กลยุทธ์การตั้งราคา ทำอย่างไร ให้ลูกค้ารู้สึกว่า “คุ้ม” - Amarin Academy

กลยุทธ์การตั้งราคา ทำอย่างไร ให้ลูกค้ารู้สึกว่า “คุ้ม”

กลยุทธ์การตั้งราคา ทำอย่างไร ให้ลูกค้ารู้สึกว่า “คุ้ม”

เคยไหม? ตั้งใจจะไปซื้อของหรือเข้าร้านอาหาร พร้อมตั้งงบไว้จำกัด แต่พอไปถึงร้านกลับเจอราคาที่รู้สึกว่า ถ้าไม่ซื้อจะถือว่าพลาดมากๆ รู้ไหมว่า นั่นเป็นเพราะเจ้าของร้านใช้ กลยุทธ์การตั้งราคา ที่ทำให้เรารู้สึกว่าคุ้มค่า แม้ต้องเสียเงินเพิ่ม กลยุทธ์นี้มีหลากหลาย วันนี้เราจะขอแชร์ข้อที่น่าสนใจให้ทราบกัน

Decoy pricing กลยุทธ์การตั้งราคาแบบหลอกล่อ

คือการตั้งราคาขึ้นมาราคาหนึ่ง เพื่อให้อีกราคาหนึ่งดูน่าสนใจขึ้น อธิบายอย่างนี้หลายคนอาจจะงง อย่างนั้นไปดูตัวอย่างกันเลยดีกว่า

สมมติคุณกำลังจะไปดูหนัง แล้วต้องการซื้อป็อปคอร์น ปรากฏว่าร้านตั้งราคาไว้ 2 ราคา คือ S 59 บาท และ L 99 บาท คนมักมีแนวโน้มจะซื้อราคา 59 บาทมากกว่า เพราะคิดว่า 99 บาทแพงเกินไป

แต่ถ้าคุณเพิ่มอีก 1 ราคาขึ้นมาคือ M 89 บาท ปรากฎว่าคนจะมีแนวโน้มที่จะซื้อราคา 99 บาทมากขึ้น เพราะคิดว่า เพิ่มอีก 10 บาท ก็จะได้ไซส์ใหญ่แล้ว ดังนั้นการตั้งราคาแบบนี้จึงทำให้ลูกค้าจ่ายเงินให้เราในราคาที่สูงขึ้น โดยที่เขายังรู้สึกว่าคุ้มค่าอยู่

พูดง่ายๆ คือราคากลางที่เราตั้งขึ้นมา ไม่ได้เพื่อให้คนเลือก แต่เพื่อนำเขาให้เลือกซื้อสินค้าในราคาที่เราต้องการนั่นเอง

ตัวอย่างวิดีโอที่น่าสนใจ

Offering 3 options กลยุทธ์ 3 ตัวเลือก

คือการกำหนดราคาขึ้นมา 3 ราคา โดยตั้งใจให้ผู้บริโภคเลือกราคากลางมากขึ้น อย่างร้าน Penguin eat shabu ผมก็ใช้กลยุทธ์นี้เช่นเดียวกัน ตอนที่เปิดร้าน ผมมีราคาบุฟเฟต์แค่ 2 ราคา คือ 359 บาทและ 459 บาท ช่วงแรกคนส่วนใหญ่มักเลือกราคา 359 เป็นหลัก ผมจึงลองตั้งราคา 659 บาทขึ้นมา โดยตั้งใจว่าอยากให้ลูกค้าจ่ายราคานี้สัก 10 กว่าเปอร์เซ็นต์ จ่ายราคา 359 บาทประมาณ 40 กว่าเปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือให้เป็นราคา 459 บาท

ปรากฏว่าพอมีราคา 659 บาท คนกลับเลือกราคา 459 บาท มากที่สุด และหมุนไปกิน 659 บาทด้วย ส่วน 359 บาท คนหายไปเยอะมาก เพราะคนส่วนใหญ่อยากเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้ตัวเองอยู่แล้ว แต่ถ้างบไม่ถึงก็จะเลือกรองลงมา

