POS คืออะไร สำคัญอย่างไรกับร้านอาหาร - Amarin Academy

POS คืออะไร สำคัญอย่างไรกับร้านอาหาร

POS คืออะไร สำคัญอย่างไรกับร้านอาหาร

เชื่อว่าเจ้าของร้านอาหารมือใหม่ (หรือมือเก๋า) หลายๆ คน คงเคยได้ยินคำว่า POS กันมาบ้าง แต่บางคนอาจจะยังไม่เข้าใจว่า POS คืออะไร สำคัญอย่างไรกับร้านอาหาร หรือจำเป็นต้องมีหรือไม่ วันนี้เราจะอธิบายให้ฟังครับ

POS คืออะไร

POS หรือ Point of Sale System คือ ระบบที่ช่วยในการเก็บข้อมูลการขาย รวมทั้งบันทึกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นสำหรับสินค้าและบริการ

ระบบ POS นี้ พัฒนามาจากเครื่องคิดเงิน ที่ปกติจะทราบเพียงยอดขายเท่านั้น แต่เมื่อมีการพัฒนา เขียนโปรแกรมเพิ่มเติมเข้าไป ก็สามารถใช้งานอื่นๆ ได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการตัดสต็อกสินค้า มีระบบสมาชิก ตรวจสอบยอดขาย สินค้าไหนขายดี สินค้าใดขายไม่ได้ เป็นต้น

ระบบ POS ที่เราเห็นบ่อยๆ มักอยู่บริเวณแคชเชียร์ในร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า (ต่อพ่วงกับเครื่องสแกนบาร์โค้ช) รวมถึงร้านอาหารด้วย

หลักการทำงานของ POS ก็ไม่ซับซ้อน โดยจะขอยกตัวอย่างการทำงานง่ายๆ ดังนี้ เช่น เมื่อลูกค้าสั่งอาหาร พนักงานจะคีย์ข้อมูลออร์เดอร์เข้าระบบเพื่อส่งไปยังห้องครัว ระบบจะบันทึกออร์เดอร์นั้นไว้ เมื่อลูกค้าจ่ายเงิน ระบบก็จะตัดสต็อกสินค้า หรือวัตถุดิบโดยอัตโนมัติ เมื่อปิดร้านเจ้าของร้านก็สามารถตรวจสอบจากการบันทึกของระบบได้ทันทีเลยว่า ยอดขายวันนี้เป็นเท่าไร ตรงกับเงินในลิ้นชักหรือเปล่า ใช้วัตถุดิบไปเท่าไร ตรงกับสต็อกที่เหลือหรือไม่ (ฉะนั้นจึงป้องกันการโกงของพนักงานได้ด้วย)

ร้านอาหารจำเป็นต้องใช้ POS หรือไม่

ก่อนจะตอบคำถามว่าร้านอาหารจำเป็นต้องใช้หรือไม่ มาดูข้อดีและข้อเสียของการใช้ระบบ POS ก่อนดีกว่า

  • เจ้าของร้านทราบยอดขายในแต่ละวันได้อย่างรวดเร็ว และ real-time แม้ไม่ได้อยู่ที่ร้าน ก็สามารถเช็คยอดขายผ่านระบบได้
  • เจ้าของร้านสามารถเช็คได้ว่าเมนูไหนขายดี เมนูไหนขายไม่ได้ ได้ตลอดเวลา
  • ไม่ต้องกลัวของหาย ไม่ต้องกลัวเงินรั่วไหล เพราะระบบบันทึกทุกอย่างไว้แล้ว
  • สะดวก รวดเร็ว ช่วยให้บริการลูกค้าได้เร็วขึ้น ไม่ต้องเสียเวลานั่งคิดเงินทีละโต๊ะ
  • ตรวจสอบได้ว่าในแต่ละเดือน ใช้วัตถุดิบแต่ละชนิดโดยเฉลี่ย ปริมาณเท่าใด จะได้สั่งซื้อได้ทันเวลา
  • ตรวจสอบปริมาณวัตถุดิบได้อย่าง Real time ถ้าใกล้หมด ก็สั่งซื้อได้
  • ช่วยในการวางแผนทำโปรโมชัน (หากเมนูไหนขายไม่ค่อยดี หรือวัตถุดิบชนิดใดเหลือเยอะ ก็สามารถนำมาจัดโปรโมชั่นได้)

ฯลฯ

แต่แน่นอนว่าเมื่อมีข้อดี ก็ต้องมีข้อด้อยเช่นกัน

  • ต้องจ่ายเงินซื้อระบบ ซึ่งมีทั้งแบบซื้อขาดและจ่ายเป็นรายเดือน (ระบบที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายจะมีข้อจำกัดในการใช้งาน)
  • มีโอกาสที่ระบบจะล่ม และทำให้การดำเนินการของร้านหยุดชะงักได้
  • พนักงานจะคุ้นเคยกับการทำงานแบบ POS หากระบบล่ม อาจแก้ไขปัญหาไม่ได้

