จดทะเบียนร้านอาหาร ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง - Amarin Academy

จดทะเบียนร้านอาหาร ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

จดทะเบียนร้านอาหาร ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

ผู้ประกอบการร้านอาหารหลายคนที่กำลังจะเปิดร้านอาหาร นอกเหนือจากงานทำร้าน ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้าง การตกแต่ง งานระบบ งานครัว งานบริการ ฯลฯ และอีกสารพัดงานแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ ห้าม! มองข้าม คือการ จดทะเบียนร้านอาหาร ให้เปิดขายได้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่หลายคนอาจไม่ทราบว่า ต้องเตรียมตัว เตรียมเอกสารอย่างไรบ้าง วันนี้เราหาคำตอบมาให้แล้วครับ

การเปิดร้านอาหารต้องจดทะเบียนพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 โดยวันนี้ขอยกรูปแบบการจดทะเบียนที่ใกล้ตัวผู้ประกอบการทุกท่านมา 2 ลักษณะ ดังนี้

1.ประเภทบุคคลธรรมดา (เจ้าของคนเดียว)

เอกสารที่ต้องยื่นต่อเจ้าหน้าที่มีดังนี้

  • คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ หรือทพ. สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://www.dbd.go.th/download/downloads/01_tp/form_tp.pdf
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประกอบกิจการ
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกอบกิจการ กรณีที่ผู้ประกอบการไม่ได้เป็นเจ้าบ้านของสถานที่ตั้งร้าน ต้องแนบเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
    • หนังสือให้ความยินยอมให้ใช้สถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่
    • สำเนาทะเบียนบ้านที่แสดงให้เห็นว่าผู้ให้ความยินยอมเป็นเจ้าบ้าน หรือสำเนาสัญญาเช่า โดยมีผู้ให้ความยินยอมเป็นผู้เช่า หรือเอกสารสิทธิ์อย่างอื่นที่ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เป็นผู้ให้ความยินยอม
    • แผนที่แสดงสถานที่ตั้งร้าน และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียง
  • หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ประกอบกิจการไม่ได้ยื่นเรื่องเอง)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)
  • ค่าทำเนียมการจดทะเบียน 50 บาท

2.ประเภทห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคล กิจการร่วมค้า (มีเจ้าของร่วม)

เอกสารที่ต้องยื่นต่อเจ้าหน้าที่มีดังนี้

  • คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ หรือทพ. สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://www.dbd.go.th/download/downloads/01_tp/form_tp.pdf
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
  • หนังสือหรือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล
  • หนังสือให้ความยินยอมให้ใช้สถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่
  • สำเนาทะเบียนบ้านที่แสดงให้เห็นว่าผู้ให้ความยินยอมเป็นเจ้าบ้านหรือผู้ขอเลขที่บ้าน หรือสำเนาสัญญาเช่า โดยมีผู้ให้ความยินยอมเป็นผู้เช่า หรือเอกสารสิทธิ์อย่างอื่นที่ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เป็นผู้ให้ความยินยอม
  • แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่แลสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป
  • หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ประกอบกิจการไม่ได้ยื่นเรื่องเอง)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)
  • ค่าทำเนียมการจดทะเบียน 50 บาท

 

เมื่อเตรียมเอกสารครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว สามารถไปจดทะเบียนได้หลากหลายสถานที่ ดังนี้

กรณีร้านอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่ :

(1) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง กรุงเทพมหานคร รับจดทะเบียนพาณิชยกิจของผู้ประกอบพาณิชยกิจ ที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร

(2) ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตทุกแห่ง รับจดทะเบียนพาณิชยกิจของผู้ประกอบพาณิชยกิจ ที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในท้องที่ของเขตนั้น

กรณีต่างจังหวัด ยื่นจดทะเบียนได้ที่ : เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเมืองพัทยา รับจดทะเบียนพาณิชย์ของผู้ประกอบพาณิชยกิจที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในท้องที่เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเมืองพัทยาแล้วแต่กรณี