กลยุทธ์นี้ก็ใช้กับธุรกิจอื่นๆ ได้เช่นกัน เช่น รถยนต์ ที่อาจมีราคาเริ่มที่ 500,000 บาท จนสูงสุดที่รุ่น Top ที่ราคา 8 แสนปลายๆ ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็มักเลือกซื้อรุ่นรอง Top เพราะเป็นราคาที่เขารู้สึกว่าจ่ายแล้วสบายใจ

กลยุทธ์เลข 9 และกลยุทธ์ตั้งราคาเปรียบเทียบ

“39 49 99” กลยุทธ์การตั้งราคาลงท้ายด้วยเลข 9 สุดคลาสสิก นับเป็นกลยุทธ์ที่ใช้กันบ่อยมาก แถมผู้บริโภคก็ยังคุ้นเคย แม้ว่าจะคุ้นเคย แต่โอกาสในการขายก็ยังสูงกว่าการตั้งราคา “40 50 100” อยู่ดี เพราะคนก็ยังรู้สึกว่าราคาไม่แพง แค่ 39 เอง

แต่กลยุทธ์ที่ดีกว่า คือการเขียนราคาเดิมไว้แล้วลดราคาลง เช่น ราคาเดิม 45 บาท แล้วมีป้าย sale ขีดฆ่าราคาเดิม พร้อมกำหนดราคาใหม่เหลือ 40 บาท คนจะเลือกตัวเลือกนี้ทันที เพราะเขาจะรับรู้ว่าสินค้ามีมูลค่า 45 บาท แต่เขาซื้อได้ในราคา 40 บาทเท่านั้น

แต่กลยุทธ์ที่ดีที่สุดคือ  การตั้งราคา 45 บาท แล้วขีดฆ่า เหลือ 39 บาท ลูกค้าจะมีแนวโน้มเลือกข้อนี้มากที่สุด เพราะเขาจะรู้สึกว่าเราลดราคาลงเยอะมาก (จากเลข 4 มาเลข 3 เลยนะ!) โดยกลยุทธ์นี้เป็นวิธีที่ห้างสรรพสินค้านิยมใช้มากๆ เพราะเป็นกลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด (ใครๆ ก็แพ้ของ sale กันทั้งนั้นจริงไหม)

กลยุทธ์ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ สามารถปรับใช้ได้กับทุกธุรกิจ นอกจากจะทำให้ยอดขายของเราดีขึ้นแล้ว ผู้บริโภคยังรู้สึกพึงพอใจและพร้อมจะจ่ายในราคาที่เราตั้งขึ้นมาอีกด้วย

เรื่องแนะนำ

google trends Thai

รู้แนวโน้มตลาดง่ายๆก่อนใคร ด้วยสถิติการค้นหาจาก Google trends

ธุรกิจจะประสบความความสำเร็จได้ไม่ใช่เพราะโชคช่วย แต่เบื้องหลังต้องมีการวางแผนการตลาดที่ดี โดยอาศัยข้อมูลมาวิเคราะห์แนวโน้มความเป็นไปของตลาด และในบทความนี้ เราขอแนะนำเครื่องมือที่จะช่วยสำรวจว่า คนไทยและคนทั่วโลกค้นหาอะไรมากแค่ไหนบนโลกออนไลน์ ด้วย Google Trends บอกสถิติการค้นหาจาก Google ในแง่มุมต่างๆ เพื่อติดตามเทรนด์ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และนำไปใช้การวางแผนการตลาดต่อไป บอกเลยว่าผู้ประกอบธุรกิจไม่ควรพลาด!  รู้แนวโน้มตลาดง่ายๆก่อนใคร ด้วยสถิติการค้นหาจาก Google trends Google Trends คือ ?         Google นั้นเป็นเว็บไซต์ยอดนิยมสำหรับการค้นหาออนไลน์ ทางเว็บไซต์จึงมีข้อมูลจำนวนมากเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่ง Google Trend ก็คือเว็บไซต์สำหรับค้นหาเช่นกัน แต่ผลที่ได้คือข้อมูลทางสถิติ ว่ามีคนค้นหาหัวข้อนั้นๆ ในเว็บไซต์ Google มากน้อยแค่ไหนนั่นเอง  (หน้าสำหรับค้นหาในเว็บไซต์ Google Trends)   เจ้าของธุรกิจจะใช้ Google Trend ให้เป็นประโยชน์อย่างไร ?          สถิติการค้นหาเหล่านี้ก็เป็นข้อมูลที่เราสามารถใช้วิเคราะห์ ดูแนวโน้มและคาดการณ์ทางธุรกิจได้ หรือแม้แต่ดูการรับรู้แบรนด์ของร้านอาหาร ว่ามีผู้บริโภคที่รู้จักหรือสนใจมากน้อยเพียงใด          ตัวอย่างที่ชัดเจนของผู้บริโภคที่สังเกตได้จากข้อมูลใน Google Trend ก็คือ พฤติกรรมการออกไปทานอาหารนอกบ้าน เมื่อดูข้อมูลการค้นหาคำว่า “ร้านอาหาร” และ […]

