เปิดร้านอาหาร ดูแลร้านเอง VS จ้างคนมาคุมร้าน - Amarin Academy

เปิดร้านอาหาร ดูแลร้านเอง VS จ้างคนมาคุมร้าน

เปิดร้านอาหาร ดูแลร้านเอง VS จ้างคนมาคุม

เปิดร้านอาหาร ต้องเข้าร้านทุกวันไหม ? ถ้าไม่ดูแลร้านเอง ลูกน้องจะโกงหรือเปล่า มีวิธีป้องกันอย่างไร ? เชื่อว่าหลายคนคงมีคำถามเหล่านี้อยู่ในหัว ทำให้ตัดสินใจไม่ได้สักทีว่าจะดูแลร้านเองหรือควรจ้างผู้จัดการร้านมาคุม ใครที่กังวลเรื่องนี้ เราจะลองมาเปรียบเทียบให้ฟังว่า การดูแลร้านเอง กับ การจ้างคนมาคุมร้าน มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

ดูแลร้านเอง

ข้อดี > ควบคุมทุกอย่างได้เต็มที่ / รู้ทุกจุดอ่อนเพื่อนำไปปรับปรุงการทำงาน

ไม่มีใครรักร้านเท่าเราหรอก จริงไหม ฉะนั้นถ้าคุณเข้าร้านทุกวัน ดูแลทุกๆ อย่างด้วยตัวเอง ตั้งแต่การรับลูกค้าหน้าร้าน การเสิร์ฟอาหาร ไปจนถึงระบบครัว การจัดสต๊อกวัตถุดิบ การดูแลพนักงาน บัญชีและการเงิน ฯลฯ แน่นอนว่าธุรกิจของคุณย่อมดำเนินไปด้วยความราบรื่น (มากกว่าปล่อยให้คนอื่นดูแล) ทั้งด้านคุณภาพอาหาร การบริการ และการควบคุมต้นทุน

ร้านอาหารหลายๆ ร้านที่ประสบความสำเร็จ เช่น Mo-Mo-Paradise บอกกับเราว่า ช่วงที่ทำธุรกิจแรกๆ พี่เอ – สุรเวช เตลาน เข้าไปดูแลร้านทุกวัน จึงสามารถควบคุมต้นทุนวัตถุดิบได้ดีมาก เพราะเมื่อเห็นว่าพนักงานทำงานผิดพลาด เช่น หั่นผักผิดวิธี ทำให้มีเศษผักเหลือทิ้งมาก ก็สามารถเข้าไปแก้ไขและสอนงานได้ทันที ทั้งยังทำให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นภายในร้านโดยละเอียด ซึ่งเขาจะนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้วางแผนเพื่อแก้ไข รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นซ้ำ

นอกจากนี้เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น เช่น ลูกค้า Complain การบริการ เมื่อเจ้าของร้านเห็นท่าไม่ดี หรือเห็นว่าพนักงานไม่สามารถจัดการเองได้ ก็จะได้ไปช่วยคลี่คลายให้สถานการณ์ดีขึ้นได้ทันที

ข้อเสีย > ขาดอิสระ เติบโตค่อนข้างยาก

ใครที่เปิดร้านอาหารอยู่ หรือมีเพื่อนที่เปิดร้านอาหารจะรู้ว่า การทำร้านอาหารไม่ได้มีเวลาว่าง หรือได้เป็นนายตัวเองอย่างที่คิด ยิ่งร้านไหนที่เจ้าของร้านดูแลเองด้วยแล้ว ไม่ต้องพูดถึงเวลาว่างเลย หาเวลาไปทำธุระยังลำบาก เพราะการจะปิดร้านแต่ละที ย่อมหมายถึงรายได้ที่คุณต้องสูญเสียไป แถมยังมีรายจ่ายที่ต้องจ่ายทั้งๆ ที่ไม่ได้เปิดร้านอีกด้วย เช่น ค่าเช่าที่ ค่าแรงพนักงาน (กรณีจ้างเป็นรายเดือน) เป็นต้น

ที่สำคัญไม่ต้องพูดถึงการเติบโตด้วยการขยายสาขาเลย เพราะแค่สาขาเดียวก็มีเรื่องให้ต้องบริหารจัดการมากมาย มีรายละเอียดเยอะมากที่ต้องใส่ใจ ก็ทำให้เหนื่อยแทบแย่แล้ว ฉะนั้นโอกาสเติบโตด้วยการขยายสาขาถือว่าค่อนข้างยาก แต่สำหรับร้านไหนที่คิดว่าอยากเปิดกิจการเล็กๆ ไม่ได้คิดจะเติบโตด้วยการขยายสาขา ก็สามารถเลือกดูแลร้านเองได้

