4 Fingers ขั้นตอนนำแฟรนไชส์ต่างชาติ สร้างตลาดในเมืองไทย - Amarin Academy

4 Fingers ขั้นตอนนำแฟรนไชส์ต่างชาติ สร้างตลาดในเมืองไทย

หลายปีที่ผ่านมามีแบรนด์แฟรนไชส์ธุรกิจอาหารต่างชาติ เข้ามาเปิดตลาดในเมืองไทยเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น PABLO ชีสทาร์ตสุดฮอตจากประเทศญี่ปุ่น / Potato Corner มันฝรั่งทอดสัญชาติฟิลิปปินส์ / Croquant Chou Zakuzaku ชูครีมชื่อดังจากญี่ปุ่น รวมถึง 4 Fingers Crispy Chicken แบรนด์ไก่ทอดสไตล์ Asian twist จากประเทศสิงคโปร์ ก็เข้ามาเปิดตลาดในไทยเช่นกัน

 

4 Fingers ขั้นตอนนำแฟรนไชส์ต่างชาติ สร้างตลาดในไทย

หลายคนอาจสงสัยว่าแล้วการนำแบรนด์ต่างชาติเข้ามาในเมืองไทย มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง และมีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร วันนี้คุณชนาสิน บำรุงชน หนึ่งในหุ้นส่วนผู้นำเข้าแบรนด์ 4 Fingers จะมาเปิดเผยขั้นตอน และเทคนิคดีๆ ของการซื้อแบรนด์แฟรนไชส์จากต่างประเทศให้ทราบกัน

ซื้อแบรนด์จากต่างประเทศ: ไม่ใช่เพื่อเงินเพียงอย่างเดียว แต่เพื่อสร้างโอกาสให้ได้พัฒนาตัวเอง

4 Fingers เรามีหุ้นส่วนทั้งหมด 8 คน ซึ่งแทบทุกคนมีธุรกิจเกี่ยวกับอาหารอยู่แล้ว แต่เป็นแบรนด์ที่พวกเราสร้างขึ้นเอง ทำให้เรารู้ว่ากระบวนการทำร้านอาหารเองต้องใช้งบประมาณค่อนข้างสูง ต้องสร้างแบรนด์เอง วางระบบเองทุกๆ อย่าง และไม่มีอะไรการันตีว่าจะประสบความสำเร็จ เราจึงคุยกันว่าอยากหาแบรนด์ที่ติดตลาดแล้ว ประสบความสำเร็จแล้ว มีการวางระบบ การบริหารจัดการที่ดีอยู่แล้ว เรียกง่ายๆ ว่ามีสูตรสำเร็จตายตัว เข้ามาลองเปิดตลาดในไทย ซึ่งนอกจากเราจะคาดหวังด้านผลกำไรแล้ว เรายังได้ประสบการณ์ ความรู้ ที่นำมาต่อยอดธุรกิจที่ของเราเองได้ด้วย

เราจึงเริ่มมองหาแบรนด์ต่างชาติที่น่าสนใจและประสบความสำเร็จ จนมีโอกาสไปเดินงาน Franchise Show ที่ประเทศญี่ปุ่น ปรากฏว่าผมไปเจอบริษัทหนึ่งที่มีเครือข่ายสามารถแนะนำให้เรารู้จักกับ4 Fingers ที่สิงคโปร์ได้ ซึ่งเราก็รู้จักแบรนด์นี้อยู่แล้ว จึงสนใจและเริ่มพูดคุยกัน

ทำไมต้อง 4 Fingers: ก่อนจะซื้อแบรนด์ ต้องมั่นใจใน Product ก่อน

ก่อนจะซื้อแฟรนไชส์อะไรก็ตาม เราต้องมั่นใจใน Product ก่อน เราเชื่อว่า 4 Fingers ไปต่อได้ มันยังมีพื้นที่ในตลาดให้เราเล่นได้ โดยตอนนี้ในตลาดไก่ทอดจะมีแบรนด์ 2 ระดับหลักๆ คือแบรนด์ไก่ทอดทั่วไป คุณภาพกลางๆ เป็นสไตล์ Fast food ราคาไม่สูง บริการแบบ Self Service กับแบรนด์ไก่ทอดระดับบน มีการบริการเต็มรูปแบบ ราคาค่อนข้างสูง เราเห็นช่องว่างระหว่าง 2 ระดับที่ 4 Fingers จะเข้าไปเล่นได้ จึงวาง Positioning ว่าเป็นแบรนด์ที่มี Product พรีเมี่ยม มีไฮไลท์ที่ความกรอบ ไก่จะกรอบนานกว่าทั่วไป ไซส์ใหญ่กว่าทุกแบรนด์ ที่สำคัญใช้ไก่สด ไม่ใช้ Frozen แต่มีการบริการแบบ Self Service ไม่มี Vat / Service Charge ทำให้เราสามารถตั้งราคาได้สมเหตุสมผลกว่า ฉะนั้นเราจะได้กลุ่มลูกค้าที่ Sensitive เรื่องราคามาด้วย เพราะเมื่อเทียบปริมาณกับราคาแล้วถือว่าคุ้มค่ามาก

