วิเคราะห์ ปัญหาร้านอาหาร ทำการตลาดดีแต่ไม่มีลูกค้าประจำ - Amarin Academy

วิเคราะห์ ปัญหาร้านอาหาร ทำการตลาดดีแต่ไม่มีลูกค้าประจำ

เชื่อไหมว่า… ปัญหาร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านประสบชะตากรรมยอดขายตก มักจะมีคำถามว่าทำการตลาดอย่างไรดีช่วงนี้ให้ลูกค้าเข้าร้านเยอะ ๆ แทนที่จะตั้งคำถามว่า Operation อย่างไรให้ดี จนลูกค้าบอกต่อโดยไม่ต้องทุ่มงบทำการตลาด ซึ่งเจ้าของร้านอาหารบางท่าน ก็ไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่า Operation ทำหน้าที่ไล่ลูกค้าไปกี่คนแล้วต่อเดือน !

 

ทำไมการตลาดเรียกลูกค้า Operation ไล่ลูกค้า ?

            ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณา การจัดทำโปรโมชั่น ล้วนเป็นการสร้างความเคลื่อนไหวให้กับร้าน ทำให้ลูกค้าเกิดความสนใจ และตัดสินใจลองใช้บริการมากขึ้นในช่วงนั้น ๆ ซึ่งร้านอาหารมีโอกาสที่จะเปลี่ยนลูกค้าใหม่ให้เป็นลูกค้าประจำ และทำให้ลูกค้าประจำมีการซื้อมากขึ้นได้ ในทางกลับกันถ้า Operation มีจุดบอดก็จะเปิดโอกาสให้ลูกค้ามาเจอกับประสบการณ์ที่ไม่ดีได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพนักงานบริการไม่ดี อาหารออกช้า ความไม่คงที่ของรสชาติและปริมาณ แทนที่จะเพิ่มยอดขาย กลับทำให้ร้านเกิดผลกระทบด้านลบในระยะยาวแทน เช่นเดียวกัน ถ้าหากร้านของคุณยังมีปัญหาด้าน Operation ก็ยากที่จะครองใจลูกค้าไว้ได้ แม้จะดันการตลาดมากแค่ไหนก็ตาม

 

การตลาดที่ดีต้องคำนึงถึงการ Operation หน้าร้านด้วย

            กรณีศึกษา เกิดขึ้นกับร้านอาหารในประเทศจีน ทำการตลาดกินฟรี โดยกำหนดช่วงเวลา เพื่อหวังให้ร้านเป็นที่รู้จักในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่ปรากฏว่าการจัดการหน้าร้านไม่สามารถรองรับจำนวนลูกค้าที่ล้นหลามได้ และยังทำให้ร้านอาหารประสบกับปัญหาขาดทุนจากการจัดการต้นทุนที่ผิดพลาด แทนที่ร้านจะมีชื่อเสียงกลับทำให้เจ้าของร้านต้องตัดสินใจปิดร้านในเวลาอันรวดเร็ว การทำการตลาดจึงต้องคำนึงถึงความพร้อมของการจัดการหน้าร้านด้วย

 

แก้ปัญหา Operation ให้ส่งเสริมการทำตลาดได้อย่างเหมาะสม

            อย่างที่กล่าวว่า การตลาดที่ดีจะต้องคำนึงถึงความสามารถในการรับมือกับการจัดการหน้าร้านได้ แต่บางครั้งการแข่งขันที่รุนแรง จำเป็นที่จะต้องทำการตลาดเชิงรุกเพื่อเข้าหาลูกค้ากลุ่มใหม่ และสร้างโอกาสขายให้ได้มากที่สุดด้วยวิธีการที่แตกต่างไปจากเดิม เพราะฉะนั้นก่อนที่จะละทิ้งไอเดียการตลาดที่ดีบางอย่าง ควรใช้เป้าหมายเป็นที่ตั้ง และขบคิดเพื่อหาแนวทางร่วมกันเสียก่อน เพื่อทำให้เซต Operation ให้สามารถรับมือกับการทำการตลาดได้อย่างเหมาะสม

 

การทำงานที่ไม่เกิดการแชร์ข้อมูลกันและกัน

            ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญในการนำมาวิเคราะห์เพื่อวางกลยุทธ์ทำการตลาด  

เจ้าของร้านอาหารจึงควรสร้างระบบการทำงาน เพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถเข้าถึงข้อมูลและนำมาวิเคราะห์ได้ โดยเฉพาะข้อมูลจากฝ่ายการให้บริการลูกค้า ที่ใกล้ชิดกับลูกค้าโดยตรง ฝ่ายครัวที่ให้ข้อมูลด้านการจัดการวัตถุดิบ ความยากง่ายในการเตรียมเมนูต่าง ๆ ต้นทุน เพดานราคาในการทำส่วนลด เพื่อให้เกิดการวางกลยุทธ์ที่สอดคล้องกันและกันได้

