เจาะ 5 พฤติกรรมผู้บริโภค ในยุคดิจิทัล ที่เจ้าของร้านควรรู้ - Amarin Academy

เจาะ 5 พฤติกรรมผู้บริโภค ในยุคดิจิทัล

ยุคนี้ผู้บริโภคเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในวงกว้างและส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต ที่”ผู้ประกอบการร้านอาหาร” ต้องทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทุกด้านของผู้บริโภค ถ้าไม่อยากปล่อยให้ร้านของคุณเจ๊ง มาเจาะ พฤติกรรมผู้บริโภค ในยุคดิจิทัลกัน

พฤติกรรมผู้บริโภค คืออะไร?

เปลี่ยนแปลงไป..อย่างไร ในยุคดิจิทัล

พฤติกรรมผู้บริโภค คือ พฤติกรรมของคนเราที่อยู่ในสังคมขณะนั้นๆ กระบวนการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่บุคคลเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง ลักษณะนิสัย วิถีชีวิต และการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันของบุคคลทั่วไป หรือกลุ่มคนส่วนใหญ่ในสังคม การเลือก การซื้อ การใช้ การประเมินผล ในแง่มุมของการจับจ่ายใช้สอย ดำเนินชีวิตประจำวัน ผ่านการใช้สินค้าและบริการต่างๆ เพื่อสนองความต้องการและความปรารถนาอยากได้ เพื่อให้ได้รับความพอใจ

     

พฤติกรรมของผู้บริโภค ในปัจจุบันแตกต่างอย่างไรกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในอดีต

นับจากปี 2015 “กรุ๊ปเอ็ม” เริ่มทำวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคที่เรียกว่าเป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ต “หน้าใหม่”  (The New Internet Users) ทั่วประเทศ ที่ใช้อินเทอร์เน็ตครั้งแรกผ่านมือถือ หลังจากปี 2017 ถึงปัจจุบันที่ประชากรไทยเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสัดส่วนกว่า 80% ต้องเรียกว่าวันนี้พฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแต่ละกลุ่มมีความเชี่ยวชาญมากขึ้น การสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตปี 2019  ทั่วประเทศ พบว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตและดิจิทัลแพลตฟอร์ม เรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต อีกทั้ง ดิจิทัลแพลตฟอร์ม ได้กลายเป็นช่องทางปกติของการติดต่อสื่อสารไปแล้ว

เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าใจและปรับตัวในยุคที่มือถือและอินเตอร์เน็ตเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตที่ขาดไม่ได้ เราจึงต้องมาศึกษา และเจาะพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในยุคนี้ ว่ามีอะไรบ้าง

 

5 พฤติกรรมผู้บริโภค ในยุคดิจิทัล

1. พฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ที่สูงขึ้น

ในปัจจุบัน ถ้าลองสังเกตการใช้ชีวิตประจำวันของตัวเอง หรือ คนรอบข้าง จะหันซ้าย หันขวา หรือแม้แต่ตัวเอง การสั่งซื้อสินค้า หรือชำระเงินเพื่อให้ได้สินค้าที่ตัวเองต้องการผ่านช่องทางออนไลน์มีเพิ่มมากขึ้น พฤติกรรมผู้บริโภคนั้นเปลี่ยนไปแล้วอย่างสิ้นเชิง แม้กระทั่งสินค้าอุปโภค บริโภค อาหาร ขนมหวาน เครื่องดื่ม ก็สามารถสั่งมาส่งให้ถึงที่ได้ง่ายๆ ในการดำเนินกิจกรรมแบบนี้บนโลกออนไลน์สามารถบอกได้เลยว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่นั้น เกิดพฤติกรรมการสั่งซื้อและชำระสินค้าออนไลน์เป็นจำนวนที่สูงขึ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น หากคุณเป็นผู้ประกอบการร้านอาหารและยังไม่เริ่มต้นที่จะให้บริการ หรือ มีระบบชำระเงินสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ระวัง!! ร้านของคุณอาจจะไปไม่สวยก็ได้

 

