4 เหตุผลสำคัญที่ทำให้ “ พนักงานดีๆ ลาออก ” - Amarin Academy

4 เหตุผลสำคัญที่ทำให้ “ พนักงานดีๆ ลาออก ”

4 เหตุผลสำคัญที่ทำให้ “ พนักงานดีๆ ลาออก ”

เชื่อว่าปัญหาน่าปวดหัวอันดับหนึ่งของร้านอาหาร คือเรื่อง “คน” ใช่ไหมครับ ทั้งเรื่องขาด ลา มาสาย บริการไม่ดี ไม่พัฒนาตัวเอง และที่สำคัญ พนักงานลาออกกันเป็นว่าเล่น แต่สิ่งที่ทำให้เจ้าของร้านอาจต้องนั่งกุมขมับคือ การที่พนักงานดีๆ ที่ตั้งใจจะปั้นให้เป็นมือขวาหรือมือซ้าย ดันมาลาออกซะนี่! จะหาคนมาแทนก็ยากลำบาก ฉะนั้นถ้าไม่อยากให้ปัญหานี้เกิดขึ้น มาลองดู 4 เหตุผล ที่อาจส่งผลให้ พนักงานดีๆ ลาออก กันดีกว่า เผื่อจะช่วยป้องกันปัญหานี้ได้บ้าง

1.เพราะตัวคุณเอง

หากพนักงานดีๆ ของคุณตัดสินใจลาออก ก่อนที่จะโทษว่าพนักงานไม่อดทน หรือมองว่ามาจากสาเหตุอื่นๆ ลองย้อนกลับมามองที่ตัวคุณเองก่อนว่า เป็นเพราะว่าคุณเป็นเจ้านายที่ไม่ดีหรือเปล่า
ส่วนใหญ่แล้วพฤติกรรมที่ลูกน้องมักไม่ชอบสุดๆ คือ การที่เจ้าของร้านด่าทอ ต่อว่าลูกน้องตลอดเวลา โดยไม่สมเหตุสมผล แถมยังไม่ช่วยหาทางออกหรือวิธีแก้ไขปัญหาให้ด้วย (ลองคิดดูว่า ถ้าคุณเป็นลูกน้อง คงไม่อยากได้หัวหน้าที่มีนิสัยเหมือนเชฟกอร์ดอน แรมซีย์ ที่เอาแต่ตะโกนด่าลูกทีมตลอดเวลา แบบไม่ไว้หน้าหรอก จริงไหม?)
หรืออีกพฤติกรรมหนึ่งที่พนักงานส่วนใหญ่รับไม่ได้คือ ความไม่ยุติธรรมของเจ้าของร้าน เช่น หากพนักงานบางคนขาด ลา มาสาย หรือทำงานผิดพลาดบ่อยๆ แต่เจ้าของร้านกลับไม่ลงโทษ หรือไม่มีกฎเกณฑ์ในการตัดสินความผิดตายตัว วันนี้อารมณ์ดี ก็แค่ตักเตือน อีกวันหนึ่งอารมณ์ไม่ดี ก็เปลี่ยนจากการตักเตือนเป็นตัดเงินเดือนหรือสั่งพักงาน การไม่มีระบบที่ชัดเจน จะทำให้ลูกน้องบางคนรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้รับความยุติธรรม
หากพนักงานดีๆ ของคุณรับไม่ได้กับพฤติกรรมหรือวัฒนธรรมดังกล่าว ย่อมตัดสินใจลาออก เพื่อสิ่งที่ดีกว่าก็ได้

2.เพราะไม่โตสักที

เคยไหม ทำงานเป็นปีๆ แต่ตำแหน่งงานก็ยังอยู่เท่าเดิม ไม่ได้ขยับขยาย เงินเดือนก็ขึ้นทีละเล็ก ทีละน้อย เป็นใครก็ไม่อยากอยู่ต่อจริงไหมครับ ฉะนั้นเจ้าของร้านอาหารต้องวางแผนการเติบโตให้ทีมงานด้วย เช่น อาจลองประเมินผลงานของลูกน้องทุกครึ่งปี บอกให้เขารับรู้ว่าการทำงานของเขาเป็นอย่างไร สมควรปรับปรุงหรือพัฒนาในส่วนไหนบ้าง หากเขาปรับปรุงหรือพัฒนาได้ตามเป้า จะได้รับผลอะไรตอบแทน วิธีนี้จะทำให้เขารู้สึกว่าการทำงานมีเป้าหมาย และได้รับผลตอบแทนที่วัดผลได้อย่างชัดเจน
นอกจากจะช่วยให้เขาอยากทำงานกับเราต่อแล้ว ยังทำให้เขาได้พัฒนาตัวเองตลอดเวลา ส่งผลดีต่อธุรกิจของเราอีกด้วย

