3 สิ่งที่ต้องทำ เมื่อ ธุรกิจมีปัญหา - Amarin Academy

3 สิ่งที่ต้องทำ เมื่อ ธุรกิจมีปัญหา

3 สิ่งที่ต้องทำ เมื่อ ธุรกิจมีปัญหา

ขึ้นชื่อว่าเป็นเจ้าของกิจการ คงจะหลีกเลี่ยงปัญหาไปไม่ได้ และบางครั้งอาจเจอปัญหาหนักจนไม่รู้จะแก้อย่างไร หลายคนเมื่อเจอปัญหาหนักๆ อาจจะถึงขั้นล้มเลิกความตั้งใจและเลือกที่จะปิดกิจการ แต่คงไม่มีใครอยากให้วันนั้นมาถึง วันนี้เราจึงมีเทคนิคดีๆ ที่จะช่วยดึงสติ ในยามที่ ธุรกิจมีปัญหา ให้กลับมาดำเนินการได้ตามปกติมาฝาก

1.หยุดมองโลกในแง่ดี และต้องยอมรับความจริง

“ไม่เป็นไร เดี๋ยวทุกอย่างก็ดีขึ้นเอง ได้แค่นี้ก็ดีแล้ว” ประโยคให้กำลังตัวเองเช่นนี้ไม่ใช่ไม่ดี เพียงแต่ว่าหลังจากให้กำลังใจตัวเองแล้ว เราต้องยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นด้วย โดยการยอมรับความจริงนี้ เป็นขั้นแรกของการแก้ไขปัญหา เพราะหากคุณเอาแต่คิดว่า ไม่เป็นไร และปล่อยให้ทุกอย่างดำเนินไปเช่นเดิม ปัญหาเหล่านั้นก็จะสั่งสมขึ้นเรื่อยๆ ทับไปทับมา หากคิดจะแก้ไขอีกทีก็อาจจะสายไปเสียแล้ว

เช่น หากคุณพบว่าพนักงานบางคนทำงานไม่เต็มที่ แล้วคุณละเลย เพราะคิดว่าอย่างไรงานโดยภาพรวมก็ยังได้มาตรฐาน ต่อไปพนักงานคนอื่นอาจจะเอาเยี่ยงอย่าง จนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ถูกปลูกฝังไปเรื่อยๆ จนเมื่อคุณคิดจะแก้ไขอีกทีก็กลายเป็นว่าคุณกำลัง “ไล่บี้” ทำให้พนักงานไม่พอใจได้ ฉะนั้น หากทำธุรกิจแล้วพบเจอปัญหาเมื่อไร ควรวางแผนแก้ไขทันที เพื่อให้ปัญหาทุกอย่างคลี่คลายโดยเร็วที่สุด

2.ทำความเข้าใจปัญหาให้ละเอียดและชัดเจนที่สุด

หลังยอมรับว่าธุรกิจมีปัญหาแล้ว คุณต้องทำความเข้าใจปัญหาโดยละเอียดและรอบด้าน ว่าเกิดจากสาเหตุภายใน เช่น การบริหารงาน การจัดการงานที่ไม่เป็นระบบ ลูกน้องทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ หรือเกิดจากปัญหาภายนอก เช่น สภาพเศรษฐกิจไม่ดี คู่แข่งมากขึ้น วัตถุดิบขึ้นราคา เป็นต้น

การทำความเข้าใจปัญหานี้ จะช่วยให้เราวางแผนเพื่อแก้ไขได้อย่างตรงจุด โดยอาจลองหาทางออกไว้หลายๆ ทาง เผื่อแผนหนึ่งแก้ไม่ได้ ก็จะได้ใช้แผนสอง หรือแผนสามแทน

เช่น หากประสบปัญหาเรื่องพนักงานลาออกบ่อย ก็ควรต้องทำความเข้าใจปัญหาว่าเกิดจากสาเหตุใด เกิดจากปัจจัยภายนในหรือภายนอก แล้วค่อยๆ วางแผนในการแก้ปัญหาต่อไป (อ่านเพิ่มเติม: เคล็ด (ไม่) ลับ ขจัดปัญหา พนักงานเปลี่ยนงานบ่อย)

3.ยอมรับความช่วยเหลือ

เมื่อเจอต้นตอของปัญหาแล้ว เจ้าของธุรกิจหลายคนก็พยายามหาทางแก้ไข แต่บางครั้งปัญหาที่เกิดขึ้นก็นับว่าใหญ่เอาการ จนไม่รู้จะแก้ไขด้วยตัวคนเดียวอย่างไร ดังนั้นแทนที่จะมัวลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง คุณคงต้องยอมรับความช่วยเหลือ