ทั้งนี้ผู้ประกอบการจะต้องไปจดทะเบียนภายใน 30 วัน นับตั้งแต่ประกอบกิจการ หลังจากจดทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ต้องปฏิบัติดังนี้

1.ต้องแสดงใบทะเบียนพาณิชย์หรือใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ ณ สำนักงานในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย

2.ต้องจัดให้มีป้ายชื่อที่ใช้ในการประกอบพาณิชยกิจ ไว้หน้าสำนักงานแห่งใหญ่และสำนักงานสาขาโดย เปิดเผยภายในเวลา 30 วันนับแต่วันที่จดทะเบียน ป้ายชื่อให้เขียนเป็นอักษรไทย อ่านง่ายและชัดเจน จะมีอักษร ต่างประเทศในป้ายชื่อด้วยก็ได้ และจะต้องตรงกับชื่อที่จดทะเบียนไว้ หากเป็นสำนักงานสาขาจะต้องมีคำว่า “สาขา” ไว้ด้วย

3.หากเกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ เช่น เลิกกิจการ ใบทะเบียนพาณิชน์สูญหาย ต้องยื่นคำขอใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เปลี่ยนแปลง สูญหาย หรือชำรุด

4.ต้องไปให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายการจดทะเบียนตามคำสั่งของนายทะเบียน

5.ต้องอำนวยความสะดวกแก่นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ ในการเข้าทำการตรวจสอบสำนักงานของผู้ประกอบกิจการ

ขอบคุณข้อมูลจาก: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า www.dbd.go.th

เรื่องแนะนำ

ร้านอาหาร

6 เคล็ดลับ ยกระดับงานบริการใน ร้านอาหาร

ร้านอาหาร จะประสบความสำเร็จได้ ไม่ใช่แค่อาหารอร่อยหรือบรรยากาศดี แต่ยังรวมไปถึงงานบริการด้วย มีลูกค้าไม่น้อยเลยที่กลับมาใช้บริการซ้ำเพราะพนักงานดูแลดี มีงานบริการที่ประทับใจ ดังนั้น พนักงานจึงถือว่าเป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่งของการทำร้านอาหาร เพราะมีผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าโดยตรง และเปรียบเสมือนหน้าตาของร้าน ผู้ประกอบการร้านอาหารจึงควรใส่ใจกับการบริหารจัดการพนักงาน เพื่อให้ลูกค้าที่เข้ามาในร้านได้รับประสบการณ์ที่ดี และอยากกลับมาใช้บริการอีก ลองมาดูเคล็ดลับในการปรับปรุงการบริการในร้านของคุณกันครับ   6 เคล็ดลับ ยกระดับงานบริการใน ร้านอาหาร ฝึกอบรมพนักงาน ผู้ประกอบการควรคัดเลือกคนที่มีใจรักงานบริการเข้ามาทำงาน และจัดอบรมเกี่ยวกับมาตรฐานการทำงาน เพื่อให้พนักงานทุกคนเห็นความสำคัญของการบริการ และตั้งใจทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่หลัก จนถึงเรื่องเล็กๆ แต่สำคัญ ตัวอย่างเช่น  แบ่งหน้าที่รับผิดชอบของพนักงานแต่ละคน ขั้นตอนการทำงานในช่วงต่างๆ (ก่อนเปิดร้าน, เปิดร้าน, หลังปิดร้าน) การกล่าวต้อนรับเมื่อมีลูกค้าเข้าร้าน ทวนรายการอาหารที่ลูกค้าสั่งเพื่อป้องกันความผิดพลาด ใส่ใจดูแลลูกค้าในระหว่างรับประทานอาหาร และรีบเข้าไปบริการเมื่อลูกค้าต้องการ เช่น การเติมน้ำ สั่งอาหารเพิ่ม หรือเรียกเก็บเงิน ให้ลูกค้าได้รับบริการอย่างรวดเร็วและทั่วถึง เมื่อลูกค้าชำระเงิน ให้พนักงานนับเงินต่อหน้าลูกค้าและแจ้งจำนวนเงินที่รับมา ตอนทอนเงินให้แจ้งจำนวนเงินที่ทอน และเตือนให้ลูกค้าตรวจนับก่อนเสมอ เพื่อป้องกันความผิดพลาด มารยาทต่างๆ เช่น พูดจาสุภาพ มีคำลงท้ายประโยค (ค่ะ/ครับ) ยิ้มแย้มเป็นมิตรกับลูกค้า กล่าวขอบคุณหรือขอโทษ มีความอดทนในการทำงาน […]

