4 ข้อแนะนำสำหรับ มือใหม่การตลาดออนไลน์ - Amarin Academy

4 ข้อแนะนำสำหรับ มือใหม่การตลาดออนไลน์

4 ข้อแนะนำสำหรับ มือใหม่การตลาดออนไลน์

ทุกวันนี้ร้านอาหารหลายๆ ร้าน เริ่มหันมาทำการตลาดออนไลน์มากขึ้น เพราะเป็นช่องทางที่เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่าย สะดวก รวดเร็วและราคาไม่แพง แต่ข้อเสียก็มีเช่นกัน เพราะความที่เข้าถึงง่ายมากๆ และราคาถูก ทำให้ใครๆ ก็หันมาทำการตลาดผ่านช่องทางนี้ ส่งผลให้การแข่งขันสูงขึ้นมาก การที่ผู้เล่นรายใหม่ จะเข้ามาทำการตลาดช่องทางนี้จึงยากพอสมควร เราจึงมีข้อแนะนำดีๆ สำหรับ มือใหม่การตลาดออนไลน์ มาฝาก

1.เลือกสื่อที่ “เหมาะ” กับแบรนด์ของตัวเอง

ทุกวันนี้ยอดการใช้งานโซเชียลมีเดียของคนทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งโซเชียลมีเดียก็มีหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น facebook Instagram Line เป็นต้น ซึ่งแต่ละช่องทางก็มีจำนวนผู้ใช้งานและรูปแบบการนำเสนอเนื้อหาที่แตกต่างกันออกไป โดยสถิติล่าสุดจาก We are Social และ Hootsuite ระบุว่าปัจจุบันยอดผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียทั่วโลกสูงถึง 3 พันล้านคนแล้ว ซึ่งอัตราการเติบของผู้ใช้งาน เพิ่มขึ้นเฉลี่ยถึง 1 ล้านคนต่อวัน! ขณะที่ในประเทศไทย ThothZocial ระบุว่า เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียแต่ละช่องทาง มีดังนี้

Facebook:  มีผู้ใช้งานสูงที่สุดคือ 47 ล้านคน นิยมใช้งานเวลา 18.00-23.00 น. แต่หากเป็นวันหยุดนิยมใช้ทั้งวัน โดยใช้วันเสาร์มากกว่าวันอาทิตย์

ทั้งนี้ Facebook ถือเป็นช่องทางที่เหมาะสำหรับการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับแบรนด์ ทำให้ผู้บริโภครู้จักแบรนด์เรามากขึ้น แถมเรายังสามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายที่จะให้เห็นแบรนด์เราแบบเฉพาะเจาะจงได้อีกด้วย

Instagram: ปัจจุบันมีผู้ใช้งาน 11 ล้านคน นิยมใช้งานเวลา 18.00-23.00 น. โดยในวันเสาร์-อาทิตย์ พ่อค้า แม่ค้าออนไลน์มักใช้เป็นช่องทางในการโปรโมทสินค้า

IG นับเป็นช่องทางที่เหมาะกับการนำเสนอเนื้อหาที่เป็นภาพ โดยเฉพาะภาพอาหารน่าตาน่ารับประทาน ร้านสวยๆ พร้อมมีแคปชั่นประกอบเล็กน้อย จะช่วยทำให้ผู้พบเห็นรู้สึกอยากไปใช้บริการร้านของคุณมากยิ่งขึ้น

Twitter: มีผู้ใช้งานน้อยที่สุดคือ 9 ล้านคน แต่ถือว่าเป็นสื่อที่น่าจับตามากที่สุด เพราะยอดการใช้งานโตขึ้นจากปีที่แล้วถึง 70% โดยคนนิยมใช้งานช่วงเวลา 20.00 – 24.00 น. โดยเฉพาะวันพฤหัสบดี ศุกร์ และเสาร์จะนิยมมากที่สุด

ถือเป็นสื่อที่เหมาะกับการนำเสนอข้อความสั้นๆ และรูปภาพ โดยผู้ใช้งานส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัยรุ่นถึงวัยทำงานตอนต้น เน้นความรวดเร็ว ทันกระแส ถือเป็นสื่ออีกชนิดหนึ่งที่น่าติดตาม

นอกจากช่องทางที่เรารู้จักกันดีทั้ง 3 ช่องทางแล้ว ยังมีช่องทางอื่นๆ ที่เราไม่ควรมองข้ามเช่นกัน เช่น Pinterest เหมาะสำหรับการนำเสนอภาพสวยๆ และดูมีสไตล์ ผู้ใช้งานส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง หรืออีกช่องทางหนึ่งคือ Google+ ที่แม้ว่าตอนนี้จะยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากนัก แต่ก็นับว่าน่าสนใจพอสมควร โดยผู้ใช้งานส่วนใหญ่กว่า 2 ใน 3 เป็นผู้ชาย

ข้อมูลนี้ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของกิจการ ในการวางแผนทางการตลาด เพื่อจะได้เลือกช่องทางและจัดสรรเวลาในการเผยแพร่เนื้อหาได้ถูกต้องและเหมาะสมมากที่สุด

