Walmart เปิดตัวบริการ In Home Delivery ให้พนักงานนำสินค้าเติมให้ถึงตู้เย็น

Walmart เปิดตัวบริการ In Home Delivery ให้พนักงานนำสินค้าเติมให้ถึงตู้เย็น

วงการเดลิเวอรี่ เริ่มจะมีสีสันขึ้นเรื่อยๆ แล้วค่ะ เมื่อ Walmart ซูเปอร์มาร์เก็ตชื่อดังในสหรัฐอเมริกามีการปรับตัวให้เข้ากับพฤติกรรมลูกค้าในยุคนี้มากขึ้นด้วยการเปิดตัวบริการ In Home Delivery  บริการจัดส่งสินค้าที่ลูกค้าสามารถสั่งให้พนักงานนำสินค้ามาเติมให้ที่ตู้เย็นโดยตรงแม้คุณจะไม่ได้อยู่บ้าน เรียกว่าเอาใจลูกค้าที่รักความสะดวกสบายอย่างเต็มที่ แล้วมีขั้นตอนการจัดส่งอย่างไรบ้าง?

 

ขั้นตอนการให้บริการ In Home Delivery

บริการ In Home Delivery เริ่มแรกผู้ที่จะใช้บริการจะต้องสมัครสมาชิกบริการจัดส่ง In Home เริ่มต้นที่ 19.95 เหรียญสหรัฐต่อเดือน (ราว 600 บาท) และผู้ซื้อจะต้องซื้อสินค้ามูลค่าอย่างน้อย 30 เหรียญต่อครั้ง สามารถสั่งซื้อการจัดส่งได้บ่อยเท่าที่ต้องการแบบไม่จำกัดความถี่ ขณะที่ระบบล็อกบ้านอัจฉริยะหรือ smart-lock ราคา 49.95 เหรียญสหรัฐ (ราว 1,500 บาท) ติดตั้งให้ฟรี เมื่อเป็นสมาชิกแล้ว มีการสั่งซื้อสินค้า จากนั้นพนักงานจะส่งสินค้าไปให้ถึงในห้องครัวหรือส่วนอื่นๆ ของบ้านลูกค้า

 

ความปลอดภัยในการให้บริการ

หลายคนอาจจะเกิดคำถามว่า แล้วเรื่องของความปลอดภัย จะปลอดภัยหรือไม่ หากต้องให้คนแปลกหน้าเข้ามาส่งของถึงภายในบ้าน หรือความปลอดภัยของสินค้าในขั้นตอนการจัดส่งจะเป็นอย่างไร

ซึ่งผู้ใช้บริการนี้ไม่ต้องกังวลเรื่องความปลอดภัยค่ะ เพราะ Walmart ใช้เทคโนโลยี Smart-lock เทคโนโลยีอัจฉริยะที่ทำให้บ้านเปิดล็อกได้ด้วยรหัสสำหรับป้อนครั้งเดียว ซึ่งหากลูกค้าไม่กดเปิดประตู บ้านของลูกค้าก็จะไม่ปลดล็อก  และสามารถควบคุมได้ด้วยโทรศัพท์มือถือ ดังนั้น เจ้าของบ้านจะสามารถดูการจัดส่งสินค้าผ่านสมาร์ทโฟนของตัวเอง ในขณะเดียวกันพนักงานเองก็จะทำการติดตั้งกล้องบันทึกภาพ ตลอดขั้นตอนการจัดส่ง และจัดเรียงสินค้าในตู้เย็นของคุณ ซึ่งลูกค้านั้นก็จะสามารถชมไลฟ์สตรีมวิดีโอได้ทุกที่ ทุกเวลาอีกด้วย

 

Bart Stein รองประธานอาวุโสของ Walmart กล่าวว่า “บริการ In Home เป็นการก้าวไปอีกขั้นเพื่อให้ลูกค้าของ Walmart สามารถใช้ชีวิตได้โดยไม่ต้องกังวลว่า จะต้องไปที่ร้านหรืออยู่บ้านเพื่อรับสินค้า ซึ่งจะส่งผลให้ Walmart สามารถขยายธุรกิจได้อีกทางในวันที่ลูกค้าเดินทางเข้าร้านน้อยลง”

 

วงการค้าปลีกอเมริกันปรับตัว

ในช่วงเวลาที่ลูกค้าช้อปปิ้งออนไลน์มากขึ้น ผู้ค้าปลีกอเมริกันต่างพยายามปรับตัวให้โดดเด่นกว่าด้วยการจัดส่งสินค้าได้เร็วกว่าคู่แข่ง ขณะที่แบรนด์ค้าปลีกหลายแห่งมีแผนปิดร้านสาขาต่อเนื่องจนถึงปีหน้า