แต่ถ้าพูดกันจริงๆ ผมว่าไม่ใช่ผมที่เลือกเขานะ เขาต่างหากที่เลือกผม เพราะ4 Fingers เป็นแบรนด์ใหญ่ มีค่ายใหญ่ๆ หลายค่ายในไทยที่สนใจอยากนำเข้ามา ขณะที่ผมกับเพื่อนๆ No name มาก มีแค่ร้านอาหารเล็กๆ ไม่เคยมีประสบการณ์ด้านแฟรนไชส์มาก่อนเลย แต่ผมคิดว่าเขาน่าจะเลือกผมจากคาแรคเตอร์ที่ตรงกัน เพราะแบรนด์เขาวางคาแรคเตอร์เป็นคนวัยทำงานที่มีเวลาจำกัด ต้องรีบเร่ง แต่ผสมผสานความเป็น Street Art เข้าไปด้วย ซึ่งตรงกับคาแรคเตอร์ของพวกเรา

เปิดร้านเอง VS แฟรนไชส์: เริ่มต้นซื้อแฟรนไชส์ใช้เวลานาน แต่ไปต่อง่าย

สำหรับแฟรนไชส์กระบวนการเริ่มต้นจะยุ่งยากกว่า ต้องมีการเจรจาพูดคุยกันระหว่างเรากับแบรนด์ โดยเราต้องแสดงให้เขาเห็นว่าเราตั้งใจที่จะทำจริงๆ ต้องทำการบ้านด้วยการวิเคราะห์ตลาดในไทย ลองวาง Positioning ให้เขาเห็น ทำแผนธุรกิจให้ละเอียดว่าจะเดินต่อไปอย่างไร ให้เขาเห็นภาพธุรกิจที่ชัดเจน ซึ่งเราโชคดีที่ CEO ของเราเก่งด้านการวิเคราะห์ตลาด ทำให้เขาเห็นว่าเราเข้าใจตลาดในประเทศไทยจริงๆ

เมื่อการเจรจาลงตัวแล้ว ก็มาถึงการทำงานจริง ทางแบรนด์แม่เขาจะมีระบบ ระเบียบที่ค่อนข้างเคร่งครัด เพื่อให้ร้านเป็นไปตามมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นการตกแต่งร้านที่เขาเป็นผู้ออกแบบทั้งหมด วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ต้องทำให้เหมือนหรือคล้ายคลึงกับต้นฉบับมากที่สุด ระหว่างที่เราตกแต่งร้านก็ต้องสื่อสารกับเจ้าของแบรนด์ตลอดเวลา

ส่วนเรื่องสูตรอาหาร เราไม่จำเป็นต้องนำเข้าทุกอย่าง 100% แต่พยายามหาของในประเทศที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงที่สุด แล้วนำมาเทสต์รสชาติ ซึ่งวัตถุดิบบางตัวก็ใช้ของไทยได้ แต่บางตัว เช่น แป้ง ซอส ไม่ว่าอย่างไรก็ต้องใช้ของเขาเพราะมันคือหัวใจสำคัญของแบรนด์ นอกจากนี้เขายังดูแลเรื่องการฝึกอบรมพนักงานด้วย โดยเราต้องส่งคนไปสิงคโปร์เพื่อเรียนรู้งานทุกๆ อย่างโดยละเอียด ทั้งการปรุง การทอด ทุกๆ กระบวนการ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่เขากำหนด ซึ่งเขาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก

แม้ว่าช่วงแรกจะค่อนข้างยุ่งยาก เพราะเราไม่รู้ว่าต้องทำอะไรบ้าง แต่ข้อดีคือ ระบบทุกอย่างที่เราจะได้รับจากแบรนด์มีมาตรฐาน ถูกพิสูจน์มาแล้วว่า จะทำให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น และมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง โดยที่เราสามารถลดบทบาทตัวเองลงมาและมีเวลาไปทำอย่างอื่นต่อไป