2. พฤติกรรมการชำระสินค้าด้วยเงินดิจิทัล

ลองสังเกตไหมว่า ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยเริ่มทยอยปิดสาขาลง เพราะอะไร? ลองดูในมือถือของเราดูสิ แอปพลิเคชันของธนาคาร สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ง่ายแสนง่าย นั่นหมายความว่า ธุรกรรมการเงินส่วนใหญ่ สามารถทำได้ผ่านมือถือของตัวเอง และสามารถใช้งานได้ทันทีตลอด 24 ชั่วโมง โดยที่ไม่จำเป็นต้องออกไปนอกบ้าน ฝ่าฟันรถติดหรือปัญหาการจราจร หรือ ฝนตกก็ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป

พฤติกรรมนี้ยังส่งผลไปถึงเรื่องของการจับจ่ายใช้สอย หรือสั่งซื้ออาหารในโลกออนไลน์อีกด้วย ร้านอาหารของคุณควรมีเว็บไซต์รองรับระบบ Ecommerce การชำระเงินด้วยบัตรเครดิตผ่านการเลือกสินค้าเข้าตะกร้าในรูปแบบที่เว็บไซต์ใหญ่ๆทำกัน รวมทั้งการชำระเงินผ่านช่องทางออนไลน์ได้ทันที โดยการโอนเงินในรูปแบบออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นธนาคารต่างๆ หรือระบบพร้อมเพย์ แม้กระทั่ง Application และระบบต่างๆที่เอกชนนำเสนอกันอยู่ทุกวันนี้ เช่น True wallet หรือ LINE pay รวมทั้ง Application ที่บุกตลาดเข้ามาในประเทศไทยบ้านเราอย่าง App ของจีน เช่น WeChat pay หรือ Alipay

 

3. พฤติกรรมการให้คำติชมหรือร้องเรียนผ่านสังคมออนไลน์

Pantip , Wongnai หรือ Social Media ทุกวันนี้ลูกค้าหรือผู้บริโภคล้วนแต่เป็นเจ้าของสื่อกันทุกคน มือถือสมาร์ทโฟน+อินเทอร์เน็ต ทำให้กลายเป็นเจ้าของสื่อได้โดยอัตโนมัติ เพราะไม่ว่าเรื่องราวส่วนตัวของชีวิตหรือการเป็นผู้บริโภคในการช้อปปิ้งเลือกซื้อสินค้า ลูกค้าสามารถให้คำติชมหรือร้องเรียนเรื่องราวต่างๆ บนโลกออนไลน์ได้ทันที หากไม่พอใจในสินค้าหรือร้านอาหารร้านใดร้านหนึ่ง หรือประทับใจทั้งอาหารและการบริการ ลูกค้าสามารถใช้สื่อออนไลน์บอกต่อประชาสัมพันธ์ อาจจะเป็น comment ดีๆ การให้คะแนนผ่านโซเชียลมีเดีย ลองสังเกตง่ายๆว่า หากต้องการไปทานอาหารสักร้าน ตัวอย่าง เช่น ร้านอาหารเกาหลี ถ้าเข้าไปใน Google คุณก็จะเจอ “รีวิว” แล้วคุณก็จะได้พบกับ เนื้อหาหรือ Content มากมาย ที่บางส่วนเป็นลูกค้าที่มาใช้บริการเป็นผู้สร้างขึ้นมาเอง (User Generated Content) รีวิวเองโดยตรง หรือเป็นการนำเสนอและโฆษณาประชาสัมพันธ์จากร้านอาหารนั้นโดยตรง (Brand’s content)

ในอีกด้านหนึ่ง สำหรับตัวผู้ประกอบการเอง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินกิจการอย่างบริสุทธิ์จริงใจและเปิดเผยได้อย่างโปร่งใส เพราะเมื่อใดก็ตาม ที่การดำเนินกิจการของคุณมีปัญหา หรือ ไม่จริงใจต่อผู้บริโภค ร้านอาหารของคุณอาจจะถูกบอก ปากต่อปาก ในทางที่ไม่ดี และนั่นจะยิ่งทำให้ร้านอาหารของคุณเจ๊งได้