แม้ Walmart จะเพิ่งเปิดตัวบริการนี้เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา แต่วันนี้ Walmart สามารถขยายบริการจนพร้อมรองรับลูกค้าในสหรัฐฯ เกิน 1 ล้านรายในพื้นที่แคนซัสซิตี้, พิตต์สเบิร์ก และเวโรบีช รัฐฟลอริดา เป็นการเปิดบริการอย่างเป็นทางการตั้งแต่อังคารที่ 15 ตุลาคมที่ผ่านมา

 

การเปิดตัวIn Home Delivery ของ Walmart ในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่างานบริการเดลิเวอรี่ในปัจจุบันนั้น มีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง และมีการแข่งขันกันที่สูงขึ้นเรื่อยๆ พฤติกรรมของลูกค้าที่ใช้บริการออนไลน์มากขึ้น ทำให้ผู้ให้บริการต้องแข่งขันกันว่าด้วยความสะดวกสบายของลูกค้า ความรวดเร็วในการให้บริการ และพยายามปรับตัวให้โดดเด่นกว่าคู่แข่ง ทั้งนี้ก็เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ลูกค้ายุคใหม่ ที่ต้องการความสะดวกสบาย และความรวดเร็วมากขึ้น

 

ขอบคุณภาพ inhome.walmart.com

เรื่องแนะนำ

สไปร์ท

สไปร์ท เปลี่ยนขวดสี เป็นขวดใส ผลักดันการรีไซเคิลพลาสติกครั้งสำคัญ

เชื่อว่าเครื่องดื่ม สไปร์ท ขวดสีเขียว เป็นเอกลักษณ์และภาพจำที่คุ้นเคยของคนทั่วโลก แต่ด้วยกระแสการหันมาใส่ใจเรื่องการใช้พลาสติกมากขึ้น หลายองค์กรเริ่มให้ความสำคัญและตื่นตัวกับเรื่องนี้ ล่าสุดบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง โคคา-โคล่า ได้มีการประกาศเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ใหม่ของ “ สไปรท์ ” โดยเปลี่ยนมาใช้ขวดพลาสติกแบบใส แทนการใช้ขวดสีเขียวแบบเดิม ในภูมิภาคอาเซียน โดยการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้ก็เพื่อให้สอดคล้องกับเทรนด์ของโลก ที่พยายามผลักดันในการตามเก็บและรีไซเคิลขวดพลาสติกพีอีที (Circular Economy)   สไปร์ท เปลี่ยนขวดสี เป็นขวดใส เครื่องดื่มสไปรท์จำหน่ายในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยบรรจุภัณฑ์ขวดพลาสติกสีเขียวที่ผู้บริโภครู้จักดีมาตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรกในฟิลิปปินส์เมื่อปี พ.ศ. 2511 และเพิ่งมีการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ เนื่องด้วย The Coca-Cola Company ต้องการเดินหน้าโปรเจ็คตามวิสัยทัศน์ World Without Waste สานต่อความมุ่งมั่นเดินหน้าผลักดันการรีไซเคิลขวดพลาสติกเพื่อให้สามารถนำขวดพลาสติกเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ง่ายขึ้น และนำกลับมาใช้ใหม่ได้ต่อไป  ซึ่งก่อนหน้านี้กลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่าในยุโรป ประสบความสำเร็จในการยกเลิกใช้ขวดพลาสติกสีเขียวสำหรับสไปรท์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต่อไปก็จะเป็นการเดินหน้าในโซนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้เริ่มเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์เป็นขวดพลาสติกใสในประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในเดือนพฤศจิกายนนี้ ส่วนประเทศอื่นๆ จะทยอยเปลี่ยนในปี 2563 สไปร์ท เปลี่ยนสีขวด ช่วยให้เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน การเปลี่ยนมาใช้ขวดพลาสติกพีอีทีแบบใส แทนการใช้ขวดพลาสติกสีแบบเดิม ยังเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคได้เป็นอย่างมาก เพราะสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างไม่รู้จบ และเกิดเป็นระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งการยกเลิกใช้บรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มชนิดพลาสติกพีอีทีแบบสี คือข้อเสนอแนะสำคัญในรายงานการเร่งสร้างแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนจากบรรจุภัณฑ์ขวดพีอีทีหลังการบริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฉบับใหม่ อีกด้วย   […]

การตลาดออนไลน์ ร้านอาหาร

4 อันดับ การตลาดออนไลน์ ร้านอาหาร ที่มาแรงสุดๆ

การตลาดออนไลน์ ร้านอาหาร มีความสำคัญมากสำหรับธุรกิจในยุคนี้ อย่างนั้นเรามาดูกันสิว่า การตลาดออนไลน์รูปแบบไหนที่เจ้าของร้านอาหารกำลังนิยมใช้ในขณะนี้