ขั้นแรก อาจจะลองศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งปัจจุบันข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการทำธุรกิจก็มีมากมาย และหาได้ง่ายๆ เพียงแค่เสิร์จ Google ก็เจอบทเรียนและวิธีแก้ไขเต็มไปหมด คุณอาจลองนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจของตัวเองดู แต่หากปัญหาของคุณค่อนข้างเฉพาะเจาะจง อาจจะต้องลองหาเพื่อนทางธุรกิจที่ทำธุรกิจประเภทเดียวกัน แน่นอนว่าเขาย่อมต้องเคยผ่านปัญหาเหล่านี้มาก่อนบ้าง และอาจจะได้รับคำแนะนำดีๆ ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน แต่ถ้าอยากให้ชัวร์ที่สุด และแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด คุณอาจจะต้องลองหาที่ปรึษาทางธุรกิจที่เชี่ยวชาญในธุรกิจดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันก็มีบริษัทรับเป็นที่ปรึกษาให้มากมาย เพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องมัวลองผิดลองถูกเอง แต่ข้อเสียคือคุณต้องเสียค่าใช้จ่ายพอสมควร อย่างไรลองเลือกวิธีแก้ไขตามที่ตนเองถนัดดูนะครับ

เมื่อเจอปัญหา อย่าเอาแต่วิตกกังวลไป ลองค่อยๆ คิดหาวิธีแก้ไขดูนะครับ ทุกปัญหามีทางออกเสมอ

เรื่องแนะนำ

ข้อพลาดของนักธุรกิจ

5 ข้อพลาดของนักธุรกิจ รุ่นใหม่

คนรุ่นใหม่ผันตัวมาเป็นเจ้าของธุรกิจมากขึ้น แต่ประสบการณ์อาจยังไม่มากพอ จนก้าวพลาด เราจึงขอยกตัวอย่าง ข้อพลาดของนักธุรกิจ ให้ทราบ เผือช่วยป้องกันปัญหาได้

7 ขั้นตอนสุดง่าย เขียน SOP ร้านอาหารด้วยตัวเอง

1.ตั้งเป้าหมาย             คุณอาจจะเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ทำอะไรก็ตามต้องรู้เป้าหมาย การเขียน SOP ก็เช่นกัน การกำหนดเป้าหมายตั้งแต่เริ่มต้นจะช่วยให้คุณวางโครงร่างของ SOP ได้ง่าย และเกิดการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น คุณต้องการเขียน SOP ในการรับสินค้าจากซัพพลายเออร์ในแต่ละอาทิตย์ อาจกำหนดเป้าหมายเพื่อลดระยะเวลาการทำงานให้ได้มากที่สุด SOP ที่ดีจะไม่ได้เขียนขึ้นเพียงเพื่อบอกขั้นตอนในการวัตถุดิบทั่วไปเท่านั้น แต่ทุก ๆ ขั้นตอน จะต้องถูกคิดเพื่อลดระยะเวลาในการทำงาน กระทบต่อการจัดการหน้าร้านให้น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย การตั้งเป้าหมายของ SOP ง่ายที่สุด คือ การแก้ปัญหาที่มีอยู่ให้หมดไป และการพัฒนาให้ขั้นตอนการทำงานเดิมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น   2.กำหนดรูปแบบ                         วัตถุประสงค์ของ  SOP คือการกำหนดการทำงานแบบเป็นขั้นตอน เพื่อให้ทีมงานที่เกี่ยวข้องเข้าใจ และสามารถปฏิบัติงานได้ตามได้อย่างถูกต้อง  รูปแบบที่นำมาใช้จึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเอกสาร  SOP ที่ใช้อยู่ทั่วไปนั้นมีหลายรูปแบบด้วยกัน ควรคำนึงถึงความเหมาะสมกับลักษณะงานนั้น ๆ เช่น  การเขียน SOP เป็นหัวข้อ  (Simply Format)  เน้นการสร้างความเข้าใจโดยภาพรวม เช่น ข้อกำหนดพนักงานร้านในการเข้างานก่อนการปฏิบัติงาน หรือขั้นตอนหน้าร้านที่ไม่ซับซ้อนมากนัก ส่วนงานที่ต้องเน้นการปฏิบัติที่ถูกต้อง […]

