ไม่มีหรอก ของถูกหรือของแพง มีแต่ “คุ้ม” หรือ “ไม่คุ้ม” - Amarin Academy

ไม่มีหรอก ของถูกหรือของแพง มีแต่ “คุ้ม” หรือ “ไม่คุ้ม”

ไม่มีหรอก ของถูกหรือของแพง มีแต่คุ้มหรือ ไม่คุ้ม

เคยสงสัยไหมว่า ทำไมร้านอาหารหลายร้านที่ตั้งราคาแพงกว่าตลาด กลับมีคนเข้าไปกินไม่ขาดสาย เทียบกับอีกร้านที่ราคาถูกกว่า แต่กลับไม่มีลูกค้าเลย สิ่งนี้ทำให้เห็นว่า ของราคาถูกกว่า ไม่จำเป็นต้องขายได้ดีกว่าของราคาแพงกว่าเสมอไป เพราะลูกค้าไม่ได้มองที่ ของถูกหรือของแพง แต่เขามองว่า “คุ้ม”  หรือ “ไม่คุ้ม” กับสิ่งที่จ่ายไปมากกว่า โดยทฤษฎีความคุ้มค่าของลูกค้าคือ

ความคุ้มค่า = สิ่งที่ได้รับ สิ่งที่คาดหวัง

จากสมการจะเห็นว่า การที่ตั้งราคาอาหารสูงไม่ใช่เรื่องที่ผิด แต่ต้องมั่นใจว่าเราสามารถส่งมอบได้มากกว่าหรือเท่ากับตามที่ลูกค้าคาดหวังด้วย

ความคุ้มค่าในมุมมองของลูกค้าอาจไม่ใช่แค่รสชาติและราคาเพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึง การบริการ ความรวดเร็ว สะดวกสบาย บรรยากาศและการตกแต่งจานด้วย

บางร้านรสชาติอาหารอาจจะไม่ได้เด่นมาก แต่พนักงานบริการดี ยิ้มแย้มแจ่มใส จัดจานสวย ก็จะทำให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปได้

ยกตัวอย่างเช่น

ร้านก๋วยเตี๋ยวต้มยำทะเล A ตั้งอยู่ในตึกแถวตั้งราคาขายชามละ 80 บาท ลูกค้าที่มากินจะคาดหวังทันทีว่า 80 บาทที่เสียไป เขาจะได้อะไรกลับมาบ้าง โดยคาดคะเนจากประสบการณ์ที่ผ่านมา เช่น รสชาติอาจไม่ต้องอร่อยมาก แต่ต้องได้เร็ว เพราะกินเสร็จต้องรีบไปทำงานต่อ แต่ปรากฏว่ารสชาติก็ไม่ดี รอมาครึ่งชั่วโมงแล้วก๋วยเตี๋ยวก็ยังไม่มา ถามเจ๊เจ้าของร้านไปก็ไม่สนใจ ลูกค้าจะรู้สึกว่า “ไม่คุ้ม” กับเงินที่เสียไปทันที

ขณะเดียวกัน อีกเจ้าหนึ่งขายก๋วยเตี๋ยวต้มยำทะเลแบบเดียวกันราคา 120 บาท อยู่ในคอมมูนิตี้มอลล์ แต่ให้กุ้งตัวใหญ่ รสชาติจัดจ้าน ร้านบรรยากาศดี พนักงานยิ้มแย้มแจ่มใส ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า ต่อให้เขาต้องจ่ายแพงกว่า แต่ก็รู้สึก “คุ้ม” กับทุกบาทที่จ่ายไป

สุดท้ายสิ่งสำคัญอีกสิ่งคือ อย่าโฆษณาเกินจริง เพราะทุกครั้งที่เราโฆษณา นอกจากจะทำลูกค้ารู้จักร้านเราแล้ว ยังทำให้ลูกค้าคาดหวังในร้านตามที่เขาเห็นด้วย

