4 สัญญาณเตือนที่บอกว่า คุณกำลังมี ปัญหากับหุ้นส่วน - Amarin Academy

4 สัญญาณเตือนที่บอกว่า คุณกำลังมี ปัญหากับหุ้นส่วน

4 สัญญาณเตือนที่บอกว่า คุณกำลังมี ปัญหากับหุ้นส่วน

“ถ้าไม่อยากเสียเพื่อน อย่าริทำธุรกิจกับเพื่อน” คำเตือนจากหลายๆ คน เมื่อการทำธุรกิจกับเพื่อนไม่ได้เป็นไปอย่างที่คิด อะไรคือสัญญาณเตือนก่อนที่จะเกิด ปัญหากับหุ้นส่วน และบอกคุณว่า ถึงเวลาแล้วที่คุณกับหุ้นส่วนจะต้องจับเข่าคุยกันเสียที ก่อนที่แตกคอกันจนมองหน้าไม่ติด

1. ละเลย

การสื่อสารอย่างเข้าใจ เป็นสิ่งสำคัญในทุกความสัมพันธ์ ผมไม่ได้หมายถึงแค่ ความสัมพันธ์ระหว่างคุณ กับหุ้นส่วน แต่การสื่อสารใช้ได้ทั้งสามี-ภรรยา พ่อแม่-ลูก เจ้านาย-ลูกน้อง โดยเฉพาะทั้งเขาและคุณ มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมาก่อน การพูดคุยกันเป็นปัจจัยหลัก ที่ทำให้ทุกความสัมพันธ์สามารถเดินหน้าต่อ การพูดคุยไม่ได้จำกัดแค่ว่า ต้องเป็นประเด็นสำคัญ ที่ทำให้เกิดผลกระทบกับคุณ หรือ ธุรกิจของคุณ แต่อีกสิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึง คือ ปัญหาเล็กๆ รายละเอียดยิบย่อย ที่คุณเองมองข้าม แต่อาจจะเป็นเรื่องที่หุ้นส่วนของคุณมอง เป็นเรื่องใหญ่สำหรับเขาก็ได้

หลายครั้งที่ปัญหาต่างๆ ไม่สามารถแก้ได้ด้วยใครคนใดคนหนึ่ง การแก้ปัญหาด้วยกัน คิดด้วยกัน ก็มักจะมีประสิทธิภาพมากกว่า คุณลงเรือลำเดียวกับเพื่อนแล้ว เวลาเรือรั่ว คงไม่ใช่หน้าที่ใครคนใดหนึ่ง ที่ต้องคอยตักน้ำออก แต่ทว่าอีกคนควรช่วยตัก อีกคนหาทางอุดรอยรั่ว เรือก็คงไม่มีทางจมแน่นอนครับ หากใครคนใดคนนึงมองข้าม บวกกับอีกคนหนึ่งไม่พูด กลายเป็นว่า ทั้งคุณและเพื่อนเองรอเวลาให้ปัญหามันสะสมไปเรื่อยๆ จนเกินแก้ไข ฉะนั้นการสื่อสารถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการทำธุรกิจร่วมกับคนอื่นครับ

2. บทบาทหน้าที่ไม่ชัดเจน

ในการทำธุรกิจ คุณเองอาจจะเป็นคนที่ทำหน้าที่ทุกอย่าง หรือ คุณเองอาจจะไม่ได้รับผิดชอบอะไรมากนัก ปล่อยให้งานหลักเป็นหน้าที่ของหุ้นส่วน แต่แท้จริงแล้ว คุณจะต้องแบ่งหน้าที่การทำงานให้ชัดเจน ว่าใครรับผิดชอบเรื่องอะไร เชื่อเถอะครับว่า ไม่มีใครอยากโดนเอาเปรียบ ด้วยการทำงานมากกว่าอีกคน แต่คาดหวังที่จะได้ผลตอบแทนเท่าๆ กัน สิ่งหนึ่งที่สำคัญ ตั้งแต่เริ่มทำธุรกิจ คือ หาหุ้นส่วนที่มีวิสัยทัศน์เหมือนกัน มองธุรกิจในอนาคตไปในทิศทางเดียวกัน และมีความสามารถ หรือความรู้ที่เกื้อหนุนกัน ทำได้โดย ดูจากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาของแต่ละคน คุณอาจจะเก่งเรื่องการตลาด เก่งในด้านการขาย เหมาะกับการพบปะลูกค้า ในขณะเดียวกันหุ้นส่วนของคุณ อาจจะมีประสบการณ์ในการทำบัญชี เก่งในเรื่องการเงิน และตัวเลขมากกว่าคุณ การแบ่งหน้าที่การทำงานก็จะง่ายขึ้น เพราะคุณเองก็รู้อยู่แล้วว่าหน้าที่ไหน ที่ใครจะสามารถจัดการได้ดีกว่า แถมยังเป็นการนำความรู้เฉพาะทาง ของแต่ละคนมาช่วยกันทำธุรกิจด้วยครับ