สอนพนักงานครัว ให้เป็นงาน ก่อนเปิดร้าน 7 วัน

สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ของการทำร้านอาหารก็คือ ประสิทธิภาพของทีมงานร้านอาหาร โดยเฉพาะทีมงานครัว ที่ถือเป็นกำลังฝ่ายผลิต ที่มีส่วนสำคัญต่อคุณภาพร้านอาหาร จึงต้องมีการฝึกอบรม เพื่อเรียนรู้ขั้นตอนการปฏิบัติงานครัว เพื่อให้ทำงานสอดคล้องกับทีมงานในแต่ละส่วนได้อย่างดี ซึ่งก่อนที่เราจะไปดูว่าเทคนิค สอนพนักงานครัว ให้เป็นงานได้อย่างรวดเร็วภายใน 7 วันนั้น ทำได้อย่างไร เรามาทราบขั้นตอนเบื้องต้นของการฝึกอบรมทีมงานครัวกันก่อนค่ะ   ขั้นตอนเบื้องต้นของการฝึกอบรม สอนพนักงานครัว 1.ปฐมนิเทศพนักงาน ร้านอาหารก็ควรจัดให้มีการปฐมนิเทศพนักงานเช่นเดียวกับการทำธุรกิจอื่น ๆ ทั้งนี้เพื่อให้พนักงานเข้าใจภาพรวมขององค์กร สร้างความเข้าใจโครงสร้างองค์กร เข้าใจการปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และเข้าใจกฏระเบียบต่าง ๆ            ♦ ปฐมนิเทศพนักงานครัวด้วยเรื่องอะไรบ้าง? ข้อมูลบริหารบุคคลที่ต้องรู้ก่อนร่วมงาน เช่น กฏระเบียบการเข้างาน ค่าตอบแทน โบนัส วันเวลาทำงาน วิสัยทัศน์ ความมุ่งหมายของการทำร้านอาหาร แนะนำทีมงานร้าน รู้จักกับเมนูอาหารของร้าน หรือมีการทดลอง การชิมสูตรอาหารในวันนั้นๆ แนะนำ Facility ต่าง ๆ ของห้องครัว แนะนำขั้นตอนการอบรมงานครัวต่าง ๆ   2. แนะนำการปฏิบัติงาน เริ่มการสอนงานด้วยการทำความเข้าใจขั้นตอน […]

5 ขั้นตอน เซตอัพทีมงานหลังร้าน ที่เจ้าของร้านอาหารต้องรู้!

ร้านอาหารหลายร้านเปิดตัวมาอย่างดี แต่ต่อมามาตรฐานกลับลดลง ไม่ว่าจะเป็นรสชาติอาหาร หรือการบริการที่เกิดความล่าช้าจนลูกค้าเข็ดไม่มาอีกต่อไป สาเหตุสำคัญที่ปฏิเสธไม่ได้เลยก็คือ การขาดประสิทธิภาพของทีมงานหลังร้าน บทความนี้จะแนะนำขั้นตอนที่จำเป็นต่อการ เซตอัพทีมงานหลังร้าน ที่เจ้าของร้านอาหารจำเป็นต้องรู้   ขั้นตอน 1  รู้จักโครงสร้างทีมงานหลังร้าน ทีมงานหลังร้านและหน้าที่ความรับผิดชอบ ประกอบด้วย หัวหน้าเชฟ /รองหัวหน้าเชฟ/หัวหน้าส่วนครัวต่าง ๆ มีส่วนช่วยในการบริหารการบริการลูกค้า ร่วมวางแผนและตัดสินใจเกี่ยวกับงานบริการด้านอาหาร ควบคุมและตรวจสอบคุณภาพของอาหาร รับผิดชอบเวลาออกอาหาร รวมถึงการเสิร์ฟให้เป็นไปตามมาตรฐาน นอกจากนี้ยังต้องบริหารต้นทุน ควบคุมค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังมีหน้าที่ในการสอนงาน มอบหมายงาน และดูแลทีมงานครัวด้วย พนักงานครัว หน้าที่หลัก ๆ คือการปฏิบัติงานครัว ควบคุมมาตรฐาน ทำงานตามขั้นตอนที่กำหนด ช่วยดูแลควบคุมปริมาณของเสีย ฝ่ายสนับสนุน แผนกที่ช่วยดูแลเรื่องเอกสารต่าง ๆ ของธุรกิจ การจัดการเงินและบัญชี ดูแลการตลาดของธุรกิจ  ดูแลเรื่องสวัสดิการต่าง ๆ ของพนักงานร้านอาหาร จะเห็นได้ว่าทีมงานครัวมีหน้าที่สำคัญคือการผลิต แต่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การปรุงอาหาร แต่ยังมีหน้าที่ครอบคลุมไปถึงการกำหนดคุณภาพ การจัดสรร ควบคุมต้นทุน และช่วยส่งเสริมงานบริการหน้าร้าน ในขณะเดียวกันทีมงานหลังร้านก็ยังรวมไปถึงแผนกสนับสนุน ที่เตรียมความพร้อมด้านการเงิน การบริหารบุคคล บัญชีและการตลาดด้วย หากขาดระบบที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของสองทีมหลักนี้ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.