ขณะที่การเปิดร้านเอง ใช้เวลาน้อยกว่า แต่เราต้องเริ่มทุกอย่างเองทั้งหมด สร้างแบรนด์เอง วางระบบเอง ซึ่งอาจจะประสบความสำเร็จหรือไม่ก็ได้ แต่ขณะเดียวกันเราก็มีอิสระมากกว่า

การตลาด เรื่องสำคัญที่มองข้ามไม่ได้: พฤติกรรมผู้บริโภคแต่ละประเทศต่างกัน การตลาดจึงเป็นเรื่องที่สร้างสรรค์เองได้

ด้านการตลาด เขาให้อิสระกับเรามาก เพราะว่าพฤติกรรมผู้บริโภคของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน การทำการตลาดก็ต่าง อย่างคนสิงคโปร์เขาไม่ค่อยเล่น Facebook ขณะที่คนไทยใช้เฟซบุ๊กเป็นอันดับ 1 การแข่งขันในสิงคโปร์อาจจะไม่สูงนัก แต่ของเราค่อนข้างสูง ฉะนั้นเขาจึงให้อิสระเราในการวางแผน สิ่งที่เราวางไว้อันดับแรกคือเน้นสื่อออนไลน์ อาจจะใช้ Blogger การรีวิว การทำโปรโมชั่น สร้าง LINE@ ฯลฯ

แต่ช่วงแรกอาจจะต้องส่งข้อมูลให้เขาตรวจสอบในเบื้องต้นก่อน เช่น การใช้คำ เทคนิคการสื่อสาร ภาษาที่ใช้ ต้องตรงกับคาแรคเตอร์ของแบรนด์ แต่เรื่องการจัดลำดับความสำคัญ การเล่าเรื่องในมุมต่างๆ เราเป็นคนเลือกเองว่าจะเล่าแบบไหน

วางแผนอนาคตสำหรับแบรนด์แฟรนไชส์: 2 ปี ขยาย 5 สาขา

ตลาดธุรกิจอาหารประเภท Fast food ถือว่าใหญ่มากๆ หลายพันล้านบาทต่อปี ฉะนั้นโอกาสที่เราจะเข้าไปทำตลาดก็มีมาก แต่การวัดความสำเร็จของแบรนด์ที่กำหนดไว้ ณ ตอนนี้ ไม่ใช่เรื่องยอดขาย แต่เป็นการกระจายแบรนด์ให้ติดตลาด ให้เป็นที่รู้จักก่อน โดยเราวางเป้าหมายไว้ว่า 2 ปีแรก เราต้องขายให้ได้ 5 สาขา ซึ่งเป็นสิ่งที่เราสัญญากับเขาไว้ ยังไม่ได้มองว่าต้องเข้าไปแชร์ตลาดเป็นสัดส่วนเท่าไร มากน้อยแค่ไหน อันนั้นเป็นเรื่องของอนาคต

สำหรับใครที่อ่านบทความนี้แล้วมีไฟ อยากลองซื้อแฟรนไชส์จากต่างประเทศมาตีตลาดในเมืองไทยบ้าง อย่ารอช้าครับ เพราะถ้าไม่ลงมือทำ ก็ไม่มีทางรู้เลยว่าจะประสบความสำเร็จไหม

 

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

ถอดเคล็ดลับ “เสวย” จากรุ่นสู่รุ่น รีแบรนด์ใหม่อย่างไร ให้ปัง!

โอยั๊วะ การเดินทางกว่า 20 ปี กับ บทเรียนที่หาซื้อไม่ได้

ถอดบทเรียน “ หม้อเบ้อเร่อ “ พลิกวิกฤติร้านเกือบเจ๊ง ให้กลับมาอยู่รอดอีกครั้ง

หมัดเด็ด Hai di lao หม้อไฟสัญชาติจีน สู่การเป็นร้านอาหารระดับโลก

เรื่องแนะนำ

ร้านเบเกอรี่

เผยเคล็ดลับการจัดการ ร้านเบเกอรี่ จาก “สวนดุสิตโฮมเบเกอรี่”

