กลางวันเปิดคาเฟ่ กลางคืนอยากเปิดบาร์
เจ้าของร้านกาแฟถาม อยากขายแอลกอฮอล์กลางคืน
แชร์ขั้นตอนขอใบอนุญาตจำหน่าย สุรา สำหรับร้านอาหาร
เพิ่มรายได้ร้าน ตอนเช้าเป็นร้านกาแฟ ตอนเย็นเป็นร้านนั่งชิลล์ดีปะ ? วันก่อนแอดได้ไปเห็นโพสต์หนึ่งในกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ” ที่เจ้าของร้านกาแฟร้านหนึ่งได้มาโพสต์ขอคำแนะนำ เนื่องจากเขาทำร้านกาแฟอยู่และต้องการเปิด ขายสุรา ในช่วงเย็นด้วย ในกรณีนี้ต้องทำอย่างไรบ้าง? โพสต์นี้มีคำตอบ!
- การขายสุรา
ใบอนุญาตมี 2 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1 ขายส่งสุราทุกชนิด ครั้งละสิบลิตรขึ้นไป
ประเภทที่ 2 ขายปลีกสุราทุกชนิด ครั้งละต่ำกว่าสิบลิตร (สำหรับร้านอาหาร คือ ประเภทที่ 2)
ซึ่งสำหรับการขออนุญาตขายสุราทาง “คลินิกภาษี กระทรวงการคลัง” ได้เคยให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า
- ขอใบอนุญาตได้จากไหน
ผู้ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตขายสุรา สามารถติดต่อขอใบอนุญาต ณ สำนักงานสรรพสามิต พื้นที่สาขาแห่งท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ โดยเปิดทำการในเวลาราชการ
การขอใบอนุญาตสุราผ่านอินเตอร์เน็ต ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.excise.go.th/…/LIQUOR-TOBACCO…/index.htm
- ต้องใช้อะไรบ้าง
ผู้ขอรับใบอนุญาตรายใหม่ นำเอกสารฉบับจริง ดังต่อไปนี้ไปแสดง
1.บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการที่ทางราชการออกให้ซึ่งมีภาพถ่ายของเจ้าของบัตร
2.สำเนาทะเบียนบ้านของสถานที่ประกอบการค้า ในกรณีผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้เช่า ต้องมีสัญญาเช่า สำเนาบัตรประชาชนผู้เช่าและผู้ให้เช่า และหนังสือแสดงความยินยอมของผู้ให้เช่าด้วย
3.ใบทะเบียนพาณิชย์ (ถ้ามี)
4.ในกรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลต้องนำหนังสือรับรองการจดทะเบียนของกระทรวงพาณิชย์ไปแสดงด้วย
**ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตนำสำเนาเอกสารข้างต้น ซึ่งลงลายมือชื่อรับรองแล้วมายื่นต่อเจ้า พนักงานสรรพสามิตด้วย**
-กรณีผู้ขอรับใบอนุญาตจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ให้ผู้มีอำนาจลงนามลงลายมือชื่อและประทับตรานิติบุคคลในแบบคำขออนุญาต สยพ.1 ในช่องผู้ขออนุญาต
-ในกรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตไม่สามารถมาดำเนินการขอรับใบอนุญาตได้ด้วยตนเอง ให้จัดทำหนังสือ มอบอำนาจและติดอากรแสตมป์จำนวน 10 บาท (กรณีขอใบอนุญาตประเภทใดประเภทหนึ่ง) และ 30 บาท (กรณีขอใบอนุญาตมากกว่าหนึ่งประเภท ) พร้อมนำสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจมาด้วย
- ข้อกำหนดในการออกใบอนุญาตขายปลีกสุรา
-สถานที่ขายสุราต้องไม่ตั้งอยู่ในบริเวณสถานศึกษาหรือศาสนาสถาน รวมทั้งบริเวณต่อเนื่องติดกับสถานศึกษาหรือศาสนาสถาน
-สถานที่ขายสุราต้องไม่ตั้งอยู่ในบริเวณสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงรวมทั้งบริเวณต่อเนื่องติดกับสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
-สถานที่ขายสุราต้องไม่ตั้งอยู่ในบริเวณสถานที่ที่เคยถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขายสุรา เว้นแต่เวลาได้ล่วงพ้นมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
-สถานที่ขายสุราต้องไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตขายสุราเว้นแต่เวลาได้ล่วงพ้นมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี ทั้งนี้ในกรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตขายสุราเป็นห้างหุ้นส่วนหรือนิติบุคคล ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคลต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังกล่าว หรือไม่เคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคลต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังกล่าว
และเว็บไซต์กรมสรรพสามิต เคยได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการขออนุญาตขายสุราไว้ ดังนี้
- ค่าธรรมเนียมขอใบอนุญาต
ประเภทที่ 2 ขายปลีกสุราทุกชนิด ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ชำระ 2,200 บาท
ประเภทที่ 2 ขายปลีกสุราทุกชนิด ผู้ประกอบการไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ชำระ 330 บาท
- ข้อปฏิบัติ
ใบอนุญาตขายสุรา มีอายุ 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับอนุญาต ฝ่าฝืนขายสุราโดยไม่มีใบอนุญาต/ไม่แสดงใบอนุญาตไว้ใน ที่เปิดเผย/ใช้ใบอนุญาตไม่ตรงกับสถานที่ระบุ มีความผิด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท (ม.196,ม.205)
โดยสามารถยื่นต่อใบอนุญาตปีต่อไปได้ตั้งแต่ตุลาคม – ธันวาคม ก่อนที่ใบอนุญาตจะหมดอายุในวันสิ้นปี วันที่ 31 ธันวาคม
References: http://taxclinic.mof.go.th/…/9F0F99F7_1A0E_E7C2_7A55…, https://www.excise.go.th/…/mzk4/~edisp/uatucm398343.pdf, https://www.excise.go.th/…/mzax/~edisp/uatucm301252.pdf, https://excise.go.th/cs/idcplg?IdcService=GET_FILE…, https://www.facebook.com/groups/259809032544230/permalink/542710997587364/