กำหนดสัดส่วนวัตถุดิบ

ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญที่สุด ที่จะทำให้ POS แสดงผลลัพท์ที่แม่นยำ คือตัวเจ้าของร้านเองต้องแจกแจงรายละเอียดเกี่ยวกับเมนูแต่ละเมนูโดยละเอียด เช่น เมนูข้าวหน้าหมูทอด 1 จาน ราคา 150 บาท ต้องแจกแจงว่า 1 จาน ใช้หมูกี่กรัม ข้าวกี่กรัม น้ำจิ้มกี่กรัม ผักตกแต่งจานกี่กรัม เป็นต้น หากร้านคุณมี 100 เมนู ก็ต้องแจกแจงให้ได้ 100 เมนู จึงถือว่าเป็นงานที่หนักพอสมควรเลยทีเดียว โดยข้อมูลที่แจกแจงนี้ จะใช้เป็นฐานข้อมูลให้ระบบนำไปใช้ตัดสต็อกและเช็คยอดขายได้

ลองชั่งน้ำหนักระหว่างข้อดีและข้อเสียดูนะครับ แล้วตรวจสอบความว่าร้านอาหารของคุณจำเป็นต้องใช้ระบบ POS หรือเปล่า

ทุกวันนี้มีระบบ POS ให้เลือกใช้เยอะมากมาย โดยลักษณะการใช้งาน หน้าตาโปรแกรมจะแตกต่างกันออกไป รวมทั้งมี function การใช้การที่แตกต่างกันด้วย ฉะนั้นเจ้าของร้านอาหารลองเลือกเจ้าที่เหมาะสมกับตัวเองดู แล้วจะรู้ว่าเทคโนโลยีนี้ช่วยคุณได้จริงๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง เทคโนโลยีสำหรับร้านอาหาร ‘Mobile Order’

เรื่องแนะนำ

เรียนรู้นิสัยของทำเล ก่อนตัดสินใจเช่าพื้นที่

ย่านออฟฟิศ สำนักงาน (Office area) ทำเลย่านออฟฟิศ สำนักงานเป็นทำเลที่มีกลุ่มลูกค้าชัดเจนคือ พนักงานออฟฟิศ แต่อาจมีกำลังซื้อแตกต่างกันในแต่ละทำเล ยิ่งเป็นทำเลที่อยู่ใจกลางเมืองอย่าง สาทร สีลม อโศก ฐานรายได้เฉลี่ยของกลุ่มลูกค้าก็อาจจะมากขึ้น ค่าเช่าก็อาจจะสูงขึ้นตามไปด้วย ทำให้ราคาขายของร้านอาหารจะสูงกว่าย่านออฟฟิศสำนักงานที่อยู่ถัดออกมา เช่น ย่านพหลโยธิน ทาว์อินทาวน์ หรือแจ้งวัฒนะ ทำให้ร้านอาหารที่อยู่ในทำเลออฟฟิศ สำนักงานในเมืองส่วนใหญ่ จึงเป็นร้านที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก แต่มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคน (Check Average) ที่สูงกว่าย่านออฟฟิศสำนักงานนอกเมือง วันธรรมดา ช่วงเช้า – อาจจะขายแบบ Grab and go ได้ ถ้าทำเลตรงนั้นเป็นทำเลที่อยู่ในหรือใกล้อาคารสำนักงาน  หรืออาจจะอยู่ระหว่างสถานีรถไฟฟ้ากับอาคารสำนักงาน เพราะพนักงานออฟฟิศโดยมากมักจะซื้อก่อนขึ้นไปทำงานตอนเช้า ช่วงกลางวัน – จะขายดีช่วง 11.30 – 13.30 น. โดยอาหารอาจจะต้องเป็นประเภทที่ใช้เวลาปรุงไม่นาน เพื่อที่ทางลูกค้าจะได้รีบทานและรีบกลับไปทำงาน ในอีกมุมหนึ่งก็จะทำให้ร้านอาหารสามารถทำรอบ ได้มากขึ้นด้วย ช่วงเย็น – ช่วงเวลาหลังเลิกงานคือ 17.30 – 20.00 น. […]