2.เสนอเนื้อหาที่มี “คุณค่า” เหมาะสมแก่การ “แชร์”

ถ่ายภาพอาหาร

การนำเสนอเนื้อหาที่มีคุณค่า หรือสร้างสรรค์ จะช่วยกระตุ้นให้ผู้ที่เข้ามาอ่านเนื้อหา รู้สึกอยากแชร์เรื่องราวเหล่านั้นให้เพื่อนๆ หรือคนอื่นได้รับทราบ ถือเป็นการตลาดแบบบอกต่อที่มีอิทธิพลค่อนข้างมาก โดยการสร้างสรรค์เนื้อหาที่ง่ายที่สุดคือคิดว่า “คุณอยากรู้เรื่องอะไร” และอยากส่งต่อเรื่องราวอะไรให้อื่นบ้าง

เมื่อทราบหัวข้อการเขียนแล้ว เนื้อหาภายในควรมีลักษณะดังต่อไปนี้

1.มีข้อความที่สนับสนุนธุรกิจของคุณ รวมถึงส่งเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์คุณด้วย แต่ควรหลีกเลี่ยงการใช้เทคนิคการตั้งชื่อเรื่องที่น่าสนใจ เรียกยอดไลค์ แต่เมื่อคลิกอ่าน เนื้อหากลับไม่เกี่ยวข้อง หรือไม่มีสาระใดๆ เลย หรือเรียกง่ายๆ ว่า clickbait เพราะแม้ว่าวิธีนี้จะเรียกยอดการเข้าถึงเนื้อหาได้มาก แต่กลับทำให้ผู้บริโภครู้สึกถึงความไม่ซื่อสัตย์ เกิดเป็นภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อแบรนด์ วิธีนี้นับเป็นวิธีที่สร้างผลเสียมากกว่าผลดี จึงไม่แนะนำให้ทำ

2.มีสิ่งที่ดึงดูดใจผู้รับชม เช่น ภาพอาหารที่หน้าตาหน้ารับประทาน อาจกระตุ้นให้ผู้ชมอยากแชร์มากกว่าบทความแนะนำร้านเฉยๆ แต่การประเมินว่าเนื้อหาใดโดนใจผู้บริโภคมากที่สุด ต้องอาศัยการเก็บข้อมูลของเจ้าของเพจเอง แต่จากการศึกษาพบว่า บทความที่มีภาพประกอบจะได้รับการเข้าชมมากว่าบทความธรรมดาถึง 94% และบทความใน twitter ที่มีภาพประกอบจะมีคนเข้าถึงมากกว่าบทความธรรมดาถึง 2 เท่า

3.สร้างแรงจูงใจด้วย “Influencers”

บางครั้งร้านอาหารเปิดใหม่ อาจไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายนัก และการที่เราจะโปรโมทร้านท่ามกลางกระแสการตลาดออนไลน์ที่เข้มข้นถึงเพียงนี้ ไม่ต่างอะไรกับการตะโกนแข่งกับเสียงของผู้คน หากเจ้าของร้านอยากให้ร้านเป็นที่รู้จักเร็วๆ อาจใช้ผู้ที่มีชื่อเสียงหรือผู้มีอิทธิพลทางความคิด (Influencers) ในโซเชียลมีเดีย ซึ่งมียอดผู้ติดตามมากๆ มาเป็นผู้ช่วยโปรโมทร้าน โดยการเลือก Influencers นี้ เจ้าของร้านควรเลือกให้เหมาะกับภาพลักษณ์ของแบรนด์ และดูว่าผู้ที่ติดตามเขาเป็นคนกลุ่มใด ตรงตามกลุ่มเป้าหมายของร้านอาหารเราหรือไม่ จะได้มั่นใจว่า สารที่เราต้องการจะสื่อ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้จริงๆ

4.จ่ายเงินเพื่อ “สร้างการรับรู้”

จดทะเบียนร้านอาหาร

บางครั้งการโพสต์เนื้อหาลงโซเชียลมีเดียอย่างเดียว อาจไม่เพียงพอ เพราะผู้ที่พบเห็นมักเป็นผู้ที่ติดตามเพจของเราอยู่แล้ว แต่หากเจ้าของร้านอาหารอยากขยายจำนวนผู้พบเห็นให้มากขึ้น ควรจ่ายเงินเพื่อเพิ่มการรับรู้ โดยเนื้อหาของเราจะไปขึ้นในหน้า New feed ของกลุ่มเป้าหมายที่เรากำหนด แม้ว่าเขาจะไม่เคยรู้จักหรือติดตามร้านของเรามาก่อนเลยก็ตาม วิธีนี้นับเป็นวิธีที่หลายๆ ร้านอาหารนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะช่วยเพิ่มการรับรู้ได้จริงๆ

การตลาดออนไลน์ถือเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับธุรกิจในปัจจุบัน ฉะนั้นเจ้าของกิจการไม่ควรมองข้ามช่องทางนี้ เพราะถือเป็นช่องทางที่ช่วยให้ร้านเป็นที่รู้จักที่ดีช่องทางหนึ่ง