Digital Delicious

Digital Delicious เทรนด์ใหม่รูปแบบนำเสนออาหารสุดล้ำ เปิดประสบการณ์ผู้บริโภค

ในยุคนี้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามามีบทบาทกับทุกๆสิ่ง ไม่เว้นแม้แต่แวดวงอาหาร ซึ่งปัจจุบันการเลือกรับประทานอาหารของผู้บริโภคไม่ได้หยุดเพียงแค่ รสชาติอร่อย หน้าตาอาหารสวยงาม หรือแม้แต่การบริการที่ดีเท่านั้น แต่สิ่งที่จะดึงดูดผู้บริโภคในยุคนี้ได้ก็คือ ประสบการณ์อันน่าตื่นเต้นและแปลกใหม่ในการรับประทานอาหารนั่นเอง เพื่อให้เกิดการจดจำ สร้างความประทับใจ และเป็นที่พูดถึง เรากำลังพูดถึง Digital Delicious ที่นำอาหารและดิจิทัลอาร์ต มารวมไว้ด้วยกัน กับรูปแบบการนำเสนอสุดล้ำที่ชวนว๊าว   เปิดประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้บริโภคด้วย Digital Delicious  ปัจจุบันนี้แวดวงอาหารบ้านเรา ก็มีวิวัฒนาการที่น่าสนใจมากขึ้นทุกวัน อย่างเช่นล่าสุดที่บอกไปว่ามีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาในการพรีเซ้นท์อาหาร เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภค นั่นก็คือโปรเจคDigital Delicious ที่ริเริ่มโดยบริษัท Doozy Digilab ผู้นําด้านการสร้างสรรค์ประสบการณ์ดิจิทัลรูปแบบใหม่ ได้นำอาหารและดิจิทัลอาร์ตมารวมไว้ด้วยกัน ในรูปแบบของอาหาร Fine Dining โดยเชฟชื่อดัง เช่น เชฟเอริก ไวด์มันน์ ผู้คว้าตำแหน่งเชฟกระทะเหล็ก Iron Chef Thailand จาก Oriental Residence Bangkok, เชฟแพม-พิชญา อุทารธรรม, เชฟแต-จันทร์ชนก สุนทรญาณกิจ ศิลปินเชฟขนมอบชื่อดัง และเค-อานนท์ ฮุนตระกูล […]

วิกฤต COVID-19

ธุรกิจอาหารที่สามารถอยู่รอดได้ใน วิกฤต COVID-19

ธุรกิจอาหารที่สามารถอยู่รอดได้ ใน วิกฤต COVID-19 ในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลได้มีแถลงการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์ COVID-19 ทั้งเรื่องของจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และมาตรการควบคุมการระบาดของไวรัส ด้วยการปิดสถานที่ต่างๆ ที่มีการรวมตัวของผู้คนจำนวนมาก จากข่าวดังกล่าวยิ่งทำให้ประชาชนเกิดความวิตกกังวล และเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต จนทำให้ธุรกิจต่างๆ ได้รับผลกระทบอย่างเห็นได้ชัด โดยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในช่วงเวลานี้ ได้แก่ หลีกเลี่ยงการออกไปยังสถานที่สาธารณะ ที่มีผู้คนรวมตัวกันและใช้เวลาที่บ้านมากขึ้น  สั่งอาหารเดลิเวอรี่มากขึ้น เพื่อลดการพบปะกับผู้อื่นขณะออกไปซื้ออาหาร ซื้อของใช้ที่จำเป็น และกักตุนอาหารเพื่อเตรียมรับมือกับการแพร่ระบาด ซื้อของมากขึ้นในแต่ละครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงการออกจากบ้านโดยไม่จำเป็น  ใส่ใจเรื่องความสะอาด และที่มาของอาหารมากขึ้น  เกิดกระแส “Work form home” หรือการทำงานที่บ้าน    รณรงค์ให้มีการเว้นระยะห่างจากสังคม หรือ Social distancing เพื่อลดการแพร่ระบาดของไวรัส ธุรกิจอาหาร ร้านอาหารต่างๆ แน่นอนว่าเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตนี้ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะร้านอาหารที่มีหน้าร้านเพียงอย่างเดียว เพราะตามที่มีการประกาศล่าสุดคือ ร้านอาหารสามารถเปิดให้บริการได้ แต่จะต้องเป็นการซื้อกลับบ้านเท่านั้น ทำให้หลายร้านต้องเริ่มปรับตัวมากขึ้น เพื่อให้ร้านสามารถไปต่อได้ แต่เชื่อว่าในวิกฤตย่อมมีโอกาสบางอย่างซ่อนอยู่เสมอ ยังคงมีธุรกิจอาหารบางประเภทที่ยังสามารถไปต่อได้ในสภาวะแบบนี้ และคิดว่าผู้ประกอบการหลายรายก็ได้เริ่มทำบ้างแล้ว มาดูกันว่าธุรกิจอาหารที่สามารถอยู่รอดได้ใน วิกฤต COVID-19 มีอะไรบ้าง เผื่อเป็นไอเดียให้กับผู้ประกอบการรายอื่นๆด้วย   […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.