ร้านอาหารประสบความสำเร็จ

กฎ 4 ข้อช่วยให้ ร้านอาหารประสบความสำเร็จ

ในธุรกิจร้านอาหารเราคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า กว่าจะทำให้ ร้านอาหารประสบความสำเร็จ ได้นั้น ต้องใช้ความทุ่มเทพลังกายและพลังใจเป็นอย่างมาก

ต่อเติมพื้นที่อาศัยเป็นคาเฟ่ ต้องรู้เรื่องกฎหมายอะไรบ้าง ?

ต่อเติมพื้นที่อาศัยเป็นคาเฟ่ ต้องรู้เรื่องกฎหมายอะไรบ้าง ? ปรับปรุงอาคาร ที่จอดรถ เพื่อพาณิชย์ กฎหมายเบื้องต้นสำหรับคนทำคาเฟ่ ธุรกิจคาเฟ่ยังคงเป็นรูปแบบธุรกิจที่ผู้ประกอบการหลายต่อหลายคนให้ความสนใจที่จะก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของตลาด ด้วยความนิยมนี้จึงทำให้เราสามารถพบเห็นการเปิดร้านคาเฟ่ใหม่ได้เรื่อย ๆ ซึ่งก็มีทั้งร้านขนาดใหญ่ กลาง เล็กคละกันไป แม้ว่าธุรกิจรูปแบบนี้จะเปิดได้ไม่ยาก แต่ก็ต้องอย่าลืมว่าในการทำธุรกิจก็ยังต้องให้การคำนึงถึงข้อกฎหมายต่าง ๆ โดยเฉพาะในการเริ่มต้นเปิดร้าน ที่จะมีกฎหมายเกี่ยวกับการดัดแปลง ออกแบบอาคารเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งนี้ก็เพื่อให้พื้นที่นั้น ๆ มีความเหมาะสมต่อการใช้งาน มีความปลอดภัย รวมถึงมีเสถียรภาพในเชิงภาษีและการทำบัญชีในอนาคต แม้ว่าร้านกาแฟขนาดเล็กอาจไม่ถูกบังคับใช้กฎหมายบางข้อ แต่การรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ทำ ก็จะช่วยเปิดมุมมอง หรือทำให้เราสามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจได้ในอนาคต เมื่อถึงคราวที่ต้องการขยับขยาย ว่าแต่เราควรรู้กฎหมายอะไรบ้าง ? มาดูกัน   กฎหมายควบคุมอาคารเบื้องต้น ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจนิยามทางกฎหมายอาคารของ “ร้านกาแฟหรือคาเฟ่” ว่าร้านรูปแบบนี้เข้าข่ายทั้งการเป็น “อาคารพาณิชย์” และ “ภัตตาคาร” จึงต้องทำการพิจารณากฎหมายของทั้งสองส่วนไปพร้อม ๆ กัน โดย ทางกฎหมายได้มีการนิยามว่า – อาคารพาณิชย์ คือ อาคารใด ๆ ที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการพาณิชยกรรมได้ และเป็นอาคารที่ก่อสร้างห่างจากถนนไม่เกิน 20 เมตร – […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.