5 บริการสุดห่วย ที่ทำให้ลูกค้าไม่อยากมาร้านของคุณ - Amarin Academy

5 บริการสุดห่วย ที่ทำให้ลูกค้าไม่อยากมาร้านของคุณ

1.การบริการที่ทำให้รู้สึกเหมือน ‘ไม่มีตัวตน’

หนึ่งในประสบการณ์ที่ลูกค้าร้านอาหารยอมรับว่าทำให้รู้สึกแย่ ก็คือ การที่พนักงานของร้านไม่ให้ความสนใจในการบริการโดยเฉพาะอย่างยิ่งการกล่าวต้อนรับ ลองจินตนาการระหว่างร้าน A : ซึ่งมีพนักงานต้อนรับกล่าวคำทักทาย และจัดการที่นั่งอย่างรวดเร็ว กับร้าน B: ที่ปล่อยให้ลูกค้ายืนรอ ไม่กล่าวคำทักทาย จนคุณต้องเดินเข้าไปหาที่นั่งเอง ร้านไหนที่คุณอยากเดินเข้าไปกินมากกว่ากัน การทักทายนั้นมีความสำคัญมากและเป็นด่านแรกในการสร้างความประทับใจ ซึ่งถ้าหากลูกค้ารู้สึกไม่ดีตั้งแต่เริ่มต้นก็มีแนวโน้มที่จะไม่พอใจในเรื่องอื่น ๆ ด้วย

 

2.พนักงานดูแลเหมือนเพื่อนสนิท…… จนเกินไป

          บริการดุจญาติมิตรนั้นอาจดีสำหรับธุรกิจบางประเภท แต่การบริการสำหรับธุรกิจร้านอาหารนั้นลูกค้าส่วนใหญ่มักต้องการเวลาส่วนตัว การที่พนักงานคุยเล่นกันข้ามหัวลูกค้า หรือใช้คำพูดในการบริการที่แสดงความเป็นกันเองกับลูกค้ามากจนเกินไป นอกจากจะทำให้ลูกค้ารู้สึกตะขิดตะขวงใจ ยังแสดงถึงความไม่เป็นมืออาชีพในการให้บริการอีกด้วย

 

 

3.พนักงานไม่แม่นข้อมูลอาหาร และการบริการ

          ร้านอาหารอร่อยขายได้ แต่ร้านอาหารอร่อยที่ขายดีอยู่ที่พนักงานให้บริการและให้คำแนะนำเมนูต่าง ๆ ได้อย่างมืออาชีพ ลองจินตนการว่า การที่ลูกค้ามีคำถามแล้วพนักงานเสิร์ฟต้องวิ่งไปถามพ่อครัว ถามผู้จัดการ นอกจากจะทำให้การบริการสะดุดแล้ว ลูกค้าย่อมรู้สึกถึงความไม่พร้อมในการให้บริการ

หากพนักงานบริการได้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน รู้จังหวะในการเข้าถึงลูกค้า การแนะนำเมนูที่เหมาะสมได้อย่างลื่นไหล สิ่งเหล่านี้จะสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้อย่างแน่นอน

 

4.การบริการที่สร้างความลำบากให้แก่ลูกค้า

          ในยุคนี้การอำนวยความสะดวกสำคัญไม่แพ้รสชาติอาหาร เพราะเมื่อไหร่ที่ลูกค้ารู้สึกถึงความยุ่งยากในการบริการจากร้านของคุณ เขาจะตัดสินใจไปร้านอื่นทันที ยกตัวอย่างเช่น ในปัจจุบันที่ลูกค้าส่วนพกเงินสดติดตัวน้อยลง แต่ร้านไม่สามารถจ่ายด้วยระบบ QR PAYMENTได้ การกำหนดจำนวนขั้นต่ำในการใช้บัตรเครดิตสูง ๆ  หรือแม้กระทั่งการจำกัดการสั่งอาหารบางเมนูอย่างไม่สมเหตุสมผล ล้วนแล้วแต่สร้างความรู้สึกไม่สะดวกให้กับลูกค้าได้ทั้งนั้น

