อ่านใจลูกค้าออก บริการตรงใจ ด้วยการตลาดแบบ Hyper-Personalization

อ่านใจลูกค้าออก บริการได้ตรงใจ ด้วยการตลาดแบบ Hyper-Personalization

อ่านใจลูกค้าออก บริการได้ตรงใจ

ด้วยการตลาดแบบ Hyper-Personalization

อยากมัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด ก็ต้องอ่านใจลูกค้าให้ออก..

ทุกวันนี้เราอยู่ในยุคที่ผู้บริโภคอยากรู้ทุกอย่าง และสามารถเข้าถึงข้อมูลทุกเรื่องได้ด้วยปลายนิ้ว ฉะนั้นการทำการตลาดแบบเดิมๆ อาจไม่ได้ผลอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการจำชื่อลูกค้า, ส่งข้อความ หรืออีเมล์ไปอวยพรวันเกิด พร้อมส่วนลดต่างๆ ซึ่งวิธีเหล่านี้กำลังจะกลายมาเป็นเพียงข้อมูลพื้นฐานสำหรับการทำการตลาดเท่านั้น

ดังนั้นธุรกิจร้านอาหารหรือแบรนด์ที่จะสะกิดใจคนได้ ต้องเป็นแบรนด์ที่รู้จักและรู้ใจลูกค้า ด้วยการทำการตลาดแบบ Hyper-Personalization ซึ่งเป็นการตลาดที่เข้าถึงตัวบุคคลมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่ตรงใจลูกค้ามากกว่าที่เคย อย่าปล่อยให้เสียเวลาเปล่า เจ้าของธุรกิจทั้งหลายต้องรีบทำความเข้าใจ เรียนรู้ และปรับตัว รวมถึงเปลี่ยนรูปแบบวิธีการทำงานให้เข้ากับสถานการณ์ แล้วจะช่วยให้ลูกค้าเดินเข้าร้านได้อย่างยิ้มแย้มและเต็มใจ

Hyper-Personalization

หัวใจของ Hyper Personalization อยู่ที่ “Big Data”

ก่อนอื่นต้องอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก่อนว่าการตลาดแบบ Hyper Personalization เป็นการนำ Big Data แบบเรียลไทม์มาใช้ในการคาดเดาความต้องการของผู้บริโภค ไม่ใช่แค่ข้อมูลจากประวัติการสั่งซื้อทั่วไป แต่เป็นการเอาข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ออกมาเป็นพฤติกรรมการซื้อ เพื่อให้สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าลูกค้าคนนี้อยากจะซื้อกับเราครั้งถัดไปเมื่อไหร่ หรือจะกระตุ้นเขาให้ซื้อได้ด้วยวิธีไหน

ซึ่ง Big Data คือการนำข้อมูลรอบๆ ตัว จากหลายๆ ส่วนมาประมวล วิเคราะห์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อ  จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเจ้าของร้านอาหาร ที่จะนำมาวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมลูกค้า เพื่อให้สามารถมองเห็นแนวทางในการวางแผนธุรกิจเพื่อให้ตอบสนองกลุ่มลูกค้าได้อย่างถูกต้อง

ฟังดูแล้วอาจเหมือนว่า Big Data เป็นสเกลใหญ่ แต่เจ้า Big Data นี้ช่วยได้ในแง่ของการระบุปัญหา และวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่เกิดขึ้นได้ รวมถึงอาจทำให้มองเห็นรูปแบบการแก้ปัญหาที่เคยเกิดขึ้น และตามหาแนวทางการแก้ปัญหาได้ หากเรารู้ถึงที่มาและมีบทเรียนจากฐานข้อมูลเดิม

ดังนั้นข้อมูล จึงเป็นส่วนสำคัญในการทำ Hyper Personalization เพราะจำเป็นต้องใช้ข้อมูลต่างๆ มาประกอบ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลให้รู้จักลูกค้าของตัวเองมากขึ้น ว่าแท้จริงแล้วลูกค้าของเราเป็นใคร แบ่งออกเป็นกี่กลุ่ม ชอบหรือไม่ชอบอะไร โปรโมชั่นแบบไหนที่โดนใจ หรือปกติแล้ววันไหนที่เขามักเสียเงินให้เรามากเป็นพิเศษ ซึ่งแต่เดิมนั้นข้อมูลส่วนบุคคลจะมีเพียงแค่ ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทร เท่านั้น

