จดทะเบียนบริษัท ร้านอาหารต้องรู้อะไรบ้าง ? - Amarin Academy

จดทะเบียนบริษัท ร้านอาหารต้องรู้อะไรบ้าง ?

จดทะเบียนบริษัท ร้านอาหารต้องรู้อะไรบ้าง ?

ถ้าให้เจ้าของร้านอาหารเล่าให้ฟังว่าตอนวันแรกๆ ที่เปิดร้าน ต้องเจอปัญหาอะไรบ้าง ผมว่าคงเล่าได้เป็นวันๆ เลยใช่ไหม ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องลูกน้อง การหมุนเงิน การซื้อวัตถุดิบ หรือยอดขายไม่มากพอ ฯลฯ มีแต่ปัญหาชวนปวดหัวทั้งนั้น แต่วันนี้ ผมอยากมาชวนให้คิดถึง Good problem หรือปัญหาที่เมื่อเกิดขึ้น แสดงว่าธุรกิจกำลังไปได้ดีกันบ้าง และหนึ่งในปัญหานั้นคือ “จะทำธุรกิจในนามบุคคลแบบนี้ต่อไป หรือจะ จดทะเบียนบริษัท ดีกว่ากัน?”

หลายคนเริ่มต้นจากการขายอาหารในนามบุคคลธรรมดา คำอาจจะดูงงๆ นิดหน่อย พูดง่ายๆ ก็คือเวลารับเงิน หรือออกเอกสารพวกใบเสร็จต่างๆ ให้ลูกค้า เราก็ใช้ชื่อ – นามสกุลเรานี่แหละ

ข้อดีก็คือ ได้ความคล่องตัวและไม่มีขั้นตอนซับซ้อน เช่น การทำบัญชีก็บันทึกง่ายๆ แบบรายรับ/รายจ่าย ไม่ต้องจัดทำงบการเงินเพื่อนำส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและลดจำนวนแบบฟอร์มทางภาษีที่ต้องยื่นระหว่างเดือน

ถ้าอย่างนั้น แล้วทำไมเมื่อธุรกิจเติบโตถึงจุดหนึ่ง คนส่วนมากถึงหันมาจดทะเบียนบริษัทกันล่ะ?

“เพราะว่าบริษัทเสียภาษี น้อยกว่าบุคคลธรรมดา”

อ่านถึงประโยคนี้แล้วอย่าเพิ่งรีบวิ่งไปจดทะเบียนบริษัทนะครับ แนะนำให้อ่านต่ออีกนิด เพื่อประกอบการตัดสินใจ

“ก่อนตัดสินใจ ต้องพิจารณาอะไรบ้าง?”

1.พิจารณาค่าใช้จ่ายที่จะต้องจ่ายเพิ่มว่าคุ้มค่าหรือไม่

ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เริ่มตั้งแต่ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนบริษัทกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ไปจนถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชี

  • ค่าจดทะเบียนบริษัท ขั้นตอนนี้หากทำเอกสารไปยื่นเอง ค่าธรรมเนียมที่ทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเก็บก็จะอยู่ที่ประมาณ 5,000-6,000 บาท สำหรับทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท แต่หากรู้สึกว่าทนความซับซ้อนของการกรอกเอกสารทั้งหลายไม่ไหว บริษัทบัญชีหลายแห่งก็รับทำให้ ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอีกประมาณ 3,000-5,000 บาท
  • ค่าจ้างพนักงานบัญชี (เป็นพนักงานประจำ) หรือจะจ้างสำนักงานบัญชีทำบัญชีเป็นรายเดือนก็ได้ ค่าใช้จ่ายมากน้อยขึ้นอยู่กับประเภท และขนาดของธุรกิจ
  • ค่าจัดทำงบการเงินตอนสิ้นปีและค่าผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเพื่อเซ็นรับรองความถูกต้องของงบการเงิน (ปีละครั้ง) โดยเท่าที่เห็นมาคร่าวๆ สำหรับกิจการที่เติบโตจะมีค่าใช้จ่ายก้อนนี้ประมาณตั้งแต่ 20,000 ขึ้นไปต่อปี  (อันนี้ไม่นับบริษัทที่จดขึ้นมาแล้วทิ้งไว้เฉยๆ นะครับ แล้วก็ขึ้นกับสำนักงานบัญชีแต่ละที่ด้วย)