 

5.ร้านอาหารที่มีรูปแบบบริการสร้างความอึดอัด

ในประเทศแถบยุโรปมีร้านอาหารที่ทำการตลาดโดยการใช้คำพูดที่หยาบคายใส่ลูกค้า แต่แทนที่ลูกค้าจะเกลียดกลับมีลูกค้ามากมายต่อคิวเพื่อลองกิน แต่ไม่ใช่ว่าทุกร้านจะประสบความสำเร็จในการสร้างจุดขายลักษณะนี้ได้ โดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีวัฒนธรรมแตกต่าง  ยกตัวอย่าง ร้านขายแฮมเบอร์เกอร์ร้านดังแห่งหนึ่งในกรุงเทพ ฯ ซึ่งมีข้อกำหนดการบริการกับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น ห้ามถ่ายรูป ห้ามขอซอสเพิ่ม ห้ามสั่งจองล่วงหน้า เมื่อเกิดการรีวิวในเชิงลบ ร้านดังกล่าวกลับแสดงจุดยืนที่จะไม่ง้อลูกค้าจนเกิดเป็นกระแสถล่มร้านในที่สุด

จากกรณีนี้จะเห็นว่าคุณอาจจะเลือกจุดขายที่สะท้อนตัวตนของคุณได้ถ้าหากคุณมีจุดแข็งในด้านรสชาติที่ดีพอ แต่ต้องเลือกวิธีการสื่อสารกับผู้บริโภคเมื่อเกิดความคิดเห็นเชิงลบที่ดีด้วย อย่างไรก็ตามการสร้างจุดขายด้วยการบริการที่ดีนั้น จะช่วยให้ร้านสร้างความสำเร็จในระยะยาวได้มากกว่าอยู่ดี

นอกจากนี้ยังมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริการอีก เช่น การคิดเซอร์วิสชาร์จ แต่ไม่ได้บริการอะไรเป็นพิเศษ การปฏิเสธการช่วยเหลือบางอย่าง เช่น การถ่ายรูปให้ ซึ่งแม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ก็อาจสร้างความรู้สึกติดลบให้กับร้านของคุณได้เช่นกัน

เรามักพบว่า ร้านอาหารบางร้านเมื่อขายดี มาตรฐานในการบริการกลับตกลงจนลูกค้าหนีหายไปในที่สุด ปัญหาในด้านการบริการนั้นสามารถแก้ไขและป้องกันได้ โดยการกำหนด SOP เพื่อควบคุมการบริการให้ได้มาตรฐาน นอกจากนี้ควรออกกฎเพื่อให้ยึดถือปฏิบัติ และให้ความสำคัญกับการฝึกอบรมพนักงานหน้าร้าน