Hyper-Personalization

เสิร์ฟสิ่งที่สนองความต้องการของลูกค้าในรูปแบบและเวลาที่เหมาะสม

จากตัวอย่างบทความในเว็บไซต์ EverydayMarketing.co ได้ยก Case Study ของ Starbucks กับการทำ Hyper-Personalization ผ่านแอปพลิเคชันไว้ว่า การแนะนำอาหารและเครื่องดื่มในแอปพลิเคชัน จะมาจากการใช้ AI วิเคราะห์ข้อมูลการซื้อย้อนหลังออกมาเป็นพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าแต่ละคน ทำให้เวลาลูกค้าเปิดแอปพลิเคชัน ขึ้นมาจะเห็นเมนูแนะนำที่ถูกอกถูกใจอยู่เสมอ นอกจากนี้ Starbucks ยังมีการส่งการแจ้งเตือน ไปหาลูกค้าพรีเมี่ยมในกรณีที่ลูกค้าอยู่ใกล้สาขาที่สามารถสั่งกาแฟและจ่ายผ่านมือถือได้ เพื่อให้เกิดการตัดสินใจง่ายขึ้น โดยที่ไม่ต้องเดินผ่านหน้าร้าน

สุดท้ายแล้วการที่ Starbucks ใช้การตลาดแบบ Hyper-Personalization ส่งผลให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นกว่าเดิม 3 เท่า และมีรายได้จากการใช้จ่ายเงินผ่านแอปพลิเคชัน ทางมือถือ เพิ่มมากขึ้น ทำให้ง่ายต่อการเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์ต่อในอนาคต

อีกหนึ่งบทความจาก forbes.com บอกว่าให้ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการใช้เครื่องมือที่เหมาะสม, การเก็บข้อมูลและสร้างโปรไฟล์ลูกค้า เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ลูกค้าเข้าร้านมากยิ่งขึ้น มาดูเทคโนโลยีบางอย่างที่จะเป็นประโยชน์สำหรับเจ้าของร้านอาหารกันดีกว่า

Point of Sale : เรียกกันสั้นๆ ว่าระบบ POS เป็นระบบที่เก็บข้อมูลการขาย และข้อมูลบันทึกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เมื่อมีการขายสินค้า หรือการบริการ ซึ่งมักจะเป็นจุดขายหรือจุดชำระเงินตรงแคชเชียร์

Mobile App : การ Sign-in และใส่ข้อมูลโปรไฟล์ ผ่านแอปพลิเคชัน มือถือ ถือว่าเป็นการเก็บข้อมูลที่ง่ายมากๆ คุณสามารถมองเห็นประวัติการสั่งซื้อ, วันเกิด, เมนูอาหารจานโปรด หรือความถี่ในการสั่งซื้อได้

Guest Management System : ระบบการจัดการลูกค้า เป็นการเก็บข้อมูลการแพ้อาหารของลูกค้า และความพึงพอใจอื่นๆ ในช่วงเวลารับประทานอาหาร ซึ่งระบบนี้จะช่วยให้การจัดการภายในร้านดีขึ้น และมอบประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้าเพิ่มขึ้นได้

Loyalty หรือ Rewards Program : โปรแกรมที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้า ทำให้เกิดความผูกพันกับร้าน ไม่มีเปลี่ยนใจไปร้านไหน โดยอาจจะออกมาเป็นบัตรสะสมคะแนน, Cashback, โปรโมชั่นมื้อพิเศษ, ส่วนลด, หรือข้อเสนอต่างๆ ก็ได้