สมมติถ้ารูปก๋วยเตี๋ยวที่เราใช้โฆษณาใช้กุ้งตัวใหญ่ แต่งจานสวย แต่พอมากินจริง ๆ แล้ว กุ้งกลับตัวเล็ก จัดจานก็ไม่เหมือนในรูป ลูกค้าจะรู้สึกทันทีว่าถูกเอาเปรียบ หรือในรูปร้านเราดูตกแต่งสวย บรรยากาศดี แต่พอมาถึงกลับพบข้าวของวางกระจัดกระจาย ร้านดูเก่า หรือที่เขาเรียกกันว่า “รูปไม่ตรงปก” ฉะนั้นจะโฆษณาอะไร จงมั่นใจด้วยว่า เราทำได้อย่างที่พูด ไม่อย่างนั้น ลูกค้าคงหนีหายหมด และยากมาก ๆ ที่เขาจะกลับมากินซ้ำเป็นครั้งที่ 2

ถ้าเจ้าของร้านเข้าใจจุดนี้ทั้งหมด จะทำให้เราไม่ต้องมานั่งคิด โปรโมชั่น ลดราคา เพื่อดึงหรือแย่งลูกค้ากับเจ้าอื่น ๆ อีกต่อไป โดยเอาเวลาที่เหลือไปคิดว่า จะทำอย่างไรให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่ากับทุกบาททุกสตางค์ที่เขาจ่ายให้เรามากกว่า และจะทำอย่างไรให้เราสามารถตั้งราคาได้สูงขึ้น โดยที่ลูกค้ารู้สึกว่าไม่แพง

เรื่องแนะนำ

เทคนิคเก็บวัตถุดิบ

เทคนิคเก็บวัตถุดิบ ให้สด ใหม่ พร้อมใช้เสมอ

ปัญหาเรื่องวัตถุดิบเป็นสิ่งที่เจ้าของร้านอาหารแทบทุกคนต้องเคยปวดหัว วันนี้เราจึงขอแนะนำ เทคนิคเก็บวัตถุดิบ ให้สด ใหม่ พร้อมใช้เสมอ

ตลาดเด็กรุ่นใหม่

แนวคิดจับ ตลาดเด็กรุ่นใหม่ ที่ใครๆ กำลังจับตา

ตลาดเด็กรุ่นใหม่ ถ้าทำให้เขารักได้ เขาจะรักเลย คือแนวคิดการทำการตลาดของ Hotto bun ที่ทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เคล็ดลับจะเป็นอย่างไร ไปดูกัน

แจก Checklist เซตอัพระบบร้านอาหาร จบ ครบ เปิดร้านได้เลย

การทำเช็คลิสต์ก่อนเปิดร้านอาหารเป็นสิ่งสำคัญของการเซตอัพระบบร้านอาหาร ที่จะช่วยให้เจ้าของร้านอาหารรู้ว่ามีสิ่งไหนที่ทำสำเร็จแล้ว เหลืองานส่วนไหนบ้างที่ต้องทำให้เสร็จเรียบร้อยก่อนที่ร้านจะเปิดรับลูกค้าได้จริง   “เจ้าของร้านอาหารเปิดใหม่ควรทำเช็คลิสต์เรื่องอะไรบ้าง”   1.งานออกแบบและตกแต่งภายในร้าน โครงสร้างและการตกแต่งร้าน ควรเป็นสิ่งที่แล้วเสร็จก่อนการเปิดร้าน เพราะการเพิ่มเติมหน้างานเมื่อร้านเปิดไปแล้วทำได้ยาก แต่ก็เป็นปัญหาอันดับต้น ๆ ของเจ้าของร้านอาหาร โดยเฉพาะปัญหาผู้รับเหมา เจ้าของร้านอาหารเปิดใหม่ที่ทำโครงสร้างใหม่ทั้งหมดจึงควรเคร่งครัดให้ดำเนินงานตามแผนงานและเผื่อเวลาไว้สำหรับงานที่ไม่เป็นไปตามกำหนด การจัดทำเช็คลิสต์จะช่วยให้เจ้าของร้านวางแผนสำรองหากเกิดปัญหา   2.งานระบบ             ระบบน้ำ ไฟ แสงสว่าง การติดตั้งอุปกรณ์ครัวเรื่องสำคัญที่อาจส่งผลทำให้ร้านไม่สามารถเปิดได้ หรือถ้าหากเกิดปัญหาหน้างานก็แก้ไขค่อนข้างลำบาก จึงควรทดลองเดินระบบ จัดทำให้แล้วเสร็จเสียแต่เนิ่น ๆ   3.กฏหมาย และการเงิน อย่าลืม กำหนดการจัดทำเอกสารด้านการเงิน การขออนุญาตทางราชการที่เกี่ยวข้องกับร้านอาหาร วางแผนรายรับรายจ่ายล่วงหน้า จัดระบบการเงินหลังร้านให้พร้อมสำหรับการเปิดร้าน   4.การสั่งซื้อวัตถุดิบ             ช่วงเปิดร้านแรก ๆ อาจจะมีปัญหาเรื่องการสั่งซื้อวัตถุดิบ หากไม่เคยเปิดร้านขายอาหารมาก่อน การคำนวณปริมาณและการประสานงานกับซัพพลายเออร์ เพราะฉะนั้นควรมีการพูดคุยกับซัพพลายเออร์ก่อนเปิดร้าน การเซตอัพระบบบริหารวัตถุดิบไว้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นระบบการจัดซื้อ การรับสินค้า การจัดเก็บวัตถุดิบ การจัดเตรียมวัตถุดิบเพื่อให้พร้อมใช้งาน การมีระบบปฏิบัติงาน SOP จะช่วยให้ร้านจัดการเรื่องวัตถุดิบได้อย่างมีประสิทธิภาพ   5.อุปกรณ์หน้าบ้านและหลังบ้าน             […]