 

เมื่อทำการตลาดจึงต้องวัดผล Operation ด้วย

            การทำการตลาดแต่ละครั้ง จะต้องมีการวัดผลว่าบรรลุจุดประสงค์หรือไม่ เช่น การเข้าถึงลูกค้าใหม่ การรับรู้แบรนด์หรือสินค้าใหม่ หรือดันยอดขายให้เพิ่มมากขึ้น ร้านอาหารควรจะใช้โอกาสนี้ในการวัดผลความพึง   พอใจของลูกค้าที่มาใช้บริการ เพื่อคาดถึงแนวโน้มการใช้บริการซ้ำอีกด้วย ซึ่งควรตรวจสอบความคุ้มค่าของต้นทุนที่ใช้ ทั้งต้นทุนการตลาดที่ใช้ ต้นทุนเวลา ต้นทุนแรงงาน เพื่อสามารถวิเคราะห์ได้ว่าความสำเร็จ และความล้มเหลวเกิดจากปัจจัยอะไรบ้าง เกิดจากแผนการตลาดที่ไม่ดีหรือการ Operation ที่ผิดพลาดหน้างาน และควรจะแก้ไขอย่างไรบ้าง

 

            การตลาดที่ดีเป็นเหมือนการรบเชิงรุกต้อนคนเข้าร้าน  ส่งให้ Operation เป็นการรบเชิงรับสร้างความพอใจสูงสุดให้กับลูกค้าทั้งรสชาติและการบริการ ทั้งสองฝ่ายจึงต้องทำงานสอดคล้องกันและกัน บ่อยครั้งที่ร้านอาหารทุ่มงบทำการตลาด แต่ไม่เคยประสบความสำเร็จ นั่นก็เพราะโฟกัสไปที่การปรับกลยุทธ์การตลาด หรือเพิ่มงบประมาณในการทำการตลาดเพียงอย่างเดียว แทนที่จะแก้ไขงาน Operation ให้มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม

 

“เพราะอย่าลืมว่า มาตรฐานการบริการ และรสชาติ

นั้นคือการโฆษณาของร้านที่ดีที่สุด

 

มาร่วมเรียนรู้หลักสูตรที่จะทำให้คุณเซตทุกระบบร้านอาหารได้อย่างมืออาชีพ กับหลักสูตร  Operation Setup  วางระบบร้านอาหารอย่างมืออาชีพ รุ่นที่ 4  ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากวิทยากร ที่การันตีความสำเร็จจาร้านอาหารกลุ่ม Minor Food คุณธามม์ ประวัติศรี วันอังคารที่ 29 และวันพุธที่ 30 ตุลาคม 2562 เวลา 09.00 -17.00 น.

สมัครเลยถ้าคุณไม่อยากพลาดหลักสูตรที่จะช่วยแก้ทุกปัญหาให้กับคุณ  คลิก

Operation Setup

เรื่องแนะนำ

อาหารบูด

เมื่อลูกค้าเจอ ” อาหารบูด ” ควรทำอย่างไร

ร้านอาหารหลายๆ ร้าน คงเคยเจอปัญหาลูกค้าเจอ อาหารบูด ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของร้านอาหารเลยก็ว่าได้ แล้วอย่างนี้ เจ้าของร้านจะแก้ไขสถานการณ์นั้นอย่างไรดีล่ะ

เช็กลิสต์ QSC ระบบ ประเมินมาตรฐาน ที่ร้านอาหารคุณต้องมี!

หนึ่งในระบบเซตอัพร้านอาหารที่สำคัญ ก็คือการออกแบบเครื่องมือในการ ประเมินมาตรฐาน หรือผลการปฏิบัติงานของร้าน ที่เรียกว่า QSC  ถือเป็นคู่มือที่ใช้ควบคุมการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ โดยจะครอบคลุม 3 เรื่องสำคัญ ได้แก่   เช็กลิสต์ QSC ระบบ ประเมินมาตรฐาน ที่ร้านอาหารคุณต้องมี! Q = Quality การประเมินด้านคุณภาพ เริ่มตั้งแต่วัตถุดิบ วิธีการเก็บรักษาวัตถุดิบ วิธีการปรุงอาหารและการเสิร์ฟ ทั้งรสชาติ ปริมาณ หน้าตาอาหาร   S =Service การประเมินด้านการบริการ เริ่มตั้งแต่การต้อนรับลูกค้า การแนะนำรายการสินค้า ความเต็มใจบริการ ความสุภาพของพนักงาน ความถูกต้องในการรับรายการอาหาร   C = Cleanliness การประเมินด้านความสะอาด เริ่มประเมินตั้งแต่ การแต่งกายของพนักงาน ความสะอาดของหน้าร้านและหลังร้าน รวมไปถึงการดูแลรักษาและซ่อมบำรุงอุปกรณ์ครัว   ตัวอย่างการทำ QSC : ร้านกาแฟ มาดูกันว่าการทำ QSC ร้านกาแฟ จะกำหนดให้ควบคุมในเรื่องใดบ้าง ยกตัวอย่างเช็กลิสต์ […]