Kitchen Display System : ระบบแสดงผลออเดอร์อาหาร ถ้าใช้ร่วมกับระบบ POS และ Guest Management System จะยิ่งเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เมื่อออเดอร์ส่งถึงมือพ่อครัวแล้ว หากลูกค้ามีอาการแพ้อาหารชนิดไหนก็สามารถระบุได้ หรือหากลูกค้ากำลังจัดปาร์ตี้วันเกิดอยู่ พ่อครัวอาจจะมอบเมนูขนมหวานพิเศษพร้อมข้อความเล็กๆ แสดงความยินดีด้วยก็ได้

Hyper-Personalization

สุดท้ายการรักษาข้อมูลให้อัปเดตอยู่เสมอ ก็เป็นสิ่งที่ร้านอาหารหลายๆ ร้านควรจะทำ เพราะนั่นจะแสดงให้เห็นถึงความใส่ใจ และได้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลการเข้าร้าน นอกจากนี้อาจจะต้องมีการเทรนพนักงานให้หมั่นอัปเดตรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ หน้างาน เช่น หากลูกค้าชอบนั่งโต๊ะหัวมุม และสั่งไวน์แดง ก็ต้องจดบันทึกลงในระบบ เมื่อลูกค้าคนนี้กลับมาที่ร้านอีกครั้ง เราก็สามารถใช้ข้อมูลตรงนี้ทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจได้

จะเห็นได้ว่าการทำ Hyper Personalization นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แม้จะไม่มีขั้นตอนการทำที่แน่ชัด ด้วยข้อมูลที่มีจำนวนมากและบางทีอาจเป็นข้อมูลที่ไม่ซ้ำกันหรือซ้ำกันได้ อาจจะทำให้ยุ่งยากกว่าการทำการตลาดแบบปกติ แต่สุดท้ายแล้วการมีข้อมูลและรู้จักลูกค้าของเรามากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นเรื่องดี แถมยังช่วยให้ลูกค้าเกิดความประทับใจในการใส่ใจรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่ดูเหมือนลูกค้าเป็นคนพิเศษสำหรับเราจริงๆ ไม่เพียงเท่านั้นยังถือเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจของเรามากขึ้นด้วย

 

 

ขอบคุณข้อมูล : EverydayMarketing.co

www.peerpower.co.th

www.forbes.com

 

เรื่องแนะนำ

อย่าพลาดเทรนด์ โฆษณาด้วย ASMR ทำให้ผู้บริโภคประทับใจกว่า!!

        หนึ่งในเทรนด์ที่มาแรงมากในช่วงไม่กี่ปีมานี้ คือคลิปวิดีโอ ASMR ที่มีผู้สนใจทั่วโลก เทรนด์ ASMR นี้คืออะไร? และ โฆษณาด้วย ASMR จะช่วยทำการตลาดให้ผู้บริโภคประทับใจและจดจำแบรนด์ได้ดีขึ้นอย่างไร ติดตามได้จากบทความนี้ครับ  โฆษณาด้วย ASMR ทำให้ผู้บริโภคประทับใจกว่า!! ASMR คืออะไร?         คำว่า “ASMR” ย่อมาจาก Autonomous Sensory Meridian Response หรือการตอบสนองต่อประสาทรับความรู้สึกอัตโนมัติ โดยใช้ภาพและเสียงเป็นสิ่งกระตุ้นให้สมองเกิดความรู้สึกผ่อนคลาย เหมือนได้รับการนวด เช่น การดูภาพที่มีการเคลื่อนไหวช้าๆ เป็นจังหวะ หรือเสียงกระซิบใส่ไมโครโฟน เสียงเคี้ยวอาหาร เสียงแคะหู เสียงเคาะสัมผัสสิ่งของ หรือเสียงที่ดังเป็นจังหวะซ้ำๆ โดยต้องใช้ไมโครโฟนพิเศษที่สามารถเก็บเสียงแผ่วเบาได้แบบแยกลำโพงฝั่งซ้ายขวา   ทำไมเทรนด์ ASMR ถึงเป็นที่นิยม?         ASMR ไม่ใช่เรื่องใหม่สักเท่าไหร่ แต่เริ่มเป็นที่นิยมในกลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้นช่วงหลายปีมานี้ โดยเราจะเห็นคลิปการทำ […]