ข้อควรระวังคือ การแบ่งงานที่ไม่สำคัญให้กับอีกคน ก็อาจจะทำให้เกิดการอิจฉา และทำให้เขารู้สึกเป็นส่วนเกินได้ การแบ่งงาน สามารถแบ่งตามเงินลงทุนก็ได้ เช่น ลงทุนมาก ความรับผิดชอบก็มากขึ้นครับ เพราะเท่ากับว่าคุณได้ผลตอบแทนมากกว่า และต้องรักษาผลประโยชน์ของตัวเองมากกว่าคนที่ลงทุนน้อย ส่วนนี้ต้องเคลียร์กันให้ชัดเจนเลยครับ

3.ไม่ไว้ใจ

หุ้นส่วน ควรจะเป็นคนช่วยที่ทำให้การตัดสินใจในเรื่องต่างๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น ถ้าการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ทำโดยใครคนใดคนหนึ่งเป็นส่วนใหญ่ นั่นหมายความว่า เขาไม่วางใจที่จะให้อีกฝ่ายตัดสินใจอะไรเลย อย่างไรก็ตาม ไม่มีมาตรฐานวัดว่า การตัดสินใจแบบไหนที่เรียกว่าดี เพราะสุดท้ายแล้วก็ไม่มีใครรู้ว่า ตัดสินใจออกไปแล้ว ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ ไม่ว่าจะเรื่องอะไร คุณกับหุ้นส่วนจะต้องเห็นพ้องต้องกัน เวลาผลลัพธ์ออกมาไม่ดี ก็จะได้ไม่ต้องโทษกันและกัน และอีกอย่างหนึ่งที่คนทำธุรกิจก็ต้องพึงเอาไว้ คือ ไม่แปลกเลยครับ ที่จะมีความคิดเห็นไม่ตรงกันบ้าง แค่คุณต้องหาวิถีประนีประนอมให้ได้ หากหุ้นส่วนมากกว่าสอง เวลาตัดสินใจเรื่องอะไรก็ง่ายหน่อยครับ ใช้การโหวตดูคะแนนเสียงฝั่งมาก ถ้าทำกันสองคนแล้วตกลงกันไม่ได้สักที คงต้องคุยกันให้มากครับ วิเคราะห์ทั้งความเสี่ยง และ ข้อดีก่อนที่จะตัดสินใจ

4. แยกแยะไม่เป็น

งานก็คืองาน เพื่อนก็คือเพื่อน เสร็จงาน ความเป็นหุ้นส่วน หรือ เจ้านายกับลูกน้อง ก็คือจบครับ ทะเลาะกันเรื่องงาน  พอนอกเวลาก็คุยกันแบบเพื่อนได้ คอนเซ็ปต์ในฝันสำหรับคนที่อยากทำธุรกิจกับเพื่อนเลยครับ ถ้าคุณแยกเรื่องต่างๆ ได้ชัดเจนแบบนี้ คุณตัดปัญหาเรื่องเสียเพื่อนได้แน่นอน แแต่เรื่องจริงมันไม่ได้ง่ายอย่างที่คิดสิครับ เมื่อการทำงานเริ่มมีอารมณ์เข้ามาเกี่ยว มีปัญหากันเรื่องงาน ก็ลามไปถึงความสัมพันธ์ส่วนตัว กลายเป็นว่าเรื่องงานก็คุยไม่รู้เรื่อง เรื่องส่วนตัวก็คุยกันไม่ได้ เผลอๆ กลายเป็นทะเลาะกันใหญ่โต ทั้งงานทั้งความสัมพันธ์ พังทั้งคู่ครับ ถ้าคุณยังให้อารมณ์มาเหนือกว่าเหตุผล การทำธุรกิจกับเพื่อนตัดไปก่อนได้เลยครับ ในทางกลับกันถ้าหุ้นส่วนแยกแยะไม่ได้ คุณควรพิจารณาได้แล้วครับว่าควรแก้ปัญหายังไง ควรตัดไฟตั้งแต่ต้นลม ก่อนที่คุณจะเสียทั้งเพื่อนและเสียทั้งงานหรือไม่