2.มองหาผู้ร่วมอุดมการณ์เพิ่มได้หรือยัง

เพราะการจดทะเบียนบริษัทยังคงต้องมีผู้ถือหุ้นบริษัทอย่างน้อย 3 คน แต่ละคนจะมากจะน้อยก็ได้ หรือมีหุ้นเดียวก็ได้

3.พร้อมรับมือกับความยุ่งยากเรื่องเอกสารหรือไม่

ตั้งแต่ขั้นตอนเอกสารต่างๆ จนถึงการยื่นแบบทางภาษีที่อาจจะเกิดขึ้นในแต่ละเดือน เช่น การออกใบหัก ณ ที่จ่าย การยื่นแบบ ภงด.3 (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย หากเรามีการจ่ายเงินที่เป็นค่าบริการให้กับบุคคลอื่น) หรือ ยื่นแบบ ภงด.53 (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย หากเรามีการจ่ายเงินที่เป็นค่าบริการให้กับบริษัทหรือนิติบุคคลอื่น)

ถ้าไม่จ้างคนทำบัญชี ก็ต้องจดต้องจำให้ดีเลยนะครับ เพราะหากเลยกำหนดหรือยื่นไม่ครบ ก็อาจจะมีค่าปรับจากการที่เราความจำไม่ค่อยดีด้วย

3.พร้อมที่จะเปิดใจเรียนรู้การบันทึกบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีหรือไม่

พอเปลี่ยนมาเป็นบริษัท การทำบัญชีก็จะต้องเป็นไปตามหลักการต่างๆ เช่น จากปกติเวลาเราซื้อของก็บันทึกเป็นค่าใช้จ่าย พอจดบริษัทปุ๊บ ก็ต้องจดว่าเป็นสินทรัพย์คอยตัดค่าเสื่อมแต่ละปี ตามจำนวนปีที่กำหนด หลายคนรู้สึกขัดออกขัดใจ เพราะต้องเก็บข้อมูลที่ละเอียดมากขึ้นกว่าแต่ก่อน อันนี้ต้องเตรียมใจไว้ด้วยนะครับ

4.รายได้มากถึงจุดที่คุ้มที่จะเปลี่ยนไปทำธุรกิจในนามบริษัทหรือยัง?

ข้อสุดท้ายแต่น่าจะสำคัญที่สุดคือ  ข้อนี้แล้วแต่กิจการเลยจริงๆครับ เพราะความสามารถในการทำรายได้ และจำนวนค่าใช้จ่ายแต่ละธุรกิจก็แตกต่างกันไป แต่ก็แนะนำให้ประมาณการคร่าวๆ ไว้ล่วงหน้าเพื่อวางแผนและเตรียมตัวนะครับ

การคำนวณหากใครรู้หลักการคร่าวๆ ก็คำนวนเองได้เลยครับ แต่หากใครรู้สึกว่าเจอตัวเลขทีไรงงทุกที ผมก็มีลิงก์ดีๆ ของ itax ที่ช่วยเปรียบเทียบค่าภาษีระหว่าง บุคคลธรรมดา กับ บริษัทให้กับร้านอาหาร/เครื่องดื่มมาแชร์ครับ ลองคำนวณดูว่าร้านเราพร้อมหรือยัง? คลิก เปรียบเทียบภาษี

ความเห็นจาก ถามอีก กับอิก เรื่องลงทุน

จริงๆ แล้ว การจ่ายภาษีน้อยลงไม่ใช่ข้อดีข้อเดียวของการจดบริษัทหรอกนะครับ ถึงแม้จะยุ่งยากนิดหน่อย มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่การจดบริษัทช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือของเรา ในสายตาของคู่ค้าที่เราทำธุรกิจด้วย เนื่องจากเป็นการบันทึกบัญชีตามหลักมาตรฐาน และมีคนภายนอกคอยตรวจสอบความถูกต้อง