ข้าวขาหมูพ.4

ข้าวขาหมูพ.4 พลิกโฉมร้านเดิมให้ยอดพุ่งกว่า 20%

ข้าวขาหมูพ.4 ตำนานข้าวขาหมูย่านดินแดงที่เปิดมานานกว่า 40 ปี ลงมือปรับปรุงร้านอย่างจริงจัง จนทุกวันนี้ยอดขายที่ดีอยู่แล้ว พุ่งขึ้นสูงอีกถึง 20%

ถอดบทเรียน ชื่อร้าน “พยางค์เดียว” ตั้งชื่อร้านสั้นๆ จำง่าย แต่ไม่ได้มีแค่ข้อดี

ถอดบทเรียน ชื่อร้าน “พยางค์เดียว” ตั้งชื่อร้านสั้นๆ จำง่าย แต่ไม่ได้มีแค่ข้อดี สังเกตไหมว่าทุกวันนี้ร้านอาหารในไทยมักจะมีการตั้งชื่อสั้น ๆ 1 พยางค์บ้าง 2 พยางค์บ้าง ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นชื่อไทยๆ ที่สามารถสื่อความหมายถึงร้านได้ในพยางค์เดียว เช่น เขียง ฉัน ฉุน ครก คั่ว จุ่มหรือเป็นการใช้คำซ้ำอย่าง เผ็ดเผ็ด เปี๊ยะเปี๊ยะ บ้านบ้าน เป็นต้น แล้วชื่อสั้นๆ แบบนี้ มันดียังไงนะ ทำไมเดี๋ยวนี้เขาฮิตตั้งชื่อร้านสั้นๆ กันจัง ลองมาดูข้อดีของชื่อสั้น ๆ แล้วลองไปตั้งชื่อร้านเก๋ของตัวเองดูกัน! . ข้อดี . จำง่าย . อย่างแรกเลยคือลูกค้ามีแนวโน้มที่จะจำชื่อสั้น ๆ ง่าย ๆ ได้มากกว่า ชื่อที่อ่านยาก เขียนยาก ยิ่งเป็นชื่อที่สั้นและสามารถสื่อถึงความเป็นร้านได้จบในพยางค์เดียว ก็เหมือนกับการปล่อยหมัดฮุคใส่คู่ต่อสู้ ที่อ่านแค่ครั้งเดียวก็จำขึ้นใจ และเห็นภาพร้านได้ชัด . รู้เลยว่าขายอะไร . แต่ละร้านก็จะมีชื่อที่บ่งบอกเอกลักษณ์ความเป็นร้านของตัวเองที่ต่างกันออกไป บ้างก็ตั้งชื่อเพื่อบ่งบอกว่าประเภทอาหารที่ขาย เช่น […]

โฆษณาร้านอาหาร

การใช้ QR Code เพื่อ โฆษณาร้านอาหาร

        การ โฆษณาร้านอาหาร ให้เข้าถึงผู้บริโภคเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะช่วงนี้ที่ทุกคนหันมาเน้นบริการเดลิเวอรี การใช้ QR-code เป็นช่องทางหนึ่งที่จะช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงข้อมูลของร้านได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ส่วนเจ้าของร้านอาหารก็สามารถทำการตลาดผ่าน QR code โดยใช้ต้นทุนต่ำ รวมถึงดูสถิติการเข้าถึงจากจำนวนครั้งที่มีการสแกน QR code ได้อย่างง่ายดาย บทความนี้ขอนำเสนอการใช้ QR Code ให้เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจร้านอาหารในรูปแบบต่างๆ และช่องทางการสร้าง QR CODE ออนไลน์ได้ง่ายๆ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย การใช้ QR Code เพื่อ โฆษณาร้านอาหาร         “QR Code” ย่อมาจากคำว่า Quick Response Code เป็นรหัสบาร์โค้ดในรูปแบบ 2 มิติ สามารถใช้งานได้ง่ายๆ ด้วยโดยสแกนจากกล้องในโทรศัพท์มือถือ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถเลือกสร้าง QR Code ที่แสดงผลได้หลากหลายรูปแบบตามต้องการ ได้แก่ เว็บไซต์ของร้านอาหาร  ข้อมูลช่องทางการติดต่อ  […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.