อีกอย่างหนึ่งที่อยากแนะนำครับ คือ ทำทุกอย่างให้เป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งสัญญาการร่วมลงทุน สัดส่วนการถือหุ้น ชี้แจ้งเงินลงทุนให้ชัดเจน รายรับ-รายจ่าย บันทึกให้เป็นกิจจะลักษณะครับ เวลามีปัญหาอะไร จะได้เคลียร์กันง่ายๆ โดยเฉพาะเรื่องเงิน อย่าคิดว่าเป็นเพื่อนกันไว้ใจกันได้ การทำธุรกิจคือ การลงทุนในความเสี่ยง ทั้งเรื่องเงิน เรื่องความสัมพันธ์ ฉะนั้นควรจัดการเรื่องนี้ให้ดีครับ

การเลือกหุ้นส่วนทางธุรกิจ ผมว่าคล้ายกับการเลือกหุ้นส่วนชีวิต ความสัมพันธ์ของคุณจะยืดยาวหรือไม่ ก็มาจากตัวเองคุณเองด้วย แม้จะเลือกถูกแล้ว มีผิดใจบ้างก็คงเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าเราอยู่บนพื้นฐานความเข้าใจ เข้าใจบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบของตัวเอง ลองสังเกตว่าอะไรที่ควรแก้ อะไรที่ยอมกันได้ อะไรที่ควรเปลี่ยน แค่นี้ก็ทำให้ธุรกิจเดินไปข้างหน้าได้แล้วครับ

บทความที่น่าสนใจ เมื่อ การเงินในธุรกิจ มีปัญหา ต้องจัดการอย่างไร? วิธีการจัดการเบื้องต้น เมื่อระบบการเงินในธุรกิจเริ่มฝืดเคือง รายรับรายจ่ายไม่สมดุลกัน

เรื่องแนะนำ

เจ้าของร้านจิวเวลรี่แชร์ ทำอาหารต้องถอดเครื่องประดับ! แหล่งสะสมเชื้อโรค มาตรฐานที่คนทำอาหารควรให้ความสำคัญ

ถอดบทเรียน เจ้าของร้านจิวเวลรี่แชร์ ทำอาหารอย่าลืมถอดเครื่องประดับ! เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคชั้นดี มาตรฐานความปลอดภัย ที่คนทำอาหารควรให้ความสำคัญ เวลาทำอาหารอย่าลืมถอดเครื่องประดับ!!! รู้หรือไม่ว่าเครื่องประดับที่เราใส่ ๆ กันอยู่ทุกวันเนี่ย เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคชั้นดีเลยนะ วันก่อนแอดได้เห็นโพสต์ที่เจ้าของร้านจิวเวลรีคนหนึ่งได้มาแชร์เป็นอุทาหรณ์ให้กับสมาชิกในกลุ่ม “เบเกอรี่พอเพียง” ถึงเรื่องการใส่เครื่องประดับทำขนมว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ โดยเฉพาะการใส่แหวน เพราะว่ามันสกปรกมาก อีกทั้งยังได้ส่งผลต่อภาพลักษณ์เรื่องความสะอาดของอาหารและร้านนั้น ๆ ด้วย 🔸แหล่งสะสมเชื้อโรค🤢 เจ้าของร้านจิวเวลรี่รายนี้ได้โพสต์ถึงประเด็นนี้ว่า “ว่ากันด้วยเรื่องของการใส่แหวนในการทำเบเกอรี่ ในฐานะของเจ้าของร้านจิวเวลรี่ อยากจะบอกทุกคนว่าให้ถอดก่อนทำเถอะค่ะ เพราะแหวนที่เราเห็นว่าสวยวิบวับเนี่ย ด้านในท้องแหวนหรือตามซอกเตยที่เกาะเพชร มันสกปรกมากเลยนะคะ เวลาเห็นคนที่ไลฟ์สดหรืออาจารย์ที่สอนตามคอร์สออนไลน์ใส่แหวนทำแล้วนี่รู้สึกไม่ดีทุกครั้ง เพราะเจอเวลาลูกค้าส่งแหวนมาทำความสะอาด มันไม่โอเคจริงๆ ค่ะ แล้วถ้าแม่ค้าใส่แหวนด้วยความเคยชินไม่ได้ถอด นึกภาพกันออกมั้ยคะว่าเรากำลังกินเชื้อโรคและสิ่งสกปรกเข้าไปอยู่ แม้มันจะผ่านความร้อนแล้วก็ตาม” พร้อมเสริมว่า “การทำความสะอาดแหวนทุกวันไม่ได้การันตีว่าแหวนเราจะสะอาดหมดจด เพราะตามซอกหลืบเล็กที่แปรงเข้าไม่ถึงยังมีเชื้อโรคที่สะสมอยู่ต้องทำความสะอาดด้วยเครื่องอัลตร้าโซนิค เครื่องใหญ่แบบที่ใช้ในโรงงานเท่านั้น ถึงจะสะอาดจริง ๆ ซึ่งเธอยังได้บอกอีกว่าการมาโพสต์ในครั้งนี้ไม่ได้มีเจตนาโจมตีใคร หากทำให้ท่านใดรู้สึกเห็นต่าง หรือไม่พอใจก็ขออภัย ณ ที่นี้ด้วย 🔸ความเห็นจากชาวเน็ต💬 เมื่อเรื่องนี้ออกไปก็ได้มีสมาชิกกลุ่มเบเกอรี่พอเพียงทั้งคนขายและลูกค้าต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องนี้ โดยส่วนใหญ่เห็นด้วยกับเจ้าของโพสต์ว่าการใส่เครื่องประดับทำอาหารเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ ซึ่งคนทำเบเกอรีหลายคนก็ได้บอกว่าตั้งแต่ทำขนมขายก็ไม่ได้ใส่เครื่องประดับเลย ด้วยเหตุผลต่าง ๆ เช่น ความถนัด ความสะอาด เป็นต้น […]