การจ้างคนมาคุมร้าน

ข้อดี > มีอิสระ โอกาสเติบโตสูง

แน่นอนว่าเมื่อคุณจ้างพนักงานมาดูแลร้าน คุณย่อมมีอิสระมากขึ้น เพราะสามารถฝากฝังร้านให้พนักงานดูแลอย่างใกล้ชิด แล้วคุณก็เป็นคนคอยคุมอยู่ห่างๆ แต่การจะทำวิธีนี้ได้นั้น คุณต้องทำการบ้านค่อนข้างหนัก (มาก) ด้วยการวางระบบร้านทุกอย่างให้เป๊ะ สามารถตรวจสอบได้ มีการเทรนด์พนักงานอย่างเป็นระบบ และมีวิธีป้องกันการทุจริตที่รัดกุม

ทั้งนี้หากระบบของคุณดีพอ มีทีมงานที่พร้อม และมีโอกาสในการเติบโตเข้ามา คุณก็สามารถวางแผนขยายสาขาหรือการขายแฟรนด์ไชส์ได้ด้วย

(อ่านเพิ่มเติม การวางระบบร้านอาหาร)

ข้อเสีย > ควบคุมไม่ได้ทุกจุด / ใช้เวลาปั้นทีมงานค่อนข้างนาน

แม้ว่าคุณจะวางระบบอย่างดีเยี่ยม แต่หากคุณไม่ได้เข้ามาดูแลร้านเองทุกวัน ก็ต้องยอมรับว่าอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้ (มากกว่าการเข้ามาคุมงานเอง) เช่น เวลาที่เจ้าของร้านไม่อยู่ที่ร้าน พนักงานอาจจะมีความกระตือรือร้นน้อยลง หรือมีช่องทุจริตมากขึ้น เป็นต้น

แต่ขณะเดียวกันการจะหาคนที่ทำงานได้ตรงตามมาตรฐาน และไว้ใจได้เข้ามาดูแลร้านก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ผู้ประกอบการหลายคนอาจใช้วิธี “ซื้อตัว” ผู้จัดการร้านที่เก่ง มีผลงานดี ไม่มีประวัติการทุจริตเข้ามาแบ่งเบาภาระ แต่ก็มักประสบปัญหาสำคัญคือ ผู้จัดการร้านที่ซื้อตัวมา เข้ากับวัฒนธรรมของร้านไม่ได้ จึงทำงานได้ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง บางคนจึงเลือกปั้นพนักงานในร้านให้เป็นผู้จัดการแทน ซึ่งแน่นอนว่าต้องอาศัยระยะเวลาค่อนข้างมาก กว่าจะทำให้คนๆ นึงเก่งเทียบเท่า หรือใกล้เคียงกับที่เราต้องการ

พอจะทราบข้อดี ข้อเสียของการดูแลร้านเอง และ การจ้างพนักงานมาดูแลร้านแล้วใช่ไหม จริงๆ เราไม่อยากฟันธงว่าแบบไหนดีกว่ากัน เพราะมันขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของคุณว่า อยากจะให้ร้านอาหาดำเนินไปในทิศทางใด

บางคนอาจแค่อยากมีธุรกิจเล็กๆ ได้ดูแลร้านเอง อยากเห็นลูกค้ามีความสุขเวลาได้กินอาหารที่เราตั้งใจทำ ก็เลือกที่จะดูแลร้านเอง แต่บางคนอาจอยากเห็นธุรกิจเติบโต เพื่อให้มีรายได้เข้ามาเลี้ยงดูครอบครัวและทีมงานอย่างเหมาะสม ก็อาจจะต้องเลือกวิธีสร้างระบบ แล้วหาคนเข้ามาดูแลร้าน

สุดท้ายแล้วไม่ว่าจะตัดสินใจเลือกวิธีไหน ขึ้นอยู่กับตัวเจ้าของร้านเองว่าจะมองอนาคตร้านเป็นอย่างไร

เรื่องแนะนำ

ลูกค้าหายไปไหนกัน ? เจ้าของร้านตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับพฤติกรรมลูกที่เปลี่ยนไป