เพิ่มยอดขายร้านอาหาร

วิธี เพิ่มยอดขายร้านอาหาร จากลูกค้าที่มาคนเดียว

การที่ลูกค้ามาคนเดียว สั่งอาหารแค่จานเดียว หมายถึงยอดขายของคุณย่อมน้อยลง เราจึงขอแชร์วิธี เพิ่มยอดขายร้านอาหาร จากลูกค้าที่มาคนเดียว ให้รู้กัน

สร้างแบรนด์

5 หลัก สร้างแบรนด์ สู่ร้านอาหารที่มีคน follow หลักล้าน!

ทุกวันนี้ใครๆ ก็พูดถึงเรื่องการ สร้างแบรนด์ เพื่อทำให้ตัวเองแตกต่างจากคู่แข่ง แต่ร้านอาหารควรจะสร้างแบรนด์อย่างไร เรามีหลักการง่ายๆ มาแนะนำ

Bartercard

Bartercard ทางเลือกคนทำธุรกิจ ช่วยเพิ่มยอดขาย ค่าใช้จ่ายลด

กุญแจสำคัญในการเติบโตของธุรกิจ คือ ยอดขายที่เพิ่มขึ้นและค่าใช้จ่ายที่ลดลง ดังนั้น ในยุคปัจจุบันนี้จึงมีวิธีทำการตลาดมากมาย ที่เข้ามาเป็นตัวช่วยหรือทางเลือกในการทำกำไร และช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายให้ธุรกิจของคุณ ซึ่ง Bartercard ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจของคนทำธุรกิจ ที่จะมาช่วยผู้ประกอบการในการเพิ่มยอดขาย ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย แล้วBartercard คืออะไร จะเข้ามาช่วยผู้ประกอบการได้อย่างไรบ้าง เรามีคำตอบค่ะ   Bartercard ทางเลือกใหม่คนทำธุรกิจ ระบบBartercard (บาร์เทอร์คาร์ด) คือ ตลาดการค้าที่ประกอบไปด้วยผู้ถือบัตรกว่า 35,000 นักธุรกิจ เพื่อทำการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกันโดยไม่ใช้เงินสด โดยมุ่งหวังให้เกิดความร่วมมือ และการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกัน ปัจจุบันมีนักธุรกิจเข้าร่วมในระบบนี้ถึง 9 ประเทศ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือประเทศไทยด้วย สำหรับระบบการทำงานของบาร์เทอร์คาร์ดนั้น เป็นการพัฒนาการแลกเปลี่ยนซึ่งเคยเกิดขึ้นในสมัยก่อน ที่เป็นการแลกเปลี่ยนสินค้ากันโดยตรง แต่การแลกเปลี่ยนโดยตรงแบบเดิมนั้น ก็มีอุปสรรคอยู่ที่ความต้องการในการแลกเปลี่ยนอาจจะไม่ตรงกันในขณะนั้น ทำให้ไม่เกิดการแลกเปลี่ยนกันขึ้น ดังนั้น บาร์เทอร์คาร์ด จึงได้มีการพัฒนาหน่วยเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า “เทรดบาท” ขึ้นมา 1 เทรดบาท จะเท่ากับ 1 บาท เปรียบเสมือนคุณมีบัญชีธนาคาร โดยสามารถใช้จ่ายในการซื้อสินค้าได้จากยอดเงินคงเหลือจากการขายสินค้าของคุณ หรือวงเครดิตปลอดดอกเบี้ยที่ได้รับจากบาร์เทอร์คาร์ด ข้อดีของ Bartercard คืออะไร? 1. […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.