สร้างเสน่ห์ร้านอาหาร ให้ลูกค้าไหลมาเทมา

ร้านอาหารบางร้าน ตั้งอยู่ในทำเลที่ไม่สะดวกต่อการเดินทางไปที่ร้าน แต่ก็ยังมีลูกค้าพยายามไปตามหาเพื่อไปกินให้ได้ หรือมีลูกค้าไปนั่งรอกินเป็นวันๆได้ นั่นเป็นเพราะร้านอาหารเหล่านี้มีเสน่ห์ดึงดูด ที่สามารถเรียกความสนใจลูกค้าได้มากพอ ซึ่งร้านของคุณก็สามารถทำได้เช่นกัน มาดูกันว่าจะมีวิธีใดบ้างที่จะช่วย สร้างเสน่ห์ร้านอาหาร ของคุณให้มีลูกค้าหลั่งไหลเข้ามา   สร้างเสน่ห์ร้านอาหาร ให้ลูกค้าไหลมาเทมา ‘จุดเด่น’ ที่มีแค่คุณเท่านั้นที่ให้ลูกค้าได้             เมนูซิกเนเจอร์ ไม่ใช่เมนูอะไรก็ได้ที่ร้านของคุณทำอร่อย แต่ต้องเป็นเมนูที่โดดเด่นพอที่ลูกค้าจะต้องสั่งทุกโต๊ะ หรือดั้นด้นมากิน เพราะฉะนั้นถ้าคุณขายแซลมอน แล้วเมนูซิกเนเจอร์เป็นแซลมอนคุณภาพดี อาจจะทำให้ร้านของคุณไม่ได้แตกต่างเมื่อเทียบกับร้านอาหารญี่ปุ่นเหมือนกัน วิธีสร้างจุดเด่นก็คือ สร้างเสน่ห์ให้กับเมนูนั้น ไม่ว่าจะเป็นการคิดค้นเมนูที่แปลกใหม่ รูปแบบการจัดจาน รูปแบบการเสิร์ฟ ชื่อของเมนู รวมถึงเรื่องราวที่คุณเล่าเกี่ยวกับเมนูนั้น ๆ เช่น กรณีแซลมอนที่เคยเสิร์ฟวางเป็นชิ้น ๆ อาจจัดวางเป็นทรงสูง ตกแต่งด้วยอุปกรณ์เพิ่มเติมเป็นภูเขาไฟ เสิร์ฟมาพร้อมกับควันของภูเขาไฟ แล้วตั้งชื่อว่า ฟูจิซังแซลมอน เป็นต้น ข้อคำนึงอีกประการก็คือ โดยปกติลูกค้าโดยทั่วไปจะมีค่ามาตรฐานในใจอยู่แล้ว เช่น ถ้าพูดถึงเป็ด คนจะนึกถึงเป็ดย่าง MK เพราะฉะนั้นถ้าร้านอาหารของคุณมีซิกเนเจอร์เป็นเป็ด ก็ควรจะต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่า หรือดีกว่าไปเลย หากไม่สามารถทำได้ก็ใช้เทคนิคในการสร้างความโดดเด่นอย่างที่กล่าวมาแล้ว อีกตัวอย่างที่น่าสนใจ  คือ ร้าน After You […]

5 ขั้นตอน เซตอัพทีมงานหลังร้าน ที่เจ้าของร้านอาหารต้องรู้!

ร้านอาหารหลายร้านเปิดตัวมาอย่างดี แต่ต่อมามาตรฐานกลับลดลง ไม่ว่าจะเป็นรสชาติอาหาร หรือการบริการที่เกิดความล่าช้าจนลูกค้าเข็ดไม่มาอีกต่อไป สาเหตุสำคัญที่ปฏิเสธไม่ได้เลยก็คือ การขาดประสิทธิภาพของทีมงานหลังร้าน บทความนี้จะแนะนำขั้นตอนที่จำเป็นต่อการ เซตอัพทีมงานหลังร้าน ที่เจ้าของร้านอาหารจำเป็นต้องรู้   ขั้นตอน 1  รู้จักโครงสร้างทีมงานหลังร้าน ทีมงานหลังร้านและหน้าที่ความรับผิดชอบ ประกอบด้วย หัวหน้าเชฟ /รองหัวหน้าเชฟ/หัวหน้าส่วนครัวต่าง ๆ มีส่วนช่วยในการบริหารการบริการลูกค้า ร่วมวางแผนและตัดสินใจเกี่ยวกับงานบริการด้านอาหาร ควบคุมและตรวจสอบคุณภาพของอาหาร รับผิดชอบเวลาออกอาหาร รวมถึงการเสิร์ฟให้เป็นไปตามมาตรฐาน นอกจากนี้ยังต้องบริหารต้นทุน ควบคุมค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังมีหน้าที่ในการสอนงาน มอบหมายงาน และดูแลทีมงานครัวด้วย พนักงานครัว หน้าที่หลัก ๆ คือการปฏิบัติงานครัว ควบคุมมาตรฐาน ทำงานตามขั้นตอนที่กำหนด ช่วยดูแลควบคุมปริมาณของเสีย ฝ่ายสนับสนุน แผนกที่ช่วยดูแลเรื่องเอกสารต่าง ๆ ของธุรกิจ การจัดการเงินและบัญชี ดูแลการตลาดของธุรกิจ  ดูแลเรื่องสวัสดิการต่าง ๆ ของพนักงานร้านอาหาร จะเห็นได้ว่าทีมงานครัวมีหน้าที่สำคัญคือการผลิต แต่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การปรุงอาหาร แต่ยังมีหน้าที่ครอบคลุมไปถึงการกำหนดคุณภาพ การจัดสรร ควบคุมต้นทุน และช่วยส่งเสริมงานบริการหน้าร้าน ในขณะเดียวกันทีมงานหลังร้านก็ยังรวมไปถึงแผนกสนับสนุน ที่เตรียมความพร้อมด้านการเงิน การบริหารบุคคล บัญชีและการตลาดด้วย หากขาดระบบที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของสองทีมหลักนี้ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.