ลูกค้าหายไปไหนกัน ? รวมความคิดเห็นจากคนทำร้านกาแฟ เจ้าของร้านตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับพฤติกรรมลูกที่เปลี่ยนไป ร้านคุณกำลังเผชิญกับภาวะยอดขายตก ลูกค้าหายอยู่หรือเปล่า ? เจ้าของร้านกาแฟรายหนึ่งได้มาโพสต์ตั้งคำถามในกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ” เกี่ยวกับการทำธุรกิจของตนเองในขณะนี้ได้อย่างน่าสนใจว่า เดี๋ยวนี้ลูกค้าหายไปไหนหมด โดยโพสต์ดังกล่าวได้ระบุข้อความว่า “#ลูกค้าหายไปไหน มาชวนเพื่อนๆ ช่วยกันคิดหน่อย คิดว่าตอนนี้หลายร้านคงเจอกับภาวะ “นั่งตบยุง” “นั่งไถมือถือ” “นั่งดู Netflix” เราเป็นคนนึงที่เคยไม่กินกาแฟ แต่พอเปิดร้านกาแฟกลายมาเป็นคอกาแฟ ขาดกาแฟไม่ได้สักวัน เปิดร้านกาแฟมาเข้าปีที่ 7 เราเริ่มสงสัยว่า “ลูกค้าหายไปไหน” ทั้ง ๆ ที่ในซอยที่ร้านเราอยู่ ไม่มีร้านกาแฟจริงจังที่เป็นคู่แข่ง อาจจะมีร้านชากาแฟที่เป็นคีออสบ้าง แต่ถ้าร้านกาแฟจริงจังมีเราร้านเดียว พอลูกค้าหายไป เราเลยเริ่มสงสัยว่าลูกค้าหายไปไหน หรือเกิดจากกระแส 1. กาแฟดริป/Moka pot ทานเองที่บ้าน 2. เครื่องทำกาแฟแคปซูล 3. กาแฟในร้านสะดวกซื้อ 4. ลูกค้าเลิกกินกาแฟ 5. ลูกค้าไปทานร้านอื่น เพื่อนๆ ช่วยเราคิดหน่อยว่าลูกค้าหายไปไหน?” . หลังจากที่โพสต์นี้ออกไปก็ได้มีทั้งเจ้าของร้านกาแฟ และผู้บริโภคต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นกัน โดยสรุปเป็นหลายปัจจัยดังนี้ ชงกินเองที่บ้าน […]

อาหารบูด

เมื่อลูกค้าเจอ ” อาหารบูด ” ควรทำอย่างไร

ร้านอาหารหลายๆ ร้าน คงเคยเจอปัญหาลูกค้าเจอ อาหารบูด ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของร้านอาหารเลยก็ว่าได้ แล้วอย่างนี้ เจ้าของร้านจะแก้ไขสถานการณ์นั้นอย่างไรดีล่ะ

เซตอัพระบบ ร้านบุฟเฟต์ ต้องอย่างไรให้ได้กำไร

ทำร้านอาหารบุฟเฟต์อย่างไรให้ได้กำไร ? คงเป็นคำถามของเจ้าของร้านอาหารหลาย ๆ คน เนื่องจาก ร้านบุฟเฟต์ ได้รับความนิยมในปัจุบัน จึงกลายเป็นตลาดแมสของธุรกิจร้านอาหารที่มีผู้เข้ามาเล่นจำนวนมาก แต่ไม่ใช่ทุกคนที่ประสบความสำเร็จ ปัญหาสำคัญก็คือ ขาดการเซตอัพระบบการจัดการร้านอาหารที่เหมาะสมกับร้านบุฟเฟต์ ซึ่งแตกต่างจากร้านอาหารประเภทอื่น เพราะอะไรจึงทำให้ร้านบุฟเฟต์แตกต่าง แล้วต้องวางระบบอย่างไรจึงเหมาะสมเรามีคำตอบค่ะ   เซตอัพระบบ ร้านบุฟเฟต์ อย่างไร ให้ได้กำไร   เพราะต้นทุนอาหารสูง….จึงต้องบริหารจัดการวัตถุดิบให้ดี ในขณะที่ร้านอาหารประเภทอื่น ๆ กำหนดต้นทุนวัตถุดิบที่ 25 – 30 เปอร์เซ็นต์ แต่ร้านอาหารประเภทร้านบุฟเฟต์ จะมีต้นทุนวัตถุดิบอยู่ที่ 35 -45 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าต้นทุนอื่น ๆ ของร้าน  จึงต้องมีการกำหนดโครงสร้างที่เหมาะสม เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายต้นทุนอื่น ๆ ให้ดีด้วย อย่างไรก็ตาม ต้นทุนวัตถุดิบสามารถควบคุมได้ โดยการเซตอัพระบบการจัดการวัตถุดิบไว้อย่างรัดกุม ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ การหาซัพพลายเออร์ที่สอดคล้องกับความต้องการ เพราะซัพพลายเออร์เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้คุณได้กำไรมากขึ้นหรือน้อยลง เช่น ปัญหาที่พบบ่อย ๆ คือ มาตรฐานในการตัดแต่งวัตถุดิบ ใหญ่บ้างเล็กบ้าง ทำให้ควบคุมการใช้งานยาก เป็นต้น […]

ธุรกิจมีปัญหา

3 สิ่งที่ต้องทำ เมื่อ ธุรกิจมีปัญหา

ทำธุริจคงหลีกเลี่ยงปัญหาไปไม่ได้ และบางครั้งอาจเจอปัญหาหนักจนไม่รู้จะแก้อย่างไร เราจึงมีเทคนิคดีๆ ที่จะช่วยดึงสติยาม ธุรกิจมีปัญหา มาฝาก

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.