พฤติกรรมผู้บริโภค

4. พฤติกรรมในการเกาะกระแสสังคม

ร้านอาหารในยุคนี้ บางร้านอาจจะไม่ได้มีอะไรพิเศษมากมายนัก แต่เป็นกระแสทำให้ผู้บริโภคหรือลูกค้าต้องการอยากไปรับประทาน หลายคนที่กำลังคิดว่ามีพฤติกรรมแบบนี้เกิดขึ้นจริงหรือ ในเมื่ออาหารก็ไม่ได้อร่อยเลิศอะไร หาทานที่ไหนก็ได้ แตได้รับความนิยมหรือเป็นกระแสจนถึงขนาดลูกค้าต้องมารอต่อคิวเพื่อให้ได้ทานกันเลยทีเดียว ร้านอาหารที่เป็นกระแสแล้ว ก็จะทำให้มีลูกค้าไปกินหรือได้เข้าไปถ่ายรูปเพื่อบอกกับสังคมออนไลน์ว่าได้มาลองแล้ว แม้ว่าลูกค้าหรือผู้บริโภคเหล่านั้นยังไม่เคยแม้แต่ได้รับรู้รสชาติหรือฟังคำรีวิวต่างๆ แค่ขอให้ได้เป็นส่วนหนึ่งของกระแสที่เกิดขึ้นก็พอใจแล้ว

พฤติกรรมผู้บริโภคในลักษณะนี้เกิดขึ้นมาแล้วยาวนาน แต่ว่าเริ่มเห็นชัดเจนมากขึ้นเมื่อมีสื่อออนไลน์เข้ามา ขอให้ได้ตามกระแส ไม่ตกยุค หรือเป็นกลุ่มคนแรกๆ ที่ได้ไปทาน ก็จะยิ่งน่าภาคภูมิใจ พฤติกรรมนี้ ผู้ประกอบการร้านอาหารสามารถหยิบจับมาใช้เป็น กลยุทธ์ทางการตลาดในรูปแบบออนไลน์ได้อย่างไม่ยาก แต่ต้องวางแผนและเข้าใจถึงกลุ่มผู้บริโภคให้เหมาะสมกับร้านของคุณ รับรองว่าคุณสามารถใช้ประโยชน์ หรือ หาจุดเด่นจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในข้อนี้ได้อย่างแน่นอน

 

 5. พฤติกรรมลดความภักดีต่อแบรนด์

หนึ่งในข้อสรุปที่ได้จากรายงานครั้งล่าสุดของนีลเส็น ในการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคโดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกว่า 3 หมื่นคน ในภูมิภาคต่างๆ จาก 64 ประเทศทั่วโลก เผยถึงระดับของความ ไม่ จงรักภักดีต่อแบรนด์ ที่เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ โดยพบว่า มีเพียง 8% ของผู้บริโภคทั่วโลกเท่านั้น ที่เชื่อว่าตัวเองเป็นผู้ที่ภักดีต่อแบรนด์ นักการตลาดและที่ปรึกษาการตลาดส่วนใหญ่ ต้องพูดกันว่า ปัจจุบันผู้บริโภคหรือลูกค้าไม่มีความจงรักภักดีต่อแบรนด์สินค้าอีกต่อไป สาเหตุที่ว่าทำไมลูกค้าถึงลดความภักดีต่อแบรนด์สินค้าลงไปมาก หลักๆเนื่องมาจาก ปัจจุบันผู้บริโภคมีทางเลือกในการจับจ่ายใช้สอยหรือเลือกไปร้านอาหารร้านใหม่ๆ ที่ต้องการได้อย่างง่ายผ่านสื่อโฆษณาบน Social Media ที่มีอิทธิพลต่อผู้บริโภคมากขึ้น

ดังนั้น ผู้บริโภคจึงมีช่องทางหลากหลายมากมายในการรับสื่อ ไม่จำเป็นต้องใช้สื่อหลักอย่างโทรทัศน์และวิทยุอีกต่อไปแล้ว การมีอินเทอร์เน็ตทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสื่อในหลากหลายรูปแบบ สำหรับผู้บริโภคไทย ก็จะมีสื่อช่องทางออนไลน์ที่เป็นกระแสหลักๆ อย่าง เช่น Facebook YouTube LINE หรือ Twitter ช่องทางเหล่านี้ แม้จะดูเป็นแค่ Application ที่ใช้ในการติดตามเรื่องราวของเพื่อนๆหรือชาวบ้าน แต่ก็ยังเป็นสื่อที่ผู้ประกอบการร้านอาหารสามารถส่งโฆษณา หรือสร้างการรับรู้ของร้านอาหารของตัวเองได้