3.เพราะเพื่อนร่วมงานแย่

ปัญหาเรื่องเพื่อนร่วมงานเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดการลาออก เช่น หากพนักงานคนอื่นเฉื่อยชา ไม่กระตือรือร้น พนักงานดีๆ ย่อมรู้สึกว่าตัวเองขยันไป หรือทำดีไปก็ไม่เกิดประโยชน์ ทางเลือกของพวกเขามักมี 2 ทาง คือ ไหลไปตามน้ำ “ในเมื่อไม่มีใครขยัน แล้วฉันจะทำไปเพื่ออะไร อย่างนั้นก็ทำงานตามหน้าที่ก็พอ” หรืออีกทางหนึ่งคือ ลาออก เพื่อไปหาสังคมใหม่ๆ ที่ดีกว่า
แน่นอนว่าทั้งสองทางเลือกย่อมส่งผลเสียต่อร้านอาหารทั้งคู่ ฉะนั้นจึงเป็นหน้าที่ของเจ้าของร้านที่จะสร้างวัฒนธรรมที่ดีให้กับลูกน้อง หากพบพนักงานที่มีพฤติกรรมไม่ดีต้องรีบตักเตือนและแก้ไข ไม่อย่างนั้นอาจส่งผลกระทบในระยะยาวได้

4.เพราะไม่มีระบบ อุปกรณ์ไม่พร้อม

ระบบคือสิ่งสำคัญที่สุดในการทำร้านอาหาร ยิ่งคุณวางระบบได้ดีมากเท่าไร ปัญหาก็ยิ่งมีน้อยมากเท่านั้น แต่หากคุณไม่วางระบบการทำงานเลย นอกจากตัวคุณเองต้องปวดหัวกับสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว พนักงานก็ต้องคอยมานั่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้าตลอดเวลาเช่นกัน เช่น ปัญหาอาหารออกช้า เพราะวัตถุดิบหมด (เนื่องจากไม่เคยมีการเช็คสต็อกวัตถุดิบเลย) ต้องรีบให้พนักงานไปซื้อ นอกจากจะเสียเวลาแล้ว พนักงานรับออร์เดอร์อาจจะต้องถูกลูกค้าตำหนิจากความไม่พร้อม หากโดนบ่อยๆ เข้าก็พนักงานคงเซ็งไปตามๆ กัน

นอกจากนี้ความไม่พร้อมของเครื่องไม้ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต่อการทำงาน ก็ส่งผลให้พนักงานลาออกได้เช่นกัน เช่น เคาท์เตอร์ครัวอาจจะสูงเกินไป ทำให้ปรุงอาหารไม่สะดวก ต้องก้มๆ เงยๆ ทำให้มีปัญหาสุขภาพ แจ้งเจ้าของร้านไปก็ไม่มีแนวโน้มว่าจะช่วยแก้ปัญหา เป็นใคร ใครก็ลาออกครับ เพราะห่วงสุขภาพตัวเองมากกว่า

ปัจจัย 4 ข้อที่ว่ามานี้ เป็นปัจจัยหลักๆ ที่อาจส่งผลให้พนักงานลาออก แต่จริงๆ แล้วยังมีปัจจัยอื่นๆ มากมาย เช่น เรื่องเงินเดือน สวัสดิการต่างๆ ที่อาจไม่ตรงกับความคาดหวังของพนักงาน หรือปัญหาส่วนตัวของลูกน้อง เจ้าของร้านลองพิจารณากันดูนะครับ ว่ามาจากสาเหตุอะไร จะได้แก้ไขได้ตรงจุด

เรื่องแนะนำ

ถอดบทเรียน MK

ถอดบทเรียน MK อดีตร้านห้องแถว ยอดขาย 16,000 ล้าน

ในปี 2560 MK มีรายได้รวมกว่า 16,000 บาท! เพราะอะไร ร้านอาหารง่ายๆ ถึงครองใจคนไทยมาได้นานขนาดนี้ แถมยังทำรายได้แตะหลักหมื่นล้าน! เราจะมา ถอดบทเรียน MK ให้ฟัง

วิธีคำนวณต้นทุนร้านอาหาร

วิธี คำนวณต้นทุนร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านต้องรู้! by คุณ ธามม์ ประวัติตรี