แต่ที่สำคัญไปกว่านั้น คือตัวเลขผลการดำเนินงานที่ได้ ช่วยสะท้อนให้เราเห็นภาพธุรกิจที่ถูกต้อง ช่วยให้เราจัดการธุรกิจของเราได้ดีขึ้น ง่ายต่อการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินอีกด้วย รวมทั้งไม่ต้องคอยหลบเลี่ยงภาษี (เพราะยอดที่ต้องจ่ายมันสูงซะเหลือเกิน) ที่จะตามมาด้วยปัญหาน่าปวดหัวในภายหลัง

เรื่องแนะนำ

ผู้ประกอบการ

ใจเขา ใจเรา…สิ่งที่ ผู้ประกอบการ ต้องคิดถึงในช่วงที่เจอ วิกฤติท้าทาย

นี่ไม่ใช่ยุคเศรษฐกิจเฟื่องฟู หรือยุคที่อยากจับจ่ายของฟุ่มเฟือยอะไรก็ได้โดยไม่คำนึงถึงเงินในกระเป๋า ทุกคนต่างตกอยู่ในสภาวะตึงเครียด ผู้ประกอบการ ธุรกิจต่างๆ อยู่ในจุดที่ต้องกอดเงินที่มีอยู่ไว้ให้แน่น และเริ่มวางแผนการเงินระยะยาว เพราะวิกฤติไวรัสโควิด-19 ระบาด วิกฤติครั้งใหญ่ที่ส่งผลกระทบทั่วประเทศและทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศไทย ประเทศที่พึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวเป็นหลัก ส่งผลให้ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม หรือร้านอาหาร ต่างได้รับผลกระทบ ล้มเรียงต่อกันเป็นโดมิโน ไม่เพียงแต่เจ้าของกิจการหรือผู้ลงทุนที่บาดเจ็บ แต่พนักงานระดับล่างของระบบที่รับเงินเดือนไม่เกิน 10,000 – 15,000 บาทต่อเดือน อาจเสี่ยงต่อการถูกยกเลิกจ้าง และหยุดชั่วคราว ก็เจ็บปวดไม่แพ้กัน   ธุรกิจร้านอาหาร พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส หากลองมองในมุมของ ผู้ประกอบการ ร้านอาหารในช่วงนี้ แต่ละเจ้าต่างพลิกวิกฤติแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ด้วยการเริ่มนำกลยุทธิ์ทางการตลาดออนไลน์เข้ามาเป็นช่องทางหลัก โปรโมทสินค้าผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย มีการปรับแผนการดำเนินงาน เน้นการซื้ออาหาร เครื่องดื่มกลับบ้านมากขึ้น เปลี่ยนพนักงานเสิร์ฟให้กลายเป็นพนักงานส่งของ หรือเปลี่ยนตารางการทำงานให้เข้างานเป็นกะ สลับการเข้าออฟฟิศ เป็นต้น ทั้งหมดนี้อาจเป็นเพียงบางวิธีการที่ ผู้ประกอบการ พยายามรักษาเงินทุนและรักษาพนักงานให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยไม่อาจคาดเดาได้เลยว่าผู้ประกอบการจะประคับประคองปัญหาเหล่านี้ไปได้นานแค่ไหน ที่สำคัญเรื่องที่น่าคิดต่อจากนี้คือ หลังวิกฤติครั้งนี้ผู้ประกอบการร้านอาหารทั้งรายเล็กและรายใหญ่จะมีวิธีบริหารและจัดการกับหน้าร้านของตัวเองอย่างไร ให้สามารถนั่งรับประทานอาหารภายในร้านได้ โดยต้องคำนึงถึงมาตรการป้องกันที่เข้มงวด อย่าง Social Distancing เพื่อความปลอดภัยของลูกค้า   […]

ลูกค้าไม่พอใจ

เมื่อ ลูกค้าไม่พอใจ เราจะทำอย่างไรดี

แม้ว่าจะบริการดีสักแค่ไหน ก็อาจเกิดข้อผิดพลาดจนทำให้ ลูกค้าไม่พอใจ เจ้าของร้านก็ต้องหาวิธีแก้ปัญหาให้ได้ เราจึงมี 4วิธี ที่ช่วยให้สถานการณ์ผ่อนคลายลงมาแนะนำ