ในฐานะผู้ประกอบการร้านอาหาร จะสามารถใช้ประโยชน์จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปนี้ได้อย่างไร? ที่ต้องทำก็คือสำรวจตลาด วิเคราะห์ วิจัยผู้บริโภค แล้วหาช่องว่างเหล่านั้น เพื่อเติมเต็มตลาดที่ยังว่างอยู่ และ หวังว่าคุณจะสามารถใช้ประโยชน์จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปนี้กลายมาเป็นประโยชน์อย่างสูงสุดให้กับธุรกิจร้านอาหารของคุณได้

 


           กลับมาอีกครั้งกับหลักสูตร HR for Food Business บริหารคน สำหรับธุรกิจอาหาร รุ่นที่ 3 หลักสูตรที่จะทำให้ผู้ประกอบการเรียนรู้การบริหารบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ ไขข้อข้องใจปัญหาเรื่องพนักงานลาออกบ่อย ขาด ลา มาสาย ทะเลาะกัน การหาพนักงานที่ดี โครงสร้างเงินเดือน สัญญาจ้างงาน รวมถึงกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานต่างๆ ที่ต้องรู้ โดยวิทยากร คือ อาจารย์ พีรพัฒน์ กองทอง ผู้มีประสบการณ์จากธุรกิจอาหารเชนใหญ่อย่าง แมคโดนัลด์ ประเทศไทย ที่จะมาพร้อมแขก สุดพิเศษ ร่วมแชร์ประสบการณ์การบริหารจัดการพนักงานในร้าน งานนี้จะจัดขั้นในวันอังคารที่ 31 มีนาคม – วันพุธที่ 1 เมษายน 2563  เวลา 9.00-17.00 น. 

 

คลิกสมัครด่วน! หลักสูตร HR for Food Business บริหารคน สำหรับธุรกิจอาหาร รุ่นที่ 3

HR for Food Business บริหารคน สำหรับธุรกิจอาหาร รุ่นที่ 3

                    

เรื่องแนะนำ

เทคนิค การบริหารร้าน ให้รุ่ง เจ้าของร้านควรโฟกัสเรื่องอะไรบ้าง

ไม่ว่าจะเปิดร้านอะไร แน่นอนว่า คุณย่อมหวังให้ธุรกิจของคุณไปได้ด้วยดี มีกำไร แต่การที่จะทำให้ร้านขายดี ทำกำไรได้นั้น ก็ต้องมี การบริหารร้าน ที่ดีด้วย ซึ่งเจ้าของร้านควรโฟกัสที่ในเรื่องอะไรบ้าง มาดูกันครับ เทคนิคการบริหารร้านให้รุ่ง เจ้าของร้านควรโฟกัสเรื่องอะไรบ้าง กำหนดทิศทาง ตั้งเป้าหมายให้ดี ธุรกิจร้านอาหารเป็นธุรกิจที่จะต้องมีการวางแผนเพื่อเติบโตในแต่ละปี เจ้าของร้านอาหารควรมีความชัดเจนในการกำหนดเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรม ให้ทิศทางการดำเนินงานที่ชัดเจน และสามารถสื่อสารความตั้งใจนั้นไปสู่ทีมงานร้านอาหารทุกฝ่ายได้  เช่น ตั้งใจให้เป็นร้านไก่ทอดที่ชนะร้านไก่ทอดชื่อดังภายใน 5  ปี โดยการขยายสาขาให้มากที่สุด  หรือเป็นร้านผักออแกนิกส์อันดับ 1 ที่มีกลยุทธ์จับมือกับพันธมิตรผู้ให้บริการฟิตเนส  การโฟกัสกับ  “การสร้างภาพความสำเร็จขึ้นในใจของทีมงาน เพื่อให้เขาเป็นส่วนหนึ่งในการที่จะสร้างความสำเร็จนั้น” เป็นสิ่งสำคัญ ก่อนที่จะกำหนดแผนงานเพื่อให้แต่ละฝ่ายรับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่ของตัวเอง และคอยตรวจสอบแผนงานนั้นอยู่เสมอ มองหาโอกาส เพื่อวางแผนการเติบโต             ร้านอาหารไม่ใช่การซื้อมาขายไป แต่การทำธุรกิจร้านอาหารให้อยู่รอด ต้องมองหาช่องทางในการเติบโต ธุรกิจร้านอาหารต้องมีการปรับตัวตลอดเวลา เนื่องจากมีปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อยอดขาย ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยภายนอกจากสภาวะการแข่งขัน หรือปัจจัยภายในที่เกิดจากการดำเนินงานของร้านเอง เจ้าของร้านอาหารที่ดีจึงควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาร้านอาหาร ตรวจสอบข้อผิดพลาดเพื่อแก้ไขจุดบกพร่อง ทำการบ้านเรื่องคู่แข่งอยู่ทุกวัน ในขณะเดียวกันก็มองหาโอกาสในการที่จะพัฒนาร้านให้พร้อมต่อการเติบโตในอนาคต วางแผนการเติบโตของพนักงานแต่ละฝ่าย             พนักงานร้านอาหารไม่ใช่ต้นทุน แต่เป็นทรัพยากรที่จำเป็นจะต้องส่งเสริมให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพมากที่สุด เพื่อให้พนักงานสามารถไปดูแลลูกค้าให้ดี สมกับที่นำรายได้มาให้เรา เจ้าของร้านอาหารนอกจากจะต้องรับรู้หน้าที่ของพนักงานแต่ละคนแล้ว ยังต้องวางแผนในการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและเติบโตในสายงาน […]

เปิดร้านบุฟเฟ่ต์

5 ข้อควรระวังหาก เปิดร้านบุฟเฟ่ต์

หลายคนอาจคิดว่าบุฟเฟ่ต์ ดูเหมือนไม่มีอะไร แต่จริงๆ แล้วหลังร้านไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด วันนี้จึงขอนำ ข้อควรระวังหาก เปิดร้านบุฟเฟ่ต์ มาให้พิจารณากัน

จดทะเบียนบริษัท

จดทะเบียนบริษัท ร้านอาหารต้องรู้อะไรบ้าง ?

ขายดีมาก ยอดขายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ภาษีที่ต้องเสียก็พุ่งสูงตาม! อย่างนี้ร้านอาหารควรทำธุรกิจในนามบุคคลแบบนี้ต่อไป หรือ จดทะเบียนบริษัท ดี?

เทคนิค หาพนักงานร้านอาหาร ชั้นเซียน ก่อนเปิดร้าน!

หาพนักงานร้านอาหาร จนท้อ แถมทำงานได้ไม่ถึงเดือนก็ลาออก ต้องหาพนักงานมาแทนกันให้วุ่น ลดปัญหาน่าปวดหัวเรื่องพนักงาน ด้วยเทคนิคการหาคนให้ตรงใจตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อลดผลกระทบที่เกิดกับร้านของคุณให้มากที่สุดกันดีกว่า   เทคนิค หาพนักงานร้านอาหาร ก่อนเปิดร้าน! WHAT  หาอะไร ประเภทของร้านอาหารแต่ละแบบ ต้องการพนักงานที่ต่างประสบการณ์กัน  รวมถึงจำนวนที่เหมาะสมก็ต่างกันด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับการวางโครงสร้างต้นทุนร้านอาหารที่เหมาะสม ทีมงานร้านอาหารแบ่งเป็น 2 ทีมงานหลัก ๆ  คือ ทีมงานหลังบ้าน เช่น เชฟ ผู้ช่วยเชฟ คนปรุงอาหาร คนแพ็คอาหาร พนักงานล้างจาน และทีมงานหน้าบ้าน เช่น  ผู้จัดการร้าน ผู้ช่วยผู้จัดการ พนักงานต้อนรับ แคชเชียร์พนักงานรับออร์เดอร์  ซึ่งแต่ละตำแหน่งมีหน้าที่การทำงานที่ชัดเจน จำนวนการจ้างงานก็ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของร้าน เช่น ถ้าคุณทำร้านอาหาร Quick Service  เน้นพนักงานแคชเชียร์รับ Order ลูกค้า ไม่ต้องจ้าง Food Runner  ก็ได้  หรือร้านขนาดเล็ก ผู้จัดการคนเดียว โดยไม่ต้องมีผู้ช่วยก็สามารถดำเนินงานได้ Tips : ต้นทุนแรงงานเป็น Fix […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.