เบื้องหลัง การทำร้านกาแฟ กับดักที่คุณอาจจะไม่เคยรู้

ปัจจุบันร้านกาแฟกลายเป็นสินค้าที่ขายไลฟ์สไตล์มากกว่าแค่เครื่องดื่ม ลูกค้าจึงต้องการมากกว่ารสชาติ แต่ต้องการประสบการณ์การดื่มที่ดีด้วย ไม่ว่าคุณจะ ทำร้านกาแฟ ร้านเล็กๆ หรือร้านกาแฟที่ติดตลาดมีลูกค้าขาประจำ ก็อาจพลาดท่าเสียทีกับดักเหล่านี้ได้เหมือนกัน มาดูกันว่า อะไรบ้างที่ทำให้ร้านกาแฟไม่โตได้อย่างที่หวัง เบื้องหลังการ ทำร้านกาแฟ กับดักคุณที่อาจจะไม่เคยรู้ กับดัก…ลูกค้า เมื่อเร็ว ๆ นี้ เกิดกรณีเจ้าของร้านกาแฟไล่ลูกค้า เนื่องจากลูกค้านั่งนาน ทำให้เกิดความเห็นแตกต่างกันจากหลายฝ่าย ทั้งฝ่ายที่โทษลูกค้าว่าเอาเปรียบร้าน และอีกฝ่ายที่โทษร้านว่าใจแคบและโต้ตอบกับลูกค้าเกินกว่าเหตุ คำถามคือ คุณจะทำอย่างไรหากสถานการณ์นี้เกิดขึ้นกับร้านของคุณ คำตอบก็คือ การบริหารจัดการลูกค้า ที่ทำให้หลายร้านติดกับดัก.. ในความเป็นจริงเราไม่สามารถกำหนดว่า ลูกค้าต้องซื้อเครื่องดื่มขั้นต่ำเท่าไหร่ นั่งได้ครั้งละกี่ชั่วโมงเสมอไป โดยเฉพาะร้านกาแฟดี ๆ ย่อมหลีกเลี่ยงกรณีแบบนี้ได้ยาก แต่คุณสามารถทำได้ 3 อย่าง คือ       1. การเรียนรู้พฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงว่าเป็นอย่างไร       2. การออกแบบการบริการที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายและทำให้ขายสินค้าได้มากขึ้น       3 .การจัดการเมื่อเกิดปัญหาด้านบริการ  เพราะฉะนั้นในกรณีที่ลูกค้ากลุ่มหลัก เป็นกลุ่มที่มาใช้ร้านกาแฟเพื่อนั่งทำงานระยะเวลา 2-3 […]

