เริ่มจากก้าวเล็ก ๆ เปิดท้ายขายของหลังรถ ตัวเลือกการขายที่ทำให้ใกล้ลูกค้ามากขึ้น

เริ่มธุรกิจจากก้าวเล็ก ๆ เปิดท้ายขายของหลังรถ ตัวเลือกการขาย ที่ทำให้ใกล้ลูกค้าได้มากขึ้น

เริ่มธุรกิจจากก้าวเล็ก ๆ
เปิดท้าย ขายของหลังรถ
ตัวเลือกการขาย ที่ทำให้เราใกล้ลูกค้าได้มากขึ้น

เคยไหม ? อยากจะเริ่มต้นขายอาหาร แต่ก็อยากเริ่มจากจุดเล็ก ๆ ลงทุนไม่มาก ถ้าคิดว่าขายได้ ก็ค่อยขยับขยายต่อ วันก่อนแอดได้ไปสะดุดตากับโพสต์หนึ่งในกลุ่มขายของแถวบ้าน ที่เจ้าของร้านได้นำรถยนต์ส่วนตัวมาเปิดท้ายขายขนมและผลไม้ ซึ่งเดาว่าเธอน่าจะทำงานประจำ แล้วมาเปิดขายเวลาเลิกงาน เพราะไม่ได้มาทุกวัน ตอนได้เห็นก็เออน่ารักดี เอาของที่มีอยู่มาปรับใช้

และทำให้นึกถึงอีกร้านหนึ่งที่นำรถยนต์ส่วนตัวมาเปิดท้ายขายของเหมือนกัน และช่วงปีก่อนดังมากแต่ร้านนี้ขายส้มตำ มาวันนี้เขาก็ยัง ขายหลังรถ เหมือนเดิมนะ แต่ที่เพิ่มเข้ามาคือมีหน้าร้านในห้างฯ ด้วย ปังไหมล่ะ นี่จึงทำให้เห็นว่าแม้ว่าจะเริ่มจากก้าวเล็ก ๆ ก็ไม่ได้แปลว่าเราจะขยับขยายไม่ได้อีก มาถึงตรงนี้เห็นคนใช้รถมาขายของ แล้วหันมามองดูรถตัวเอง เราก็มีต้นทุนนี่นา งั้นวันนี้เราลองมาดูว่าถ้าเราอยากจะ เปิดท้ายขายของ บ้าง จะต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง?

การขายท้ายรถเป็นยังไง?

การขายท้ายรถที่ว่านี้ เป็นการเอารถมาเปิดท้ายทำเป็นหน้าร้าน โดยนำเอาสินค้าและอุปกรณ์ต่าง ๆ มาจัดวางในบริเวณที่วางสัมภาระหลังรถ และใช้วิธีการไปจอดขายยังสถานที่หนึ่ง ๆ ที่สามารถจอดได้ โดยร้านอาจมีจุดจอดประจำเพื่อให้ลูกค้าจำได้ ว่าร้านจะขายอยู่ตรงนี้ หรืออาจใช้การกำหนดจุดจอดในแต่ละวัน แล้วอาศัยวิธีบอกให้ลูกค้าที่มาซื้อทราบ หรือแจ้งผ่านทางช่องทางต่าง ๆ แทน

ขายอะไร?

คำถามแรกที่คนอยากจะเปิดร้านต้องตอบให้ได้ ก็คือขายอะไร ซึ่งถ้าเราคิดไว้แล้วว่าเราจะขายหลังรถ ก็ต้องยอมรับว่ามันก็มีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น พื้นที่ของรถ ข้อจำกัดของประเภทสินค้าที่ขาย

ดังนั้นก็ต้องดูว่าสินค้าของเราคืออะไร และเหมาะที่จะมาตั้งขายหลังรถได้หรือเปล่า เช่น เป็นอาหารสดหรืออาหารแห้ง เป็นอาหารแบบทำใหม่ half-cooked หรือสำเร็จรูป

อย่างร้านที่นำมายกตัวอย่างในตอนต้น ขายขนมและผลไม้ เป็นของแห้งและสำเร็จรูป ก็สามารถขายได้เลยไม่ต้องปรุงใหม่ หรืออย่างร้านส้มตำ ที่ใช้การเตรียมของมาปรุง ตำ ยำ ก็ไม่ต้องมีกรรมวิธีมาก ง่ายต่อการขาย และสอดรับกับข้อจำกัดที่มีอยู่ได้

ขายให้ใคร?

เมื่อได้ของที่จะขายแล้ว ก็มาพิจารณาต่อว่าสินค้าของเรามีกลุ่มเป้าหมายเป็นใคร ใครที่ต้องการสินค้าของเรา จากนั้นก็คิดว่า แล้วเราจะไปหาคนเหล่านั้นได้จากที่ไหน เวลาไหน ซึ่งคำตอบของคำถามนี้นี่แหละ ที่จะทำให้เรารู้ว่าควรไปจอดขายที่ไหนถึงจะมีคนซื้อ

ขายที่ไหน?