ทำไมต้องล้าง “วุ้นเส้น” ก่อนใช้! อวสานสายขี้เกียจ กินไม่ล้าง อาจอันตรายถึงชีวิต

ทำไมต้องล้าง “วุ้นเส้น” ก่อนใช้! อวสานสายขี้เกียจ กินไม่ล้าง อาจอันตรายถึงชีวิต ทุกคนล้างวุ้นเส้นก่อนนำมาทำอาหารไหม? แอดได้เห็นเพื่อนในเฟซบุ๊กคนหนึ่งได้โพสต์ตั้งคำถามประมาณว่า “วุ้นเส้นห่อ ๆ นี่แกะแล้วลวกได้เลยไหม หรือต้องล้างก่อน?” ซึ่งก็ได้มีเพื่อน ๆ เข้ามาคอมเมนต์ในโพสต์นั้นกันเยอะมาก โดยส่วนใหญ่ก็บอกว่า “แกะแล้วก็โยนลงหม้อ ลงกระทะเลย มันต้องล้างด้วยหรอ” ซึ่งส่วนตัวแอดก็ล้างนะ เพราะปกติใช้วุ้นเส้นสด และข้างห่อมันก็บอกให้ล้าง แอดเลยไปหาข้อมูลมา แล้วก็พบว่า เห้ย มันต้องล้างจริง ๆ ต้องที่แบบว่า “ต้อง” เลยนะ!!! โดยเฉพาะเส้นสดๆ เนี่ย . ทำไมต้องล้าง ? . จากที่แอดได้ไปหาข้อมูลมา เพจ “เคมีฟิสิกส์ของสิ่งทอ อาหาร และของรอบตัว” ได้อธิบายถึงเหตุผลที่เราต้องล้างวุ้นเส้นได้อย่างเข้าใจง่ายว่า เนื่องจากอาหารที่เป็นเส้นสด ไม่ได้อบแห้ง อย่างวุ้นเส้นสด เส้นหมี่สดนั้นจะมีการเติมสารประกอบ Sulfite เพื่อต้านการหืน และป้องกันการเกิด Oxidation ที่เป็นสาเหตุทำให้อาหารเน่าเสีย เอกลักษณ์ของสารกลุ่มนี้ เมื่อโดนความชื้นหรือน้ำร้อน หรือมีสภาวะที่เป็นกรดจะส่งกลิ่นเหม็นของแก๊ส Sulfur […]

Hai di lao

หมัดเด็ด Hai di lao หม้อไฟสัญชาติจีน สู่การเป็นร้านอาหารระดับโลก

ถ้าพูดถึงร้านอาหารประเภท hot pot หม้อไฟ ที่กำลังมาแรงในขณะนี้ จนคนต้องยอมต่อแถวรอคิวหลายชั่วโมงคงหนีไม่พ้น ร้านหม้อไฟสัญชาติจีนที่ชื่อว่า Hai di lao (ไห่-ตี้-เหลา) ร้านหม้อไฟที่โด่งดังในประเทศจีน รวมถึงอีกหลายประเทศ และเพิ่งมาเปิดสาขาในประเทศไทยได้ไม่นาน จนเกิดความสงสัยว่า ร้านนี้มีดีอะไร และทำไมลูกค้าถึงยอมที่จะรอคิวเพื่อให้ได้ทาน   ” Hai di lao “ จากความสงสัยก็ได้หาข้อมูลเพิ่มเติมของร้าน Hai di lao ก็พบว่าธุรกิจนี้ไม่ธรรมดาเลย เพราะแบรนด์นี้มีต้นกำเนิดจากมณฑลเสฉวน ประเทศจีน และก่อตั้งโดย Zhang Yong (จาง หย่ง) ซึ่งความน่าสนใจอยู่ที่การเริ่มต้นจากเชน Hotpot ในประเทศจีน แต่สามารถก้าวกระโดดขึ้นมาเป็นเชนร้านอาหารระดับโลก ซึ่งปัจจุบันขยายไปแล้ว 400 กว่าสาขาทั่วโลก ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในนั้น และมียอดขายในปี 2018 กว่า 17,000 ล้านหยวน ซึ่งถ้าเทียบกับร้านอาหารประเภทที่คล้ายกันในบ้านเราอย่าง MK Restaurant ที่คิดว่าใหญ่แล้ว มีทั้งร้านสุกี้และร้านอาหารญี่ปุ่น กว่า 600 สาขา […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.