต้องมีใครแบกรับหรือได้รับผลกระทบไปมากกว่านี้ เราขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจให้กับทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคทุก ๆ คนด้วยนะคะ💖
.

เรื่องแนะนำ

พนักงานดีๆ ลาออก

4 เหตุผลสำคัญที่ทำให้ “ พนักงานดีๆ ลาออก ”

ปัญหาที่ทำให้เจ้าของร้านปวดหัวคือ พนักงานดีๆ ลาออก ถ้าไม่อยากให้เกิดปัญหานี้ มาลองดู 4 เหตุผล ที่ทำให้ พนักงานดีๆ ลาออก เผื่อจะช่วยป้องกันปัญหานี้ได้บ้าง

ตั้งราคาขาย

ตั้งราคาขาย อย่างไร ให้ขายได้และร้านอยู่รอด

        ในช่วงวิกฤตแบบนี้ สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ร้านอาหารอยู่รอดได้ คือการบริหารจัดการต้นทุนที่ดี และการ ตั้งราคาขาย (Price Strategy) ของอาหารที่เหมาะสม โดยเฉพาะในวงการอาหารเดลิเวอรีที่มีการแข่งขันสูง มีร้านอาหารแบบเดียวกันเป็นจำนวนมาก ผู้ประกอบการจะต้องใช้กลยุทธ์ทุกอย่างที่ทำได้ เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อจากร้านของเรา ลองมาดูการตั้งราคาขายอาหารและกลยุทธ์ต่างๆ ที่อาจจะช่วยร้านของคุณได้ครับ ตั้งราคาขาย อย่างไร  ให้ขายได้และร้านอยู่รอด         พื้นฐานของการ ตั้งราคาขาย อาหาร ต้องคำนวณมาจากต้นทุนของร้าน เช่น ต้นทุนวัตถุดิบ ควรอยู่ที่ 30-35% ของยอดขาย ตัวอย่างเช่น ต้นทุนวัตถุดิบเท่ากับ 30 บาท ราคาขายก็ควรจะตั้งไว้ประมาณ 100 บาท เป็นต้น          แต่ไม่ใช่ว่าการคำนวณแบบนี้จะเหมาะสมกับทุกร้านอาหาร เพราะยังมีต้นทุนอื่นๆ ได้แก่ ค่าจ้างพนักงาน ค่าเช่าที่ และค่าการตลาดอื่นๆ ส่วนใครที่นำร้านอาหารเข้าร่วมกับผู้ให้บริการเดลิเวอรีต่างๆ ก็อย่าลืมต้นทุนค่า GP […]

นักธุรกิจผู้ประสบความสำเร็จ

5 สิ่งที่ นักธุรกิจผู้ประสบความสำเร็จ ทำทุกวัน

ใครๆ ก็รู้ว่า เจ้าของธุรกิจแต่ละคนล้วนมีภาระหน้าที่มากมายที่ต้องแบกรับในแต่ละวัน ทั้งเข้าพบลูกค้า ทำการตลาด ให้สัมภาษณ์สื่อ และทำกิจกรรมอื่นๆ อีกมหาศาล

ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร

ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้!

ร้านอาหารที่ประสบความสำเร็จ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความอร่อยหรือการตกแต่งร้านเท่านั้น แต่ต้องอาศัย “ทีมงาน” ที่ดีมีคุณภาพ ช่วยกันสร้างสรรค์ขึ้นมา เจ้าของร้านบางท่านอาจจะคิดว่าให้ทีมแบ่งงานกันทำง่ายๆ ใครว่างก็ไปช่วยคนอื่นทำต่อ แต่ถ้าจะบริหารร้านให้เป็นระบบอย่างมืออาชีพแล้ว ควรจะแบ่งงานกันอย่างไร มาศึกษาการแบ่ง  ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้! ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้! ร้านอาหารแต่ละชนิดก็จะต้องการพนักงานที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันไป โดยเราสามารถแบ่งประเภทพนักงานออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ พนักงานหลังร้าน และพนักงานหน้าร้าน  พนักงานหลังร้าน ความสามารถที่จำเป็นของพนักงานหลังร้านหรือในครัวนั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของร้านอาหาร และความซับซ้อนของเมนูในร้าน เช่น ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด พนักงานไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ในครัวมากนัก ก็สามารถประกอบอาหารได้ตามมาตรฐาน แต่ถ้าเป็นร้านอาหารญี่ปุ่น คงต้องการเชฟที่มีประสบการณ์มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นความรู้เกี่ยวกับวัตถุดิบ ความสามารถในการใช้มีด การแล่ปลา การปั้นซูซิและทำอาหารญี่ปุ่นอื่นๆ  ยิ่งเป็นร้านที่พัฒนามากขึ้น ตำแหน่งก็จะยิ่งละเอียด เพื่อความชัดเจนในหน้าที่ ลดความซ้ำซ้อนของงาน และมีโครงสร้างเหมือนกับบริษัทย่อยๆ ที่พนักงานต้องเรียนรู้ขึ้นไปเรื่อยๆ โดยตำแหน่งในครัวแบ่งย่อยได้เป็น  หัวหน้าเชฟ เป็นตำแหน่งสำคัญที่สุดเบื้องหลังร้าน แค่ต้องทำอาหารได้ดียังไม่พอ แต่ต้องสามารถบริการจัดการครัวได้ด้วย ทั้งเรื่องการกระจายงานให้พนักงานในครัว ดูแลการจัดการวัตถุดิบ คำนวนต้นทุนอาหาร วางแผนและพัฒนาเมนูในร้าน   ผู้ช่วยเชฟ  มีหน้าที่ช่วยจัดการงานต่างๆ ของหัวหน้าเชฟ และดูแลครัวในกรณีที่หัวหน้าเชฟไม่อยู่ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2023 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.