เรื่องแนะนำ

Crisis Management เมื่อโซเชียลทำพิษ ร้านต้องจัดการอย่างไร

เชื่อว่าเจ้าของร้านอาหารก็อยากให้ร้านของตัวเองเป็นที่พอใจของลูกค้าอยู่เสมอ แต่ความผิดพลาดเป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกร้าน หลายร้านเองต้องประสบปัญหากับน้ำผึ้งหยดเดียวเนื่องจากรับมือไม่เป็น Crisis Management จึงเป็นสิ่งที่เจ้าของร้านอาหารในยุคนี้ต้องรู้จักและเตรียมตัวรับมือให้ดี ซึ่งสามารถทำได้ตามวิธีที่แนะนำดังนี้   Crisis Management เมื่อโซเชียลทำพิษ ร้านต้องจัดการอย่างไร ตอบทันทีอย่าให้มีดราม่า ความไม่พอใจต่อเหตุการณ์จะยิ่งรุนแรงมากขึ้นจนกลายเป็นดราม่าได้หากได้รับการเพิกเฉย การตอบลูกค้ารวดเร็วจะทำให้ลูกค้าใจเย็นลง ดังนั้น ร้านอาหารควรจะวางแนวทางในการตอบคำถามไว้ โดยต้องใช้คำง่าย ๆ ตรงไปตรงมาในการตอบ และสุภาพ การพยายามเอาชนะลูกค้าย่อมไม่เป็นผลดี เช่น กรณีร้านที่เจ้าของร้านตอบโต้อย่างรุนแรงเมื่อลูกค้าติถึงคุณภาพอาหาร จากเรื่องเล็ก ๆ ที่สามารถจัดการได้ กับเป็นเรื่องใหญ่ที่ลุกลามไปยังช่องทางอื่น ๆ เพราะฉะนั้น ผู้ที่ทำหน้าที่ตอบคำถามไม่ว่าจะเป็นเจ้าของหรือจ้างคนมาทำหน้าที่แอดมินโดยตรง จะต้องเป็นคนที่ใจเย็นและสื่อสารได้ดี   ขอโทษอย่างจริงใจ ถ้าคุณคิดว่าการขอโทษแสดงถึงการยอมรับ คุณกำลังคิดผิด เพราะการขอโทษไม่ได้สื่อสารถึงลูกค้าคู่กรณีเพียงอย่างเดียว แต่ร้านกำลังสื่อสารไปถึงลูกค้าคนอื่น ๆ ด้วย ว่าคุณเป็นร้านอาหารที่ให้ความใส่ใจและเห็นว่าลูกค้าเป็นคนสำคัญเพียงใด  นอกจากนี้การขอโทษเป็นการทำให้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีเพียงแค่ประเด็นเดียว ซึ่งดีกว่าการแก้ตัวที่จะทำให้เกิดประเด็นใหม่ ๆ หากคุณรับมือได้ไม่ดีพอก็จะบานปลายเกิดผลเสียมากกว่าได้ในที่สุด   รวบรวมข้อมูล…เปิดอกไกล่เกลี่ย ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพ รสชาติ การบริการของร้านอาหาร คุณจะต้องสอบถามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ควรแบ่งระดับความร้ายแรงของสถานการณ์ไว้ เช่น ขั้นต้น คือลูกค้าไม่พอใจรสชาติ […]

ถ้าตัดสินใจลุยต่อ! สิ่งที่ต้องทำคืออะไรบ้าง? ในวันที่ขายได้แค่ “ซื้อกลับบ้าน”

ถ้าตัดสินใจลุยต่อ! สิ่งที่ต้องทำคืออะไรบ้าง? ในวันที่ขายได้แค่ “ ซื้อกลับบ้าน ” วิกฤตโรคระบาดครั้งนี้ดูจะไม่หายไปง่าย ๆ ถ้านับจากตอนระบาดใหม่ ๆ ก็กินเวลามาเป็นปี ๆ ทั่วโลกได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างหนัก ทำให้ตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภคหรือผู้ประกอบการก็ต่างอยู่ในจุดที่ต้องกอดเงินที่มีอยู่ไว้ให้แน่น  ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ประกอบการควรมีการวางแผนการเงินในระยะยาวให้ธุรกิจของคุณยังคงไปต่อได้ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจในช่วงวิกฤต ลองมาดูสิ่งที่ต้องทำในวันที่ขายได้แค่ “สั่งกลับบ้าน” 1.ประเมินความพร้อม: จากบทเรียนการระบาดครั้งก่อน ร้านที่ได้ลองทำเดลิเวอรีแล้วก็พอจะเห็นสถิติและพอประเมินได้ว่า ถ้าต้องเปลี่ยนมาขายแบบซื้อกลับเป็นหลัก ร้านจะมีรายได้เท่าไหร่ พอสำหรับจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมดหรือไม่ ถ้าประเมินแล้วคิดว่ารายได้โอเค สู้ไหว เปิดแล้วทำให้ร้านพอมีรายได้เข้าบ้างก็ไปข้อต่อไป 2.ต่อรองประนอมหนี้: “รายได้ลดลง รายจ่ายเท่าเดิม” สิ่งต่อมาที่ผู้ประกอบการต้องทำ คือ ลดภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือนให้ได้มากที่สุด ให้ตัวเบาที่สุด โดยทำการพูดคุยตกลงกับเจ้าของที่เพื่อขอลดค่าเช่า หรือขอแบ่งเบาภาระหนี้สินกับธนาคาร อย่างน้อย 1 – 2 เดือน เพื่อลดรายจ่ายเท่าที่เป็นไปได้ 3.เอายังไงกับพนักงาน: แม้ร้านจะไม่เปิดให้บริการนั่งทานในร้าน แต่การจ่ายค่าจ้างพนักงานยังคงอยู่ ดังนั้นสิ่งที่ผู้ประกอบการทำได้ คือ พยายามลดค่าใช้จ่ายด้านพนักงานให้ลดลง โดยการประเมินงานที่ต้องทำในแต่ละวันก่อนว่าร้านเราน่าจะใช้คนเท่าไหร่ ถ้าใช้คนน้อยให้ลองใช้วิธีแบ่งกะเวลาการทำงาน สลับเวลากันมาทำ แต่ต้องคุยกับพนักงานให้ชัดว่า ช่วงนี้อาจจะให้ค่าตอบแทนได้น้อยลง แต่อย่างน้อยก็มีงานทำอยู่ พร้อมทั้งวางแผนการทำงานให้ […]