5 ปัญหาวัตถุดิบ สุดคลาสสิค แก้ได้ กำไรมา!

การบริหารจัดการวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพ ถือเป็นกฎเหล็กของคนทำร้านอาหารที่ช่วยให้คุณสามารถควบคุมต้นทุนอาหารได้ไม่ว่าจะสถานการณ์ไหน มาดูกันว่าปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยๆกับคนทำร้านอาหารในด้าน ปัญหาวัตถุดิบ มีอะไรบ้าง แล้วสามารถหลีกเลี่ยงได้ด้วยวิธีใด   5 ปัญหาวัตถุดิบ สุดคลาสสิค แก้ได้ กำไรมา!   1. วัตถุดิบเน่าเสีย วัตถุดิบเน่าเสีย เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยอันดับต้น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการจัดเก็บผิดวิธี ขาดขั้นตอนในการนำไปใช้งาน เจ้าของร้านอาหารจึงต้องให้ความสำคัญกับวิธีการจัดเก็บวัตถุดิบที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมของวัตถุดิบแต่ละชนิด การตัดแต่งก่อนการจัดเก็บที่ถูกต้อง  รวมถึงวางระบบสต็อกวัตถุดิบ การจัดเรียงวัตถุดิบเพื่อให้สอดคล้องกับอายุการใช้งาน การทำบันทึกเพื่อให้เกิดการนำมาใช้ในลักษณะ first in first out  ให้ความสำคัญกับการกำหนดขั้นตอนการทำงานของทีมงานที่เกี่ยวข้องจะช่วยให้การนำวัตถุดิบมาใช้เป็นระบบ รวมถึงอย่าลืมตรวจสอบอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องว่าทำงานได้อย่างสมบูรณ์ทุกครั้ง ก็จะช่วยลดปัญหาเน่าเสียได้   2.คุณภาพของวัตถุดิบลดลง             การจัดเก็บวัตถุดิบ ส่งผลต่อคุณภาพของอาหารโดยตรง แต่ในบางครั้งจัดเก็บวัตถุดิบไว้อย่างดีแล้ว แต่คุณภาพของวัตถุดิบกลับลดลง เพราะการทำงานที่ซ้ำซ้อนของทีมงานครัว เช่น การทำความสะอาดวัตถุดิบก่อนจัดเก็บ และก่อนปรุง ทำให้สูญเสียคุณภาพของวัตถุดิบ เช่น เนื้อสัตว์ ผักบางชนิด นอกจากนี้ปัญหาอาจเกิดจากการขาดการตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบที่รับจากซัพพลายเออร์ ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาในการจัดส่ง สินค้าตรงตามที่ต้องการ หรือการทดแทนวัตถุดิบที่ขาดตลาดทำให้เกิดปัญหาได้เช่นกัน เพราะฉะนั้น การกำหนด SOP ในแต่ละขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.