สุดท้ายเมื่อเรารู้แล้วว่ากลุ่มเป้าหมายของสินค้าเราคือใคร และเขาอยู่ที่ไหน เราก็ไปหาแหล่ง พื้นที่ สถานที่ที่คิดว่าเราจะสามารถไปจอดขายได้ เพื่อทำการขาย เช่น การไปจอดขายผัก ผลไม้แถวสวนสาธารณะ ในตอนเช้าและตอนเย็น การไปจอดขายส้มตำใกล้ ๆ ตลาดหรือชุมชนที่มีคนเยอะ ๆ สำหรับการเปิดท้ายขายของ การเลือกพื้นที่จอดเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งส่วนนี้ผู้ขายก็ต้องทำการบ้านมาด้วย ว่าจุดไหนสามารถจอดได้ หรือต้องทำอะไรบ้างในการจอด เพื่อที่จะไม่สร้างปัญหาให้กับตัวเองในภายหลัง

ทั้งนี้ก็เป็นเรื่องพื้นฐานที่คนอยากจะเปิดท้ายขายของควรรู้ ถ้าหากอยากจะลองเริ่มต้นทำธุรกิจเล็ก ๆ ลองตลาดดู ซึ่งก็ถือเป็นตัวเลือกในการทำธุรกิจอย่างหนึ่งที่ทำได้จริง ๆ แม้ว่าช่วงนี้น้ำมันจะแพงมาก เราก็เลยจะเน้นจอด ไม่เน้นขับ มองอีกมุมนึงถ้าลงทุนไป แล้วมันคุ้มค่าก็ดีกว่าอยู่เฉย ๆ จริงไหม ยุคนี้ต้องมีมากกว่า 1 อาชีพจริง ๆ แอดก็จะลองไปเปิดท้ายขายของหลังรถดูบ้างแล้ว

#AmarinAcademy #ร้านอาหาร

เรื่องแนะนำ

แผนการตลาด

สำรวจก่อนเริ่มทำ แผนการตลาด ธุรกิจ E-Commerce

ธุรกิจ E-Commerce แต่ละประเภทอาจมีเป้าหมายและจุดขายที่แตกต่างกัน แต่โดยพื้นฐานส่วนใหญ่แล้วมักมีวัตถุประสงค์ 3 ข้อนี้รวมอยู่ด้วย คือ เพิ่มจำนวนผู้เข้าชมและสร้างการรับรู้ เปลี่ยนจากผู้เข้าชมเป็นลูกค้า และสื่อสารกับลูกค้าที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ

คู่แข่งร้านอาหาร

Marketing Collaboration สร้างพันธมิตรจาก คู่แข่งร้านอาหาร

“Marketing Collaboration”  สร้างพันธมิตรจาก คู่แข่งร้านอาหาร ในช่วงหลายปีมานี้ ถือเป็นยุคแห่งการ Collaboration หรือการจับมือกันของธุรกิจอาหาร เราจะเห็นหลาย ๆ แบรนด์สร้างสินค้าหรือโปรโมชั่นใหม่ร่วมกัน ทำให้เกิดความแปลกใหม่ในวงการธุรกิจอาหารมากยิ่งขึ้น เป็นการสร้างพันธมิตรจาก คู่แข่งร้านอาหาร ซึ่งการร่วมมือกันระหว่างธุรกิจอาหารนี้ มีประโยชน์มากมาย ดังนี้ สร้างความน่าสนใจและให้ประสบการณ์ใหม่ๆ กับผู้บริโภค ปลุกกระแสทางการตลาดให้เป็นไวรัล และได้รับการพูดถึงในวงกว้าง แลกเปลี่ยนกลุ่มลูกค้าระหว่างแบรนด์ ขยายฐานลูกค้าใหม่ๆ ลดการแข่งขัน และเพิ่มพันธมิตรทางการค้า ทำให้แบรนด์ดูทันสมัย และเข้าถึงกลุ่มลูกค้ารุ่นใหม่มากขึ้น ใช้จุดแข็งของพาร์นเนอร์มาชดเชยจุดอ่อนของแบรนด์ตัวเอง   เหล่านี้ถือเป็นกลยุทธ์ที่กำลังมาแรงทีเดียว กับการสร้างพันธมิตรจาก คู่แข่งร้านอาหาร เราลองมาดูตัวอย่างความร่วมมือในธุรกิจอาหารที่น่าสนใจกัน ว่ามีแบรนด์ไหน จับมือกับแบรนด์ไหนบ้าง   4 Case Study: เปลี่ยนคู่แข่งเป็นคู่ค้าร้านอาหาร Bar B Q Plaza X Pizza Hut ในปีที่ผ่านมา บาร์บีคิวพลาซ่าและพิซซ่าฮัท ได้จัดแคมเปญและออกเมนูฟิวชั่นร่วมกัน โดยทางร้านบาร์บีคิวพลาซ่าจะมีเมนูหมูที่เสิร์ฟแบบใหม่บนถาดพิซซ่า เครื่องเคียงแบบพิซซ่าและน้ำจิ้มใหม่ ส่วนร้านพิซซ่าฮัท ก็มีพิซซ่าหน้าหมูบาร์บิกอนในซอสใหม่ เป็นการรวมจุดเด่นของทั้งสองแบรนด์เข้าด้วยกัน สร้างความตื่นเต้นแก่ลูกค้า และเกิดเป็นกระแสในโซเชียลมีเดียในช่วงนั้นได้  […]

มัดใจลูกค้า

กระตุ้นการซื้อซ้ำ มัดใจลูกค้า ด้วยLine@

โลกในยุคนี้ที่อะไรๆ ก็ทำได้ง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นความสะดวกสบายที่มีมากขึ้น คู่แข่งทางการตลาดในสินค้าหรือบริการชนิดเดียวกันที่เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว

ตั้งชื่อร้านอาหาร

6 เทคนิค ตั้งชื่อร้านอาหาร ให้โดนใจ

การ ตั้งชื่อร้านอาหาร ไม่ใช่เรื่องง่ายหลายคนประสบปัญหาว่า คิดชื่อร้านเท่าไร ก็คิดไม่ออกสักที อย่างนั้นมาดูเทคนิคง่ายๆ ในการตั้งชื่อร้านให้โดนกันดีกว่า

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.