คุมต้นทุนอาหาร

คุมต้นทุนอาหาร ด้วยเทคนิค 4 ข้อ

        หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ร้านอาหารต้องปิดตัวลง คือ “การคุมต้นทุนไม่อยู่” บางร้านอาจจะขายดีมากแต่ไม่ได้กำไรเพราะมีต้นทุนสูงเกินไป โดยเฉพาะต้นทุนด้านวัตถุดิบ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายหลักของร้านอาหาร ร้านทั่วไปจะมีต้นทุนส่วนนี้ 30-40% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด หรืออาจสูงกว่านี้ในร้านอาหารประเภทบุฟเฟ่ต์ ผู้ประกอบการจึงควรให้ความสำคัญกับการบริหารต้นทุนในส่วนนี้ให้มาก ลองมาดูสิ่งที่จะช่วย คุมต้นทุนอาหาร และเพิ่มกำไรให้ร้านอาหารของเรากันครับ คุมต้นทุนอาหาร ด้วยเทคนิค 4 ข้อ 1. ใส่ใจและติดตามราคาวัตถุดิบ         วิธีที่ดีในการคุมต้นทุน คือการติดตามราคาของวัตถุดิบที่ใช้ภายในร้าน บางท่านอาจจะรู้สึกยุ่งยากเพราะที่ร้านใช้วัตถุดิบหลายชนิด แต่วิธีง่ายๆ คือเลือกแค่วัตถุดิบที่เป็นต้นทุนหลักของร้านมาบันทึกราคา ปริมาณที่ใช้ และต้นทุนทั้งหมดของวัตถุดิบแต่ละชนิด เพื่อนำมาเปรียบเทียบราคาในแต่ละเดือน          สมมติว่าราคากุ้งเดิมกิโลกรัมละ 180 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 220 บาทจากภาวะน้ำท่วมในบางพื้นที่ ส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นมา 40 บาทนี้อาจจะดูไม่มาก แต่มันคือต้นทุนที่เพิ่มขึ้น 22% จากราคาเดิม ยิ่งร้านที่ขายดีเท่าไหร่ กำไรที่หายไปก็จะเพิ่มมากขึ้น ในช่วงภาวะต้นทุนวัตถุดิบปรับขึ้นราคา […]

แชร์สูตร คำนวณทั้งโครงสร้างต้นทุน ก่อนตั้งราคาอาหาร ร้านอาหารมีต้นทุนแฝง ป้องกันอาการ ขายดี…จนเจ๊ง!

แชร์สูตร คำนวณทั้งโครงสร้างต้นทุน ก่อนตั้งราคาอาหาร ร้านอาหารมีต้นทุนแฝง ป้องกันอาการ ขายดี…จนเจ๊ง! ขายดีจนเจ๊ง! เชื่อว่าสิ่งที่เจ้าของร้านอาหารมือใหม่อยากจะเห็นก็คือภาพของลูกค้ามาใช้บริการเต็มร้าน ขายดี ขายหมดทุกวัน แต่ทว่าการที่ลูกค้าเยอะ ก็ไม่ได้การันตีว่าจะได้กำไรเสมอไป ซึ่งกรณีแบบนี้เคยเกิดขึ้นกับหลายร้านที่ขายดีแต่ไม่มีกำไร กว่าจะรู้ตัวว่าขาดทุนสะสมมานานก็เกือบเจ๊งแล้ว ซึ่งต้นเหตุของปัญหาเหล่านี้ เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น การตั้งราคาอาหารผิด คำนวณต้นทุนผิดหรือตั้งราคาอาหารจากต้นทุนวัตถุดิบอย่างเดียว แล้วถ้าอยากขายดีและมีกำไรต้องทำยังไงลองมาดูวิธีการตั้งราคาที่ถูกต้องกัน! . ทุกคนต้องเข้าใจก่อนว่าต้นทุนของราคาอาหารทุกจานล้วนมีต้นทุนแฝง ไม่ได้มีแค่ค่าวัตถุดิบอย่างเดียว ฉะนั้นจะเอาแค่ค่าวัตถุดิบมาใช้ในการตั้งราคาอาหารไม่ได้ ต้องเอามาทั้งโครงสร้าง โดยโครงสร้างต้นทุนแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้ ต้นทุนวัตถุดิบ COG (cost of grocery) ควรอยู่ที่ 35-40% ต้นทุนค่าเช่าที่ COR (cost of rental) ควรอยู่ที่ 10-15% ต้นทุน พนักงาน COL (cost of labor) ควรอยู่ที่ 20% ต้นทุนอื่นๆ ETC (เช่น ค่าน้ำ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.