ร้านเบเกอรี่ เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสเช่นกัน เพราะจะไม่ใช่อาหารมื้อหลักที่ผู้บริโภคจะซื้อทุกวัน รวมถึงวัตถุดิบที่มีอายุการเก็บรักษาสั้น ในบทความนี้ อาจารย์จันทร์จนา ศิริพันธ์วัฒนา จากสวนดุสิตโฮมเบเกอรี่ ร้านเบเกอรี่ต้นแบบที่มี “ทอฟฟี่เค้ก” ในตำนาน และมีกลุ่มลูกค้าเป็นธุรกิจจัดเลี้ยง จะมาแนะนำเคล็ดลับการจัดการวัตถุดิบ และการยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ (Shelf Life Extension) ที่ผู้ประกอบการควรรู้ โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มเบเกอรี่ เพื่อลดการสูญเสียต้นทุนจากสินค้าที่หมดอายุ  เคล็ดลับการจัดการ ร้านเบเกอรี่ จาก “สวนดุสิตโฮมเบเกอรี่” วิธีถนอมอาหารเพื่อยืดอายุการขาย หรือลด waste จากสินค้าที่หมดอายุ         โดยปกติสินค้าเบเกอรี่ที่เราวางจำหน่ายก็จะมีการหาอายุการเก็บรักษาอยู่แล้ว ในช่วงนี้ทางบริษัทที่อาจารย์ส่งสินค้าด้วยก็จะสั่งเป็นสินค้าที่มีอายุการเก็บรักษานานขึ้น ถ้าเป็นเบเกอรี่ก็จะเลือกเป็นเบเกอรี่ที่มีค่า Water Activity (aw) หรือค่าความชื้นในสินค้าต่ำ โดยอาจจะเลือกบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยให้อายุการเก็บรักษานานขึ้น หรือใส่ซองดูดออกซิเจน (Oxygen absorber) เพื่อช่วยป้องกันการเจริญของจุลินทรีย์ และไม่ให้เบเกอรี่มีกลิ่นเหม็นหืน         นอกจากนี้ ในส่วนของการเก็บรักษาวัตถุดิบบางชนิด เช่น ธัญพืช ส่วนใหญ่ไม่ได้เสียเพราะจุลินทรีย์ แต่เสียเพราะเหม็นหืนได้ง่าย เราอาจจะต้องหาอุปกรณ์มาช่วย […]

Laemgate Infinite

Laemgate Infinite ยอดขาย 100 ล้านต่อปี!

Laemgate Infinite สามารถสร้างยอดขายได้ 100 ล้านบาทต่อปี! เพราะอะไรร้านอาหารทะเลเล็กๆ จึงสามารถสร้างตัวตนและความแตกต่างได้มากถึงเพียงนี้ ไปติดตามกัน

BRIX Dessert Bar เสิร์ฟความพรีเมี่ยมแบบไร้รอยต่อด้วย OMNI Media

เมื่อพูดถึงร้านขนมหวานเท่ห์ๆแบบพรีเมี่ยม ย่านใจกลางเมือง ที่ใช้แนวทางนี้ในการ “เสิร์ฟประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า” BRIX Dessert Bar เป็นตัวเลือกที่สำคัญที่อยู่ในใจผู้บริโภค ด้วยความที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและความใส่ใจในเสียงของลูกค้าอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด   1.เริ่มต้นด้วยคุณภาพ ส่งมอบคุณค่าผู้นำเทรนด์    ช่วงเริ่มต้นผมกับพี่ชายไม่เคยมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจอาหารมาก่อน โมเดลธุรกิจในช่วงแรกของเราคือ อะไรที่ดีที่สุดสำหรับเรา น่าจะดีที่สุดสำหรับลูกค้า เราเน้นเรื่องคุณภาพเป็นหลัก ตั้งแต่วัตถุดิบ เช่น แป้ง เนย ผลไม้ ไปจนถึง ภาชนะที่ใช้จัดเสิร์ฟ จาน ชาม ต่างๆ เน้นสื่อถึงความพรีเมี่ยมเป็นหลัก การตลาดในช่วงแรกของเรา จะเป็นแบบง่ายๆที่ใช้ต้นทุนไม่สูงมากนัก คือให้ลูกค้า Like, ถ่ายรูปสินค้า Share เฟสบุ๊ค เพื่อรับส่วนลดเครื่องดื่ม และมีจ้าง Influencer มารีวิวเพื่อสร้าง Awareness ให้กับลูกค้าบ้าง เพราะร้านเราเป็นร้านใหม่   จนกระทั่ง Positioning ชัดเจนขึ้น การทำการตลาดจึงไม่ใช่แค่การทำโปรโมชั่นหรือส่วนลดเพียงอย่างเดียว​ แต่เราเน้นเพิ่มเมนูใหม่เรื่อยๆ โดยพี่ชายซึ่งเป็นเชฟของร้าน มักจะบินไปต่างประเทศเพื่อชิมขนมหวานตามที่ต่างๆ พอทราบว่าเทรนด์ไหนที่น่าสนใจ และเห็นแนวโน้มว่าจะเกิดเป็นกระแสในเมืองไทย ก็จะนำเทรนด์เหล่านั้นมาคิดค้นพัฒนาสูตรขนมในแบบของ BRIX […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.