สูตรลับทำร้านอาหารอย่างเป็นระบบ…บริหารง่าย กำไรพุ่ง

สูตรลับที่ 1 :  จัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงาน SOP  (Standard operating procedure) การจัดการร้านอาหารให้มีประสิทธิภาพ จะต้องมีการกำหนดมาตรฐานและจัดทำเอกสารเพื่อควบคุมทุกอย่างให้ดี SOP นั้นมีหลายหัวข้อที่จะต้องกำหนด เช่น หัวข้อการบริการ, การเสิร์ฟอาหาร  , การรับ order ,  การต้อนรับลูกค้า ควรมี SOP สำหรับการจัดการเมนูอาหาร  เพื่อควบคุมมาตรฐานของรสชาติ และการบริหารจัดการวัตถุดิบที่ดี แก้ไขปัญหารสชาติที่ไม่นิ่ง ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะเมื่อคุณกำลังจะขยายสาขา มาตรฐานการปฏิบัติงาน ยังหมายรวมถึง การจัดทำ Job Description ของพนักงาน การกำหนดตำแหน่งงาน หน้าที่ความรับผิดชอบ ซึ่งจะช่วยให้การทำงานเกิดระบบ และสามารถวางแผนเรื่องกำลังคนได้ สุดท้ายคือ ระบบ Point of Sales (POS)  การจัดการด้านแคชเชียร์ ซึ่งในปัจจุบันมีฟังค์ชั่นการใช้งานที่ช่วยสนับสนุนการจัดการร้านอาหารที่ค่อนข้างครอบคลุม โดยเฉพาะการคำนวณต้นทุน การจัดเก็บข้อมูลลูกค้าซึ่งถือเป็นประโยชน์สำหรับการทำการตลาดร้านของคุณอีกด้วย   สูตรลับที่ 2  : ระบบการจัดการในครัว             ร้านอาหารจะไม่มีทางประสบความสำเร็จเลย หากขาดระบบครัวที่มีประสิทธิภาพ […]

ลดต้นทุน เพิ่่มกำไร

ลด ต้นทุน อย่างมืออาชีพ เพิ่มกำไรให้ร้านอาหารสูงสุด

หัวใจของการลด ต้นทุน ในร้านอาหาร อยู่ที่การจัดการกับวัตถุดิบ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกซื้อวัตถุดิบ ขั้นตอนการเตรียมและปรุงอาหาร แม้จะเป็นงานที่ต้องอาศัยความละเอียดรอบคอบ แต่เจ้าของร้านไม่ควรละเลย เพราะช่วยลดต้นทุน และเพิ่มกำไรให้กับร้านได้จริง โดยไม่ต้องขึ้นราคาอาหารให้ลูกค้าหนีไปไหน  ลด ต้นทุน อย่างมืออาชีพ เพิ่มกำไรให้ร้านอาหารสูงสุด หากร้านของคุณยังมีปัญหาต้นทุนอาหารสูง วัตถุดิบขาดสต๊อกจนไม่พอขาย หรือมากเกินไปจนใช้ไม่ทัน จัดเก็บวัตถุดิบไม่ดีจนบางส่วนเน่าเสีย หรือลืมใช้วัตถุดิบจนหมดอายุ ทั้งหมดนี้เป็นเงินทุนของเราที่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ทั้งนั้น ลองเอาวิธีการลดต้นทุนร้านอาหารเหล่านี้ไปปรับใช้ดูนะครับ ใส่ใจการจัดการวัตถุดิบอาหาร เรียงลำดับการใช้วัตถุดิบ ทำ Tracking number หรือจัดเรียงวัตถุดิบแบบ FIFO (First In First Out) ให้วัตถุดิบที่หมดอายุเร็วกว่าให้ถูกหยิบไปใช้ก่อน ป้องกันไม่ให้วัตถุดิบเสื่อมคุณภาพหรือหมดอายุ สร้างมาตรฐานการปฏิบัติงาน (SOP) เช่น สเต็กหนึ่งจาน จะใช้เนื้อปริมาณกี่กรัม เพื่อเตรียมแบ่งวัตถุดิบเนื้อเป็นไซส์เท่าที่ต้องการเท่า ๆ กันไว้ให้พร้อมใช้งาน ช่วยควบคุมต้นทุนอาหาร และมาตรฐานของอาหารแต่ละจานให้คงที่ ทำให้เจ้าของร้านวางแผนได้คร่าวๆ ว่าควรสต๊อกวัตถุดิบไว้เท่าไหร่ และคำนวณต้นทุนได้ง่ายขึ้น   ปรับปริมาณอาหารให้เหมาะสม อาหารในแต่ละเมนูควรจะเสิร์ฟในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งสังเกตจากปริมาณอาหารที่เหลือกลับมาในแต่ละเมนู ถ้าจานไหนมีอาหารเหลือบ่อยๆ อาจจะปรับปริมาณให้เหมาะกับการทานมากขึ้น หลักการปรุงแบบ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.