การคำนวณต้นทุนร้านอาหาร ถ้ามองให้เป็นเรื่องใกล้ตัว พูดง่ายๆ ก็เหมือนเรามีเงินเดือน แล้วเราต้องรู้ว่าในแต่ละเดือนนั้น ต้องมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ และมีเงินเหลือเก็บหรือไม่ เช่นเดียวกับการ คำนวณต้นทุนร้านอาหาร ที่ต้องทำอย่างเป็นระบบ มาดูคำแนะนำจาก คุณ ธามม์ ประวัติตรี Managing Director, Wow Thai Food Holding ประเทศเนเธอร์แลนด์   “ คำนวณต้นทุนร้านอาหาร ไม่ใช่การเดา แต่ต้องทำให้เป็นระบบ แล้วผลประกอบการก็จะดีขึ้น ” เจ้าของธุรกิจบางรายมักใช้ความรู้สึก ในการวัดผลการดำเนินงาน เช่น วันที่ลูกค้าเต็มร้าน คาดว่าน่าจะมีรายได้มาก และน่าจะมีเงินหมุนเวียนในธุรกิจมากตามไปด้วย แต่คำว่ามากนั้น คงไม่เพียงพอที่จะบอกได้ว่าธุรกิจของคุณเป็นไปด้วยดีจริงหรือไม่ ทั้งนี้เจ้าของร้านจะต้องสามารถระบุได้ว่ามาตรฐานของร้าน หรือระดับรายได้ที่ควรจะได้คือเท่าไหร่ หรือมากกว่าคู่แข่งเท่าไหร่ หรือบางร้านอาจจะมีการจดบันทึกที่ละเอียดขึ้น คือมีการบันทึกรายรับ-รายจ่ายเป็นเงินสด ว่าวันนี้ขายได้กี่จาน จานละกี่บาท ก็จะบันทึกเป็นยอดขาย เพื่อนำมาคำนวณ ต่อวันจะขายได้เท่าไหร่ ต่อเดือนจะขายได้เท่าไหร่ แต่ความจริงแล้ว การคาดการณ์ที่กล่าวมาอาจไม่เพียงพอเท่าที่ควร และอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจในระยะยาวได้ เพราะเจ้าของร้านต้องไม่ลืมว่ารายรับนั้น ยังไม่ได้หักต้นทุนใด ๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างพนักงาน ค่าล่วงเวลาของพนักงาน […]

เทียบ ข้อดี – ข้อพิจารณา บริการน้ำเปล่า “ตั้งน้ำไว้บนโต๊ะให้ลูกค้าหยิบ” กับ “ให้ลูกค้าสั่งกับพนักงาน”

เทียบ ข้อดี – ข้อพิจารณา บริการน้ำเปล่า “ตั้งน้ำไว้บนโต๊ะให้ลูกค้าหยิบ” กับ “ให้ลูกค้าสั่งกับพนักงาน” บริการแบบไหนเหมาะกับร้านคุณ!? เวลาไปร้านอาหารคุณชอบบริการแบบไหนมากกว่ากัน!? ระหว่างร้านที่ “ตั้งน้ำไว้บนโต๊ะให้ลูกค้าหยิบ” กับ “ให้ลูกค้าสั่งกับพนักงาน” ในแง่ของผู้ประกอบการรูปแบบบริการ 2 อย่างข้างต้นต่างก็มีข้อดี ข้อด้อยแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับร้าน แต่แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าแบบไหนเข้ากับร้านเราล่ะ ? ลองมาดูข้อดี ข้อด้อยของบริการน้ำดื่ม 2 รูปแบบนี้เพื่อช่วยในการตัดสินใจนำมาปรับใช้กับร้านคุณสิ! . หมายเหตุ: น้ำดื่มที่ยกมาพูดถึง คือ น้ำเปล่า ซึ่งในที่นี้จะขอเรียกสั้น ๆ ว่า “น้ำ” . <<ตั้งน้ำไว้บนโต๊ะให้ลูกค้าหยิบ>> ข้อดี 1.แน่นอนว่าวิธีนี้ทำให้ลูกค้าสามารถหยิบน้ำดื่มเติมเองได้ทันที ไม่ต้องรอเรียกพนักงานให้มารับออเดอร์หรือรอพนักงานเดินไปหยิบน้ำมาเสิร์ฟ เรียกได้ว่าเป็นวิธีที่ทันใจลูกค้า 2.เนื่องจากการมีน้ำมาตั้งอยู่ใกล้ ๆ ทำให้ลูกค้ามีแนวโน้มเปิดเครื่องดื่มเพิ่มมากกว่าการต้องสั่งให้พนักงานมาเสิร์ฟ เพราะลูกค้าสามารถตัดสินใจได้เดี๋ยวนั้น จะดื่มก็หยิบเพิ่มเลย ในทางกลับกันถ้าต้องใช้เวลาในการรอ ลูกค้าก็อาจจะเปลี่ยนใจแล้วเลือกที่จะกลับไปกินที่บ้านหรือที่อื่นแทน เพราะเพียงเสี้ยวนาทีก็มีผลต่อการตัดสินใจ 3.เมื่อมีน้ำไว้บริการบนโต๊ะอยู่แล้วทำให้ภาระงานของพนักงานลดลง ข้อนี้อาจเห็นได้ไม่ชัดในการเสิร์ฟรอบแรก เพราะถึงพนักงานไม่ได้มาเสิร์ฟน้ำ แต่ก็อาจมีการเสิร์ฟน้ำแข็ง และต้องเสิร์ฟอาหารอยู่แล้ว แต่เมื่ออาหารออกหมด ลูกค้ารับประทานมาได้สักพักน้ำก็อาจจะหมด ทีนี้เมื่อมีน้ำอยู่บนโต๊ะ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.