ทำไม Starbucks งดเสิร์ฟวิปครีม สำหรับบริการ Delivery?

ทำไม Starbucks งดเสิร์ฟวิปครีม สำหรับบริการ Delivery? ถอดบทเรียน ดราม่าสั่งเครื่องดื่มผ่านแอปฯ กับวิปครีมที่หายไป ทำไม Starbucks ถึงงดเสิร์ฟวิปครีมสำหรับบริการ Delivery ? วันก่อนได้มีประเด็นดราม่าเกี่ยวกับการเสิร์ฟวิปครีมผ่านบริการ Delivery กับร้านคาเฟ่แห่งหนึ่ง ที่โดนลูกค้าคอมเพลนประมาณว่าร้านแย่มาก สั่งกาแฟใส่วิปครีมมา แต่ไม่เห็นมีวิปครีมเลย ไม่ตรงปก ไม่น่ามาขายในแพลตฟอร์ม ในขณะเดียวกันร้านก็ได้ออกมาอธิบายว่าทางร้านได้ใส่วิปครีมไปให้แล้วจริง ๆ พร้อมแนบภาพจากล้องวงจรปิดของร้าน ในขณะที่พนักงานกำลังบีบวิปครีมลงบนเครื่องดื่ม เพื่อยืนยันว่าทางร้านใส่วิปครีมไปให้แล้วจริง ๆ ซึ่งสันนิษฐานว่าวิปครีมอาจจะละลายไปในระหว่างการจัดส่ง ซึ่งจริง ๆ แล้วต้องบอกก่อนว่าวิปปิ้งครีมที่ใช้กับเครื่องดื่ม แบ่งออก 2 ชนิด คือ วิปปิ้งครีมแท้ และวิปปิ้งครีมเทียม   Dairy Whipping Cream วิปปิ้งครีมชนิดครีมแท้ หรือที่หลาย ๆ คนเรียกว่า “ครีมสด” เผ็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไขมันเนยที่มาจากนมวัว 100% โดยมีไขมันเนยอยู่ที่ 30-35% มีสีออกครีมอ่อน หรือเหลืองอ่อน ๆ ค่อนข้างมีความเข้มข้น และหอมกลิ่นนมที่ชัดเจน […]

กำหนดสัดส่วนวัตถุดิบ

กำหนดสัดส่วนวัตถุดิบ ปัจจัยความสำเร็จที่ไม่ควรมองข้าม!

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ร้านอาหารประสบความสำเร็จ คือการ กำหนดสัดส่วนวัตถุดิบ ให้ชัดเจน เพราะจะช่วยให้ทราบว่าอาหาร 1 จานมีต้นทุนเท่าไรและควรตั้งราคาเท่าไรจึงเหมาะสม

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.