เรื่องแนะนำ

ตั้งชื่อร้านอาหาร

6 เทคนิค ตั้งชื่อร้านอาหาร ให้โดนใจ

การ ตั้งชื่อร้านอาหาร ไม่ใช่เรื่องง่ายหลายคนประสบปัญหาว่า คิดชื่อร้านเท่าไร ก็คิดไม่ออกสักที อย่างนั้นมาดูเทคนิคง่ายๆ ในการตั้งชื่อร้านให้โดนกันดีกว่า

โฆษณาร้านอาหาร

การใช้ QR Code เพื่อ โฆษณาร้านอาหาร

        การ โฆษณาร้านอาหาร ให้เข้าถึงผู้บริโภคเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะช่วงนี้ที่ทุกคนหันมาเน้นบริการเดลิเวอรี การใช้ QR-code เป็นช่องทางหนึ่งที่จะช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงข้อมูลของร้านได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ส่วนเจ้าของร้านอาหารก็สามารถทำการตลาดผ่าน QR code โดยใช้ต้นทุนต่ำ รวมถึงดูสถิติการเข้าถึงจากจำนวนครั้งที่มีการสแกน QR code ได้อย่างง่ายดาย บทความนี้ขอนำเสนอการใช้ QR Code ให้เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจร้านอาหารในรูปแบบต่างๆ และช่องทางการสร้าง QR CODE ออนไลน์ได้ง่ายๆ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย การใช้ QR Code เพื่อ โฆษณาร้านอาหาร         “QR Code” ย่อมาจากคำว่า Quick Response Code เป็นรหัสบาร์โค้ดในรูปแบบ 2 มิติ สามารถใช้งานได้ง่ายๆ ด้วยโดยสแกนจากกล้องในโทรศัพท์มือถือ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถเลือกสร้าง QR Code ที่แสดงผลได้หลากหลายรูปแบบตามต้องการ ได้แก่ เว็บไซต์ของร้านอาหาร  ข้อมูลช่องทางการติดต่อ  […]

ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ

4 ความลับ ที่เจ้าของ ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ ต้องรู้

ใครคิดจะทำ ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ ต้องคิดให้ลึกมากกว่าเดิม เพราะตอนนี้ผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มคนรักสุขภาพอาจไม่ได้ต้องการเพียงแค่อาหารคลีนๆ เหมือนเดิมแล้ว

สังคมผู้สูงอายุ

เจาะโอกาสทอง! ร้านอาหารในยุค Aging Society ( สังคมผู้สูงอายุ )

ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุ หรือ Aging Society และในปี 2564 ประเทศไทยจะมีประชากรผู้สูงอายุ 20 % หรือมากกว่า 13 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มใหญ่ และยังมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆอีกด้วย ซึ่งผู้ประกอบการธุรกิจอาหารไม่ควรมองข้าม ลูกค้ากลุ่มนี้ เพราะอาจเป็นโอกาสทองสำหรับธุรกิจอาหารของคุณในอนาคตก็เป็นได้ แล้วเพราะอะไรจึงต้องให้ความสำคัญ และหันมาเจาะตลาดลูกค้ากลุ่มผู้สูงอายุ   เจาะโอกาสทอง! ร้านอาหารยุค Aging Society ( สังคมผู้สูงอายุ ) มีกำลังซื้อสูง เนื่องจากมีสถานะทางการเงินที่ดีกว่ากลุ่มอายุอื่น และพร้อมที่จะจ่ายเพื่อให้ได้สิ่งที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ ผู้สูงอายุในปัจจุบันยังมีการซื้อสินค้าทั้งออนไลน์และออฟไลน์มากขึ้น โดยเฉพาะการซื้อสินค้าที่เกี่ยวกับสุขภาพ มีช่องว่างทางการตลาด คู่แข่งน้อย สิ่งที่กลุ่มผู้สูงวัยต้องการเป็นอันดับ 1 คือร้านอาหารที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับให้บริการผู้สูงอายุ เช่น บริการเรื่องรถเข็น หรือการเดินของผู้สูงอายุให้มีความสะดวก ซึ่งในปัจจุบันร้านที่ตอบโจทย์สิ่งนี้ยังมีไม่มากนัก Brand Loyalty ลูกค้ากลุ่มนี้มีโอกาสในการเป็นลูกค้าประจำสูง เนื่องจากผู้สูงอายุมีความผูกพันกับร้านอาหารที่ตัวเองรู้สึกชอบมากกว่าลูกค้าในวัยอื่นๆ ซึ่งอาจจะทำให้ร้านได้ฐานลูกค้าที่กลับมาซื้อซ้ำสูงขึ้นมาก กลุ่มลูกค้าที่ได้กลับมาไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุ แต่ยังรวมถึงลูกหลานที่พาครอบครัวมารับประทานอาหารในโอกาสต่างๆ หรือซื้อเพื่อนำกลับไปฝากผู้ใหญ่ที่บ้านด้วย สิ่งที่ต้องคำนึง ในการเปิดร้านอาหารเพื่อเจาะตลาดกลุ่มผู้สูงอายุ มี 3 […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.